140722 วลี และ สำนวน อังกฤษ


จากการที่คำศัพท์เดี่ยวๆของภาษาอังกฤษส่วนมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำที่ใช้ประจำทั่วไป จะมีความหมาย ที่ครอบคลุมได้กว้างขวาง บ้างก็เด่นชัด แต่บางคำก็คลุมเครือค่อนไปใกล้เคียงกับคำอื่น

การจะทำให้รู้จัก ความหมายที่แท้จริงของคำนั้น ในข้อความใดๆ

พิจารณาได้จาก ความหมายโดยรวมของข้อความนั้น

นั่นคือ คำต่างๆที่ประกอบอยู่ และผนวกรวมเข้ากับคำที่เป็นแกนหลัก

เรียกว่า Collocation = การจัดคำให้เข้ากัน (ตามความนิยม) (พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ของเธียรชัย เอี่ยมวรเมธ)

วลี = Phrase = ถ้อยคำ – โวหา

อันประกอบด้วยคำมากกว่าหนึ่ง

ถึงแม้เราจะรู้ความหมายของแต่ละคำ ของทุกคำนั้น

และไวยากรณ์ของประโยคนั้น อย่างดี

แต่ความหมายที่แท้จริงของ วลี ก็อาจทำให้สับสนได้

วลีหรือประโยค ประเภทนี้ รวมเรียกว่าเป็น Idiomatic


สำนวน (Idiomatic) เป็นคำที่เกิดขึ้นและใช้กันอยู่ตามความนิยมและเคยชิน ของท้องถิ่น หรือหมู่คณะวิชาชีพหนึ่ง

สำนวนประกอบจากคำกริยารวมกับคำอื่นเรียกว่าเป็น Particle = คำเสริมท้าย

คำที่ประกอบใหม่จะมี ความหมายที่แตกต่างไปจาก

ความหมายเดิมของแต่ละคำที่นำมาประกอบ

ตัวอย่าง เรารู้จักคำ Call, Run, Off และ Out ว่าแต่ละคำมีความหมายอย่างไร

แต่เมื่อนำมารวมกันเป็น

Call off มีความหมายว่า ยกเลิก และ

Run out หมายความว่า ได้ใช้ (บางสิ่ง) หมดแล้ว

คำกริยาที่เป็น วลี = Phrasal verbs

บางครั้งเรียกว่า กริยาสองคำ ก็เป็นการแสดงออกของ วลี

เพราะเหตุว่า ส่วนที่นำมาต่อกับกริยา (อาจเป็นคำวิเศษณ์หรือบุพบท)

เราไม่อาจคาดเดาความหมายได้

ดังตัวอย่าง

ทำไมจึงใช้ว่า call up ในประโยค Call up a friend

ทำไมไม่ใช้ว่า call in a friend หรือ call on a friend

อันที่จริง ทั้งสามคำ มีความหมายที่แตกต่างและไม่อาจคาดเดาได้ เมื่อรวมกัน

และแต่ละคำเมื่อรวมกันแล้วจะมีความหมายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ตัวอย่าง

คุณสามารถ call up a friend on the telephone,

Call on a friend for a visit และ

call in a friend to come and help you with something.

สำนวนต่างๆ บางครั้งเรียกว่า Fixed phrases= วลีตายตัว

ในโลกของความเป็นจริง วลีที่แสดงความหมาย ผันแปรได้หลากหลาย

จึงยิ่งทำให้ยากต่อการนำมาใช้ และยากที่จะหาได้จากพจนานุกรม

การผันแปร มีมากถึงเจ็ดแบบ และ วลี จำนวนมากผันแปรได้มากกว่าหนึ่งแบบ

สำคัญที่ต้องรู้ ว่าการผันแปรต่างๆ เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันอย่างไร

เพื่อที่จะไม่คิดไปว่า วลี เดียวที่ผันแปรได้สามแบบ อาจมีสามความหมาย

โดยรู้ว่า แกน (core) ของวลีที่แสดงนั้น คืออะไร และมันผันแปรได้อย่างไรบ้าง

จะทำให้จำได้และนำการผันแปรนั้นไปใช้ในเนื้อหาอื่นๆที่แตกต่างได้มากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 573031เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2014 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2017 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบมากค่ะ พ่อเขียนไปเรื่อยๆนะคะ รับรองว่าจะเป็นมรดกที่ดีสำหรับคนเรียนภาษาอังกฤษเลยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท