การสัมภาษณ์และคัดเลือกบุคลากร


 

    เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้ไปอบรมซึ่งจัดโดยฝ่ายทรัพยากรบุคคล ในหัวข้อเรื่อง "การสัมภาษณ์และคัดเลือกบุคคลกร" ได้ความรู้ใหม่ๆ จึงนำมาบันทึกไว้อย่างย่อๆดังต่อไปนี้

   การสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน 

- รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงานจากผู้สมัคร

- ให้ข้อมูลแก่ผู้สมัครแต่ละคน

- สรุปการสัมภาษณ์โดยอธิบายขั้นตอนต่อไป

    ก่อนการสัมภาษณ์

- ทักทายผู้สมัครและเรียกชื่อของผู้สมัคร อย่างสุภาพและเป็นมิตร

- จำไว้เสมอว่าคุณคือตัวแทนของบริษัท จงแสดงมารยาทที่สุภาพ ใช้สถานที่ที่สร้างความรู้สึกที่สบายและอบอุ่น

- เริ่มคำถามทั่วๆไป เช่น ถามถึงการเดินทาง ที่อยู่อาศัย หรือเรื่องอื่นๆที่สนใจร่วมกัน

- สนทนาในช่วงแรกที่ทำให้ผู้สมัครรู้สึกผ่อนคลาย และเป็นกันเอง

     ระหว่างสัมภาษณ์

- บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากการสังเกตุ ไม่ใช่การประเมิน

- บันทึกข้อมูลเชิงลบหรือเชิงอ่อนไหว

- บันทึกโดยใช้คำที่เข้าใจได้เฉพาะผู้สัมภาษณ์ เพื่อไม่ให้ผู้สมัครสังเกตุอ่านหรือเข้าใจได้

   ให้ข้อมูลกับผู้สมัคร

- ควรแสดงความกระตืือรือร้นในการทำงานให้ผู้สมัครเห็นในระหว่างการสัมภาษณ์

- อธิบายรูปแบบ/ลักษณะขององค์กร/หน่วยงานอย่างชัดเจน

- สร้างภาพอย่างชัดเจนว่าตำแหน่งที่ผู้สมัครนั้นอยู่ตรงไหนขององคฺกร

- ผู้สัมภาษณฺอาจแจ้งให้ผู้สมัครทราบถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับในตำแหน่งนี้

- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครถามคำถาม

    สรุปการสัมภาษณ์

- สรุปประเด็นที่สนทนากัน

- แจ้งผู้สมัครทราบถึงผลการคัดเลือกโดยเร็ว

- แจ้งผู้สมัครว่าจะติดต่อกลับเมื่อใร

- หรือแนะนำผู้สมัครติดต่อกลับตามช่องทางที่เหมาะสม

- กล่าวขอบคุณผู้สมัคร

   ผู้สมัครที่ยังไม่เหมาะสมกับงานนั้น

- แจ้งให้ผู้สมัครทราบถึงประเด็นที่คุณพิจารณา

- ให้เหตุผลประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและยอมรับ

- แจ้งผู้สมัครทราบว่ายังจะเก็บประวัติของผู้สมัครรายนั้นไว้ สำหรับโอกาสอื่นที่อาจจะเหมาะสมกว่า

    จะทำอย่างไร ถ้าผุ้สมัครเล่นตัว

- ระงับการเสนองานนั้น

- บันทึกข้อมูลไว้เพื่ออ้างอิงภายหลัง

- จูงใจผู้สมัครให้เห็นว่าเขายังคงสนใจในผู้สมัครนั้นอยู่

- เสนอให้ไปพิจารณาใหม่และสามารถติดต่อได้ภายหลัง

    จะทำอย่างไรถ้ถา ผุ้สมัครรู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายใจที่จะเปิดเผยเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องการเปลี่ยนงาน

- สร้างความเชื่อมั่น

- บอกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของบริษัท และตำแหน่งงานนั้นๆ เพื่อช่วยให้ผู้สมัครสบายใจ และผ่อนคลายมากขึ้น

  การประมวลข้อมูล

วัตถุประสงค์

- ควบคุมอคติให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

- ทำให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

- รักษามาตรฐานในการสรรหาและคัดเลือก

- ถูกต้องและเป็นธรรม

  ผู้สัมภาษณ์แต่ละราย

- กรอกระดับของผู้สมัครสำหรับความสามารถที่ตกลงกันไว้แต่แรกในแบบฟอร์ม

- แลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ และปรับระดับให้เหมาะสม

  ผู้สัมภาษณ์รายอื่นๆ

- ถามคำถามเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจน

  ผู้สัมภาษณ์รายอื่นๆ

- หาข้อสรุปร่วมกันในการจัดระดับให้ผู้สมัครแต่ละราย

..........

 และที่ผู้เขียนจำได้ขึ้นใจในการเข้าเรียนครั้งนี้คือ 

...หากเกิดความไม่แน่ใจในตัวรับผู้สมัครรายใด ให้ถือว่านั่นคือการไม่ผ่านของผู้สมัครรายนั้นๆ...

คือ ไม่รับเข้าทำงานเลย

..........

28 กรกฏาคม 2557

พ.แจ่มจำรัส

หมายเลขบันทึก: 573371เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครงานครับ ดีมากเลย

ตอนที่ผมเป็นฑิตใหม่ๆ เคยไปสอบงานหน่วยงานหนึ่งที่กรุงเทพฯ สิ่งที่สังเกตได้อย่างหนึ่งก็คือการสัมภาษณ์ ถามแปลกมาก เช่นถามว่า...

"คุณสึกมาทำไม?"

"จบอะไรมาหรือ?"

"ทำไมไม่ไปทำงานกับวัดหรือกรมการศาสนาล่ะ?"

ผมรู้สึกอึดอัดมาก...พูดไม่ออกบอกไม่ถูกเลยครับ...

หากถามอย่างเบื้องต้นควรจะจัดเข้าในลักษณะข้อไหน อย่างไรครับ?...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท