ดิฉันอยากเล่าถึงกิจกรรมบำบัด


             

สวัสดีค่ะ เนื่องจากวันจันทร์ที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นวันกิจกรรมบำบัดสากล ทั่วโลกได้มีการจัดกิจกรรมบำบัดในวันนี้เพื่อให้ประโยชน์แก่ประชาชนทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ซึ่งในต่างประเทศกิจกรรมบำบัด หรือ Occupational therapy ค่อนข้างเป็นที่รู้จัก แต่ในประเทศไทยยังรู้จักไม่กว้างขวางนัก วันนี้ดิฉันจึงจะมาส่งต่อเรื่องราวทางกิจกรรมบำบัดให้ได้ลองอ่านกันดูนะค่ะ

กิจกรรมบำบัด ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะชีวิต

อย่างไร? บุคคลทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วย นักกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยให้สามารถดูแลตนเองได้(ทานข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน เป็นต้น) จากนั้นก็เรียน ทำงาน และเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

คนส่วนใหญ่จะคิดว่าเมื่อป่วยแล้วเท่านั้น จึงจะมาพบนักกิจกรรมบำบัดได้ >> แต่แท้จริงแล้ว นักกิจกรรมบำบัดจะทำให้คนเป็นคนดี เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น เติมเต็มส่วนที่ขาด จริงๆแล้วทุกคนมีศักยภาพ แต่ไม่ได้ดึงมาใช้ เราจะช่วยพัฒนาศักยภาพ เมื่อเกิดศักยภาพสูงสุด ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความสุขด้วย

กิจกรรมบำบัดเหมาะสมกับช่วงวัยใด ?

ตลอดทุกช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวัยชรา  


เมื่อผู้รับบริการเดินเข้ามาหานักกิจกรรมบำบัด ด้วยความต้องการที่แตกต่างกันไป เราจะประเมินผู้รับบริการก่อน จากนั้นก็ให้ทำกิจกรรมที่เหมาะสม โดยเน้นความสุข ความต้องการหลัก และเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการชอบ มีแรงจูงใจในการทำ มีความหมายต่อผู้รับบริการรายนั้น เช่น สานกระเป๋า เพื่อเอาไปขาย หรือเอาไว้ใส่เงิน เป็นต้น

กิจกรรมบำบัดเริ่มสร้างได้ตั้งแต่ครอบครัว คุณครู รวมไปถึงผู้ปกครอง ในเด็กแรกเกิด การสบตา การสัมผัส เป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อแม่และลูก ตาของเด็กสามารถสื่อสารบ่งบอกความรู้สึกและความต้องการได้ เด็กวัยประถมจะสังเกตคุณพ่อ คุณแม่ เช่น เด็กผู้ชายก็จะเลียนแบบคุณพ่อ เด็กผู้หญิงก็จะเลียนแบบคุณแม่ ดังนั้นจึงมีคำกล่าวที่ว่า ต้นแบบที่ดีมีค่ากว่าคำสอน เพราะเด็กจะเกิดการทำพฤติกรรมตาม ถ้าไปออกคำสั่งใส่เด็ก เด็กก็จะไม่ทำ ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ ดังนั้นก็ควรจะบอกถึงข้อดี ข้อเสียกับเด็กแทน ว่าถ้าทำแบบนั้นแล้วจะเกิดอะไรขึ้นดีกว่าการดุ ตี

คนไทยมีวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น นักกิจกรรมสามารถดึงเอาความเชื่อ การปฏิบัติตามหลักศาสนา มาบำบัดในผู้รับบริการได้ด้วย แต่ต้องเคารพกฎเกณฑ์ของแต่บุคคลนั้นๆด้วย เช่น ชุมชนชนบท ที่มีการทำไม้กวาด เราสามารถให้ผู้รับบริการเข้าไปอยู่ในชุมชน ร่วมทำไม้กวาดเป็นการฝึกสหสัมพันธ์ของตากับมือ ความคล่องแคล่วของมือ ฝึกกล้ามเนื้อในมือ และเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีของผู้รับบริการรายนั้นกับชุมชนอีกด้วย กล่าวคือนักกิจกรรมบำบัดจะดูถึงบริบทและสิ่งแวดล้อมที่ผู้รับบริการต้องกลับไปอยู่จริงด้วย ถ้าสภาพบ้านไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบชีวิตในการทำกิจกรรม เราก็จะปรับเปลี่ยนโดยสถานที่ปรับเปลี่ยนต้องเป็นที่ที่ใช้งานเป็นประจำ เพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยมากที่สุด 

ดิฉันเป็นนักกิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 รู้สึกได้ว่าเราสามารถเป็นทั้งความหวัง เป็นผู้ชี้ทาง ให้กับผู้รับบริการได้ ทั้งผู้รับบริการฝ่ายเด็ก ฝ่ายกาย และฝ่ายจิตสังคม ให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง จัดการเวลาได้อย่างถูกต้อง มีการผ่อนคลาย ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และสามารถอยู่ในสังคมได้

หมายเลขบันทึก: 579438เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบใจการเขียน

ชอบหนังสือต้นแบบแห่งความดีด้วยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท