ตัวชี้วัด 5 ประเภทของโครงการภาครัฐ


ได้แก่...ตัวชี้วัดปัจจัยนำเข้า, ผลผลิต, ผลลัพธ์, ประสิทธิภาพและความคุ้มค่า และ ข้อสนเทศเชิงอธิบาย

ตัวอย่างตัวชี้วัด 5 ประเภท ที่มักใช้ในระบบการวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการภาครัฐ
     (1) ตัวชี้วัดปัจจัยนำเข้า (Input Indicators) ได้แก่ ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ เช่น จำนวนเงินงบประมาณที่ใช้ หรือจำนวนบุคลากรที่จำเป็นในการให้บริการสาธารณสุข จำนวนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการการผลิต เป็นต้น
      (2) ตัวชี้วัดผลผลิต (Output Indicators) ตัวชี้วัดนี้จะแสดงจำนวนสิ่งของที่ผลิตได้ หรือจำนวนหน่วยที่ได้ให้บริการต่อผู้รับบริการตัวชี้วัดนี้จะรวม ตัวชี้วัดภาระงาน (Workload) ซึ่งเป็นตัวสะท้อนความพยายามที่ใช้เพื่อผลิตสิ่งของหรือให้บริการ ตัวอย่างของตัวชี้วัดผลผลิต ได้แก่ จำนวนผู้เข้าอบรม จำนวนคนไข้ที่มารับการรักษา หรือจำนวนเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีน เป็นต้น
      (3) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome Indicators) ตัวชี้วัดเหล่านี้จะรายงานผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ตัวอย่างได้แก่ ร้อยละของการรักษาแล้วหาย หรืออาการดีขึ้น เป็นต้น
      (4) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพและความคุ้มค่า (Efficiency and Cost Effectiveness Indicators) ตัวชี้วัดเหล่านี้จะแสดงค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของผลผลิตและผลลัพธ์ ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายต่อหัวของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล หรือที่สถานีอนามัย ในโรคเดียวกันนั้น เช่นไข้หวัด เป็นต้น
      (5) ข้อสนเทศเชิงอธิบาย (Explanatory Information) ข้อมูลนี้จะเกี่ยวกับองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การ องค์ประกอบเหล่านี้จะอยู่ภายใต้ หรืออยู่นอกเหนือจากการควบคุมขององค์การก็ได้ ตัวอย่างขององค์ประกอบที่ควบคุมได้ เช่น ร้อยละของเด็กที่ไม่ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 5757เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2005 00:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท