เสี่ยงเท่าไร... ถ้าอยู่ใกล้นักสูบ(บุหรี่)


 

 

ภาพ__ มลภาวะ (อากาศเสีย) ที่พบบ่อย

  1. แก๊สเรือนกระจก จากการเผาไหม้ + หมัก + ลำไส้สัตว์ใหญ่ (วัว ควาย ฯลฯ)
  2. ฝุ่นละออง จากการเผาขยะ ใบไม้ เชื้อเพลิง ก่อสร้าง
  3. ยูวี / อัลตราไวโอเล็ต (UV / ultraviolet)
  4. ฝนกรด จากการเผาไหม้ + ฝนตก
  5. โอโซน ใกล้พื้นดิน จากการเผาไหม้ + แสงแดด
  6. ไนโตรเจนออกไซด์ ใกล้พื้นดิน จากการเผาไหม้ + แสงแดด

                                                       

การศึกษาใหม่ จาก มหาวิทยาลัยอะเบอร์ดีน สกอตแลนด์ (UK) พบว่า

การอยู่ในบ้าน หรือ ที่ทำงานที่มีคนสูบบุหรี่ เพิ่มเสี่ยง ได้รับมลภาวะมากพอๆ กับเมืองที่อากาศเสียมากที่สุด

เช่น ปักกิ่ง นิวเดลี ฯลฯ

บุหรี่ ทำให้เกิดฝุ่นละอองจิ๋วที่เรียกว่า 'PM2.5' 

.

PM2.5 = ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน

1 ไมครอน = 1/1,000 มิลลิเมตร

PM2.5 เล็กมากจน เข้าไปในปอด ถุงลมฝอย

แถม... บางส่วน ยังซึมเข้าไปในกระแสเลือดได้

.

เพิ่มเสี่ยง

  • โรคหัวใจ 
  • สโตรค (stroke) = เส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • มะเร็ง

เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 7 ไมครอน

PM2.5 เล็กกว่านั้น คือ = ไม่เกิน 2.5 ไมครอน

.

คนที่อยู่บ้านเดียวกับคนสูบบุหรี่

จะได้รับ PM2.5 เพิ่ม = 70% ขึ้นไป

PM2.5 นอกบ้าน พบจากการเผาไหม้

ที่พบบ่อย คือ รถยนต์ โรงงาน ไฟป่า เผาขยะ เผาใบไม้

.

PM2.5 ในบ้าน พบจากการเผาไหม้ของ...

  • ฟืน
  • ถ่านหิน (ใช้ในอินเดีย จีน ฯลฯ)
  • แก๊ส (พบได้ แต่น้อยกว่า เชื้อเพลิงแข็ง)
  • บุหรี่

.

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดว่า

อากาศที่พอหายใจได้ คือ 

PM2.5 ในอากาศ = ไม่เกิน 25 หน่วย

1 หน่วย = 1 ในล้าน(กรัม)/ลบ.ม.อากาศ ใน 24 ชั่วโมง

. 

สหรัฐฯ กำหนดต่ำกว่านั้น เท่าตัว

คือ ไม่เกิน 12 มคก./24 ชั่วโมง

ค่าเฉลี่ย (องค์การอนามัยโลก) = ไม่เกิน 10 หน่วย

1 หน่วย = ไมโครกรัม(มคก.)/ลบ.ม. 

.

มลภาวะในบ้าน มีผลต่อเด็ก คนสูงอายุ

และ คนที่ทำงานบ้าน มากเป็นพิเศษ

เนื่องจาก อยู่ในบ้านนานกว่า

ผลการศึกษาในสก๊อต พบว่า

.

บ้านคนสูบบุหรี่ มีค่า PM2.5 = 31 หน่วย (มคก./ลบ.ม.)

= 10 เท่า ของบ้านคนไม่สูบบุหรี่ (= 3 หน่วย)

= 3 เท่า ของระดับที่ปลอดภัย

. 

และ สูงกว่า ค่าเฉลี่ยในเมืองที่อากาศเสียสูงมาก คือ

  • ปักกิ่ง (จีน)
  • นิวเดลี (อินเดีย) 

.

การไม่สูบบหรี่ ไม่เผาขยะ-ใบไม้ ไม่เผาป่า น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ถ้ายังเลิกบุหรี่ไม่ได้,

การออกไปสูบนอกบ้าน ในที่ไม่อับอากาศ

สูบให้ไกล คนอื่น อย่างน้อย 5 เมตร น่าจะช่วยได้บ้าง

.

หลังสูบ

อย่าลืมล้างมือด้วยสบู่

เพราะ มีสารก่อมะเร็งติดมากับมือ

กระจายไป ยังคนรอบข้างได้

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

From > http://www.reuters.com/article/2014/11/03/us-pollution-air-indoor-smoking-idUSKBN0IN1TL20141103 

SOURCE: by Reuters > Tobacco Control, online October 20, 2014.

หมายเลขบันทึก: 579766เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในสบู่.ก็มีสารก่อมะเร็ง..แล้วเรา..จะทำไงดี...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท