ชีวิตที่พอเพียง: 2254. ล้านนาคดีศึกษากับ University – Community Engagement


         ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๗ผศ. วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนัก
ศิลปวัฒนธรรมเสนอโครงการล้านนาคดีศึกษา โดยนำเสนอยุทธศาสตร์และแผนงาน“๘ ด้านล้านนา เลอค่าเชิงอัตตลักษณ์”ได้แก่ (๑) ภาษา วรรณกรรม และวรรณศิลป์(๒) โบราณคดีและประวัติศาสตร์(๓) ปรัชญา ศาสนา และความเชื่อ(๔) ศิลปกรรม หัตถกรรม ดนตรี และนาฏยกรรม(๕) สถาปัตยกรรม(๖) การกิน การอยู่ เครื่องนุ่งห่ม(๗) การแพทย์ล้านนา(๘) มานุษยวิทยา ที่มีหนังสือ
ล้านนาคดีศึกษา
หนา ๕๔๖ หน้าเป็นหลักฐานการทำงานรวบรวมองค์ความรู้เรื่องนี้

         เป็นการนำเสนอยุทธศาสตร์และแผนงานที่เป็นระบบมีความร่วมมือกับหลายคณะภายใน มช. และเป็นการต่อยอดจากผลงานที่มีอยู่เดิมดังปรากฎในเว็บไซต์ http://library.cmu.ac.th/lannakadee

         ผมได้ให้ความเห็นว่า ที่นำเสนอนั้นน่าชื่นชมอย่างยิ่งเพราะคิดเป็นระบบดีมาก และใช้ยุทธศาสตร์ ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆแต่ยุทธศาสตร์และแนวทางดำเนินการที่ใช้ยังเป็นเพียงครึ่งเดียวคือเป็นแนวทางที่เน้น archeology / history และเน้นวิชาการจึงเสนอให้ พิจารณา สร้างความสมดุล ระหว่าง แนวทางที่เสนอไว้ กับแนวทาง contemporary / futureซึ่งพอจะเสนอเป็นความพอดีระหว่างแนวทางซีกซ้าย และซีกขวาดังนี้

 

History & Archeology-driven             Contemporary & Future-driven
Academic-based Application-based
Supply side Demand side
Documentary research Action research
ศาสตร์บริสุทธิ์ ศาสตร์ปฏิบัติ ประยุกต์

 

         แนวทางด้านซ้าย ไม่มี social/community engagement หรือมีน้อยแต่แนวทางด้านขวา มี engagement มาก

         เนื่องจากความรู้ด้านล้านนาคดีศึกษา เป็นสินทรัพย์ทางปัญญาสำหรับทำธุรกิจ การท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมได้อย่างมีพลังดังนั้นหากใช้แนวทางด้านขวามือ ธุรกิจท่องเที่ยวในภาคเหนือน่าจะเข้ามา เป็นหุ้นส่วนได้อย่างดี รวมทั้งเป็น แหล่ง “ทุน” สำหรับการทำงานวิชาการล้านนาคดีศึกษานี้“ทุน” ที่ว่านี้เป็นได้ทั้ง in kind และ in cash

        ท่านนายกสภา ศ. นพ. เกษม วัฒนชัย บอกว่า จำเป็นต้องสร้างนักวิชาการด้านนี้เพราะนักวิชาการ ล้านนาคดีศึกษาล้มหายตายจากไปมากและที่มีอยู่ก็อายุมากผมนึกในใจว่าจะเสนออีกความเห็นหนึ่งแต่เกรงใจว่าไม่มีเวลาจึงไม่ได้เสนอจึงขอนำมาลงไว้ในที่นี้ว่าควรมีนวัตกรรมในการสร้างคน/นักวิชาการโดยการจัดหลักสูตรบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอกร่วมกับสถาบันในต่างประเทศซึ่งต้องการการคิดเชิง ยุทธศาสตร์ ที่จะต้องปรึกษาหารือกัน และหากจะใช้ยุทธศาสตร์นี้ ก็ขอความร่วมมือจาก สกว. ได้โดยใช้ทุน พวอ. ของ   สกว. ซึ่งในกรณีนี้ เป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว/อุตสาหกรรมบริการ นศ. ป. เอก/โท ในโครงการนี้ ไปทำวิจัยตามโจทย์วิชาการในสาขาวิชาต่างๆ โดยใช้ข้อมูลจริงของอุตสาหกรรมบริการในล้านนา ตอบทั้งโจทย์วิชาการ และโจทย์พัฒนาของอุตสาหกรรม 

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ส.ค. ๕๗

หมายเลขบันทึก: 577034เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2014 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2014 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท