PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _ : ครูพรกนก บุตรเรือง "วงจรการพัฒนาทักษะชีวิต"


ครูพรกนกบุตรเรือง | วงจรการพัฒนาทักษะชีวิต: ทำพานบายศรี

(ถอดบทเรียน เขียนเล่าเรื่องโดย ฤทธิไกรไชยงาม)

ครูพรกนกเป็นนักปฏิบัติ เป็นโค๊ชตัวจริง เป็นครูฝึกที่ครูทุกคนยอมรับและชื่นชมในผลงานการพัฒนานักเรียน จนสามารถนำสิ่งที่ท่านสอนไปประกอบอาชีพเองได้ บางกลุ่มบางคนชนะเลิศการแข่งขันระดับประเทศ จนสร้างชื่อให้ทางโรงเรียนเทศบาลบูรพาฯ และต้นสังกัดมาอย่างต่อเนื่อง ท่านยกตัวอย่าง การฝึกให้นักเรียนทำพานบายศรี ด้วยวิธีที่ผมเรียกว่า “วงจรการพัฒนาทักษะชีวิต” ดังภาพด้านล่าง

วงจร ๔ ขั้นของท่านเริ่มจากการตั้งความมุ่งหวังหรือความมุ่งหมายร่วมกันระหว่างครูกับศิษย์ก่อน ซึ่งท่านเน้นว่า ต้องเป็นศิษย์ที่ใจมุ่งมั่นจริงๆ เท่านั้นที่จะทำสำเร็จระดับนำไปประกอบอาชีพได้หรือไปแข่งข้นได้

เมื่อตั้งกำหนดเป้าหมาย ภาพฝันชัด ท่านจะให้นักเรียนทดลองทำให้ดู แล้วทำหน้าที่เป็นผู้ประเมิน เป็น “นักประเมิน” ตรวจสอบดูว่า นักเรียนรู้อะไรบ้างแล้ว อะไรยังไม่รู้ อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ขาดอะไร ผมเรียนขั้นที่ ๒ นี้ว่า “การวัดความรู้ ดูทักษะเดิม”

เมื่อเห็นผลงานหรือชิ้นงานของนักเรียน ท่านจะบอกจุดที่ยังขาด จุดที่ยังไม่ดี และแนะนำวิธีที่จะทำให้ดีขึ้นด้วย ขั้นนี้เรียกว่า การทำหน้าที่ Coach ทำการสะท้อน (Refletion) และ ป้อนกลับ (Feedback) ซึ่งจะทำให้นักเรียนเห็นจุดที่ตนเองพัฒนาให้ดีขึ้น

ถ้าข้อบกพร่องเหล่านั้นยากเกินไป หรือนักเรียนไม่เข้าใจ ท่านจะทำบทบาทของครู คือสอนให้ทำ ทำให้ดู พาให้ทำ หรือหาตัวอย่างมาให้ดู จนนั่งเรียนมั่นใจที่จะลองทำผลงานหรือชั้นงานนั้นใหม่ วนเป็นวงรอบต่อไป

ซึ่งสิ่งสำคัญที่ท่านเน้นย้ำมากๆ คือการเสริมแรงบันดาลใจ และกำลังใจให้เพื่อรักษาความมั่งมั่น และมั่นคงในเป้าหมายในการเรียนรู้และพัฒนาฝีมือต่อไป ขั้นสุดท้ายซึ่งก็คือขั้นแรกนี้ ครูท่านจะเป็นเหมือน “นักสร้างแรงบันดาลใจ” ให้นักเรียน

วงจรการพัฒนาฝีมือที่จะหมุนวนไปเรื่อยๆ รอบแล้ว รอบเล่า ด้วยความมุ่งมันและความรัก ความวิริยะ การเปิดใจยอมรับข้อบกพร่องและเรียนรู้สิ่งใหม่ จนกว่าครูพรกนกจะ “พอใจ” ว่า “ใช้ได้แล้ว ไปได้แล้ว”

ผมเสนอว่า เทศบาลเมืองมหาสารคาม ควรจะให้ความสำคัญกับจุดเด่นด้านทักษะชีวิตของนักเรียน โดยการทำ PLC ระหว่างผู้บริหารของกองการศึกษาฯ ผู้บริหารของโรงเรียน และศึกษานิเทศน์ เพื่อหาทางวางระบบส่งเสริมทักษะฝีมือ เช่น การทำพานบายศรี ดังที่กล่าวมานี้ อย่างเป็นระบบ

หมายเลขบันทึก: 575995เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2014 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2014 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท