วิธีเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง (นอนเรียน!)


ภาพ__ ลิงมาคัค ญี่ปุ่น

.

ภาพ__ วงจรนอนหลับ มี 4 ระยะ โดยหลับ จาก ตื้นไปลึก  = 1, 2, 3, 4, แล้วกลับขึ้นมา = 4, 3, 2, 1

วงจรนอนหลับ 1-2 รอบแรก มักจะหลับได้ลึก (ครบระยะ 1-4), กินเวลาประมาณ 90 นาที = 1.5 ชั่วโมง

วงจรนอนหลับ รอบต่อๆ ไป มักจะหลับลึกได้น้อยลง คือ หลับได้ลึกแค่ระยะ 2 (ไม่ถึง 4)

ขาขึ้นของวงจรนอนหลับ คือ จาก 4-3-2-1 หรือจาก 2-1 จะมีช่วงฝัน (REM sleep)

.

ช่วงฝัน (REM sleep / เร็ม สลีพ) แต้มด้วยแถบสีฟ้า + เครื่องหมายกากบาท (x) + ตัวอักษรสีเหลือง (1-5)

ช่วงฝัน เป็นช่วงที่ร่างกายหยุดเคลื่อนไหว

ทว่า... ลูกตาจะกลอกไปมา อย่างรวดเร็ว

ทำให้ได้ชื่อว่า "หลับเร็ม (raid eye movement =  การเคลื่อนไหวของลูกตา แบบเร็ว)"

.

ช่วงหลับลึก = 3-4 เป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่

เด็ก วัยรุ่น คนอายุน้อย มักจะหลับได้ลึกกว่า คนวัยกลางคน-สูงอายุ

คนวัยกลางคน สูงอายุ หรือคนที่หลับไม่สนิท จะมีช่วงหลับตื้น = 1-2 มากกว่า

ถ้ามีเสียงรบกวน จะตื่นง่ายกว่า เมื่อเทียบกับคนที่หลับได้ลึก

.

การออกแรง_ออกกำลัง แบบหนักหน่อย

มีส่วนช่วยเพิ่มคุณภาพของการนอนหลับ ให้ลึกขึ้นได้

                                                                  

                                                                  

บิสเนซอินไซเดอร์ ตีพิมพ์ผลการศึกษาใหม่ที่ว่า คนเราเรียนรู้อะไรได้ 3 เรื่อง ตอนนอนหลับ,

ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

(1). ภาษาต่างประเทศ

การศึกษา ทำในคนเยอรมันที่กำลังเรียนภาษาดัทช์ (เนเธอร์แลนด์) ใหม่

สุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งให้ฟังศัพท์ตอนนอนหลับ อีกกลุ่มไม่ให้ฟัง

พบว่า กลุ่มที่ได้ฟังศัพท์ตอนนอนหลับ จำศัพท์ + แปลศัพท์ ได้ดีกว่า

.

เมื่อทดลองใหม่ ให้กลุ่มหนึ่งฟังศัพท์ตอนนอนหลับ อีกกลุ่มให้ฟังตอนเดิน

พบว่า กลุ่มที่ได้ฟังศัพท์ตอนนอนหลับ จำศัพท์ ได้ดีกว่าเช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญพบว่า กลุ่มที่ฟังศัพท์ใหม่ตอนนอนหลับ มีคลื่นสมองแบบช้า (slow-wave EEG) มากกว่า

= มีช่วงหลับลึก (ระยะ 3-4) มากกว่า

.

ช่วงหลับลึก (ระยะ 3-4) เป็นช่วงที่มีการขนย้ายความจำ

จากความจำแบบสั้น (short-term) ไปยังสมองส่วนนอก ด้านหน้า (prefrontal cortex) เพื่อ เก็บเป็นความจำแบบยาว (long-term)

(2). เรียนดนตรี

.

การทดลอง ให้กลุ่มตัวอย่างเรียนเทคนิคกีต้าร์ใหม่ จากเกมส์ "กีต้าร์ฮีโร่"

.

ให้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มหนึ่งได้ฟังเพลงซ้ำตอนนอนหลับช่วงสั้นๆ กลางวัน

.

อีกกลุ่มหนึ่ง ให้นอน + ไม่ให้ฟังเพลงซ้ำ

.

พบว่า กลุ่มที่ได้ฟังเพลงซ้ำตอนหลับ เล่นดนตรีได้ดีกว่า

(3). เรียนเรื่องใหม่ๆ

.

สมองคนเรา มีการขนย้าย  ความจำชั่วคราว "ที่สำคัญ" บางส่วน ไปเก็บในรูป ความจำแบบถาวร หรือยาวนาน ตอนหลับ

.

การศึกษาที่ทำโดย การให้เรียนเรื่องใหม่ พร้อมกับเสียง

.

เช่น ให้ดูรูปแมว พร้อมเสียงเหมียว

.

สุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม

.

.

กลุ่มหนึ่ง ให้ฟังเสียงที่ได้ยิน ตอนเรียนเรื่องใหม่... ช่วงหลับ

.

อีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ให้ฟัง

.

พบว่า กลุ่มที่ได้ฟังเสียงที่มีความสัมพันธ์ กับเรื่องที่เรียนใหม่ (รูปแมว)

.

หรือเสียงที่ได้ยิน พร้อมกับการเรียนเรื่องใหม่ (เสียงเหมียว) จำได้ดีกว่า

.

.

การศึกษาหนึ่ง ทำในปี 2550 ให้กลุ่มตัวอย่างได้กลิ่นกุหลาบ พร้อมกับเรียนเรื่องใหม่

.

สุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม

.

กลุ่มหนึ่ง ให้ดมกลิ่นกุหลาบตอนหลับ

.

อีกกลุ่ม ไม่ให้ดมกลิ่น

.

.

พบว่า กลุ่มที่ได้กลิ่นที่มีความสัมพันธ์ กับเรื่องที่เรียนใหม่ จำอะไรๆ ได้ดีกว่า

.

เรื่องเหล่านี้ บอกเป็นนัยว่า 

.

การฟังเพลงเบาๆ โดยเฉพาะเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง พร้อมกับเรียนเรื่องใหม่

.

แล้ว เปิดเพลงนั้นๆ เบาๆ ตอนนอน น่าจะทำให้เรียน เรื่องใหม่ ได้ดีขึ้น

ถ้าเป็นเพลงที่มีเนื้อร้อง...

.

เนื้อเพลง อาจรบกวน ความเข้าใจเรื่องใหม่ได้

.

เนื่องจาก สมองจะต้องประมวลผล เนื้อเพลง แทรกเข้าไปด้วย

.

ถ้าอยากให้ เด็กรุ่นใหม่ เป็นคนดี... ควรระวัง ไม่เปิด TV ละครอิจฉาริษยา ตอนเด็กหลับ

.

.

ถ้าท่านนับถือ พระพุทธศาสนา...

.

ทำแบบชาวพม่า ศรีลังกา น่าจะดี คือ

.

เปิดเสียงสวดมนต์แปล หรือเสียงสวดพระปริตร (คาถาป้องกันภัย) เบาๆ ตอนเด็กหลับ น่าจะดี

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

.

ภาพ__ อาหารมังสวิรัติ

.

ถ้าเป็นไปได้, ควรกินอาหารมื้อเย็น ให้น้อยหน่อย + เร็วหน่อย

.

ที่ดีมาก คือ กินข้าวเย็น ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน + ก่อนนอน อย่างน้อย 3 ชั่วโมง

.

และฝึก... ไม่ดื่มน้ำก่อนนอน

.

ภาวะกรดไหลย้อน + น้ำปัสสาวะ (ฉี่) เต็มกระเพาะปัสสาวะ เพิ่มเสี่ยงนอนหลับไม่สนิท + ฝันร้าย

.

From Businessinsider > http://www.businessinsider.com/how-to-learn-in-your-sleep-2014-10

From Wikipedia > http://en.wikipedia.org/wiki/Slow-wave_sleep

หมายเลขบันทึก: 579279เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2014 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2014 08:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท