PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _ : ครูวิเชียร ขันแก้ว "กระสอนผ่านกระบวนการสร้างชิ้นงาน"


ครูวิเชียร ขันแก้ว | การสอนผ่านกระบวนการสร้างชิ้นงาน

(ถอดบทเรียน เขียนเล่าเรื่องโดย ฤทธิไกรไชยงาม)

การสอนด้วยกระบวนการส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้เอง เป็นแนวคิดหลักที่ได้รับการยอมรับมากในปัจจุบัน เรียกว่า Construtivism และหากส่งเสริมด้วยวิธีผู้เรียนสร้างชิ้นงานด้วยตนเอง นักวิชาการเรียกว่า Constuctionism ยิ่งเป็นวิธีที่กำลังถูกนำไปปรับใช้อย่างแพร่หลาย ผมไม่รู้ว่า ครูวิเชียร ทราบดีถึง ๔ บรรทัดที่ผมเขียนมานี้หรือไม่ แต่วิธีที่ท่านใช้สอนการขยายพันธุ์มะนาวในบ่อท่อ ที่ท่านเล่าให้ฟังนั้น เป็นไปตามทฤษฎีการสอนแบบให้สร้างองค์ความรู้ด้วยการสร้างชิ้นงาน หรือ Constructionism “แป๊ะ” เลยครับ

ขั้นตอนแรกคือให้ความรู้โดยครูอธิบาย หรือบรรยายให้ฟังก่อน ภาษาฝรั่งเรียกว่า Lecture ต่อมาท่านจะเปิดวีดีทัศน์วิธีการขั้นตอนในการตอนกิ่งมะนาวให้ดู คือนักเรียนจะได้เห็น (Visual) ขั้นต่อมาคือ ครูสาธิตให้ดูจริง ให้ดูการตอนมะนาวจริงๆ ทีละขั้นตอน เรียกว่า Demonstrate จากนั้นท่านจะให้นักเรียนลงมือปฏิบัติสร้างชิ้นงานของตนเอง ในที่นี้คือ ตอนกิ่งมะนาวในท่อบ่อคนละ ๑ กิ่ง ขั้นตอนนี้เรียกว่า Learning by Doing คือ เรียนรู้จากการลงมือทำ

ต่อมาครูวิเชียรจะกำหนดให้นักเรียนทุกคนเขียนรายงานเกี่ยวกับ ความรู้ที่ตนมีเกี่ยวกับเรื่องนั้น วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ ฯลฯ กระบวนการนี้เป็นการทบทวน และนำเสนอ ซึ่งถ้านักเรียนทำด้วยตนเองจริงๆ จะได้ฝึกกระบวนการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ มาก เช่น การสืบค้น การสร้างสื่อ การเขียน การวาดภาพ การถ่ายภาพ การตัดต่อวีดีโอ ฯลฯ

นอกจากนักเรียนจะได้ติดตามลุ้นผลผลิตหรือผลลัพธ์ของตนแล้ว ซึ่งขั้นตอนนี้ ครูวิเชียรบอกว่า นักเรียนจะตื่นเต้นมาก และมีอัตราสำเร็จถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ การสะท้อนผลและถอดบทเรียนเกี่ยวกับกระบวนการทำชิ้นงาน และกระบวนการเรียนของตนเอง รวมทั้งการได้รับคำแนะนำจากครู จะทำให้นักเรียนพัฒนาตนเองได้อย่างรวดเร็ว สังเกตว่า ครูวิเชียรจะให้นักเรียนตอนมะนาวอีก ๑ กิ่งสำหรับผู้ที่ทำสำเร็จในรอบแรก หรือ ๒ กิ่ง สำหรับผู้ที่ไม่สำเร็จในรอบแรก

ถ้าพิจารณาการจัดการเรียนรู้ของครูวิเชียร กับปิรามิดการเรียนรู้ (Learning Pyramid) จะพบว่า นักเรียนจะได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า ๗๕ เปอร์เซ็นต์ เพรานักเรียนได้ลงมือทำ และถ้าหากท่านออกแบบให้นักเรียนที่ทำสำเร็จแล้วได้สอนกันและกัน หรือ ได้นำไปประยุกต์ใช้กับการทำชิ้นงานอื่นๆ อาจมีประสิทธิภาพสูงถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ตามปิรามิตการเรียนรู้ดังรูป

หมายเลขบันทึก: 575996เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2014 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2014 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท