บทความ IT


เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทความการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการลงทุนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ และเราใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือใน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ ในบรรดาปัจจัยต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อประสิทธิผลในการพัฒนา ซึ่งมีหลายปัจจัยนั้น ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด แม้เราจะมีปัจจัยอื่นๆ อย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าทรัพยากรมนุษย์ไม่มีคุณภาพแล้ว การพัฒนาก็ไม่อาจประสบผลสำเร็จสูงสุดได้ รัฐบาลไทยเริ่มเน้นการพัฒนากำลังคนมาตั้งแต่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 ได้ข่าวว่าในการทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นั้นมีปรัชญาหรือจุดมุ่งหมายหลักอยู่ที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือของการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต ไม่ได้เน้นที่การเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน ในช่วงนี้จึงมีการกล่าวถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาแบบยั่งยืน และแนวทางต่างๆ ที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาอยู่มาก เพื่อกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา อันจะส่งผลต่อเนื่องในการพัฒนาประเทศโดยรวมประสบผลสำเร็จ เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้ใน ด้านการศึกษานั้นมีทั้ง เทคโนโลยีเสียง หรือ audio technologies เทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว หรือ video technologies และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเสียงที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่ วิทยุกระจายเสียงและเทปเสียง เทคโนโลยีเสียงเป็นเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนในเชิงเทคนิคน้อยที่สุด ในบรรดาเทคโนโลยีทั้ง 3 ประเภทที่ได้กล่าวมาข้างต้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดด้วย เทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนในเชิงเทคนิคและเสียค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะในส่วนของการผลิตรายการ แต่ก็มีข้อดีที่สำคัญ คือ ช่วยถ่ายทอดความรู้ได้ทั้งในรูปของภาพเคลื่อนไหวและเสียงประสมเข้าด้วยกัน และสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ยากต่อการเข้าใจ หากจะอธิบายด้วยตัวหนังสือหรือเสียงเท่านั้น เช่น ความงามทางสถาปัตยกรรม ศิลปะอื่นๆ และทักษะการแสดงออกต่างๆ เป็นต้น สื่อประเภทนี้ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ลึกซึ้งขึ้น เทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหวที่สำคัญ ได้แก่ โทรทัศน์แบบปกติ หรือ open broadcast television โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหรือสายเคเบิล หรือ satellite/cable television และวีดีโอ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในเชิงเทคนิคและเสียค่าใช้จ่ายสูงสุด การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในฐานะสื่อการเรียนการสอนนั้น มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถย้อนกลับ เพื่อทบทวนบทเรียนหากไม่เข้าใจ และสามารถกำหนดเวลาเรียนของตนเองได้ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนไว้ด้วย เพื่อการปรับปรุงแก้ไขในภายหลัง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ มีการโต้ตอบทันทีระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปรียบเสมือนครูผู้สอน ช่วยให้การเรียนรู้ได้ผลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่สำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในฐานะสื่อการเรียนการสอนก็คือ การออกแบบและการผลิตชุดการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ (courseware) จำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้และความชำนาญในด้านนี้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงในการผลิตชุดการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ ผสมผสานกับเทคโนโลยีคมนาคมและเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว ในฐานะสื่อการเรียนการสอนทางไกลคือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ computer assisted instruction-CAI และวีดีทัศน์ชนิดมีการโต้ตอบ หรือ interactive video[online]. เข้าถึงได้จาก.  http://www.princess-it.org/kp9/articles/ch2-2.th.html#label222. (02 พ.ย. 49).
หมายเลขบันทึก: 57862เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2006 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท