กล้าใหม่ ไฝ่รู้ กิจกรรมบำบัดสู่สายตาเลือนราง


เดือนนี้เป็นเดือนแห่งการเดินทางของดิฉันจริงๆค่ะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดิฉันชอบมากเสียด้วย ช่วงวันที่ 22 – 25 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมาทางทีมนักศึกษากิจกรรมบำบัด และดิฉัน รวมกันสี่คน ได้รับโอกาสเข้าค่ายสัมผัสกับชุมชนเนื่องจากโครงการของนักศึกษากิจกรรมบำบัดได้ผ่านเข้ารอบ 40 ทีม ในชื่อว่า "ก้าวใหม่กิจกรรมบำบัดสู่สายตาเลือนราง" ในค่าย SCB Challenge กล้าใหม่.....ไฝ่รู้ ที่อ. อัมพวา จังหวังสมุทรสงคราม การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ พวกเราทั้งทีมถูกแยกกันหมดในระหว่างการทำกิจกรรม และดิฉันก็จะมีโอกาสมาสังเกตการณ์ลูกศิษย์บ้างค่ะ


ในส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษา พวกเราได้ทำกิจกรรมดีๆหลายอย่าง เริ่มกิจกรรมวันที่หนึ่ง ด้วยกิจกรรมกลุ่ม ล้อมวง เป็นครั้งแรกที่อาจารย์สี่สิบแห่งได้พบกัน ผู้นำกิจกรรมได้ให้อาจารย์แต่ละท่านแนะนำตัวว่าเป็นใคร ชื่ออะไร มาจากไหน และมีความสนใจด้านไหน....ดิฉันแนะนำตัวเป็นชื่อเล่น “แอน" มาจากสาขากิจกรรมบำบัด ม.มหิดล สนใจด้านสุขภาพจิตค่ะ

ทำให้ได้เห็นภาพรวมว่ามีใครมาจากไหนบ้าง โดยรวมแล้วสมาชิกอาจารย์ ส่วนใหญ่ 80% จะเป็นอาจารย์ผู้ชายค่ะ ผู้นำกิจกรรมได้เริ่มทำกิจกรรมในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลากหลายประเด็นจากการตั้งคำถาม เช่น

อาจารย์อยากเห็นนักศึกษาที่จบเป็นบัณทิตแล้วมีลักษณะอย่างไร?.......................

อาจารย์มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นอย่างไร?.....................

บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการคือ?.............................

ประโยชน์ของการลงมือทำคือ?..........................................


จากนั้น ผู้นำกลุ่มเชื่อมโยงข้อมูลจากการแสดงความคิดเห็นของสมาชิกแต่ละคน คำตอบที่สำคัญและเชื่อมโยงกับบัณฑิตที่อาจารย์ทุกคนอยากเห็น ที่เป็นคีย์เวิร์ดหลักๆ คือ ลงมือทำงานเป็น รับใช้สังคม มีจิตสาธารณะ

ผู้นำกลุ่มเชื่อมโยงต่อ ถึง การจัดการโครงการชุมชน (Community project) และให้อาจารย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าการจะทำโครงการเพื่อชุมชนนั้น ควรมีขบวนการหาโจทย์ของชุมชนอย่างไรบ้าง.....และได้ข้อสรุปดังนี้

-มีการสำรวจชุมชน เพื่อค้นหาปัญหา ยิ่งลงชุมชนบ่อยโอกาสที่จะได้ข้อมูลยิ่งมาก

-มีการบูรณาการปัญหาโดยรวมของชุมชน

-ถามเจาะจงไปถึงปัญหาจริงๆ ที่สำคัญและอยากแก้ไข ให้ตรงกับความต้องการของชุมชนจริงๆ

-ใช้เวทีประชาคม

-มีการศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการของชุมชน

-เชื่อ ศรัทธา ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สำหรับโครงการกล้าใหม่ ไฝ่รู้ในครั้งนี้ เน้นย้ำอยู่เสมอว่า โครงการที่ทำ นักศึกษาต้องเป็นคนลงมือทำด้วยตัวเขาเอง อาจารย์มีบทบาทเป็นโคช เมื่อนักศึกษาในทีมของเรามีปัญหา อาจารย์ที่ปรึกษาต้องมีบทบาทให้คำปรึกษา และช่วยสร้างแรงจูงใจ พูดคุยถามความรู้สึก


กิจกรรมอีกช่วงในช่วงค่ำ เริ่มจากผู้นำกลุ่ม ให้เราล้อมวงอีกครั้ง และให้นับเลข 1-6 ดิฉันนับได้เลข 3 เพื่อแบ่งกลุ่มย่อย buzz group เทคนิคง่ายๆที่ผู้นำกลุ่มใช้ คือ ปากกาเมจิกหนึ่งแท่งที่ถือ แทนสิทธิ์ในการพูด ....หัวใจของกลุ่มคือการฟังอย่างตั้งใจ active listening .....ให้สมาชิกในกลุ่มแลกเปลี่ยนกันพูด ในประสบการณ์ของตนเองในเวลา 25 นาที จากนั้นให้ทั้งกลุ่มโหวตสมาชิกที่เราประทับใจ และเล่าโครงการของตนเองได้น่าสนใจ กลุ่มดิฉันเลือกอาจารย์จากราชมงคล ท่านหนึ่งค่ะ อาจารย์เขาเล่าว่า นักศึกษา ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้เป็นทีมเดียวจากการสนใจเป็นจิตอาสาอย่างแท้จริง อาจารย์ได้ประชาสัมพันธ์ในกลุ่ม และเขาเดินมาสมัครกันเอง......นักศึกษาทำเรื่องการสร้างสวนในชุมชน ค่ะ....น่าสนใจ และน่าดีใจที่เด็กสมัยใหม่มีหัวใจอาสา

น่าสนใจที่โครงการในชุมชนครั้งนี้ มีเพียง 7 ทีม ที่โครงการในครั้งนี้อยู่ในการเรียนการสอน 1 ทีม อยู่ในงานวิจัยของอาจารย์ ส่วนใหญ่ที่เหลือเป็นงานจิตอาสาเกือบทั้งหมดค่ะ


การเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่หนึ่ง ทำให้ดิฉันได้เห็นและแลกเปลี่ยนมุมมองที่หลากหลาย........ทำให้ตระหนักว่า เรายังมีประสบการณ์ในการทำงานในชุมชนน้อยอยู่ แต่เป็นจุดเริ่มต้นให้ดิฉันอยากทำมากขึ้นกว่าเดิม

กิจกรรมในวันแรก น่าประทับใจมาก เพราะมีวิทยากรจาก SCB และวิทยากรอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นพี่มอชอ 20 ดิฉันรุ่น 45 ค่ะ แถมยังมีบ้านเกิดเดียวกันอีกด้วย ทำให้รู้สึกอบอุ่นอย่างบอกไม่ถูกค่ะที่ชอบอีกอย่างคือดิฉันมีรูมเมทค่ะ ได้พักกับอาจารย์ที่ปรึกษาจากต่างมหาลัยที่มีความสนใจคล้ายกัน

ขอบคุณ SCB และช่วงเวลา โอกาส ที่ทำให้เราทุกคนได้มาพบเจอกันค่ะ.......

หมายเลขบันทึก: 579303เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2014 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2014 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจมาก

เป็นกิจกรรมของ SCB นะครับ

กิจกรรมที่ทำกับอาจารย์ดูเหมือนเป็น deep listening ครับ

แถมด้วยเรื่องเล่าเร้าพลัง

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

หายไปนานมากๆเลยครับ

ขอบคุณพี่ขจิตเช่นกันค่ะ ^ ^

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท