BBC อธิบาย... ทำไมโจมตีทางอากาศได้ผลน้อย


ภาพ__ แผนที่ แสดง

  • 1 = ฐานทัพสหรัฐฯ ในกาตาร์
  • 2 = เรือบรรทุกเครื่องบิน ในอ่าวเปอร์เชียร์
  • 3 = เรือบรรทุกเครื่องบิน ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
  • x = พื้นที่ทิ้งระเบิด แสดงด้วยเส้นสีแดง (__)

สำนักข่าว BBC วิเคราะห์ว่า การโจมตีทางอากาศ ของสหรัฐฯ และพันธมิตร

ทำลายเป้าหมายทางทหาร คือ คลังอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือพวก "ปืนใหญ่ รถถัง คลังอาวุธ" ได้น้อย

ธรรมดาของประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ 

อะไรๆ ก็ต้องเป็นสถิติ ไปหมด

  • ถล่ม 949 ครั้ง
  • โดนเป้า 90 ครั้ง

.

= 9.48% = น้อยกว่า 10%

อ.อาลี เคเดรี ที่ปรึกษา สถานทูตสหรัฐฯ ประจำอิรัก ปี 2003-2009/2546-2552 กล่าวว่า

ระยะทางยิ่งไกล__ ยิ่งทำให้ได้ผลน้อยลง

ประสบการณ์จาก อัฟกานิสถาน พบว่า

.

คนที่อยู่ในพื้นที่ หรือพื้นดิน มองเห็นเครื่องบินได้ในระยะไกล

โดยสังเกตจาก

(1). รอยควันสีขาว ท้ายเครื่องบิน ('tail tail' sign)
(2). เสียงเครื่องบิน ทั้งเสียงโดยตรง และเสียงบูม

.

ทำให้ มีเวลาเข้าที่หลบภัย

ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นบอกว่า ทางออกตอนนี้ คือ

.

(1). เสริมเที่ยวบินจากตุรกี

.

เดิมบินไกล 1,599-2,300 กม. จากฐานทัพในกาตาร์ และเรือบรรทุกเครื่องบินในอ่าวเปอร์เซีย

นักบินเจ็ตที่น่าจะบินครั้งละ ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง/ครั้ง

ต้องบินคราวละ 5-7 ชั่วโมง/ครั้ง (ไปกลับ)

ระยะทางไกล ทำให้ต้องขนน้ำมันไปมาก ขนอาวุธได้น้อย

แถมยังเป็น "เป้านิ่งทางอากาศ" ตอนเติมน้ำมันกลางอากาศ

(2). ไม่มีข่าวกรองภาคพื้นดิน

กว่าจะรวมทีม หาข่าวกรอง (จากประเทศอาหรับด้วย) ได้...

อย่างเร็วก็เป็นเดือนๆ

.

(3). ใช้เฮลิคอปเตอร์ บินจากตุรกี

ได้ผลดี แต่มีความเสี่ยงถูกยิงตกสูงขึ้น

จุดเด่นที่สุดของแนวทางนี้

คือ บินสั้น ประหยัดน้ำมัน

เห็นเป้าชัด

(4). ทำแนวกันชน หรือบัฟเฟอร์โซน (buffer zone) ระหว่างตุรกี_ซีเรีย, ตุรกี_อิรัก

ข้อนี้ ประเทศเดียวที่จะทำได้ คือ ตุรกี

กลุ่มที่คัดค้าน คือ ชาวเคิร์ด

ที่อยู่ในตุรกี_ซีเรีย_อิรัก_อิหร่าน

เพราะกลัวว่า ถ้าทำแนวกันชน จะทำให้ชาวเคิร์ด ซื้อขาย สินค้า-บริการ จากตุรกีไม่ได้

.

ชาวเคิร์ด มีความหวัง จะตั้งประเทศ

ช่วงนี้... ทหารอิรัก อ่อนแอ และแพ้บ่อย (มาก)

ทำให้เคิร์ด ทำท่อส่งน้ำมัน

ผ่านเข้าตุรกี ส่งออกทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้

ทุกประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ด

คือ ตุรกี_ซีเรีย_อิรัก_อิหร่าน 

ต่างก็ กีดกัน ขวางไม่ให้เกิด "เคอร์ดิสถาน"

เพราะ ไม่อยากให้ชนกลุ่มน้อย แบ่งแยกดินแดน หรือขอปกครองตัวเอง

ภาพ__ ท้องฟ้า เหนือเมืองชาวเคิร์ด

เห็นทางช้างเผือกชัด... เครื่องบินพาณิชย์ติดไฟ ก็เห็นชัด

เครื่องบินรบ ไม่ติดไฟ อาจจะเห็นได้ แต่ไม่ชัดนัก

ภาพ__ แผนที่ ชนกลุ่มน้อย ชาวเขา-ที่ราบสูง ชาวเคิร์ด เป็นแถบสีเขียว, รวม = 30-38 ล้านคน

  • ทางเหนือ สีเขียว = อยู่ในตุรกี 11-15 ล้านคน
  • ทางใต้ สีเขียวอ่อน = อยู่ในอิรัก 6.2-6.5 ล้านคน
  • ทางตะวันออก สีเขียวเข้ม = อยู่ในอิหร่าน 6.5-7.9 ล้านคน
  • ส่วนน้อย อยู่ในซีเรีย = 2.1-3 ล้านคน

ชาวเคิร์ด อพยพออกนอกประเทศ (diaspora) มากที่สุดใน

  • เยอรมนี = 800,000 คน
  • อิสราเอล = มากกว่า 150,000 คน
  • ฝรั่งเศส = 135,000 คน

ภาพ__ แผนที่เขตชาวเคิร์ด ชนกลุ่มน้อยใน 4 ประเทศ คือ ตุรกี-อิรัก-อิหร่าน-ซีเรีย

ชาวเคิร์ดใน ซีเรีย (ใกล้ชายแดนตุรกี) มีจำนวนน้อย บอบบาง ต่อการถูกโจมตี มากกว่าอีก 3 ประเทศ

.

ประสบการณ์ทั่วโลกพบว่า

ชาวเขา และชาวที่ราบสูง มักจะเป็น นักรบโดยธรรมชาติ และมีความแข็งแกร่งแฝงอยู่เสมอ

ทีนี้... ทำไม เคิร์ด อยู่ในขาขึ้น

และ เป็นรัฐใหม่ ที่ใครๆ พากันสนใจ

.

(1). เป็นชาตินักรบชนกลุ่มน้อย__ ที่รบกับทุกชาติรอบๆ + ยังอยู่รอด
(2). มีน้ำมัน +/- แก๊สธรรมชาติ
(3). ประเทศในตะวันออกกลาง ก็คล้าย ประเทศในยุโรป บางประเทศ

  • คือ มีชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ อยู่ในรัฐบาลกลาง ที่ไม่ค่อยเข้มแข็ง
  • สภาพเช่นนี้ จะทำให้หลายๆ ประเทศ ทยอยรบกันเอง หรือต้องลงประชามติ แยกประเทศ

(4). มีสภาพ เป็นรัฐกันชน (buffer state)__ ตรงกลาง ระหว่าง "ตุรกี_ซีเรีย_อิรัก_อิหร่าน" 

  • บางที__ การมีรัฐกันชน ก็ดีกว่า อยู่ติดกับประเทศที่เป็นศัตรูกัน
  • ทำให้ โอกาสเกิดสงคราม ลดลง

.

ทั้งหมดนี้ (สงคราม ความขัดแย้ง ฯลฯ)__ เปลืองเงิน เปลืองชีวิต

สอดคล้องกับหลักของท่านซุนวูที่ว่า

การหลีกเลี่ยงสงคราม ยังคงเหนือการเข้ารบ

ขอให้สันติภาพ, น้ำที่เพียงพอ ต่อการดื่ม-อาบ-ใช้-เพาะปลูก, และความสุข... โปรดมีแด่ อิรัก อิหร่าน ซีเรีย ตุรกี ชาวเคิร์ด, ทุกๆ ชาติ ที่อยู่ในแผนที่, และทั่วโลก

.

เรียนมาด้วยความเคารพ

ขอแนะนำ

From Wikipedia > http://en.wikipedia.org/wiki/Kurds

หมายเลขบันทึก: 579029เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 13:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท