บันทึกทำ (27 ก.ค.57)


ตลอดเดือนที่ผ่านมา
เป็นห้วงเวลาที่ต้องทำการเตรียมสอบสอน "อาจริยสาสมาธิ"

เป็นให้เหตุให้ต้องศึกษา ฟัง อ่าน บทเรียนย้อนหลังให้ละเอียดยิ่งขึ้น

จากแต่ก่อนที่อ่านและฟังรอบเดียวในฐานะนักศึกษาครูสมาธิ

แต่ครั้งนี้ เปลี่ยนบทบาทมาเป็นครูผู้สอนนักศึกษาครูสมาธิ

ทำให้บางบทเรียนต้องฟังเป็นสิบ ๆ รอบ หนอ

.

.

ด้วยเหตุข้างต้น ทำให้มีการปริยัติที่ชัดเจน ถูกต้อง ตามบทเรียนของพระอาจารย์หลวงพ่อมากยิ่งขึ้น 

พร้อมนำองค์ความรู้ที่ได้มาฝึกปฏิบัติตามซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า 

กอปรกับระหว่างที่ทำการสอบสอนนั้น ต้องนั่งเป็นผู้เรียนให้กับอาจารย์อาจริยสาสมาธิท่านอื่น ๆ ด้วย

ทำให้ได้รับความรู้ที่ลึก ชัดเจนยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก

.

.

.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

  1. ในการเรียนหลักสูตรครูสมาธิ จะมีการบ่มตลอดหลักสูตรเป็นเวลา 6 เดือน
    ซึ่งแต่ละวันนั้น จะมีเนื้อหาหัวข้อเริ่มจากขั้นต้น พัฒนาไปสู่ขั้นสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ
    สลับกันไปกับการเดินจงกรมประมาณ 30 นาที และนั่งสมาธิ 30 นาทีในทุก ๆ หัวข้อ
    ซึ่งเป็นการออกแบบที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ
    เมื่อเรียนครบ 6 เดือนแล้ว จะต้องขึ้นธุดงค์บนดอยอินทนนท์
    หลักจากขึ้นธุดงค์บนดอยแล้ว ผมสัมผัสถึงความก้าวหน้าแห่งการพัฒนาสมาธิ
    อย่าเห็นได้ชัดอีกก้าวใหญ่ ๆ และเริ่มสามารถเชื่อมโยงหลักสูตรเข้ากับการฝึกได้ดีมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หนอ
  2. ตอนเข้ารับการฝึกศึกษาตามหลักสูตรอาจริยสาสมาธิ ก็เป็นอีกขึ้นหนึ่งของการพัฒนา
    ผมโชคดีที่ได้ร่วมสอบสอนกับทั้งรุ่น 33 และ 32 ผมสังเกตุว่า รุ่น 32 ซึ่งมีเวลาฝึกนานกว่ารุ่น 33 ประมาณ 6 เดือนนั้น มีผลทำให้เกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดพอสมควร
    นั่นหมายความว่า นอกจากจะทำการศึกษาเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว ขึ้นธุดงค์บนดอยแล้ว ระยะเวลาในการบ่มฝึกต่อก็มีส่วนสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการของสมาธิ หนอ
  3. หลังจากการเรียนหลักสูตรอาจริยสาสมาธิ และบ่มฝึกต่อด้วยการเตรียมสอบสอนอีกประมาณเดือนกว่า ๆ ผมพบว่า พัฒนาการทางสมาธิมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ดังต่อไปนี้
    1. กระแสอารมณ์ Vs กระแสญาณ
      แต่ก่อนพอได้ยิน คำว่า "ญาณ" ผมไม่ให้ความสนใจ เพราะไม่เชื่อ  ดูเหมือนว่า มันไกลตัวไกลวิถีชีวิตเกินไป
      แต่พอมาเรียนหลักสูตรครูสมาธิแล้ว จึงทำให้เข้าใจว่า ญาณ เป็นสิ่งสำคัญ เป็นธรรมสำหรับมนุษย์ที่ควรฝึกตนให้เกิดญาณ และเข้าถึงญาณ เช่น วิปัสสนาญาณ เป็นต้น
    2. ในการเกิดเป็นมนุษย์นั้น เราตื่นอยู่ หรือ เราฝันอยู่กันแน่ ? ต้องเพียรพิจารณาดู หนอ
      .
      .
    3. จิตรวม เป็นประสบการณ์ที่เกิดจากการเพียรฝึกทำสมาธิ ถ้าจิตยังไม่รวม เราจะไม่มีทางเข้าใจธรรมของผุ้ที่จิตรวมได้ ประมาณว่า พูดกันคนละภาษา หนอ

หมายเลขบันทึก: 573216เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท