เคาะแล้วขาย วิจัยชลประทานเพื่อท้องถิ่นเขาสามสิบหาบ


การตัดสินใจปรับเปลี่ยนวิถีหรือกล้าที่จะลองเครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้นผ่านกระบวนการในการเรียนรู้ตัวเอง โดยเรียนรู้ข้อมูลตัวเอง (ศักยภาพ ความสามารถที่มี จุดอ่อน ข้อจำกัด ) และข้อมูลจากภายนอก (เอกสาร หนังสือพิมพ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้) รวมทั้งกระบวนการการคิด วิเคราะห์ วางแผน การบริหารจัดการการเก็บสะสมทุนทรัพย์และการวัดความสำเร็จประเมินผล ซึ่งประเด็นนี้ส่วนใหญ่เรามักเรียนรู้แต่ความสำเร็จและมองปัจจัยภายนอก

มาที่เขาสามสิบหาบตั้ง ๔ ครั้งวันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มาเยือนองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบหาบ (ซะที) บรรยากาศร่มรื่นริมถนน รายล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ มาถึงยังไม่มีใคร สักพักรถตู้เจ้าประจำทีมชลประทาน ก็เข้ามาจอดในศาลาประชาคม ทีมพี่เลี้ยงแม่กลองได้พวกแล้วไม่รอช้า รีบเดินไปทำความรู้จักสถานที่ และเจ้าถิ่น นักพัฒนาชุมชน อบต.เขาสามสิบหาบ ร่วมพุดคุยเรียนรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับทีมประสานงาน และ ทีมชลประทานเพื่อท้องถิ่นพี่เสนาะ มาถึงคนแรก ทำไมคนหายไปไหนหมด นี่ถ้าครั้งนี้คุยไม่รู้เรื่องผมก็จะไม่อยู่แล้วแต่เห็นพี่แกพูดแบบนี้มาหลายทีแล้ว แกก็ยังมาทุกที แอบนึกในใจว่า แกคงสนใจที่จะติดตามอยู่เหมือนกัน พี่เสนาะ พี่เดียร์ พี่วัชรี และพี่พัฒนาชุมชน(อันนี้จำชื่อไม่ได้) นั่งประจันหน้ากับทีมประสานงาน พี่เดียร์แกนนำประสานงานเริ่มหวั่น ๆ ถ้ามาคนเดียวทำไงดี คงไม่ต้องการคำตอบใช่ไหมครับเพราะว่า สโลแกนของพวกเรา คนมากก็คุยคนน้อยก็คุย พี่วิชาญกับพี่จรัญเดินตามเข้ามาทีหลัง แหม!!! โล่งอก นึกว่าจะไม่มาซะแล้ว เอาล่ะครับนับได้ ๑ ๖ คงพอทำให้บรรยากาศไม่เงียบเหงา เอ้า .... ลุย

เปิดประเด็นเป็นกันเองพี่กริมเริ่มชวนคิดชวนคุย วันนี้ได้ไปชวนใครมาบ้าง มีวิธีการไปชวนอย่างไร เอาละซิต่างคนมองหน้ากันเลิกลั่ก ๆ พี่เสนาะบอกว่าไปชวนมาแล้วแต่ไม่รู้ทำไมเขาไม่มา พี่วิชาญ บอกว่า ชวนเพื่อนไว้แต่บอกว่าจะไปคุยกันประเด็นการลดต้นทุนการผลิต ฯลฯ แต่เขาส่ายหน้าเมื่อเห็นท่าไม่ดี ทีมงานต้องสบสายตาโดยใช้แผนที่ ๒ โดยการทบทวนการพูดคุยทั้ง ๔ ครั้ง และถามความรู้สึกว่า คุยกันมา ๔ ครั้งตอนนี้รู้สึกอย่างไรกันบ้างไม่รู้ว่าทีมงานมีวัตถุประสงค์อะไร จะให้ทำอะไรอยากรู้ว่าชาวบ้านอย่างเราจะทำได้ไหมรู้สึกว่าการพูดคุยจะต่อเนื่องจากครั้งที่แล้วอย่างไร ในประเด็นการลดต้นทุนการผลิตตรงนี้เป็นการทบทวนให้ชัดว่า เป้าหมายของการเรียนรู้ คือการชวนกันมาทบทวนปัญหาของเราแล้วมาช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งพี่จรัญ ย้ำให้ชัดว่า คนในหมู่บ้านทุกคนเป็นเพื่อนกันโดยปกติอยู่แล้ว แต่ต่างคนต่างมีวิธีคิด วิถีปฏิบัติที่ต่างกัน การพูดคุยในมุมที่ต่างและไม่ใช้ข้อมูลจะทำให้เกิดความขัดแย้งตรงนี้ทีมเจาะลึกให้ชัดว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีประโยชน์อย่างไร ซึ่งพี่จรัญ ได้เสริมรูปธรรมที่ชัดเจนว่าเดิมนั้นทำอาชีพปลูกชมพู่ แล้วประสบปัญหา เมื่อได้พูดคุยกับเพื่อนร่วมอาชีพทำให้เกิด ความรู้และยกระดับความรู้ในการใช้แก้ไขปัญหา แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรการพูดคุยที่เป็นประโยชน์จะไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งชวน พา เรียนรู้ดูกระบวนการคุยไปคุยมาผู้เข้าร่วมก็ยังยืนยันชัดเจน(จริง ๆ) ในหลักการ ตกลงจะให้เราทำอะไร ตรงนี้ไม่รอช้าเพราะโอกาสที่ ความอยาก (ฉันทะ) ในการแก้ไขปัญหาจะผุดขึ้นนั้นเราต้องรีบฉกฉวย ไม่รอช้าโยนกลับไปในวงถึงประเด็นที่อยากทำอยากเรียนรู้ ซึ่งตรงนี้ผู้เข้าร่วมที่มาค่อนข้างจะชัดเจน ในประเด็นการลดต้นทุนการผลิต โดยในเบื้องต้นมีแนวทาง ประสบการณ์ในการลดต้นทุนการผลิตดังนี้๑.      การหาเครื่องมือ เทคโนโลยีทันสมัย ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องยนต์๒.     ปรับเปลี่ยนการใช้ปุ๋ย มาเป็นชีวภาพ ปุ๋ยคอก๓.      ปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต (การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย ,การเผาตอซัง)๔.      การเลือกใช้สารเคมี ในจังหวะและเวลาที่เหมาะสม๕.      การลดการใช้สารเคมีในการเกษตร 

ตัวอย่าง : การปรับเปลี่ยนเครื่องมือการผลิตของคุณวิชาญ

-          พื้นฐานเดิม
o      มีความรู้ช่าง (มีความถนัดในการใช้เครื่องมือ)
o      ความภาคภูมิใจ,ความผูกพันกับการทำนาในอดีต
-          แรงบันดาลใจ
o      คนส่วนใหญ่ดูถูกชาวนา จึงต้องทำนาให้ได้ดี
-          ประสบปัญหา ที่นาเยอะ คนไม่พอ การจ้างงานไม่ได้คุณภาพ
-          มีฐานการใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ (การทำนาในอดีต,เปรียบเทียบคุณภาพของงาน,มูลค่าและผลผลิตที่ได้)
-          การเรียนรู้ข้อมูลจากภายนอก (อ่านหนังสือพิมพ์ ตัด เก็บ,การแลกเปลี่ยนเรียนรู้)
-          การจัดการ : เก็บเงินสะสมทุน ๘ ปี
 
           ตรงนี้เป็นบทเรียนสำคัญในการเรียนรู้ ให้กับทีมร่วมกันในประเด็น การพุดคุยและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเจาะลึกในรายละเอียด ซึ่งในกรณีพี่วิชาญ จะพบว่ากว่าจะมีการตัดสินใจปรับเปลี่ยนวิถีหรือกล้าที่จะลองเครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้นผ่านกระบวนการในการเรียนรู้ตัวเอง โดยเรียนรู้ข้อมูลตัวเอง (ศักยภาพ ความสามารถที่มี จุดอ่อน ข้อจำกัด ) และข้อมูลจากภายนอก (เอกสาร หนังสือพิมพ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้) รวมทั้งกระบวนการการคิด วิเคราะห์ วางแผน การบริหารจัดการการเก็บสะสมทุนทรัพย์และการวัดความสำเร็จประเมินผล ซึ่งประเด็นนี้ส่วนใหญ่เรามักเรียนรู้แต่ความสำเร็จและมองปัจจัยภายนอก เช่นคุณวิชาญทำได้ เพราะมีที่นาเยอะ มีเงินมาก (รวย) ซึ่งหากได้มีการเรียนรู้จากบทเรียนประสบการณ์ของแต่ละคนนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำหลักการไปปรับใช้กับศักยภาพ ข้อจำกัดของตัวเอง ซึ่งตรงนี้เอง เชื่อมโยงให้เห็นชัดว่า การที่คนทั่วไปมักเรียนรู้ในความสำเร็จ ไม่เห็นเส้นทางของความสำเร็จ จะตัดสินอย่างเร่งด่วนว่า ทำได้ ทำไม่ได้ จึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงคุยกันมาทั้งหมดแล้ว สิ่งที่เราจะชวนทำ ก็เหมือนการชวนคุยข้างบนนี่แหละ เป็นการทดลองให้ชาวบ้านได้เรียนรู้งานวิจัยจากการทดลองเรียนรู้ข้อมูล ของชาวบ้านเองบนความง่าย และเป็นข้อมูลของชุมชนนี่เอง ก็แค่ขยายวงการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่หลากหลายในชุมชน โดยเป็นการพูดคุยในเรื่องของข้อมูลของตัวเอง อดีตเราเป็นอย่างไร   แล้วถ้าเราจะกลับไปหาอดีตมีที่ไหนที่ทำกันบ้างเพื่อจะได้เอามาใช้กับเราเอง  สุดท้ายนำสิ่งที่ได้เหล่านี้มาเป็นสิ่งที่ใช้ในการตัดสินใจ  ใครทำใครได้ ยิ่งทำก็ยิ่งได้  สำทับด้วยกระบวนการเรียนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคนทำงาน คนที่มีจิตใจสาธารณะ เพราะว่าพวกเราทุกคนไม่ได้ต้องการผลงาน ถ้าต้องการคงไม่นั่งกันอยู่อย่างนี้  เทียบเคียงกับตัวอย่างที่แพรกหนามแดงนั่งคุยกัน ๒ ปีถึงได้ทำ    โอ๊ย!แล้วไอ้บ้าที่ไหนมันมานั่งคุยด้วยหล่ะ   กระบวนการพัฒนาโครงการวิจัยเป็นกระบวนการสร้างความชัดเจน จูนเป้าหมายให้ตรงกัน (ทีมงาน ,ประเด็น และแผนงาน) แล้วก็เริ่มทำงานโดยการเรียนรู้ข้อมูลชุมชน (เหมือนเรียนรู้ข้อมูลตัวเองของพี่วิชาญ) โดยทางทีมงานจะสนับสนุนในด้านเทคนิควิธีการในการจัดเก็บข้อมูล เช่น การชวนคุย การซักถาม การจับประเด็น การพาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้)เรียนรู้แนวคิดงานวิจัยผ่านVCDเพื่อไม่ให้ช้าไป จะไม่ได้การเราจะมาตอบคำถามข้างต้นโดยพาชวนวิเคราะห์ ปัญหา แนวทางาการวิจัย และผลการดำเนินงาน ผ่านการเรียนรู้จาก VCD  คนเมืองบัว ไม่กลัวขยะ แล้วลองจับประเด็นสำคัญ ๑) ปัญหาของคนเมืองบัวคืออะไร ๒)คนเมืองบัวมีกระบวนการและวิธีการในการแก้ไขปัญหาอย่างไร ๓)ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นในการแก้ไขปัญหาของคนเมืองบัวเป็นอย่างไร

สรุปสาระจาก VCD คนเมืองบัวไม่กลัวขยะ

สถานการณ์ปัญหา : ปัญหาขยะ (ขาดระบบจัดเก็บ,ทัศนอุจาด,การเน่าเสีย,สุขภาพเสื่อม,ฯลฯ)กระบวนการแก้ไขปัญหา       
-          เริ่มที่ อ.ไพจิตร เกิดแรงบันดาลใจ เห็นปัญหา ไปพบ คุณบุญเสริฐ (สกว.)
-          หาแนวร่วม พูดคุยให้เห็นปัญหาขยะร่วมกัน (อบต.,วัด,โรงเรียน,อนามัย,อำเภอฯลฯ)
-          ใช้เด็กเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้าน ในการเก็บข้อมูลขยะ(ปริมาณ ชนิด)
-          วิเคราะห์ แยกแยะ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
-          ร่วมกันค้นหาแนวทางการจัดการขยะ บนข้อมูลที่มีอยู่ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น : ความร่วมมือชุมชน ,จิตสำนึกรักชุมชน,ปริมาณขยะลดลง,สุขภาพดีขึ้น (กาย จิต),การเรียนรู้ของเด็ก
ตบท้ายเคาะแล้วขาย (ซะที) ทีมประสานงานอาศัยจังหวะมึน ๆ ลองเชื่อมโยงตอกย้ำ ทบทวนกับชุมชนเขาสามสิบหาบว่าปัญหาและประเด็นในการแก้ไขปัญหาว่าจะเป็นประเด็นอะไร ก็ไม่น่าพลาดนะครับ การลดต้นทุนการผลิต แน่นอนและมั่นคง เมื่อเหล็กกำลังร้อน เราก็ต้องรีบตี ตกลงว่าสนใจยังจะแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการวิจัยแบบนี้อยู่หรือเปล่า เอาสิเอา ๆๆๆ พี่เสนาะอีกแล้วครับ ไม่มีใครแกหัวไวใจสู้อยู่ตลอด แต่ไม่ทันไร ก็แค่เก็บข้อมูลตัวเองไม่เห็นยาก แต่มันอาจจะต้องเติมเรื่องการขยายวงการเรียนรู้ไปกับชุมชน ตำบลได้อย่างไร เฮ๊ย ๆๆๆๆๆ พี่เสนาะเจ้าเดิมส่งเสียงหลง ด้วยหน้าตางง  งง แต่แกก็ยังยืนยัน เอาไงก็เอา มาถึงขั้นนี้แล้ว  พวกเราก็ต้องพยายามเคลียร์เรื่องเวลา และการจัดการที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพ เนื่องจากวิถีการผลิตเกษตร(ทำนา) ของพื้นที่ภาคกลาง เวลาทั้งหมดจะผูกพันกับการประกอบอาชีพเป็นส่วนมาก พอพี่จรัญ และพี่วิชาญและพี่เสนาะตกลงปลงใจแล้วก็ถือโอกาสนัดหมายวันเวลามาพูดคุยครั้งต่อไป วันที่ ๓ พ.ย. ๔๙ ที่บ้านพี่จรัญ เรียกว่าบุกบ้านกันเลยทีเดียว...     
หมายเลขบันทึก: 57902เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2006 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น้องอาร์ตครับ

น้องอารต์ลองจัดย่อหน้าใหม่ให้อ่านง่ายๆดีมั้ยครับ

..................

บันทึกน่าสนใจมากครับ ใช้ ฟอนท์ Tahoma 11 หรือ 11.5 (ที่ผมใช้) จะอ่านได้ดีครับ ลองใช้ไฮไลต์สีอักษรเน้นจุดที่น่าสนใจด้วยจะดูดีครับ

ส่วนบันทึกนี้พี่ขอแลกเปลี่ยนกับอาร์ตว่า เขียนได้ ๒ บันทึกครับ เพราะประเด็นต่างกัน และ น่าสนใจทั้ง ๒ ประเด็น

ปล.รูปดูเท่ห์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท