ความรู้สึกแรกที่เห็นมัสยิดอัลฮารอมและกะอ์บะฮ์


กะอ์บะฮ์ตั้งอยู่ในใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครมักกะฮ์ เป็น กิบลัต (ชุมทิศ, จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมยามนมาซ และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์กะอ์บะฮ์

หอนาฬิกาที่เป็นที่พักที่ติดกับมัสยิดอัลฮารอม และสูงเด่นมากๆ

ครั้งแรกที่ได้เห็น และมาอยุดยืนหน้ามัสยิดฮารอม...เห๋็นตึกใหญ่ๆ ใหญ่มากๆ เห็นหอนาฬิกา ที่เป็นทั้งโรงแรมหรูและ ศูนย์การค้า ล้อมรอบสูงตระหง่าน เอาความหรูหราแบบตะวันตก มาบดบังความขลัง บดบังความสง่า บดบังความโดดเด่นของมัสยิดฮารอม ความรู้สึกตลึง ตามมาด้วยความเศร้า ร้องไห้ด้วยความสงสารมัสยิดอัลฮารอม นี่หรือคือที่อยู่ของบ้านของอัลเลาะห์ในหน้าแผ่นดิน....ความขรึมขลัง ดั้งเดิม...ภาพที่วาดในใจ...รู้สึกเศร้า....เหมือนมุสลิมทั้งโลกถูกหยาม และถูกเหยียบ ด้วยสิ่งที่เรียกว่าความศิวิไลซ์ .....ของชาวตะวันตก ที่ได้ชื่อว่ามุสลิมเกลียดนักเกลียดหนา.....ยิ่งได้เห็นกะอ์บะฮ์ด้วย แล้ว...ยิ่งร้องไห้....สงสารจับใจ...อย่างบอกไม่ถูก.....

บนดาดฟ้าของมัสยิดฮารอม

รู้ไหมคะ ทำไมถึงรู้สึกเช่นนั้น? การได้เห็นและได้สัมผัสกะอ์บะฮ์ (บัยตุลลาฮ์) มันไม่ใช่แค่ความดีใจหรอกคะ มันมากกว่าความดีใจ ปลื้มใจ ภูมิใจ สุขใจ ความรู้สึกมันจะไม่เหมือนกับเห็นอะไรๆ ในโลกนี้ สัมผัสอย่างมีแรงดึงดูด ทุกๆ การสัมผัสด้วยตาและด้วยใจ น้ำตาไหลทุกครั้งที่เห็น ต้องเดินไปดูทุกวันที่อยู่ที่นั่น ต้องไปละหมาดแล้วขึ้นจากสูญุด แล้วเห็นคะ ทุกครั้งที่เห็น ไม่เคยมี ที่่น้ำตาไม่ไหลออกมาจากเบ้า ภาพที่จำติดตาและไม่เคยเลือนลางในความทรงจำ คือภาพแรก และภาพสุดท้ายที่เดินจากมา แต่บอกได้เลยนะคะ ว่ามันคนละความรู้สึก มันหวง มันโหยหา ให้ต้องกลับหาอีกครั้ง ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่มีวันเบื่ออย่างแน่นอนทั้งชีวิต ด้วยความรู้สึกทั้งหมดนี่แหละเลยทำให้ การที่เห็นตึกสูงๆ มาอยู่ใกล้ๆ และถ้ามองจากไกลๆ จะไม่เห็นความโดดเด่นของอัลฮารอมเลย มันดูเหมือนว่า ความยิ่่งใหญ่ของบัยติลลาฮ์ ถูกบดบังด้วยตึกอันใหญ่โต ด้วยความศิวิไลซ์ ของชาวตะวันตก ทั้งหมดเค้าทำเพื่ออะไรหรือคะ เพื่อโชว์ความหรูหรา และความร่ำรวย และความสบาย หรือว่า ต้องการไม่ให้ ฮารอมและอัลกะบะอ์ โดดเด่นเป็นพิเศษ เพราะกลัวสิ่งเดียวคือชีริก จริงๆ ถ้าพวกที่ทำ มีวิสัยทัศน์กว่านี้ ก็ไม่เป็นอย่างนี้หรอกคะ ทำแล้วรื้อ ทำแล้วรื้อ ...ความหรูหราแบบนั้นทำไว้ตรงไหนก็ได้ ไกลๆ ก็ได้ แล้วใช้รถไฟฟ้าใต้ดินเข้ามา เข้ามัสยิดฮารอม ไม่สวยงามกว่าหรือคะ หรูกว่าด้วยซ้ำไป บ้านเมืองก็เป็นระเบียบ สวยงาม ไม่ต้องมีรถบัสมาจอดมากมายหน้ามัสยิดอัลฮารอม ซึ่งก็ต้องมาดมควันพิษ เสี่ยงอันตรายในการเดินไปมัสยิดอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ จากความรู้สึกทั้งหมด สิ่งที่ตามมา คือความรู้สึกเหมือนมุสลิม ถูกหยาม และถูกเหยียบด้วยความศิวิไลซ์ อย่างที่ว่าไงคะ ...เพราะจริงๆ สิ่งเหล่านั้น ไปตั้งอยู่ที่ไหนก็ได้ ทำไมต้องตั้งให้ติดกับมัสยิด ถึงขนาดนั้น

แต่อีกมุม ก็เข้าใจความรู้สึกของชาวซุนนะ นะคะ เพราะพวกเค้าคงกลัวจะเกิดซิริก คือ กลัวคนจะนับถือวัตถุ คือฮารอม และบัยตุลลาฮ์ แทนอัลเลาะห์ เลยต้องทำทุกวิถีทางที่ให้ทั้งมัสยิดอัลฮารอม และบัยตุลลาฮ์ อย่าให้มีความโดดเด่น เกินสิ่งก่อสร้างทั้งปวงในบริเวณนั้น ....เพราะเท่าที่เห็น ทุกอย่างที่เป็นประวัติศาสตร์ในอิสลาม ในมักกะ ถูกทำลายทั้งหมด ....เพราะกลัวชีริกอย่างเดียว นี่แหละ คือตัวอย่างที่ดีที่เค้าเรียกว่า การมองโลกมุมเดียว ลืมไปว่า...การเรียนรู้อิสลามที่ดี คือเรียนรู้ที่ต้องสัมผัสได้ เข้าใจลึกซึ้ง เข้าถึง เข้าไปในจิตวิญญาญ ที่สำคัญต้องเรียนรู้คู่กับประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะฮัจญ์ ที่เป็นเรื่องที่ต้องเข้าถึง ด้วยจิตวิญญานจริงๆ ประวัติศาสตร์จึงสำคัญมากในการสร้างอารมณ์ร่วม น่าเสียดายจริงๆ

ปล. ชิริก หมายถึง การนับถือสิ่งอื่นนอกจากพระเจ้าคะ

หมายเลขบันทึก: 573678เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2014 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2015 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท