การจัดประชุมวิพากษ์รายงานโครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย


สวัสดีชาว Blog ทุกท่านครับ

                    ผมรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้มอบหมายให้มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเป็นที่ปรึกษาจัดทำโครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนหรือแนวทางการจัดการและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการสถานีวิทยุกระจายเสียงและบริหารคลื่นความถี่ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย มีประสิทธิภาพในแง่มุมด้านต่าง ๆ ทุกมิติ รวมทั้งแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง โดยเฉพาะประเภทบริการชุมชนและการสร้างความมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม นักวิชาการ สื่อมวลชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กสทช. เพื่อการพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียง และการกำกับดูแลให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อการนำไปปฏิบัติใช้ในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม

                    โดยในวันที่ 25 สิงหาคม 2557 นี้ ได้มีกำหนดการจัดประชุมวิพากษ์รายงาน ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพฯ เพื่อร่วมรับฟังข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงโครงการวิจัย ฯ ให้ได้รับผลในเชิงการนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรมต่อทุกภาคส่วน

                     ผมจึงขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองท่านที่สนใจ หวัง เป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ

                                                                                                     จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 575164เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2014 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2014 09:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

การกล่าวปาฐกถาพิเศษ

หัวข้อ “คืนความสุขให้ประเทศไทยกับทิศทางวิทยุกระจายเสียงในอนาคต”

โดย นายฐากรตัณฑสิทธิ์

เลขาธิการสำนักงาน กสทช.

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้กล่าวถึง สถานการณ์ของ กสทช. ก่อนเหตุการณ์ คสช. ทำรัฐประหารในวันที่ 21 พ.ค. 2557 ที่ผ่านมา ว่า กสทช. มีโครงการพัฒนาฝึกอบรมวิทยุชุมชนเพื่อเข้าใจแผนงานต่าง ๆ โดยมีแนวทางที่จะเปลี่ยนจากระบบแอนาล็อก สู่ระบบดิจิตอล โดยให้ความเห็นว่าวิทยุชุมชนนั้นต้องมีความเข้าใจร่วมกันทั้งประเทศ วิทยุชุมชนที่เปิดในประเทศ 10,000 สถานีจะทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข คลื่นไม่รบกวนกันเอง และคลื่นไม่รบกวนคลื่นการบิน

ปัจจุบันวิทยุชุมชนที่ไม่ได้ออกอากาศเริ่มได้ออกอากาศได้แล้วบางส่วน โดยต้องมีการนำเครื่องไปตรวจสอบ และเซ็น MOU กับหน่วยงานความมั่นคง เพื่อให้สถานีวิทยุสามารถออกอากาศได้ ปัจจุบันพบว่ามีสถานีวิทยุที่ออกอากาศได้ประมาณ 1,200 สถานีแล้ว

สิ่งที่ สำนักงาน กสทช. ทำนั้นไม่ได้มีอะไรที่เร้นลับ แต่เป็นการเร่งทำงานเพื่อทำให้ประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาชนโดยเร็ว

ข้อมูลเบื้องต้นพบว่ามี 6,203 สถานี ที่มีการต่อใบอนุญาต ตรวจคลื่น ตรวจเสาอากาศส่ง และมีการเซ็น MOU ให้ตรวจคลื่น ตรวจเสาอากาศส่ง ต่อไป ซึ่งข้อมูลจากทางหน่วยงานความมั่นคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานความมั่นคง จึงขอความกรุณาผู้ร่วมรับฟัง ว่า ขณะนี้ สำนักงาน กสทช. กำลังเร่งเรื่องให้อีก 3 พันกว่าสถานีที่จะรีบดำเนินการภายหลัง

แผนการในอนาคตด้านกิจการกระจายเสียง

1.จะอยู่ร่วมกันอย่างไรไม่ให้คลื่นทับซ้อนกัน ได้มีข้อกำหนดว่าให้คลื่นวิทยุร้อยละ 20 เป็นของชุมชน และอีกร้อยละ 80 เป็นของธุรกิจและสาธารณะ ซึ่งในอนาคตอาจมีการปรับเปลี่ยนวิทยุชุมชนเป็นร้อยละ 30

2. ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ประกอบการวิทยุแต่ละท่านมีสิทธิ์มากน้อยแค่ไหน

3. ปัจจุบันยังเป็นใบทดลองอนุญาตประกอบกิจการ แต่ในอนาคตจะต้องเป็นใบอนุญาตประกอบกิจการจริง ซึ่งกำลังเร่งดำเนินการ

วิทยุชุมชน

หน้าที่ของ กสทช. ต้องให้เงินสนับสนุนสถานีวิทยุชุมชนเพื่อสนับสนุนในการออกอากาศ

สถานีวิทยุชุมชน มี 3 ส่วน

1. ชุมชนเป็นภาคธุรกิจ

2. ชุมชนเป็นสาธารณะ

3. ชุมชนที่เป็นชุมชนจริง ๆ ต้องไม่มีการโฆษณา จะเกิดในอนาคตข้างหน้า

โดยทั้ง 3 ส่วนนี้ กสทช. ได้ร่างแผนเรียบร้อยแล้ว

จึงขออยากทุกท่านที่ทำวิทยุที่ผูกพันกับสถานีเข้าตามช่องที่ได้จัดทำแผนให้ถูกต้องว่าเป็นวิทยุประเภทไหน ธุรกิจ สาธารณะ หรือชุมชน อย่างเช่นวิทยุชุมชนต้องมีวิทยุที่ทำชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 จึงขอให้ทุกคนเดินตามช่องนั้น ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการของตนเองไม่ใช่มีแค่ใบทดลองประกอบกิจการอยู่และสร้างจุดยืนให้วิทยุชุมชนจริง ๆ ว่าจะให้ยืนอยู่ตรงไหน

การปรับเปลี่ยนจากระบบแอนะล็อกสู่ระบบดิจิตอล

สิ่งแรกคือต้องศึกษาว่ามีวิทยุอยู่ในประเทศได้กี่สถานี โดยสิ่งสำคัญของการปรับเปลี่ยนระบบนั้น กสทช. ยึดหลักการว่าจะไม่ทำร้ายใคร จะให้ทุกคนยืนอยู่ได้อย่างมีความสุขโดยไม่รบกวนกัน

โจทย์ในการประมูลทีวีดิจิตอลวิทยุชุมชนจะจัดการอย่างไรให้เข้าสู่ระบบระเบียบ
การทำงานที่ให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน เป็นส่วนที่คิดหนัก

กรอบวิทยุกระจายเสียงทั้งหมด มีวิทยุชุมชน และต่างประเทศ เท่าไหร่ สัดส่วนมีวิทยุชุมชนเท่าไหร่ สาธารณะเท่าไหร่ ธุรกิจเท่าไหร่ ดังนั้นในระดับชาติ ภูมิภาค ท้องถิ่น จึงต้องมีการทำแผนแม่บท ทุกท่านมีส่วนในการร่วมแสดงความคิดเห็นทุกภาคส่วน วิทยุชุมชนจะกำหนดอย่างไร โดยจะมีแผนแม่บทกำหนดอีกครั้ง

สำนักงาน กสทช. ให้ความร่วมมือกับทุกท่านเป็นอย่างดีเพื่อให้วิทยุชุมชนสามารถออกอากาศได้อีกครั้ง เพียงแต่การออกอากาศขอให้มีการตรวจรับรองเครื่องให้ถูกต้อง ดูเนื้อหา ผังรายการปรับให้ถูกต้อง จึงสามารถเปิดโอกาสให้ทุกท่านออกอากาศได้

สำหรับเรื่องการนำเครื่องไปตรวจสอบนั้นจะให้มีการอำนวยความสะดวกให้มีการตรวจสอบคลื่นได้เร็วขึ้น

ความคิดเห็นจากพระสงฆ์

อยากให้คลื่นของพระได้ออกอากาศไปก่อน ไม่ต้องให้มีการพักการออกอากาศ อยากให้มองว่าอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองก็ให้ออกอากาศได้ อย่างเช่นศาสนาเป็นหนึ่งของสถาบันหลัก แต่ปัจจุบันไม่มีคลื่นเลย การที่จะมีการออกกฎหมายให้คนประมูลหมดอยากให้แก้ไขตรงนี้ด้วย ต้องดูว่าสถานีใครตั้งก่อน กสทช. ไม่สามารถก้าวล่วงได้

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

การรายงานการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

โดยศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

กล่าวรายงานโดยอาจารย์ประสพสุขพ่วงสาคร

เริ่มต้นการดำเนินรายการโดย

อาจารย์ประสพสุข พ่วงสาครกล่าวว่าการวิพากษ์รายงานในครั้งนี้ จะกล่าวถึงเรื่อง

1. การออกใบอนุญาตวิทยุกระจายเสียง

2. แนวทางการกำกับดูแล

3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

โดยเนื้อหาที่จะพูดในวันนี้ ประกอบด้วย

1. การสรุปภาพรวม

2. การอภิปรายการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3. แนวทางการกำกับดูแล

4. แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ได้กล่าวว่าอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศก็ทำให้เกิดผลจริง ๆ ต้องค้นหาว่าประเด็นสำคัญนั้นอยู่ที่ไหน จะปรับปรุงอย่างไร จะทำอย่างไร และจะทำสำเร็จได้จริงหรือไม่

ปัญหาวิทยุชุมชน และวิทยุต่าง ๆ มีปัญหาหมักหมมมานาน จะทำอย่างไรให้ประเทศเดินหน้าได้อย่างมีคุณภาพ ข้อคิดเห็นมีประโยชน์ต่อการจัดทำรายงานของเราขอให้ทุกคนเข้ามาอยู่ในวงจรที่มีความรู้จริง ๆ

งานในอดีตของมูลนิธิฯ เป็นงานด้านการทูตภาคประชาชน การพัฒนาคน ที่เข้ามาให้คำปรึกษาโครงการวิจัยฯ เนื่องจากการทำโครงการฯจะมีแนวทางในการเสนอด้านพัฒนาบุคคลากรด้วย โดยจะมีการดูทางด้านกฎหมาย เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การเปิดประมูลใบอนุญาต

สิ่งที่อยากฝากไว้ 3-4 เรื่อง คือ

1. ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชาชนรวม 65 ล้านคน ซึ่งถ้ากัมพูชา ลาว และประเทศเพื่อนบ้านก็รวมประมาณ 70 ล้านคน ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารร่วมกัน

2. โลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ด้านวิทยุมีข้อดีคือคนธรรมดาระดับเล็กไม่ จำเป็นต้องเป็นคนระดับใหญ่ ก็สามารถทำได้ ถ้ามีความตั้งใจและอยากช่วยสังคมอย่างแท้จริง

3. ประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ให้ความสำคัญต่อวิทยุเพราะว่าเป็นช่องทางที่ช่วยให้พลเมืองของประเทศเขาได้ติดตามข้อมูลข่าวสาร หรืออย่างสาธารณะรัฐอินโดนีเซียใช้วิทยุเป็นช่องทางในการสร้าง Unity in Diversity

4. โดยสรุปคือถ้าวิทยุให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งแวดล้อมที่ดี ประชาชนก็จะได้สิ่งที่ดี แต่ถ้าวิทยุมีแต่เรื่องการเมือง เรื่องธุรกิจ เรื่องเซ็กส์ วิทยุคงไปไม่รอด

งานกฎหมาย เทคนิค บุคลากรจะเป็นอย่างไร อยากให้ดูที่ตัวละครคือ ผู้ประกอบการ นักจัดรายการ การเมืองท้องถิ่น ผู้ฟัง ชุมชน บุคลากรทางวิทยุ เป็นต้น

งานวิจัยจะเน้นการใช้ทฤษฎี 2 R’s คือ

1. ความจริง Reality

2. ตรงประเด็น Relevance ต้องต่อเนื่อง ไม่ขึ้นหิ้ง ต้องมีการบริหารจัดการร่วมกัน คือมีเทคโนโลยีแล้ว ต้องมีเนื้อหาที่ดีด้วย

การเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอลไม่ใช่เรื่องง่าย

สิ่งสำคัญคือ การไปสู่ระบบดิจิตอลนั้น ระหว่างไปจะเตรียมบุคลากรอย่างไร ให้ทำอย่างเต็มที่ควรให้ความสำคัญกับด้านเนื้อหาการออกอากาศ ถ้ามีวิทยุชุมชน อยากให้เชิญ อสม. มาพูดด้วย เช่นการ พูดเรื่องสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพที่ดี เพื่อทำให้มีผู้ป่วยในโรงพยาบาลน้อยลง

ถ้ามีระบบดิจิตอล อาจารย์จะเข้าไปช่วยผู้บริหาร ผู้ประกอบกิจการ แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าไปดูเนื้อหาที่เหมาะสม

ในอนาคตข้างหน้าจะต้องพัฒนาคนของเราให้ดีที่สุด ไม่เฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างเดียว แต่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยหลักสูตรที่จะให้ความรู้ต้องสามารถรองรับการปฏิรูป

การทำวิทยุต้องกลับไปที่พื้นฐานการทำวิทยุที่แท้จริง คือ

- ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อเงิน หรือเพื่อการเมือง

- ต้องการให้สังคมไทยเป็นสังคม การเรียนรู้

อาจารย์ประสพสุขได้สรุปประเด็นที่อาจารย์จีระ Focus คือวิทยุเป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนมากกว่าที่อื่น ทำอย่างไรที่สามารถให้วิทยุเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ให้ประเทศเต็มไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม และการสร้างสังคมการเรียนรู้ในอนาคตและควรเข้าไปดูในเรื่องการบริหารจัดการด้านเทคนิค ธุรกิจ สังคม กลไกการกำกับดูแลด้วย

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมลได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สิ่งที่ทำคือต้องแก้ปัญหาการเปลี่ยนผ่านจากระบบแอนะล็อก สู่ระบบดิจิตอล ซึ่งอย่างไรก็ตามต้องเกี่ยวข้องกับ ITU และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงอย่างแน่นอนที่สำคัญคือ กสทช.ไม่อยากทำให้เกิดปัญหาเหมือนก่อนจึงควรหาวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ก่อนการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอลไม่เช่นนั้นปัญหาต่าง ๆ ก็จะเป็นเหมือนเดิมอาทิ การหลอมรวมความถี่ (Convergence) การส่งสัญญาณวิทยุ ข้อดีคือการรับฟังที่เลือกเวลาได้และดึงกลับมาฟังซ้ำได้ จะทำโดยเผยแพร่ระบบแสง และระบบอื่น ๆ กสทช. ต้องกำกับดูแลให้ทัน และผู้ประกอบการวิทยุต้องทราบล่วงหน้า

ด้านการกำกับดูแล

หลายสถานียังไม่ได้ปรับมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง ผลเสียจึงตกอยู่กับผู้ดำเนินการสถานีซึ่งมีมากมาย แม้บางสถานียังไม่ได้เปิดสถานีแต่พบว่าคลื่นรบกวนหายไปแล้ว เพราะเกิดการใช้วิธีพิเศษ

จะทำให้กสทช.ดำเนินการอย่างไรเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง

กรณีศึกษาไทย สวีเดน นอร์เวย์ อินโดนีเซีย

1. การบริหารคลื่นความถี่วิทยุ เป็นความท้าทายเพราะคลื่นความถี่วิทยุมีจำกัด แต่มีความต้องการใช้คลื่นเยอะ แต่ความสามารถของการให้คลื่นความถี่มีเพียงแค่ 1,000 สถานี สิ่งที่สามารถทำได้คือการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลซึ่งสามารถเพิ่มช่องได้ 3-4 เท่าจากช่องเดิม

2. การแก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ อยู่ที่แอพพลิเคชั่น หรือการหลอมรวมเทคโนโลยีที่เรียกว่า Convergence ช่วยการดำเนินการไปได้มาก

3. การทำกรอบชัดเจนเรื่องการบริหารคลื่นความถี่

ต้องเป็นกรอบตามหลักการพื้นฐานการบริหารคลื่นความถี่ ส่งเสริมความมีประสิทธิผล ก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ารายการไม่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพจะไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค

ต้องคิดถึงความเท่าเทียม การเข้าสู่อุตสาหกรรม การเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด ต้องให้สถานีเปิดเผยต่อสาธารณะ ให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. แนวทางการออกใบอนุญาตคลื่นความถี่ในอนาคต จะใช้รูปแบบที่ผสมผสานเพิ่มรูปแบบที่หลากหลาย และวงกว้าง

เทคนิคการกระจายเสียง

ต้องพัฒนาหรือดำเนินการให้มีเทคโนโลยีใหม่ เทคโนโลยีเรื่องการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล การค้นหาคลื่นวิทยุสู่ช่วงความถี่ที่ว่างทำให้ใช้งานได้ ถ้าอุปกรณ์ตัวนี้เข้ามาจะทำให้เกิด Time Sharing มีกฎเกณฑ์กำกับ กิจการจะเอื้อผู้ประกอบการให้มีทางเลือกตลอดเวลา

แนวทางด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ

การเปลี่ยนจากระบบแอนะล็อกสู่ระบบดิจิตอล เกิดการขาย การผลิต ที่ต้องนำข้อมูลไปวิเคราะห์ ให้มีเวลา และโปร่งใส

กสทช. ควรจะเปิดเผยข้อมูลหรือแนวทางให้รวดเร็ว โปร่งใส และกว้างขวางขึ้น

การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยี

มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่าง เรื่อง Content รูปแบบรายการให้มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น วิทยุธุรกิจ ท้องถิ่น มีทางเลือกมากขึ้น ผู้ประกอบการรายย่อยมีโอกาสเข้าไปประกอบธุรกิจ งานวิจัยฯ ที่ทำเน้นส่วนย่อย ว่าทำอย่างไรให้เข้าถึงคลื่นความถี่มากยิ่งขึ้น

ทำไมทำแอนะล็อกถึงไปต่อไม่ได้

แนวทางการเปลี่ยนผ่าน จะนำ F.M. ไปให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้อย่างไร เป็นสิ่งที่เราต้องนำเสนอแผนเข้าไปที่ กสทช. กสทช.จะมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการได้อย่างไร

การกำหนดนโยบาย

สามารถชี้แจงการจัดสรรคลื่นอย่างไรให้เหมาะสม จะสามารถเพิ่มความคาดหมาย

แนวทางด้านการเมืองสังคม วัฒนธรรม

ส่งเสริมอุตสาหกรรมสื่อให้มีความหลากหลายทั้งเนื้อหาและความเป็นเจ้าของ

วิทยุชุมชนต่างประเทศ มีที่มาคือการเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และมีแนวทางการเปลี่ยนผ่านจากระบบแอนะล็อกสู่ระบบดิจิตอล

กรณีศึกษาในต่างประเทศ

ดูเรื่องการกำกับดูแล หลักกฎหมาย มาตรการ และการลงโทษ ซึ่งบางครั้งไม่สามารถบังคับใช้ได้

การปิดกั้น การระงับการแพร่สัญญาณคลื่น

การให้ความรู้ กฎเกณฑ์ กติกา มารยาทและวัฒนธรรม

อะไรคือกฎเกณฑ์ แนวทางที่แท้จริง ภาคประชาสังคมต้องช่วยด้วย ต้องใช้ภาคีเครือข่ายในการมอนิเตอร์ หรือดูแลกำกับกันเอง

ประชาชนต้องรู้เท่าทันสื่อ

กลไกกำกับดูแล

ปัญหาสำคัญคือหลักกฎหมายที่เป็นข้อบกพร่องอยู่เป็นต้นทางของการกำกับดูแล พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ สัมปทานต้องถูกคืน

ถ้า กสทช. สามารถดึงสัมปทาน และการดูแลบริหารจัดการคลื่นได้หมด เป็นสิ่งที่ต้องคิด หลักกฎหมายที่ส่งผลในการกำกับดูแลที่ต้องแก้ไข

กสทช. ไม่สามารถไปจับคนที่ทำผิดกฎหมายได้

ต้องมีการบูรณาการและเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการรับฟัง และรับทราบด้วย

กฎหมายไปได้ แต่ถ้าภาคประชาสังคมไม่ร่วมจะเกิดการคัดค้าน

การพัฒนาการกระจายเสียงเปลี่ยนแปลงเร็ว ทำให้ไม่ยืดหยุ่น

มีการจัดสรรคลื่นความถี่เดิมใช้การประมูลด้านการเงินมีการลดหลั่นตามพื้นที่ แต่อาจมีการ Beauty Contestในบางส่วน

การประมวลจริยธรรม และความรับผิดชอบ แก้ไขบทบัญญัติบางประการ

การศึกษาแนวทางที่เหมาะสมใช้ในการกำกับดูแล

การกำกับดูแลโดยตรง มีอำนาจกฎระเบียบดูแลร่วมกัน ถ้ามีอะไรที่ไม่ถูกต้องอย่างอินเตอร์เน็ต ICT จะปิดเลย

อะไรที่เป็นกฎเกณฑ์ชัดเจนจะไม่ทำ

การกำกับดูแลกันเอง มีการควบคุมพฤติกรรม ไม่ให้ถูกปิด ใช้คุณธรรม จริยธรรม บริหารสื่อ ทำให้การดำเนินการกำกับวิทยุกระจายเสียงเป็นได้ด้วยดี

อาจารย์ประสพสุข สรุปว่า

วิทยุชุมชน มีความสำคัญ และบทบาทต่อการดำรงชีวิตของประชาชนสูงมาก เป็นสื่อที่มีความสำคัญมาก ๆกฎหมายต้องมีการบูรณาการระหว่างกันเพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิผลสูงที่สุด ตั้งองค์กร สมาคมขึ้นมา

การกำกับดูแล มีประเด็นที่เกี่ยวข้อง 3-4 เรื่อง มีช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ และผู้ฟังควรรู้เท่าทัน

สิ่งเหล่านี้ขอใช้คำว่าทรัพยากรมนุษย์ มีผู้ประกอบการผู้ฟัง ผู้กำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง ทำอย่างไรที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ รักษาสิทธิและหน้าที่ของตนเอง นำสู่การพัฒนาศีลธรรม จริยธรรม ด้านต่าง ๆ

อาจารย์ทำนอง ดาศรี กล่าวถึงการพัฒนาทุนมนุษย์ในด้านวิทยุว่า

เรื่องทุนมนุษย์จะทำอย่างไรให้คนเหมาะสมกับงาน สังคม ประเทศชาติ

ได้ยกตัวอย่างหลักของพระพุทธศาสนา เรื่องทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคคือความทุกข์เกิดจากอะไร เกิดจากผู้เกี่ยวข้อง ก็ต้องแก้ไขตรงนั้น

  • 1.เรื่ององค์ความรู้ ทักษะไม่เพียงพอ
  • 2.จิตสำนึกยังไม่ถูกตามสังคมต้องการ
  • 3.ขาดพันธมิตร ขาดเครือข่าย
  • 4.ขาดภาษา
  • 5.การอบรมผู้ประกาศยังไม่ปัญหา
  • แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

•อาศัยหลักทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ 8 ประเภท
(8 K’s)ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์

•กำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้ชัดเจน

•ออกแบบกระบวนการ/ขั้นตอนการพัฒนา

•กำหนดยุทธวิธี/ระบุเครื่องมือการพัฒนา

•การประเมินผล

สรุปคือ ทำอะไรก็ตามให้เกิดการพัฒนาสู่เป้าหมายได้อย่างชัดเจน ทั้งชุมชน

ตราบใดที่เสนอให้ประชาชนทราบและพัฒนา ศิลปวัฒนธรรม และศาสนา

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

•การเข้าถึงองค์ความรู้

•หลักสูตรมีคุณภาพ

•บุคลากรมีความตั้งใจจริงและพร้อมจะพัฒนาตนเอง

•บุคลากรมีทัศนคติที่ดีพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลง

•ได้รับการสนับสนุนจากรัฐอย่างเต็มที่

ทุนมนุษย์หมายถึงการสร้างบุคลากรสอดคล้องตามความต้องการ

เป็นความรู้พื้นฐาน ความรู้ต้องเหมาะสมกับสิ่งเหล่านั้น ต้องสร้างโอกาสให้เขา อาจผ่านกิจกรรม กระบวนการ Social Mediaมีการประเมินผล และแก้ไข มีการปรับปรุงตลอดเวลา

วิธีการเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย

•จัดฝึกอบรมให้บุคลากรทุกระดับมีทักษะองค์ความรู้ในการดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงให้มีคุณภาพดีในระดับสากล

•จัดอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและการปรับทัศนคติเพื่อสร้างจิตสำนึก/จรรยาบรรณที่ดีเพื่อดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง

•สร้างโอกาสให้มีการร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน

•ส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น บางครั้งผู้ประกอบการนำสิ่งแปลกปลอมไปสู่ท้องถิ่น การทำอะไรก็ตาม วัฒนธรรมต้องแข็งแกร่ง

•ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง การควบกล้ำ ภาษาท้องถิ่น

•มีการประเมินผลเป็นระยะๆ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

•การเข้าถึงองค์ความรู้

•หลักสูตรมีคุณภาพ

•บุคลากรมีความตั้งใจจริงและพร้อมจะพัฒนาตนเอง

•บุคลากรมีทัศนคติที่ดีพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลง

•ได้รับการสนับสนุนจากรัฐอย่างเต็มที่

สร้างคนเก่ง ดี มีคุณธรรม จริยธรรม

คนเราจะเก่ง มีความรู้ ต้องมีทักษะ การพัฒนาอย่างเป็นมืออาชีพ ทำอย่างไรให้เป็นสากล

การนำคนอื่นได้ ต้องรักษาผู้นำ ต้องต่อยอด

ร่วมแสดงความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม

ความคิดเห็นที่ 1

ปัญหาของวิทยุชุมชนในประเทศไทยยังคงมีความซับซ้อนจากพ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียง 2551 จะเข้าสู่ สนช.ปัญหาด้านวิทยุชุมชนที่เสนอมาเป็นวิทยุชุมชนที่ไม่มีโฆษณา แต่ปัจจุบันแบ่งเป็นมีโฆษณาธุรกิจ และสาธารณะ มีการมอบส่วนหนึ่งให้กับความมั่นคง และการเข้าสู่กระบวนการสาธารณะ

Scope วิทยุชุมชน อยากให้ศึกษาในส่วนของประเทศเยอรมันด้วย เพราะว่าประเทศเขาให้ประชาชนมีส่วนร่วมในประชาธิปไตย แสดงความคิดเห็นโดยเสรีแต่ปัจจุบันนี้ วิทยุบางแห่งไม่พูดเรื่องการเมืองแต่ถูกปิดหมด จึงขอถามว่าสิ่งนี้เรียกว่ามีเสรีภาพหรือไม่

ทั้ง ๆ ที่บอกว่าต้องส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จึงควรทำให้มีประสิทธิภาพ และรู้เท่าทัน

ท่านนที บอกว่าวิทยุเถื่อน เป็นหลุมดำกสทช.ให้จดทะเบียน นั้นเป็นความหลากหลายและทับซ้อน คนที่ถือกรรมสิทธิ์ 250 สถานีทั่วประเทศ ต้องคืนคลื่นความถี่ ตั้งแต่ปีที่แล้ว ต้องคืนให้กับ คสช. เพื่อจัดสรรแบ่งปัน แต่ยังไม่มีแผนคืนคลื่นความถี่ควรเป็นว่าใครจะทำให้เอาความเห็นมาเสนอกัน

ปี 2551 เรื่องกฎหมายว่าด้วยเรื่องจัดสรรสู่ระบบดิจิตอล ผู้เข้าร่วมยังไม่ครบองค์ประชุม แต่กฎหมายออกมาได้ เพราะอะไร

เป็นวิทยุชุมชน แต่ได้มีการอบรมนอกรอบกับวิทยุการบิน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาคลื่นรบกวนกัน

วิทยุของทหาร และราชการ มีการบริหารภายใน

ขอเสนอว่า

เป็นไปได้อย่าประมูลเพราะว่าถ้าประมูลจะมีวิทยุชุมชนหลายแห่งไม่ถูกตามเกณฑ์การประมูลที่ว่าต้องมีเงินตามที่กำหนด

การเอาเครื่องไปตรวจต้องเสียค่าการปรับจูนเครื่อง

การบริหารของกสทช. ไม่ชอบธรรม ไม่โปร่งใส ไม่ยุติธรรม เรื่องการอบรมผู้ประกาศ พบว่าให้คนเสียเงินมากอย่างวิทยุธุรกิจได้สิทธิ์อบรมน้อยกว่า คนที่เสียเงินน้อยอย่างวิทยุชุมชนที่ได้สิทธิ์อบรมมากกว่า ทั้ง ๆ ที่วิทยุธุรกิจจ่ายเงินให้กับประเทศ แต่ได้สิทธิ์น้อยกว่า

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอรับไว้ทุกข้อเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุงให้ดีที่สุด

คุณพิชญ์ภูรี

วิทยุชุมชนคือหลักของสังคมและวัฒนธรรม ต้องการให้วิทยุชุมชนเหมือนเด็กอ่อน

ความคิดเห็นที่ 2

ที่คุณพิชญ์ภูรีพูดเห็นด้วยทั้ง 5 ข้อ ที่ว่าเป็นวิทยุชุมชนไม่ควรแสวงหาผลกำไร

เสนอให้ไปดูตัวอย่างที่หนองหญ้าไซ จะพบว่าปัญหาที่เกิดกับวิทยุชุมชนไม่มีที่มีปัญหา มีการกำหนดผังรายการโดยให้ประชาชนมากำหนด มีการบริหารโดยชุมชนและเพื่อชุมชนอย่างแท้จริงแต่เสียใจเมื่อโดน คสช. สั่งปิดโดนปิดด้วย โดนรวบแบบเหมาเข่ง ทั้ง ๆ ที่เป็นวิทยุชุมชนที่ดีมาตลอด

จึงควรดูว่ามีปัญหาอะไร และทางแก้อยู่ตรงไหน

วิทยุชุมชนเป็นคนกำหนดเอง ทั้งธุรกิจ สาธารณะ ชุมชนการพัฒนาศักยภาพ ไม่เคยขอเงินจาก กสทช.ชุมชนดี ๆ ไม่ได้แตะเงินกองทุน

ขอฝากความหวังอีกส่วนคือเรื่องของช่าง เพราะว่ามีช่างภาคประชาชนที่ทำได้และสามารถแก้ไขเครื่องส่งไม่ให้เกิดคลื่นรบกวน แต่ปรากฎว่าไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ เครื่องทุกเครื่องถูกนำเข้าและเสียค่าปรับหมด ทั้ง ๆ ที่ช่างมีความสามารถและแก้ไขได้ จึงอยากให้มีใบอนุญาตให้กับช่างที่มีความสามารถในภาคประชาชนให้มีสิทธิ์ตรวจสอบคลื่นด้วย

การประชุมควรแยกวิทยุธุรกิจ สาธารณะ ชุมชนประชุมทีละกลุ่มอย่ามาประชุมรวมกัน จะไม่ได้ประเด็นอะไร

ไม่เห็นด้วยกับการอนุญาตให้เครื่องส่งมีกำลัง 500 วัตต์ อยากให้เครื่องส่งมีกำลังส่งแค่ 30 วัตต์

ความคิดเห็นที่ 3

แผนกำจัดวิทยุชุมชน

แผนกำจัดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

การออกกฎเหล็กไม่ให้ทำ

อนาคตใครจะเป็นเจ้าของคลื่น เนื่องจากต้องมีการประมูล ทั้ง ๆ ที่วิทยุชุมชนส่วนใหญ่ที่จัดนั้นได้จัดมานานมาก แต่ปัจจุบันเหมือนวิทยุชุมชนจะโดนกำจัด

ขอเสนอว่า

1. ยกเลิกประมูล

2. อย่าออกกฎเหล็กมากเกินไป

3. การตรวจคลื่น เสียคนละ 30,000 – 50,000 บาท มากเกินไปหรือไม่

ความคิดเห็นที่ 4

1. อยากให้ยกเลิกกฎหมายประมูลคลื่นเนื่องจากว่าผู้ประกอบการวิทยุส่วนใหญ่เหมือนเป็นผู้เริ่มวิจัยในการทดลองประกอบกิจการแล้วจึงควรได้ดำเนินการวิทยุต่อ แต่ถ้ามีการประมูลเกิดขึ้นจะทำให้ผู้ทำวิทยุเป็นเพียงคนที่มีเงินทุนสามารถทำได้ อาจเป็นนายทุนที่มีเงิน ซึ่งอาจไม่ได้บุกเบิกทำวิทยุมาก่อนจึงอยากให้มองเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง

2. วิทยุชุมชนไม่มีรายการโฆษณา ไม่ได้รับเงินสนับสนุน แล้วงบที่กสทช.จะให้จะได้เมื่อไร และได้เท่าไหร่ ขอความชัดเจน

3. ควรให้พื้นที่ท้องถิ่นในการกำหนดรายการเป็นอันดับแรก และให้ทาง กสทช. สามารถตรวจสอบได้

ความคิดเห็นที่ 5

ทุกท่านที่พูดคือเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ต้องการการพัฒนาทางด้านจิตใจ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องการ คนที่มีชื่อเสียงทั่วโลก เป็นโรคซึมเศร้า โหยหาความต้องการ ความสุขที่แท้จริง ขออวยพรให้ดำเนินการลุล่วง

การที่บอกว่าต้องการให้ชุมชนจัดการ เป็นไปได้บางกรณีเท่านั้น เพราะในเรื่องศาสนาไม่สามารถทำได้เนื่องจากเรื่องศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีการคัดกรองนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ต้องยอมรับว่าระบบของคนไทยเป็นระบบการอนุเคราะห์พระผู้ใหญ่จะสร้างวัตถุมงคล ขึ้นมา ผิดพระธรรมวินัย ไม่ควรให้ ควรมีการควบคุมจากส่วนกลางที่ถูกต้อง ไม่ให้คนงมงาย ชี้แจงให้คนเห็น และมการให้ข้อมูลที่ถูกต้องจริง ๆ

มีการเคลื่อนไหลของประชาชนในเอเชียมาก ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนพุทธ ทั้งนั้น สื่อที่รับฟังก็เป็นเรื่องศาสนา ที่ต้องการทำบุญ สร้างกุศล

มีกลุ่มชนตั้งโรงทานเพื่อช่วยเหลือ และมีหลายประเทศต้องการทำบุญ และศึกษาศาสนาพุทธมีการคิดค้น เข้าคอร์ส สมาธิ มีการเรียนรู้เรื่องแบรนด์ของคนพุทธ การให้แบบไม่มีเหตุผล มาจากจิตที่มาจากศาสนา

ต้องการให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้การเผยแพร่วิทยุศาสนาไม่จำกัดเฉพาะชุมชนแค่นี้ แต่ให้กว้างไกลไปต้องการให้มีการเชื่อมโยงระหว่างการนำเสนอด้านพุทธศาสนา

ความคิดเห็นที่ 6

มีการกำกับดูแลให้องค์กร ทั้งการควบคุมและการปกครอง จึงขอเสนอโครงการศึกษาวิจัย เพื่อให้ประสบความสำเร็จคือสร้างความมีส่วนร่วมและกำกับดูแลวิทยุชุมชนกันเองน่าจะชอบมากกว่าการกำกับดูแลโดยการควบคุม หรือการปกครอง

ถ้าได้ตั้งสำนักหรือหน่วยงานภาครัฐที่ส่งเสริมและพัฒนาจริง ๆ น่าจะไปได้ไกลกว่านี้

วิทยุไม่สามารถบอกได้ว่ามาจากช่องไหน รายการไหน อยากให้พิจารณา Encode Chanel หรือ Encode Signature

สิ่งที่สถานีวิทยุชุมชนจะได้ เราสามารถเอารหัสเข้าไปวิเคราะห์ และจับได้เลยว่ามีคนดูเท่าไหร่ ทำไมค่าโฆษณาเป็นเท่านี้ โฆษณา ไม่สามารถตรวจจับได้ว่ามีใครดูบ้าง

อยากให้รายได้ของวิทยุชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ทำไมต้องทำ Rating เพราะ Agency จะมองวิทยุชุมชนมากขึ้น จะได้ลงโฆษณาได้ตรงเป้าหมาย

ความคิดเห็นที่ 7

กองทุน การสนับสนุนของกสทช. ควรสนับสนุนในเรื่องกระบวนการ ไม่ควรให้เงินไปทำให้เขาอ่อนแอ แต่ควรเน้นการสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วม ส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง เพื่อการขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆ

ด้านเทคนิค ควรมี 3 ขา คือ กสทช. ผู้ประกอบการ และสถาบันเทคโนโลยี เป็นผู้ร่วมพัฒนา ทฤษฎีต่างประเทศไม่ได้ตอบโจทย์ปัญหาแท้จริงทั้งหมดได้ และพบว่ามีวิทยุชุมชนหลายที่ที่สามารถให้องค์ความรู้ด้านนี้

การขับเคลื่อนการให้บริการของ กสทช. สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการเรียนรู้ผู้ประกอบการกสทช. ทำหน้าที่ตามนโยบาย ผู้ประกอบกิจการมีความเข้าใจส่วนหนึ่ง ถ้าสองส่วนมีส่วนร่วมเข้าใจกันได้ ผู้ที่ร่วมทั้ง 3 ขา จะได้หลักการแนวคิดสู่การปฏิบัติใช้

ความคิดเห็นที่ 8

วันนี้มาเพื่ออะไร ประโยชน์เพื่อใคร และทำเพื่ออะไร

กฎมีไว้บังคับใคร ใครเขียนกฎ คนที่ถูกบังคับมีส่วนร่วมหรือไม่

ช่าง เคยเป็นช่างซ่อมเครื่องมือสื่อสารราชการ แต่วันนี้ทำอะไรไม่มีความหมาย วิทยุชุมชนธุรกิจเกิดก่อนกสทช. การจดนิติบุคคล พรุ่งนี้ต้องจ่ายภาษี เปิดไม่ได้เงินไม่มี ค่าใช้จ่ายอยู่กับวัดเป็นอาสาคุ้มครองสิทธิ์ แต่คุ้มครองสิทธิ์ไม่ได้

อยากให้ยกเลิกนโยบายการประมูลคลื่น อยากให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสื่อสารชัดเจนที่สุด อยากให้การบริหารเป็นแบบถ้อยที ถ้อยอาศัย

เป็นกรรมการวัฒนธรรม หลายตำแหน่ง หลายหัวโขน วัฒนธรรม ไม่ใช่ศาสนาพุทธ เป็นเรื่องกินอยู่ หลับ นอน การพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ

ความคิดเห็นที่ 9

สนใจเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนาคน

ความคิดเห็นที่ 9

พระมหาบุญร่วม ปุญญมโน

คลื่นวิทยุของประเทศไทย ตั้งแต่ F.M. 87.50 – 107.75 MHz. แต่ที่วิทยุเสนอไปยังมีขอไปที่ 87.00 MHz. ยังได้เลยทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าเปิดสถานีหรือยัง ถ้าขยับมาที่ 64.00 MHz. จะได้เพิ่มช่องได้

ดิจิตอล จะเป็น จุด 2 จุด 4 ... สามารถเพิ่มได้แน่ ๆ แต่ปัญหาคือคนในท้องถิ่นสามารถมีเงินซื้อเครื่องรับดิจิตอลได้หรือไม่ อยากให้ทำแบบสอบถามผู้ฟังวิทยุในท้องนาด้วย

กสทช. จะประมูลอย่างเดียว ขอให้สนับสนุนองค์กรที่ทำการวิจัยต่อไป

คลื่นหลักไม่มีใบอนุญาต ถามว่ารัฐบาลชุดไหนให้ใบอนุญาตคลื่นหลัก แต่คลื่นพระศาสนาแยกไปแล้วเป็นคลื่นสาธารณะ สิ่งที่อยากฝาก คือวิทยุชุมชน และบริการสาธารณะอยากให้ทำวิจัยใหม่ว่า ถ้าคนในชนบทฟังแอนะล็อกจะให้เงินไปซื้อดิจิตอลหรือไม่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้สรุปทิ้งท้ายว่า

ทำอะไร ทำเพื่อใคร ทำแล้วได้อะไร

ทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่แยกตามเชื้อชาติ แต่คือการบูรณาการร่วมกัน

ต้องรู้เรื่องกฎหมาย ความรู้สึก

เรื่องดิจิตอล กับ แอนะล็อก ควรจะวิ่งคู่ขนานไปถ้าบางสถานีใช้แอนะล็อกทัน จะช่วยลดปัญหาคลื่นแออัดลง

จะเสนอแผนเรื่องเทคนิคกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ว่าจะทำอะไร ถ้าจะรักษาแอนะล็อกอยู่จะทำอะไร

ทฤษฎี 2 R’s

ความจริง ให้ดูแบบอย่างที่นำหน้าไปคืออินโดนีเซียใช้ความร่วมมือหรือ Networking มนุษย์เราอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องเรียนรู้จากเขา และเขาต้องเรียนรู้จากเรา

ถ้ามีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะทำหน้าที่เต็มความสามารถ สื่อวิทยุส่งไปถึงประชาชนถ้าฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นสาระที่ดีเขาจะได้ประโยชน์ เป็น Life Long Learning เป็นการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่มากกว่า กศน. หรือกระทรวงศึกษาฯ ถ้ากระตุ้น สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ตั้งโจทย์Learning how to learn ตัวอย่างเช่นการจัดโครงการกรณีศึกษา แพทย์ สมุนไพร การเอาความหลากหลายวัฒนธรรม เป็นความแข็งแกร่งของประเทศ เนื่องจาก ประเทศมีความหลากหลายมาก

ทำให้วิทยุเป็น Unity within Diversity

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท