OLPC อย่างนี้ ใครยังคิดว่าเป็นของเล่นบ้างยกมือขึ้น


ผมตั้งใจว่าจะแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับ OLPC ให้ท่านได้อ่านกันเรื่อยๆ ครับ จนกว่าคนไทยโดยส่วนใหญ่เข้าใจว่า OLPC คืออะไร

ส่วนผู้มีอำนาจที่ไหนจะเข้าใจว่า OLPC เป็น "ของเล่น" แล้วพยายามทำโครงการ "คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร" ต่อ ผมไม่สนใจครับ

โครงการ OLPC ยังอีกไกลครับ ผมเชื่อว่าอีกไม่นานก็จะมีคนไทยที่มีวิสัยทัศน์ถึงได้มีโอกาสอยู่ในตำแหน่งบริหาร ถ้าบันทึกเหล่านี้ของผมมีส่วนช่วยได้บ้างก็จะดีมากทีเดียวครับ

วันนี้มาอ่าน hardware specification ของ OLPC กันก่อนนะครับ

อย่าสงสัยนะครับ ว่าผมพยายามบอกเสมอว่า OLPC ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วมันมี hardware specification ได้อย่างไร

เพราะถ้าสงสัยผมแนะนำให้กลับไปอ่านบันทึกเก่าๆ เกี่ยวกับ OLPC ของผมครับ

สำหรับบันทึกนี้ ผมขอเชิญอ่าน "Hardware Specification - OLPC " ซึ่งผมขอแนะนำให้อ่านโดยละเอียดเป็นพิเศษใน section "What makes this system unique?" นะครับ

อ่านเสร็จแล้วลองตอบคำถามผมว่า "นี่คือของเล่นหรือไม่?" ครับ ตอบใน comment ก็ได้ครับ

คำสำคัญ (Tags): #olpc#specification#unique
หมายเลขบันทึก: 57834เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2006 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

นึกๆ ดูตอนนี้ผมคิดว่า

จะสำคัญอย่างไร ในเมื่อเราไม่สามารถถึงจุดมุ่งหมายได้

 

เหมือนกับว่าจะสำคัญอย่างไรถ้าสอนเด็กไทยให้อ่าน

ออกเขียนไ้ด้ถูกต้อง กว่าการสอนใช้คอมพิวเตอร์ตั้ง

แต่ ป3 

^

^

^

ถ้าถามว่าหมายถึงอะไร

ตอบว่า ผมก็ไม่รู้ รู้สึกว่างง

แปลว่าไรเนี่ย  - -"

 

ดร. ลบทิ้งได้นะครับ 

คุณม่อนพูดถูกต้องครับ

จะมีประโยชน์อะไรที่จะสอนให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ ป.3 ควรสอนให้อ่านออกเขียนได้ก่อนมากกว่า ดังนั้นผมกับคุณม่อนไม่เห็นประโยชน์ของ "คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร" เหมือนกัน

ส่วนการอ่านออกเขียนได้นั้น ในสมัยอดีตเราต้องสอนให้เด็กใช้ สมุด กับ ดินสอ ใช่ไหมครับ 

OLPC "ไม่ใช่คอมพิวเตอร์" มันคือ "อุปกรณ์" ที่มาแทนสมุดกับดินสอครับ

เราลองนึกย้อนไปถึงสมัยเราฝึกอ่านเขียนกันใหม่ๆ เราจะรู้ว่าเราใช้ "อุปกรณ์" อะไรกันบ้าง ซึ่งเราไม่ได้ใช้ "คอมพิวเตอร์" เลย

เราใช้อุปกรณ์อย่าง OLPC มากกว่า เพียงแต่อุปกรณ์ที่เราใช้นั้นอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีที่เก่ากว่าเท่านั้นเอง

สมัยผมใช้ดินสอกับสมุด สมัยพ่อผมใช้ดินสอพองกับกระดานชนวน สมัยปู่ผมใช้พู่กัน ฯลฯ

สมัยโบราณนั้นการพัฒนาการของเทคโนโลยีเพื่อการอ่านการเขียนยังไม่ได้ "ก้าวกระโดด" เหมือนจาก สมุดและดินสอ ไป OLPC คนเลยยังเข้าใจกันง่ายกว่าครับ

ผมอ่านบทความ OLPC ของอาจารย์แล้ว ผมคิดว่า OLPC ควรมีคนมาเปลี่ยนนิยามให้เป็น"วัฒนธรรมการเรียนรู้" ผมเห็นว่า โครงการ Notebook ที่ยกเลิกไปนั้น ในรัฐบาลไม่มีใครมาผลักดันต่อและผู้มีอำนาจไม่ได้เห็นความสำคัญ+ไม่มีมุมมองด้าน"วัฒนธรรมการเรียนรู้" จึงยกโครงการไปเลิกไป

ว่าไปก็น่าเสียดายสำหรับโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ของเด็กจริงๆ "คอมพิวเตอร์" เด็กๆคงนึกถึงเกมส์มากกว่า แต่ผมเชื่อว่าจะมีเด็กส่วนหนึ่ง(80:20)ที่เห็นถึงประโยชน์ว่า เพียงแค่เข้าถึงข้อมูลได้ ไม่ต้องการ์ดจอแรง ไม่ต้องแรม 1 กิ๊ก ไม่ต้อง 1 Mbps ก็สามารถนำมาสร้างสรรค์อะไรๆดีให้กับบ้านเมืองได้(ผมเห็นว่าเกมส์ออนไลน์มันดูดเงินจากเด็กๆและผู้ปกครองไปเยอะมากกว่าโทรศัพท์มือถือ 3G อีกนะ)

ผมว่าเราสามารถสร้างกระแสได้ (ขนาดคำว่า"กิ๊ก"ยังทำได้) โดยเริ่มจากสร้างวัฒนธรรม KM&LO ให้ผู้ใหญ่เห็นว่ามันเวิร์คนะ! และเชื่อได้เลยว่า มันจะถ่ายทอดไปยังเด็กๆได้ เหมือน "ต้องจบปริญญานะ จึงจะประสบความสำเร็จได้" "ต้องเรียนวิศวะนะลูก" "องค์กรเราต้องมี ISO Cert.นะ"

และตอนนี้อาจารย์เอง และพวกเราชาว Blogger ทุกคนก็กำลังปลุกกระแสกันอยู่

รอเป็น Tzunami ถึงเวลานั้น ใครก็หยุดไม่อยู่ ห้ามไม่ได้แน่ๆ

อีกอันครับ..

ผมเห็น Smartputer ที่อาจารย์บอกให้ลองเข้าไปดูแล้ว

มัน PDA ชัดๆ

รบกวนอาจารย์บอกความแต่งต่างด้วยนะครับ

MERCI..... 

ประเทศอินเดียมีการสนับสนุนให้ทำการวิจัย เพื่อสร้างอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่สามารถพกพาได้สะดวก ราคาถูก (น้อยกว่า10000บาท) ประหยัดไฟ สามารถใช้งานได้ทั้งวัน เพื่อให้ประชากรของเขาสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล-ความรู้-ข่าวสารได้

 รัฐสนับสนุนงบวิจัยนับเป็นร้อยล้าน เพื่อจะได้ไม่ต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

 โครงการในลักษณะของ Simputer และคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กจึงเกิดขึ้นมาหลายโครงการ เป็นอุปกร์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้ง hardware และ software

ผมเคยติดตามข่าวอยู่พักหนึ่ง เพราะความต้องการคอมพิวเตอร์ที่สามารถพกพาได้ที่มาขนาดเล็กกว่าโน๊ตบุค เพราะในความเป็นจริง(ของผม) การใช้งานคอมพิวเตอร์นอกสถานที่เป็นการใช้งานในบางลักษณะที่ไม่จำเป็นต้องเป็นโน๊ตบุค(ที่น้ำหนักมาก ใช้ได้2-3ชั่วโมงก็หมดแบต พกพาก็ไม่สะดวก)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท