ARR ครั้งที่ 5


บันทึกARR ครั้งที่ 5

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอนดร. อดิศรเนาวนนท์

โดยนางสาวสุนีย์เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโทภาคพิเศษสาขาหลักสูตรและการสอน

วันที่5 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557โทร 091-0251803E-mail[email protected]

เรื่องศึกษาดูงานที่โรงเรียนเทศบาล 4

…………………………………………………………………………………………………………………………………..

สิ่งที่คาดหวัง

มีความรู้ความเข้าใจKMสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ความรู้ที่ได้รับ

กระบวนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 4 เพาะชำ ว่ามีการบริหารสถานศึกษาด้วยการจัดการความรู้ โดยใช้ชื่อว่า "เพาะชำโมเดล" ลักษณะของ องค์กรแห่งการเรียนรู้มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่รุนแรง องค์กรที่ปรับตัวช้านั้นจะล้มหายตายจาก องค์กรที่จะอยู่รอดคือองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีการถ่ายทอดความรู้ อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานจะต้องทำ เพื่อพัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต่อมา Model ของ Senge เป็นโมเดลที่เน้น 3 ระดับ คือ 1) ระดับองค์กร ควรมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2) ระดับกลุ่ม เรียนรู้จากกันและกัน 3) ระดับปัจเจก ใฝ่เรียนรู้,มุ่งมั่นพัฒนาคน ฝึกฝนสร้างแผนที่ความคิด

การจัดการความรู้มี 2 ประเภท คือ Explicit Knowledge (ความรู้เด่นขัด) ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และ Tacit Knowledge (ความรู้ที่อยู่ในตัวตน) เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ ความรู้ทั้งสองประเภทสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้ตลอดเวลา socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้าง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ Externalization สร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่ combination แปลงความรู้ขั้นต้นเพื่อการสร้าง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit และ Internalization แปลงความรู้จาก Explicit Knowledge กลับสู่ Tacit Knowledge การจัดการเรียนรู้ในองค์กรส่วนใหญ่จะไร้พลังและไม่สมดุล"เพาะชำโมเดล" ประกอบไปด้วย 1) การเล่าสร้างพลัง 2) แก่นความรู้ 3) บันใดแลกเปลี่ยน 4) บันทึกแลกเปลี่ยน 5) AAR ซึ่งแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน โดยมี KV(Knowledge vision) M(Mind) 3S (Share , Show ,Support) มีวิธีการดังนี้ ตั้งทีมงาน ให้ความรู้ กำหนดวิสัยทัศน์ความรู้ ฝึกปฏิบัติและปฏิบัติจริง ติดตาม ทำต่อเนื่อง และเผยแพร่ ผลที่ได้คือ คลังความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรมการเรียนการสอนใหม่ๆ ผลที่เกิดบุคลากรในโรงเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

การนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงาน

นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยต้องเริ่มจากมีการสร้างสรรค์ และพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ และจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมให้มีสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 578738เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2014 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2014 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท