PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _ : ครูพัชรา มหาวงษ์


ครูพัชรา มหาวงษ์ | ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกความจริงที่ต้องปกปิดหรือแก้ไข

(ถอดบทเรียน เขียนเล่าเรื่องโดย เปรมยุดา ชมภูคำ)

ครูพัชรามหาวงษ์ หรือครูอี้ สังกัดโรงเรียนเทศบาลสามัคคีรับผิดสอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๒-๓แต่มีโอกาสเข้ามาคัดกรองและสรุปจำนวนนักเรียนระดับชั้นประถมที่มีปัญหาอ่านไม่ออก โดยรับข้อมูลจากครูประจำชั้นแต่เมื่อนักเรียนกลุ่มที่ครูเคยทราบปัญหาผ่านขึ้นมาในระดับชั้นที่สูงขึ้นปัญหาการอ่านไม่ออกยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอีกทั้งถูกติงเรื่องข้อมูลจำนวนนักเรียนอ่านไม่ออกที่มีมากเกินไปให้ปรับลดลงตัวเลขที่เคยแสดงความจริงถูกเปลี่ยนหน้าที่ไปปัญหากำลังถูกปิดบังและไม่ได้รับการแก้ไขซึ่งครูอี้รู้สึกติดใจกับประเด็นนี้มากว่าจะปิดมันไว้หรือแก้ไขมันหากไม่แก้เด็กที่อ่านไม่ออกจะเป็นอย่างไรทั้งด้านการเรียนและชีวิตในอนาคตครูอี้จึงตัดสินใจขอดูแลโครงการนี้โดยตรงด้วยตนเอง

ลุยปัญหาด้วยตัวเอง

ครูอี้เริ่มต้นศึกษาปัญหาด้วยการค้นคว้าเพิ่มเติมและปรึกษาศึกษานิเทศก์เพื่อหาแนวทางแก้ไขทำการคัดกรองเด็กที่มีปัญหาด้วยการนำแบบทดสอบการอ่านโดยใช้คำพื้นฐานของแต่ละชั้นในการตรวจสอบรายบุคคลประบวนการนี้ทำให้ครูอี้ได้เห็นปัญหาที่แท้จริงคือเด็กมีปัญหาการอ่านไม่ออกหลายระดับทั้งอ่านไม่ได้เลยอ่านได้บ้างและอ่านได้แต่ไม่คล่องแคล่วรวมถึงพบสาเหตุมาจากปัญหาด้านสายตาอีกด้วยทำให้การแก้ปัญหามีแนวทางมากขึ้นคือรู้สาเหตุและระดับปัญหาโดยทำการจัดกลุ่มปัญหาที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกันเพื่อการจัดหาแบบฝึกและการดูแลที่ตรงจุดสำหรับแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน

นอก จากนี้แล้วเพื่อให้เห็นถึงสาเหตุที่แท้จริงครูอี้ยังใช้แบบคัดกรอง ของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทราบสาเหตุของปัญหาอย่างแท้จริงว่ามาจากความ บกพร่องด้านการเรียนรู้(LD)หรือพฤติกรรมการเรียนทำให้สามารถกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมโดยการร่วมพูดคุยกับทั้งผู้ปกครองและผู้บริหารเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการช่วยเหลือดูแลต่อไปซึ่งพบว่าผู้ปกครองเด็ก LD ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจและยังไม่ยอมรับการที่ลูกต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลแต่ครูอี้ยังคงดำเนินการต่อไปเท่าที่ขอบเขตการดูแลของครูจะทำได้ครูอี้บอกว่า“อย่างน้อยเราก็ยังได้ทำยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย” และเมื่อถามครูอี้ว่าทำอย่างไรกับความไม่เข้าใจนี้ครูอี้ตอบว่า “ก็พูดซ้ำอีกพูดอยู่อย่างนั้นไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรส่วนของเราก็ยังต้องทำต่อไป”

เด็กอ่านไม่ออกจะทำอย่างไร

เมื่อพบปัญหานี้ครูอี้รู้สึกเป็นกังวลและสลัดมันออกไปจากหัวไม่ได้เพราะการอ่านไม่ได้ส่งผลต่อเด็กๆในระยะยาวไม่ใช่เพียงเรื่องการเรียนแตะเป็นทุกอย่างในชีวิตครูอี้จึงไม่สามารถปล่อยผ่านความจริงที่ว่ายังมีเด็กที่อ่านไม่ได้และไม่ได้รับการแก้ไขไปได้ครูอี้คัดกรองเด็กด้วยตนเองจนเห็นปัญหาการอ่านที่หลากหลายโดยครูอี้พูดถึงการแยกกลุ่มปัญหาว่า “วิธีการสอนจะมาจากการดูที่ปัญหาก่อนจะได้แก้ตรงจุดและย่นเวลา อย่างการแยกกลุ่มเด็กเช่นเด็กที่อ่านไม่ออกเลยอยู่กลุ่มเดียวกันเพื่อใช้วิธีการสอนแบบเดียวกันเพราะเขาจะอ่านช้าต้องค่อยๆฝึกไปเรื่อยๆในความเร็วที่ใกล้เคียงกันทำใก้ทุกคนตามกันทันไม่รู้สึกว่าถูกทิ้งห่างเกินไปหรือถ้าอ่านคำควบกล้ำไม่ได้ก็แยกออกไปฝึกคำควบกล้ำวิธีแบบนี้จะทำให้ไม่ต้องสียเวลารอกันและเด็กไม่รู้สึกเสียใจที่ตามเพื่อนไม่ทัน”

นอกจากนี้ครูอี้ ยังทำการบันทึกข้อมูลรายละเอียดของเด็กแต่ละคนถึงสภาพปัญหาเพื่อเป็นฐาน ข้อมูลในการติดตามความเปลี่ยนแปลงและวิเคระห์หาแนวทางการฝึกการอ่านที่เหมาะ สมกับเด็กแต่ละคนเริ่มต้นด้วยการอ่านคำพื้นฐานเพื่อดูว่าเขาอ่านอะไรไม่ได้บ้างจัดกลุ่มที่มีปัญหาใกล้เคียงกันไว้ด้วยกันถ้ายังอ่านไม่ได้เลยต้องเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดก่อนเพื่อให้เขามีกำลังใจ เช่น คำในแม่ ก.กาสระง่ายๆ ไปสู่คำที่ประสมซับซ้อนขึ้นคือสระประสมการมีตัวสะกดไปจนถึงคำประโยคบทอาขยานและหนังสือเรียนโดยแต่ละขั้นต้องฝึกผนซ้ำๆและต่อเนื่องให้เวลา

ภาพประกอบ : ปัจจัยที่ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ

การฝึกฝนต้องทำอย่างต่อเนื่องและด้วยจำนวนเด็กๆ ในโครงการมี ๓๑ คน ครูอี้ใช้วิธีการส่งต่อข้อมูลของเด็กแต่ละคนและแบบฝึกให้กับครูประจำชั้นเพื่อฝึกในวั่วโมงสอนส้อมเสริมโดยครูอี้จะลงไปคอยกระตุ้นและย้ำถึงปัญหาของแต่ละคนกับครูประจำชั้นเพื่อให้เข้าใจปัญหาและวิธีการดูแลโดยให้แยกเด็กออกมาฝึกอ่านโดยมีครูดูแลใกล้ชิดบันทึกผลการอ่านเพื่อใช้ประกอบการประเมินและติดตามพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและเมื่ออ่านได้ระดับหนึ่งแล้วจะทำการทดสอบโดยการอ่านสิ่งที่เคยฝึกมาแล้วเพื่อประเมินให้ฝึกในลำดับต่อไปที่ยากขึ้นหากยังไม่ผ่านการทดสอบจะต้องทอซ้ำและย้ำกับจุดที่ยีงอ่านผิดไม่ปล่อให้ผ่านไปยังวด่านต่อไป

การดูแลเด็กที่อ่านไม่ออกและเด็กที่มีปัญหาความบกพร่องด้านการเรียนรู้เหมือนต่างกันอย่างไร

ครูอี้ใช้แบบฝึกแบบเดียวกันกับเด็กปกติเพื่อฝึกการอ่านเพราะเด็กๆมีพื้นฐานใกล้เคียงกันคือยังอ่านไม่ได้แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือรายละเอียดที่ต้องใส่ใจครูต้องคอยสังเกตลักษณะนิสัยความพร้อมด้านอารมในการร่วมกิจกรรมซึ่งสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้มากเพราะถ้ายังไม่พร้อมไม่แน่นอนว่าเขาจะยังไม่เปิดรับครูต้องเข้าใจและใช้วิธีการพูดคุยกับเขาถึงปัญหาที่ยังคาใจและรบกวนอารมก่อนวันนั้นอาจไม่ได้ทำกิจกรรมการเรียนแต่ได้พัฒนาอารมและการใช้เหตุผลของเด็กซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าทักษะด้านการเรียนเลยจะเห็นได้ว่านอกจากการมองเห็นปัญหาแล้วสิ่งสำคัญคือครูที่เป็นเหมือนแม่ซึ่งมองเห็นและเข้าใจความเป็นไปของลูกๆแม้จะไม่ได้บอกออกมาตรงๆแต่ครูจะคอยสังเกตอย่างใส่ใจเด็กๆทุกคนเสมอดังที่ครูอี้พูดถึงสิ่งสำคัญในการดูแลเด็กๆว่า“อันดับแรกเลยครูนี่แหละต้องใส่ใจถ้าครูรู้จักเด็กเอาใจใส่เข้าใจธรรมชาติของเขาทุกอย่างมันจะตามมาเองอย่างเด็กที่บกพร่องด้านการเรียนรู้เราก็ต้องเข้าใจธรรมชิตของเขาต้องใจเย็นมากๆให้โอกาสเขาจะไปคาดหวังว่าต้องได้เลยไม่ได้คอนดูเขาไปเรื่อยๆอย่างน้อยใจเขาก็ยังอยู่กับเราได้ฝึกอ่านบ้างถึงจะไม่ได้มากแต่ก็ยังได้ทำ”

จะเห็นได้ว่าครูอี้ใส่ใจในรายละเอียดของเด็กแต่ละคนอย่างรอบคอบใช้ใจมองปัญหาครูอี้พูดด้วยรอยยิ้มว่า “เด็กๆน่ารักอยู่ด้วยได้ทั้งวันแต่ก่อนต้องคอยไปตามเดี๋ยวนี้ไม่ต้องแล้วเลิกเรียนเขาก็จะมาด้วยความกระตือรือล้น” นี่แสดงให้เห็นถึงใจที่ให้กันระหว่าครูและนักเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างบรรยากาศการเรียนที่สบายใจและมีความสุขครูอี้ย้ำเสมอว่า“ถ้าใส่ใจไม่มีทางไม่ได้หรอก”

ครูอี้ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างสำหรับครูเพื่อศิษย์นี่น่าชื่นชมแม้มีปัญหาแต่ถ้ามีศรัทธาว่ามันแก้ได้แล้ววิธีการจะตามมาอย่างน่าเหลือเชื่อ

“ให้ใจกับมันก่อนอย่างอื่นมันจะตามมาเองมันใช้เวลาเราต้องใจเย็นมากๆเหมือนการปลูกต้นไม้เรามีหน้าที่ปลูกก็ปลูกไปดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ยถ้าเราอยากเห็นดอกเร็วใจเราก็จะไม่เป็นสุขเอายามาเร่งให้ดอกออกเราก็กระวนกระวายรอดูสู้ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติรอดูต้นไม้ทำหน้าที่ออกดอกตามเวลาของมันดอกมันก็จะสวย...และแข็งแรง”

หมายเลขบันทึก: 575951เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2014 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2014 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท