วิธีวัดอายุ__อ่อนเยาว์หรือชรา(สว.)


อ.ยูดิธ เกรแฮม ตีพิมพ์เรื่อง "มาตร (วิธี) วัดความชรา (สว./สูงวัย)" ใน นิวยอร์ค ไทมส์, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ศ.วอร์เรน แซนเดอร์ซัน จากมหาวิทยาลัยสโตนี บรูค, สหรัฐฯ ทำการศึกษาเรื่องมาตรวัดความแก่ หรือวิธีวัดความสูงวัย (ชรา) ร่วมกับสถาบันวิเคราะห์ระบบประยุกต์นานาชาติ เมืองลาเซนเบิร์ก ออสเตรีย หลายปี ทำให้ได้ข้อสรุปอย่างนี้

.

(1). คนยุคใหม่แก่ช้าลง

.

ปี 2010/2553 คนอเมริกัน จะเริ่ม "แก่" ที่ 69.2 ปีในผู้ชาย, 72.3 ปีในผู้หญิง

ประเทศอื่น อาจจะแก่เร็วหรือช้ากว่านี้ ขึ้นกับอายุขัยเฉลี่ยของประชากรในประเทศนั้นๆ

ประเทศที่อายุเฉลี่ยยืนยาว = แก่ช้ากว่า

ประเทศที่อายุเฉลี่ยสั้น = แก่เร็วกว่า

.

(2). วิธีวัดความแก่ที่ดี คือ

  • วัดแรงบีบมือ (hand-grip strength)
  • วัดแรงกล้ามเนื้อครึ่งบน (upper-body strength)
  • วัดแรงกล้ามเนื้อครึ่งล่าง (lower-body strength)

.

การศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างประมาณ 50,000 คน จากสหรัฐฯ ประเทศในยุโรปหลายประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ พบคล้ายๆ กัน

คือ แรงบีบมือ มักจะตกลงตามอายุ

แถมแรงบีบมือ ยังสอดคล้องกับแรงกล้ามเนื้อครึ่งบน หรือกล้ามเนื้อมือ-แขน-ไหล่ โดยเฉลี่ยได้ด้วย

.

(3). คนที่มีการศึกษาสูงแก่ช้่ากว่า

.

การศึกษาสูง ทำให้คนเราแก่ช้าลง

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ความรู้ ทำให้คนเข้าใจสุขภาพดีขึ้น มีโอกาสในการป้องกัน-รักษาโรคมากขึ้น

.

ต่อไปจะเปรียบเทียบคนกลุ่มเดียวกัน ว่า คนที่มีการศึกษาต่ำ แก่เร็วกว่าคนที่มีการศึกษาสูง เท่าไร

  • (ก). ผู้หญิงผิวขาว (ฝรั่ง) > เรียนน้อย แก่เร็วกว่า = 4.5 ปี
  • (ข). ผู้ชายผิวขาว (ฝรั่ง) > เรียนน้อย แก่เร็วกว่า = 4.6 ปี

...  

  • (ค). ผู้หญิงอาฟริกัน-อเมริกัน (ผิวดำ) > เรียนน้อย แก่เร็วกว่า = 3.5 ปี
  • (ง). ผู้ชายอาฟริกัน-อเมริกัน (ผิวดำ) > เรียนน้อย แก่เร็วกว่า = 0 ปี (ไม่แตกต่างกัน)

.

ศ.แซนเดอร์ซัน แนะนำว่า น่าจะมีการวัดแรงบีบมือ (dynamometer)

.

นำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยตามอายุ-เพศ เป็นค่าเปอร์เซ็นทายล์ (percentile / pct)

.

ค่าเปอร์เซ็นทายล์ (pct) = ค่าที่แบ่งกลุ่ม ตามอายุ-เพศ เป็น 100 ส่วน 

.

คนที่อยู่ในเปอร์เซ็นทายล์เท่าไร = คน 100 คน มีคนดีกว่า = 100-pct; แย่กว่า = pct

.

.

จากการศึกษาเรื่องแรงบีบมือ พบว่า คนที่ได้คะแนน 45th pct คือ...

  • 45th pct = 100 คน มีคนดีกว่า = 100-45 = 55 คน, แย่กว่า = 45 คน
  • 45th pct = อยู่ประมาณที่ 55 จาก 100 คน

แบบนี้ = สอบผ่าน

ถ้าได้คะแนน 25th pct

  • 25th pct = 100 คน มีคนดีกว่า = 100-5 = 75 คน, แย่กว่า = 25 คน
  • 25th pct = อยู่ประมาณที่ 75 จาก 100 คน

.

แบบนี้ = สอบไม่ผ่าน แก่เกินวัย หรือสูงวัย (สว.) แน่นอน

.

(4). วัดแรงกล้ามเนื้อครึ่งล่าง

.

แรงกล้ามเนื้อครึ่งล่าง (lower-body strength) วัดได้โดยดูว่า คนๆ นั้นลุกจากท่านั่งเก้าอี้ เป็นท่ายืน ได้เร็วหรือช้า (sit-to-stand)

ศ.แซนเดอร์ซัน แนะนำว่า น่าจะมีการศึกษาวิจัย เพื่อหาค่ามาตรฐานของแรงบีบมือ และความเร็วในการเปลี่ยนท่าจากนั่งเป็นยืน

ถ้าประเทศไหนทำได้ก่อน, ประเทศนั้นน่าจะคัดกรองคนกลุ่ม "กกว./แก่เกินวัย" ได้

ถ้าทำได้ตั้งแต่เด็ก, ทำการสอบเทียบระดับประเทศบ่อยๆ กระตุ้นให้คนหันมาออกแรง-ออกกำลังกันมากๆ

.

ประเทศนั้นจะแข็งแรง

และที่สำคัญ คือ พัฒนาไปสู่ความเป็นชาติ "อกว./อ่อนกว่าวัย"

ได้เปรียบการแข่งขันกับนานาชาติ ในระยะยาว

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

.

From nytimes > http://newoldage.blogs.nytimes.com/2014/09/16/on-new-measurements-of-aging/?action=click&contentCollection=Health&region=Footer&module=MoreInSection&pgtype=Blogs

.

หมายเลขบันทึก: 576409เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2014 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2014 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท