การถกกันเกี่ยวกับ คุณสมบัติที่คู่ควรกับคำว่า "อาจารย์"


แก่นแท้ของการสอนอยู่ที่ "การหลอมรวมครู เด็กและเนื้อหาเข้าด้วยกัน" โดยทั้งสามสิ่งต้องอยู่ในห้องเรียนอย่างแท้จริง ไม่น่าจะต้องเสียเวลากับการถกกันเรื่องของเทคนิควิธี!!

คนสองฝ่ายถกกันอย่างออกรสชาติเกี่ยวกับ คำว่า "อาจารย์"

ฝ่ายหนึ่งบอกว่า อาจารย์จะต้องมี content ที่จะสอน ถ้าไม่มีจะเรียกว่าอาจารย์ไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่าไม่ต้องมี content ก็ได้ แค่สอนวิธีที่จะเรียนรู้ให้กับเด็ก เขาก็เป็นอาจารย์ได้ สองฝ่ายถกกันเรื่องนิยามของคำว่าอาจารย์ด้วยสองหลักที่ต่างกัน Instructivism กับ Constructivism คนละขั้วคนละแนวคิด

เหตการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงตอนหนึ่งในหนังสือ "กล้าที่จะสอน" ของ ดร.ปาร์กเกอร์ เจ ปาล์มเมอร์

"ในไม่ช้าทั้งห้องก็แบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างที่พอทำนายได้ ฝ่ายหนึ่งเป็นนักวิชาการที่ยืนกรานว่า ต้องเอาวิชาเป็นหลักและต้องไม่ประนีประนอมเพื่อประโยชน์ของชีวิตนักศึกษา ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นพวกที่เอานักศึกษาเป็นศูนย์กลางและยืนยันว่า ชีวิตนักศึกษาต้องมาก่อนเสมอ แม้ว่าเรียนไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ยิ่งปักหลักหนุนแนวคิดตัวเองอย่างเอาเป็นเอาตายเท่าไร ทั้งสองฝ่ายก็ยิ่งเป็นปรปักษ์ต่อกันมากขึ้น"

พวกเขากำลังถกกันเรื่องเทคนิควิธี แต่พวกเขาอาจลืมไปว่าเทคนิควิธีหาใช้แก่นของการสอนไม่ หากแต่แก่นแท้ของการสอนอยู่ที่ "การหลอมรวมครู เด็กและเนื้อหาเข้าด้วยกัน" โดยทั้งสามสิ่งต้องอยู่ในห้องเรียนอย่างแท้จริง ไม่น่าจะต้องเสียเวลากับการถกกันเรื่องของเทคนิควิธี!!

หมายเลขบันทึก: 575677เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2014 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2014 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ประเทศไทยอย่างไรการศึกษาก็ไม่ก้าวไกล

เริ่มพัฒนา  ที่คุณสมบัติของอาจารย์ก่อน  นะคะ  ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท