ปรมาณูเพื่อสันติ กฏหมายเพื่อสันติต้องเป็นธรรมกับทุกคน


กฏหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีปัญหาน้อยกว่าผู้ถือกฏหมาย เขาสามารถใช้มันแบบที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา

สำหรับเราการลงโทษผู้บริสุทธิ์ 1 คนเป็นบาปร้ายแรงกว่าการปล่อยคนทำผิด 10 คน ดังนั้นต้องพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน 100 เปอร์เซ็นต์ว่าผู้ถูกกล่าวหาผิดจริง ดังนั้นกฏหมายที่ออกมาแล้วต้องใช้ได้อย่างเป็นธรรมกับทุกคน มิฉะนั้นก็ควรทิ้งไปเขียนใหม่ได้

การนำทฤษฎีมาสนับสนุน ก็ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าสร้างข้อสรุปหรือทฤษฎีมาอย่างไร ใช้หลักการของเชิงนิรนัย(Deduction) หรือ อุปนัย(Induction) ทฤษฎีจากการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจให้ผลที่คลาดเคลื่อนหรือขาดความแม่นตรง(Validity) อย่างรุนแรง ผลสรุป ใช้ไม่ได้นอกจากที่ในขั้นของการหาข้อมูลเป็นการใช้หลักของอุปนัยหรือใช้ข้อมูลบางกรณีมาสร้างข้อสรุป ยังขึ้นอยู่กับ ข้อสมมุติ(Assumptions) ที่ไม่จริง อคติส่วนตัว และอื่น ๆ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับความแม่นตรงเชื่อถือได้ของการวัด การคำนวณที่เกี่ยวข้อง กล่าวเฉพาะเศรษฐศาสตร์ก็มีหลายค่าย นักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้มองปรากฏการณ์เดียวกันในแบบเดียวกัน วิจัยปัญหาเดียวกันอาจได้ข้อค้นพบต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้จะอ่านหรือเลือกเชื่อเพียงงานวิจัยที่สอดคล้องกับความเชื่อส่วนตนไม่ได้ และไม่ควรตั้งข้อสมมุติว่าผลงานของนักวิจัยคนนั้นคนนี้เท่านั้นเชื่อถือได้ กล่าวโดยสรุปต้องประเมินอย่างรอบคอบที่สุด

งานวิจัยทางสังคมศาสตร์อาจให้แค่สมมุติฐานที่รอการพิสูจน์ต่อไป ผิดกับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีเครื่องมือมือวัดที่แม่นตรง เช่นการตรวจดี เอ็น เอ เพื่อพิสูจน์ว่าเด็กเป็นบุตรของใคร อย่างไร้ข้อกังขา การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยยากว่าจะนำมาใช้ได้ยังต้องวิจัยซ้ำหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ในกรณีที่ถ้าผิดพลาดแล้วส่งผลร้ายแรงความผิดพลาดแค่  1 เปอร์เซ็นต์ก็ยังถือว่าผิดมากเกินไป

งานวิจัยไม่ใช่กฏหมาย ถ้าจะใช้ก็ถือเป็นเพียง 'ความเห็น' หนึ่งเท่านั้น 

คนเป็นครูเรียนเรื่องการวัดและประเมินผล การตัดเกรดเรายังต้องใช้คุณธรรมอันสูงสุด การพิพากษาลงโทษใครจึงต้องยิ่งใช้คุณธรรมที่สูงกว่า และเหนือสิ่งอื่นใดต้องมีมนุษยธรรมไม่ว่าจะพิพากษาเพื่อข้ออ้างใดก็ตาม

หมายเลขบันทึก: 573070เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2014 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2014 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท