รร.โยธินบูรณะ เพชรบุรี สร้างค่านิยมบริโภคอาหารปลอดภัย ทำได้ด้วยสองมือเรา


ในอนาคตดัชนีชี้วัดความสำเร็จทางการศึกษา อาจไม่หยุดอยู่ที่เพียงตัวเลขของเกรดเฉลี่ย อาจต้องมีดัชนีชี้วัดความสุข ที่พวกเขาสามารถเรียนในสิ่งที่อยากเรียน กิจกรรมก็เลือกสรรได้ตามความต้องการ พ่อแม่ผู้ปกครอง องค์กรในชุมชน สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหา องค์ความรู้ที่จะสอบบุตรหลาน ทุกคนในชุมชนประสานร่วมใจ ดังที่ ผศ.ดร.พิณสุดา กล่าวไว้ว่า ความสำเร็จทางการศึกษาของนักเรียนไทย ต้องเรียนรู้รากเหง้า ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นตัวเอง

โรงเรียนเป็นสถานที่ที่เด็กใช้ชีวิต กิน อยู่ ศึกษาเล่าเรียน ทำกิจกรรมมากกว่าวันละ 9 ชั่วโมง อาหารการกินจึงเป็นสิ่งที่เหนือการควบคุม ก่อให้เกิดปัญหาเด็กอ้วน มีภาวะโภชนาการที่สมวัยไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน และปัญหาสุขภาวะอื่นๆ ตามมา จากการกินที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี ประสานมือผู้ปกครอง ครู นักเรียน ร่วมกันสร้างค่านิยมใหม่ให้เด็กตระหนักถึงความปลอดภัยในอาหารและกินตามหลักโภชนาการอย่างเป็นสุข ผลิตอาหารกลางวันปลอดภัยด้วยมือของพวกเขาเอง

นางจันทนา พิทักษานุรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ สร้างพฤติกรรมและค่านิยมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการในโรงเรียน กล่าวถึงการดำเนินงานว่า โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี ได้ดำเนินงานโครงการนำร่องการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเพื่อสุขภาวะคนไทย (ปศท.2) ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 ซึ่งประสบความสำเร็จในรื่องของการเยี่ยมบ้านนักเรียนได้ 100 % ครู ผู้ปกครอง นักเรียน โรงเรียน ชุมชน รู้จักกันและกัน มีการประสานร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆ และในปีการศึกษา2557 นี้ โรงเรียนก็ได้จัดทำโครงการ การสร้างพฤติกรรมและค่านิยมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการในโรงเรียน จาก สสส. อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ให้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงมีภาวะโภชนาการที่สมวัยได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน และยังช่วยปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการบริโภคผักและผลไม้ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ด้านทักษะการเรียนรู้ การทำงาน ทักษะการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ให้กับนักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี ที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อการดำเนินชีวิตของนักเรียนได้เป็นอย่างดี

เป้าหมายเรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แม้จะเป็นเรื่องใกล้ตัว หากแต่ถ้าปฏิบัติในเชิงเดี่ยวก็อาจจะไม่ได้ผล รูปแบบการทำโครงการของโยธินบูรณะ เพชรบุรี จึงทำแบบมีส่วนร่วม แต่งตั้่งคณะทำงาน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน เริ่มจากการให้ข้อมูลแนวทางการดำเนินโครงการ และให้ติดตามไปพร้อมๆ กัน ซึ่งนักเรียนเป็นผู้ประสานงานและดำเนินกิจกรรมด้วยตนเอง

ทุกวันพุธในคาบเรียนสุดท้าย พี่มัธยมศึกษาตอนปลายได้รับบทบาทเป็นผู้วางแผนกิจกรรม ส่วนน้องมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นสมาชิก เริ่มจากสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการบริโภค อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการและประโยชน์ของผักผลไม้ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการในกิจกรรมสำคัญของโรงเรียน ที่สำคัญคือกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงด้วยการให้นักเรียนออกกำลังกายทุกวันพฤหัสซึ่งถือเป็น Sport day เสริมด้วยกิจกรรมการสร้างสื่อการเรียนรู้สู่ห้องเรียน เช่น ในวิชาภาษาอังกฤษ ก็เพิ่มเรื่องคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ด้วย และสุดท้ายกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารกลางวัน เช่น ผักต่างๆ กระเจี๊ยบเขียวจ กระเจี๊ยบแดง

ผลของกิจกรรมโครงการที่เห็นได้ชัด คือ นักเรียนไม่รับประทานอาหารเช้าจำนวนมาก แต่หลังเข้าร่วมโครงการฯ นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าเพื่มมากขึ้นอยู่ในระดับดี

ผศ.ดร.พิณสุดา สิริธรังศรี หัวหน้าโครงการติดตามและสนับสนุน ชุดโครงการการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน กล่าวว่า การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนถือว่าเป็นการศึกษาที่ฟังเสียงประชาชน และมาจากความต้องการของผู้เรียนจริงๆ เราก็เลยจัดโครงการนำร่องจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน มาตั้งแต่ปี 2554-2555 และในปี2556-2557 นี้ได้ทำต่อเนื่อง คือโครงการติดตามและสนับสนุน ชุดโครงการการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน ซึ่งเราใช้หลักคิดว่าใครก็ได้ที่ลุกขึ้นมาจัดการศึกษา จะเป็นโรงเรียน ชุมชน แหล่งเรียนรู้ ทั้งในระบบ นอกระบบ หรือตามอัทธยาศัย รวมถึง อบต. เทศบาล ชมรม กลุ่มแม่บ้านต่างๆ เพราะการศึกษาจะประสบผลสัมฤทธ์ได้ต้องจัดการศึกษาตามความต้องการของประชาชน ในวิถีชีวิตของประชาชน ทั้งความรู้สามัญ ประวัติศาสตร์ รางเหง้าของชุมชน ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม สุขภาวะ สุขภาพร่างกาย การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทั้งหมด ซึ่งโครงการครั้งที่แล้วประสบผลสำเร็จมากเกินเป้าหมายที่เราคาดหวังไว้ คือ โรงเรียนหลายแห่งผลสำฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เพราะระบบที่พ่อแม่คอยดูแลลูกหลาน โรงเรียนเอาใจใส่มากขึ้น มีองค์กรต่างๆในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ด้วยหลักคิดที่ว่า for all Education ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หรือ Education for all จัดการศึกษาให้กับคนทุกคน แล้วให้คนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ความสำเร็จทางการศึกษาของลูกพ่อแม่ต้องรู้เรื่องด้วย พอพ่อแม่เรียนรู้เขาก็จะมีความสุขในการเรียนรู้และกลไกเรียนรู้เขาบูรณาการทุกวิชา เช่น เรียนภาษาอังกฤษแต่ก็เอาเรื่องออกกำลังกายมาสอน วิทยาศาสตร์ก็เอาเรื่องของสภาวะสุขภาพเชิงวิทยาศาสตร์เข้ามาร่วมด้วย

"เราเห็นได้ชัดจากที่โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี เขาพูดออกมาเลยเขาทำเพื่อเด็ก โครงการเขาเหนื่อยมากขึ้น แต่เห็นการเปลี่ยนแปลงของเด็ก เอาเด็กเป็นสำคัญ ครูจะรู้จักเด็กๆทุกคนว่าเป็นอย่างไร ชอบอะไร กิจกรรมที่ทำจะบ่งชี้ตัวเด็กเอง เพราะเรื่องของสุขภาวะ ต้องเริ่มที่เด็กและเยาวชน แล้วพวกเขาล้วนอยู่ในวัยเรียน ครูก็ใช้กิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการที่แล้วแต่มาเน้นเรื่องของการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและถูกต้องตามหลักโภชนาการ แล้วใช้กระบวนการเรียนรู้ไปจับ เริ่มต้นด้วยการระดมความคิดเห็นตามหลักสูตร มีคู่มือการเรียนรู้ มีสื่อการเรียนรู้ มีกระบวนการเรียนรู้ ผิด ถูก แก้ไขปัญหาเองได้ เราจึงได้เห็นว่าโรงเรียนทำทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้วิถีชีวิต วิชาชีวิตของเขาแล้วก็บูรณาการเข้ากับบทเรียน ทำให้เด็กเกิดทักษะในชีวิต ได้บทเรียนที่เป็นประโชน์ต่อตัวเด็กเอง"

ในอนาคตดัชนีชี้วัดความสำเร็จทางการศึกษา อาจไม่หยุดอยู่ที่เพียงตัวเลขของเกรดเฉลี่ย อาจต้องมีดัชนีชี้วัดความสุข ที่พวกเขาสามารถเรียนในสิ่งที่อยากเรียน กิจกรรมก็เลือกสรรได้ตามความต้องการ พ่อแม่ผู้ปกครอง องค์กรในชุมชน สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหา องค์ความรู้ที่จะสอบบุตรหลาน ทุกคนในชุมชนประสานร่วมใจ ดังที่ ผศ.ดร.พิณสุดา กล่าวไว้ว่า ความสำเร็จทางการศึกษาของนักเรียนไทย ต้องเรียนรู้รากเหง้า ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นตัวเอง

หมายเลขบันทึก: 580245เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2014 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2014 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบโครงการนี้ค่ะ

อาหารปลอดภัยเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญในอนาคต เพราะอาหารที่กินจะมีสารเคมีมากขึ้น ทั้งสารเคมีในกระบวนการปลูก ที่เรากำจัดได้บางส่วน และสารเคมมีในอาหารสำเร็จรูปที่เราจัดการอะไรไม่ได้เพราะไม่รู้ แต่เลือกกินได้ค่ะ

เรียกว่าเราต้อง "รู้เท่าทัน" อาหารที่กินให้หมดจึงปลอดภัย

ขอบคุณนะคะน้อง

เป็นโครงการที่ดีครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท