อาจารย์ยม
อาจารย์ อาจารย์ยม บทบาทนักวิชาการ คือการชี้ทางสว่างให้สังคม นาคสุข

วิเคราะห์เจาะลึก บทความ จาก น.ส.พ.แนวหน้า "บทเรียนจากความเป็นจริง กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"


ท้าทายทำสิ่งดี จิตนวตกรรม เที่ยงธรรม ท่าทีที่ดี ถ่องแท้จริงใจมั่นคง ทบทวนประจำ หมั่นทำความดี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน

เนื่องจาก ผมเห็นว่า สาระ บทความของ ศ.ดร.จีระ ที่ลงในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับทุกวันเสาร์ มีสาระ และมีประโยชน์ จึงได้วิเคราะห์ต่อยอดบทความ "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ" ด้วยความรักและเคารพในตัวอาจารย์

นอกจากนี้ได้มี บรรดาศิษย์ และผู้สนใจที่ติดตามสาระน่ารู้กับ ศ.ดร.จีระ  ได้ให้ความสนใจ และสอบถามมาว่า ผมเป็นใคร ผมต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ที่ให้ความสนอยากรู้จักผม

ผมจึงได้จัดทำเว็ปและ blog นี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักผมจากแนวคิด ข้อความที่ผมวิเคราห์และเขียนต่อยอด จากบทความของอาจารย์ และจากบทความอื่น ๆ ที่ผมเขียนลงใน เว็ป นี้

ที่สำคัญไปกว่านั้น ที่จัดทำ เว็ปและ Blog นี้ก็เพื่อเผยแพร่ความรู้ ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ ทุนทางปัญญา เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขับเคลื่อนพลังแห่งความรู้ กระจายไปสู่พลังแห่งการขับเคลื่อนความก้าวหน้าศีล สมาธิ สติ ปัญญา ของประชาชน นิสิต นักศึกษาและท่านผู้สนใจ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบ้านเมืองของเรา

เชิญท่านผู้อ่านติดตามสาระน่ารู้ จากบทความต่าง ๆ ใน เว็ปนี้ครับ

สวัสดี

ยม

หมายเลขบันทึก: 57290เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2006 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2022 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
"บทเรียนจากความเป็นจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง จาก น.ส.พ.แนวหน้า เสาร์ที่ 4 พ.ย. 2549

คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง[1]  

ใน 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดภัยธรรมชาติใหญ่ในประเทศไทยที่ผมยังไม่ได้พูดถึงคือ ปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางหลายจังหวัด หากไม่มีการผันน้ำไปสู่ทุ่งนาตามจังหวัดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท ถนนในกรุงเทพฯ ก็คงจมน้ำไปตามกัน ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน คงเปิดตำราแทบไม่ทัน


ผมและคณะ จึงมีโอกาสไปเยี่ยม แสดงความห่วงใยชาวต่างจังหวัด และแจกสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ อบต.สามตุ่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีคุณขวัญชัย มหาชื่นใจนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนันตำบลสามตุ่ม คุณพยอม มหาชื่นใจ ได้ให้การต้อนรับอย่างดี


ปีนี้นับเป็นปีที่ประเทศของเรามีปัญหาอย่างหนัก ซึ่งเกิดขึ้นจาก :


- ในประเทศเรา มนุษย์เจริญมากขึ้น จึงต้องตัดไม้ทำลายป่า สร้างถนน สร้างบ้านจัดสรร ทำให้ไปกระทบเส้นทางเดินของน้ำ


- แม่น้ำ คู คลอง ตื้นเขิน ทำให้การไหลของน้ำไม่สะดวก


แต่ผมคิดว่า สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) ที่ทำให้อากาศเปลี่ยน จากการที่ผมคุยกับอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ท่านบอกว่า ปัจจุบัน ฝนตกไม่สม่ำเสมอ บางแห่งมาก บางแห่งน้อย อย่างในปีนี้ ฝนตกที่ภาคเหนือตอนล่างมากกว่า เฉลี่ย 27% ทำให้น้ำไหลทะลักมาสู่ภาคกลางมากมาย และที่สำคัญ ฝนที่ตกในภาคกลางเองก็มากกว่าปกติถึง 10% จึงเกิดปัญหา โลกาภิวัตน์ในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องการค้าเสรีหรือการเงินเสรีเท่านั้น แต่เป็นเรื่องภัยธรรมชาติจากโลกที่กระทบเราด้วย จากปรากฏการณ์อากาศไม่ปกติหรือโลกร้อนนั่นเอง


เรื่องนี้ คนไทยน่าจะต้องเอาใจใส่และปรับตัวเองให้เข้าใจว่า อากาศจะมีปัญหามากขึ้น และจะแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อทั้งโลกต้องช่วยกัน ขณะนี้น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลาย ซึ่งอาจจะเป็นผลภัยรุนแรง


ผมติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด หากเราคิดว่าปีนี้น้ำท่วมแค่ปีเดียว ปีหน้าก็คงปกติ ซึ่งอาจจะไม่จริงก็ได้ เพราะอากาศของโลกไม่ปกติ และเรามีเวลาที่จะร่วมกันแก้ไขอีกไม่เกิน 15 ปี


จากการอ่านข่าว พบว่ากลุ่มนักวิชาการของอังกฤษได้มีการศึกษา และส่งรายงานไปให้ Tony Blair นายกรัฐมนตรีอังกฤษทราบว่า อย่างช้าที่สุด ภายใน 15 ปี GDP ของโลกจะลดลง 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 7 Trillion US $ ) เพราะการผลิตสินค้าและบริการจะถูกกระทบจากภาวะโลกร้อน ลองคิดดู ประเทศไทยจะจนลง 20% ถ้าเราไม่ทำอะไรภายใน 15 ปี


ลูกศิษย์ผมคือ คุณยม นาคสุข ได้เชิญผมไปฟังสัมมนาของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งได้เตือนประเทศไทยให้หันมาเอาใจใส่ ทำวิจัย ปรับตัว เรื่อง Global warming เพราะมีเวลาเหลืออีกไม่มาก


ผมจึงถือโอกาสเรียนให้ทราบว่า วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน ผมจะมีรายการสู่ศตวรรษใหม่ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 14.00-15.00 น. ซึ่งผมได้เชิญอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา คุณศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีท่านนี้เป็นผู้มีความรู้ดีมาก และได้ทำงานหลายอย่างเพื่อประชาชน จะมาพูดในรายการ

 

ผมจึงเป็นแนวร่วมกับท่านทำหลายเรื่อง เช่น


-
จะพัฒนาภาวะผู้นำของข้าราชการกรมอุตุนิยมวิทยา ให้เป็นผู้ที่มีความรู้และเป็นผู้นำที่จะทำงานให้ประชาชนได้ประโยชน์


- จะทำสารคดีสั้น 5 นาที ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ให้อธิบดีออกรายการเพื่อกระจายข่าว เป็นการเตือนภัยแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ยากจนและอยู่ห่างไกลความเจริญในชนบท ให้รับทราบถึงเรื่องภาวะอากาศ ผลกระทบและการปรับตัว
ผมพูดเสมอว่า มนุษย์สร้างความเจริญ แบบไม่มองความสมดุลของธรรมชาติ ทุนแห่งความยั่งยืนของผม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะผมต้องการให้โลกน่าอยู่ ให้คนรุ่นหลังได้เห็น ไม่ใช่มีความสะดวกสบายในปัจจุบัน แต่อนาคตไม่ยั่งยืน


การมองความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติกับทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นให้ประชาชนมีความรู้ เดินสายกลาง พอประมาณ ผมจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานหลายแห่ง เช่น กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมบรรเทาสาธารณภัย สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น เพื่อเตรียมรับมือเรื่องโลกร้อนให้ได้

และจะเริ่มรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหานี้


สัปดาห์นี้ ผมมีโอกาสไปร่วมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติราชพฤกษ์ 2549 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติครองราชย์ 60 ปีและเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งผมชอบและชื่นชมมากเพราะ


- ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ควรจะได้แสดงศักยภาพทางการเกษตรอย่างเต็มที่ให้โลกรับทราบ


- การเกษตรในยุคไร้พรมแดนว่า ให้โลกได้เรียนรู้จากเรา และเราก็เรียนรู้จากโลก เรียกว่า เกษตร พืชสวนไร้พรมแดน


- เป็นการแสดงอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านทรงเน้นความมุ่งมั่นในการพัฒนาภาคเกษตรของไทยมาโดยตลอดเป็นเวลายาวนานแล้ว เพราะพระองค์ท่านทรงมีวิสัยทัศน์เห็นว่าเป็นจุดที่อยู่รอดของคนไทย


- ได้มีโครงการที่เน้นเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรทฤษฎีใหม่หลายโครงการ เพื่อให้คนไทยและชาวต่างประเทศได้ทราบ


- ต่างชาติกว่า 33 ประเทศ มาจัดพืชสวน มีดอกไม้และพันธุ์ไม้สวยๆ มากมาย และเน้นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติเหล่านั้น ที่หาดูได้ยาก


นับเป็นแหล่งความรู้ที่ดี เพราะพืชสวนที่เป็นพืชเขตร้อน มักจะหาดูได้ยาก และเป็นการแสดงถึงองค์ความรู้ การวิจัยที่จะนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม ทางด้านสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน


ผมประทับใจที่ผู้จัดงานนำเอาแนวคิด 4 เรื่องมาร้อยเรียงกันคือ


- เกษตร


- วัฒนธรรม


- องค์ความรู้


- และนำไปสู่ความยั่งยืนและการสร้างมูลค่าเพิ่ม


การสร้างหอคำหลวง เป็นศิลปะแบบล้านนา ซึ่งจะเป็น landmark ของชาวเชียงใหม่ต่อไป เป็นการผสมผสานแนวคิด 4 เรื่องที่ผมได้กล่าวไปแล้ว


ผมขอฝาก 2-3 เรื่องไว้ เพื่อที่หลายคนจะได้นำไปเตรียมการสำหรับเยี่ยมชม


- การไปชมต้องให้เวลาอย่างน้อย 2-3 วัน ดูทั้งกลางวันและกลางคืน


- ใช้เวลานั่งรถดูภาพรวม เป็นการดูแบบ macro ว่ามีอะไรบ้าง


- แต่ที่สำคัญ ท่านน่าที่จะเลือกเดินดู และเรียนรู้ว่า เฉพาะในช่วงกลางคืน เมื่อดูแล้ว คิดว่าจะเอาไปทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่อง


ผมดีใจที่ทราบว่า รัฐบาลมีโครงการที่จะเก็บไว้เป็นศูนย์การเรียนรู้ถาวรในระยะยาว เพราะครบ 3 เดือนแล้วก็ยังมีประโยชน์มากมาย การสร้างอะไรให้คนไทยกลับมาหา Basics คือภาคเกษตร เป็นเรื่องที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
 

คงจะต้องยอมรับวิสัยทัศน์ (Vision) ของรัฐบาลชุดที่แล้วโดยการนำของนายกฯ ทักษิณ แต่จุดอ่อนคือ มีการใช้จ่ายเงินแบบไม่มีระบบควบคุม และอาจจะไม่โปร่งใส

 

ผมเห็นกลุ่มข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน นำโดยคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ไปร่วมงานหลายคน และอาจจะหาข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าใช้เงินถูกต้องหรือไม่ ก็ว่ากันไปตามระบบการตรวจสอบ ซึ่งดีและถูกต้อง


สุดท้าย ผมภูมิใจที่สุดคือ คำถามของคุณนาตยา แวววีระคุปต์ ที่ถามผมในรายการเวทีความคิด ทางสถานีวิทยุ FM 96.5 MHz เมื่อวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผมรายงานสดมาจากเชียงใหม่ว่า


- สิ่งที่ทำไปทั้งหมด นอกจากเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านอย่างสมศักดิ์ศรีแล้ว เกษตรกรไทยระดับรากแก้วได้อะไร


เพราะประชากรไทยกว่า 50% ที่เป็นกระดูกสันหลังของประเทศไทย คือ เกษตรกรนั่นเอง เกษตรกรระดับรากแก้วจะได้อะไรกับงานนี้


ผมชอบคำถามนี้เพราะ การจัดงานครั้งนี้ มีการไป outsource ภาคธุรกิจมาทำ ซึ่งก็ไม่ว่ากัน เพราะภาคธุรกิจ เอกชน อาจจะมีความพร้อม ชำนาญและมีประสบการณ์มากกว่า แต่บางครั้ง ถึงแม้ภาคเอกชนหรือคนชั้นกลางได้ คนระดับรากแก้วก็ควรจะได้ด้วย การตั้งโจทย์ว่า คนรากแก้วได้อะไร จะช่วยกระจายความรู้ไปสู่รากแก้ว


หากถามผม ในเวลานั้นรัฐบาลทักษิณ คิดอะไรจึงทำ


ผมคิดว่ารัฐบาลทักษิณรีบทำ เพราะรีบทำคะแนน แต่ไม่ได้มองผลประโยชน์ระยะยาวมากนัก ฉะนั้นผมจะช่วยคิดต่อว่า คนรากแก้วได้อะไร


จุดอ่อนจุดแรก คือการบริหารจัดการครั้งนี้ ไม่ได้เน้นการกระจายให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากนัก นักวิชาการ องค์การบริหารส่วนตำบล สหกรณ์ ต่างๆ ไม่ค่อยจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางมากนัก ส่วนมากจะเป็นงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับภาคเอกชน คล้ายระบบ CEO ของรัฐบาลชุดที่แล้ว


หวังว่าใน 3 เดือนข้างหน้า คงจะมีคนช่วยคิดว่า คนรากแก้วได้อะไรมากขึ้น
ฝากผู้จัดงานไว้ด้วยครับ

 

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


โทรสาร 0-2273-0181  

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง"
       
ยม นาคสุข วิเคราะห์ "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง"

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน   

 

 

ผมได้อ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” จาก น.ส.พ.แนวหน้า ฉบับประจำวันเสาร์ที่ 4 พ.ย. ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง  ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความของ ศ.ดร.จีระ ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ   

  

คนกรุงเทพฯ : นึกถึงคนภาคกลาง[1]

3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดภัยธรรมชาติใหญ่ในประเทศไทยที่ผมยังไม่ได้พูดถึงคือ ปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางหลายจังหวัด หากไม่มีการผันน้ำไปสู่ทุ่งนาตามจังหวัดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท ถนนในกรุงเทพฯ ก็คงจมน้ำไปตามกัน ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน คงเปิดตำราแทบไม่ทัน  

 เรื่องปัญหาทรัพยากรธรรมชาติน้ำ มีตั้งแต่น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย ในบ้านเราเป็นปัญหาที่มีมาในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน นี่ถ้าเกิดในญี่ปุ่น เราคงได้เห็นเขาจัดการอย่างเป็นระบบเช่นปัญหาแผ่นดินไหว ซึ่งญี่ปุ่นสามารถจัดการได้เป็นอย่างดี   

ญี่ปุ่นมีการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง  คนอ่อนแอ คนโกง คือคนที่ทำลายประเทศ ญี่ปุ่นมีการวางแผนพัฒนาประเทศโดยเน้นปัจจัยความเข้มแข็งในการทำงานเพื่อชีวิต เพื่อชาติ เน้นความสำคัญในการฝึกและพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ทุกรูปแบบ   

ญี่ปุ่นแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังโดยเน้นสอนให้คนญี่ปุ่น มีความซื่อสัตย์ ขยัน กล้าหาญ รักความสะอาด ความมีวินัย รักธรรมชาติ ควบคุมอารมณ์ได้ ที่สำคัญคือการรักการอ่านและศิลปะวัฒนะธรรม ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีในการกู้วิกฤตชาติและทรัพยากร รวมทั้งการสร้างสมทุนต่าง ๆ ของประเทศ รวมทั้งทุนมนุษย์   

ปัญหาเรื่องน้ำที่มีอยู่ในบ้านเรา น่าจะเป็นคำตอบได้ว่า คนไทยมีลักษณะแตกต่างจากคนญี่ปุ่นอย่างไร  และเราควรนำเอาจุดแข็งของเขามาบูรณาการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการบริหรประเทศและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยหรือไม่ อย่างไร  

บ้านเราอยู่ในทำเลดี ในประวัติศาสตร์ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ไม่มีภัยธรรมชาติ ทำให้เราขาดความกระตือรือร้นจนถึงปัจจุบัน ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ว น้ำเสีย ยังเคียงคู่อยู่กับวิถีชีวิตไทย   

อย่างไรก็ตามผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ ทำให้สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนไป เรากำลังเผชิญกับปัญหาโลกร้อน อุณหภูมิของโลกเปลี่ยนไป มีผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตบนโลกมากขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลจะสูงขึ้น แผ่นดินไหวมีมากขึ้น แผ่นดินเลื่อนมีมากขึ้นทั่วโลก  

ปัญหาน้ำท่วมในบ้านเราครั้งนี้ ผมเชื่อว่าส่วนหนึ่งมีผลมาจากปัญหาสภาวะโลกร้อนขึ้น น้ำทะเลสูง ฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาล น่าจะเป็นสัญญาณเตือนภัยให้เราทราบว่าในอนาคต เราอาจจะพบปัญหาใหญ่หลวงกว่านี้

ในเรื่องปัญหาน้ำท่วม หากผู้เกี่ยวข้องไม่มีมาตรการป้องกันเชิงรุก ปล่อยให้ปัญหาเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีการจัดการเรื่องน้ำอย่างเป็นระบบ อย่างจริงจัง ความเดือดร้อนอย่างใหญ่หลวงจะเกิดขึ้นกับคนไทย ถึงเวลานั้นต่อให้ผันน้ำไปสู่ทุ่งนาตามจังหวัดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาทฯ ก็ตาม กรุงเทพฯอาจหนีไม่พ้นปัญหาใหญ่อย่างแน่นอน 

รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง และคนไทยทุกระดับควรกระตือรือร้นปรับตัว เตรียมพร้อมเผชิญปัญหา พวกองค์กรอิสระ ที่มีพลัง มีการประท้วง ชุมนุมกันที่ผ่านมา ก็น่าจะใช้พลังที่มีอยู่มาขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ ครับ ส่งเสริมให้รัฐมีการนโยบายสาธารณะที่ชัดเจนในเรื่องนี้ และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ  


ผมและคณะ จึงมีโอกาสไปเยี่ยม แสดงความห่วงใยชาวต่างจังหวัด และแจกสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ อบต.สามตุ่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีคุณขวัญชัย มหาชื่นใจนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนันตำบลสามตุ่ม คุณพยอม มหาชื่นใจ ได้ให้การต้อนรับอย่างดี  

สิ่งที่อาจารย์ทำเป็นงานอาสาสมัคร เหมือนกับที่ ศ.ดร.ป๋วย อื้งภากรณ์ ได้เคยสร้างแนวทางและได้ทำ เป็นตัวอย่างจนเกิดโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร ขึ้นมาที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  

ถึงแม้อาจารย์จะมีเครือข่าย ทุนทางสังคมอยู่ในต่างจังหวัดสูง ถ้าอาจารย์จะไปเยี่ยมชาวบ้านที่ต่างจังหวัด ในภาคอีสาน ผมขอแนะนำอีกช่องทางหนึ่ง คือ อาจารย์อาจจะประสานไปที่สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร เพื่อให้ทางสำนักฯแจ้ง บัณฑิตอาสาสมัคร ให้คอยอำนวยความสะดวกให้อาจารย์ ได้อีกทางหนึ่ง

สำนักบัณฑิตอาสาสมัครมีนักศึกษาในอดีตและปัจจุบันกระจายอยู่เกือบทุกจังหวัดในภาคอีสาน ซึ่งพวกนี้จะรู้จักชาวบ้าน ผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี  

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ออกไปช่วยเหลือ เยี่ยมชาวต่างจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม เป็นสิ่งที่ดี น่าสรรเสริญยกย่อง และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ ทั้ง ป.โท และ ป.เอก ผมและเพื่อน ที่เรียน ป.เอก ขอส่งกำลังใจมาให้ ศ.ดร.จีระ ความดีที่อาจารย์ทำให้กับสังคม ขอให้ย้อนกลับมาหาอาจารย์และทีมงาน ครับ 

หากเป็นไปได้ ผมปรารถนาที่จะเห็นหน่วยงานรัฐ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนกิจกรรมของอาจารย์


แต่ผมคิดว่า สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) ที่ทำให้อากาศเปลี่ยน จากการที่ผมคุยกับอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ท่านบอกว่า ปัจจุบัน ฝนตกไม่สม่ำเสมอ บางแห่งมาก บางแห่งน้อย อย่างในปีนี้ ฝนตกที่ภาคเหนือตอนล่างมากกว่า เฉลี่ย 27% ทำให้น้ำไหลทะลักมาสู่ภาคกลางมากมาย และที่สำคัญ ฝนที่ตกในภาคกลางเองก็มากกว่าปกติถึง 10% จึงเกิดปัญหา โลกาภิวัตน์ในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องการค้าเสรีหรือการเงินเสรีเท่านั้น แต่เป็นเรื่องภัยธรรมชาติจากโลกที่กระทบเราด้วย จากปรากฏการณ์อากาศไม่ปกติหรือโลกร้อนนั่นเอง  

ประเด็นนี้ สามารถทำให้ประชาชน ครู เด็กนักเรียน เข้าใจคำว่า "โลกาภิวัตน์" ได้มากขึ้น เวลาเราพูดถึงโลกาภิวัตน์ ก็จะคิดแค่ การค้าระหว่างประเทศ การสื่อสาร การลงทุน FTAฯ แต่เราพูดถึงปัญหาภัยธรรมชาติในระดับโลกภิวัตน์น้อยมาก

ประเด็นนี้เป็นประโยชน์ที่ ครู อาจารย์สามารถนำไปยกตัวอย่างเรื่อง โลกาภิวัตน์ให้นักเรียนประถม มัธยม หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยได้เรียนรู้ เป็นอย่างดี   


ผมติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด หากเราคิดว่าปีนี้น้ำท่วมแค่ปีเดียว ปีหน้าก็คงปกติ ซึ่งอาจจะไม่จริงก็ได้ เพราะอากาศของโลกไม่ปกติ และเรามีเวลาที่จะร่วมกันแก้ไขอีกไม่เกิน 15 ปี

คนไทยส่วนใหญ่คิดอย่างนี้มานานครับ ปัญหาเรื่องน้ำมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา บ้านทรงไทยจึงมีใต้ถุนสูง ยกสูง มีเรือประจำบ้าน แต่ปัจจุบัน บ้านคนไทยเลียนแบบฝรั่ง ไม่มีใต้ทุนสูง ไม่ยกสูง เป็นบ้านชั้นเดียวติดดินก็มีมาก ไม่มีเรือประจำบ้าน แต่มีรถยนต์แทน   เมื่อน้ำมาจึงพบปัญหาเดือดร้อนกัน

และคนไทยบางส่วนเคยชินกับการคิดสั้น ๆ ไม่คิดไกล ไม่คิดถึงปัญหาภัยธรรมชาติที่มีผลกระทบมาจากโลกาภิวัตน์ เพราะโลกาภิวัตน์เพิ่งมาเยือน เพิ่งมีผลกระทบให้เห็นไม่นานมานี้ ถ้าคนไทยตื่นตัวและหาทางป้องกัน ก็จะรอดพ้นกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น  

ผมเชื่อว่าปัญหาน้ำท่วมจะมีมากขึ้นกว่าที่ผ่าน ๆ มาอย่างแน่นอนครับ  ก็ขอให้เตรียมการณ์รองรับปัญหานี้กันให้ดี  เพราะว่า ปัญหาน้ำท่วมไม่ใช้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทยเท่านั้นถ้าย้อนดูข่าวเกี่ยวกับภัยธรรมชาติในสองปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีผลกระทบไปทั่วโลก 

การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของโลก ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม สึนามิ ทอร์นาโดฯลฯ นั้น รัฐบาลและประชาชนทั้งโลกจะต้องศึกษาและรู้เท่าทัน และต้องร่วมกับกลุ่มประเทศในโลก กลุ่ม APEC ฯลฯ ในการแก้ไขและป้องกันปัญหา

นานาประเทศต้องพร้อมทั้งให้ความร่วมมือบางเรื่องและคัดค้านบางเรื่องกับกลุ่มพลังโลก ที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายโลก เช่น

  • กลุ่มมหาอำนาจปกป้องผลประโยชน์ของตน
  • กลุ่มตลาดโลก
  • กลุ่มก่อการร้ายสากล
  • ภาวะผู้นำโลก
  • กลุ่มประเทศที่ผลิตและมีอาวุธนิวเคลียร์
  • กลุ่มคอรัปชั่นระดับโลกฯลฯ  

กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ มีผลต่อหายนะ และความสงบสุขของโลก ซึ่งรัฐบาลไทยเราควรรู้เท่าทัน เพื่อนำพาประเทศไทยให้อยู่รอดได้ อย่างยั่งยืน ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   

การดำเนินการบริหารประเทศตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงมิใช่เป็นการบริหารแค่พอมีพอกินในประเทศเท่านั้น แต่ต้องบริหารให้ประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน สมดุลย์ภายใต้กระแสและผลกระทบของโลกาภิวัตน์ และการกำหนดนโยบายโลก ขององค์การสหประชาชาติ และกลุ่มประเทศต่างๆ    

จากการอ่านข่าว พบว่ากลุ่มนักวิชาการของอังกฤษได้มีการศึกษา และส่งรายงานไปให้ Tony Blair นายกรัฐมนตรีอังกฤษทราบว่า อย่างช้าที่สุด ภายใน 15 ปี GDP ของโลกจะลดลง 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 7 Trillion US $ ) เพราะการผลิตสินค้าและบริการจะถูกกระทบจากภาวะโลกร้อน ลองคิดดู ประเทศไทยจะจนลง 20% ถ้าเราไม่ทำอะไรภายใน 15 ปี
ลูกศิษย์ผมคือ คุณยม นาคสุข ได้เชิญผมไปฟังสัมมนาของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งได้เตือนประเทศไทยให้หันมาเอาใจใส่ ทำวิจัย ปรับตัว เรื่อง Global warming เพราะมีเวลาเหลืออีกไม่มาก 
  

ขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่กล่าวถึงผมในบทความนี้ และให้ความกรุณากับผมในการสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ตลอดมา  ผมเป็นคนไทยที่รักชาติบ้านเมือง และห่วงใยประชาชนที่ยากไร้ ด้อยโอกาส ในชนบทที่ยากจน เช่นเดียวกับอาจารย์ และพี่น้องชาวไทยอีกหลายท่าน

การนำเรื่องนี้ มาเรียนให้อาจารย์ทราบ เพราะอาจารย์มีอุดมการณ์มีจิตอาสาพัฒนาชาติและมีทุนทางสังคมสูง จึงคิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ และผมเชื่อว่าอาจารย์คงไม่อยู่เฉยถ้าทราบข่าวความหายนะที่อาจจะเกิดขึ้นกับชาวโลก และคนไทย  ครับ

ผมขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ อีกครั้งหนึ่ง ที่อาจารย์ให้ความสนใจในเรื่อง Global warming ตามที่ผมเรียนให้ทราบและะคิดต่อที่จะทำเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม   

นอกจากนี้ แนวคิด ของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนของชาติก็น่าสนใจมาก ดร.อาจอง ท่านทำโรงเรียนในฝัน มีการฝึกและพัฒนาจิตและนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสอนและใช้กับเด็กนักเรียนด้วย ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของไทย ด้วยเช่นกัน หากมีโอกาสน่าจะถ่ายทำสารคดีมาประกอบรายการเศรษบกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ครับ


ผมจึงถือโอกาสเรียนให้ทราบว่า วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน ผมจะมีรายการสู่ศตวรรษใหม่ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 14.00-15.00 น. ซึ่งผมได้เชิญอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา คุณศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีท่านนี้เป็นผู้มีความรู้ดีมาก และได้ทำงานหลายอย่างเพื่อประชาชน จะมาพูดในรายการ ผมจึงเป็นแนวร่วมกับท่านทำหลายเรื่อง   

รายการนี้ น่าสนใจเหมือนกับรายการวิทยุคลื่นความคิด FM. 96.5 เป็นรายการประเทืองปัญญา ถ้าติดตามชมหรือฟังรายการแล้ว คิดตามคิดต่อยอดจะเกิดความรู้ เกิดทุนทางปัญญา จึงขอเชิญชวนท่านผู้อ่านติดตามรายการของ ศ.ดร.จีระ รายละเอียดกำหนดรายการต่าง ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ผมได้ประชาสัมพันธ์ไว้ตอนท้ายของ Blog นี้ 


ผมพูดเสมอว่า มนุษย์สร้างความเจริญ แบบไม่มองความสมดุลของธรรมชาติ ทุนแห่งความยั่งยืนของผม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะผมต้องการให้โลกน่าอยู่ ให้คนรุ่นหลังได้เห็น ไม่ใช่มีความสะดวกสบายในปัจจุบัน แต่อนาคตไม่ยั่งยืน การมองความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติกับทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นให้ประชาชนมีความรู้ เดินสายกลาง พอประมาณ ผมจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานหลายแห่ง เช่น กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมบรรเทาสาธารณภัย สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น เพื่อเตรียมรับมือเรื่องโลกร้อนให้ได้ และจะเริ่มรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหานี้  

เรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในการเรียนการสอน ระดับมหาวิทยาลัย ควรให้มีวิชาทีว่าด้วย ความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติกับทรัพยากรมนุษย์ ด้วยครับ ให้ถือว่าเป็น นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนวิชานี้   

เพราะที่ผ่านมาเรามัวแต่ไปพูดเรื่องการสรรหา คัดเลือก อบรมฯ  สิ่งเหล่านี้ไม่ยั่งยืน เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เทคนิคเหล่านี้ย่อมต้องเปลี่ยนไป การเรียนการสอน ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ควรต้องร่างหลักสูตรกันใหม่ ไม่ควรมัวแต่ลอกตำราฝรั่ง ครับ  

ผมดีใจที่ทางนิด้า จัดให้มีการเรียนการสอน วิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา  และการเป็นวิทยากรเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และเปิดโอกาสให้คนภายนอกได้เข้าไปร่วมเรียนอย่างเป็นระบบ และยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาปริญญาเอก เข้าไปร่วมฟังได้ด้วย เป็นวิชาที่ไม่ได้ลอกตำราฝรั่งแต่เอาแนวคิดของพ่อหลวงของเรามาจัดให้มีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และถ้ามีการจัดการที่ดี ต่อไปเราอาจจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ของโลก ให้ฝรั่งมาเรียนรู้เราบ้าง   

ส่วนเรื่องการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ ที่ ศ.ดร.จีระ เขียนมา ผมยังไม่มีอะไรที่จะ comment หรือต่อยอดมากนัก เพราะยังไม่มีโอกาสได้ไปดูงานของจริง

อย่างไรก็ตามผมเห็นด้วยที่รัฐ ควรทบทวนให้เกิดประโยชน์กับประชาชนระดับรากแก้ว ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ด้วย เช่น การเผยแพร่ภาพของงานทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เป็นระยะ ๆ การนำพันธุ์พืชสวนโลกที่มีประโยชน์ต่อการเกษตร รวมทั้งแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ กระจายไปสู่เกษตรกรที่ยากไร้ ตามชนทบ อย่างเป็นระบบ หรือการที่ผู้ว่าฯแต่ละจังหวัด จะใช้งบประมาณบางส่วน จัดตัวแทนชุมชนในชนบท มาทัศนศึกษาอย่างมีเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน ครับ

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ       

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน               

ยม

 

นักศึกษาปริญญาเอก 

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

 

[email protected]

 081-9370144

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผมเปิดหาอ่านบทความของอาจารย์จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย ดีใจที่บทความของอาจารย์ ลงบนเว็ปได้ทันตอนเช้า นี้

ผมได้คัดมาวางไว้ใน Blog นี้ เพื่อให้ท่านผูอ่านที่แวะเข้ามาได้เห็นได้ง่าย ขึ้น

ส่วนของการวิเคราะห์ ผมจะนำมาแสดงภายหลัง เนื่องจากเช้านี้ รีบไปสัมมนาเกี่ยวกับ ภาวะผู้นำโลกในหลักสูตร ป.เอก รัฐศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตแต่เช้ามืด

วันนี้จะมีพระมาโปรด มาเรียนด้วย พระท่านเดินทางมาไกลจากโคราช  ตั้งใจว่าจะรีบไปถวายภัตราหารเช้า ทำบุญกับพระท่านก่อน และเพื่อมีเวลาก่อนเริ่มการสัมมนา  สร้างทุนสังคมกับ คณาจารย์และเพื่อน ประมาณช่วงบ่ายจะนำส่วนที่ผมวิเคราะห์ มาแสดงได้ เชิญท่านผู้อ่านทุกท่านอ่านบทความของ ศ.ดร.จีระ ข้างล่างนี้ ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่านยม.....................................................

นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย[1]

 

 ต้องยอมรับว่า ปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่คนไทยทุกคนได้ร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นปีแห่งความสุขของคนไทยอย่างแท้จริง หนังสือพิมพ์ Time ฉบับ Asia Edition เล่มล่าสุด ยังสดุดียกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักของเราว่า เป็นวีรบุรุษของเอเชีย


การที่หนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ยกย่องกษัตริย์ของเรา เขาได้มีการทำวิจัยอย่างรอบคอบ ถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจและโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 60 ปีที่แล้ว ตั้งแต่สมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นยุวกษัตริย์ และในช่วงนั้น ระบบกษัตริย์ของเอเชียและของโลก ส่วนมากจะไม่มั่นคง แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปจนถึงปัจจุบัน พบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ นำพาประเทศไทยไปได้อย่างสวยงาม


เช่น การช่วยเหลือประชาชน พระองค์ท่านทรงมีความเพียรและเสียสละเพื่อประชาชนอย่างไม่หยุดยั้งมาตลอดเวลา Time ยังพูดถึงโครงการพัฒนาต่าง ๆ กว่า 3,000 โครงการ ทรงพระราชดำริขึ้นเพื่อประชาชน เพื่อช่วยให้ประชาชนคนไทยอยู่รอดจาก ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และโลกาภิวัตน์ อันเป็นที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ยิ่งไปกว่านั้น Time ยังได้พูดถึงปัญหาการเมืองที่เป็นวิกฤติใหญ่ 3 ครั้งที่ผ่านมา คือ
- ช่วง 14 ตุลาคม 2516
- ช่วง พฤษภาทมิฬ 2535
- ช่วงปฏิรูปการปกครอง ในปีนี้


พระองค์ท่านได้ทรงบริหารและฝ่าวิกฤติทางการเมือง ได้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของคนไทยและสังคมไทย นำพาประเทศรอดพ้นมาได้อย่างประสบความสำเร็จ


เหตุการณ์ระดับโลกเรื่องหนึ่งที่ผมติดตามการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด คือการเลือกตั้งในสหรัฐ ที่หลายคนพูดว่า ปัญหาในปัจจุบันคือ โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่มีอะไรแน่นอน เราจึงต้องทันเหตุการณ์ ทันโลกตลอดเวลา จึงจะปรับตัวให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน ดังเช่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


เหตุการณ์ของโลกในสัปดาห์นี้ ที่กระทบเราไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม คือ การเลือกตั้งระหว่างปีของสหรัฐอเมริกา ถ้าพรรคเดโมแครต ( Democrats Party ) ชนะ ผมคิดว่าสันติภาพในโลก น่าจะดีขึ้น


นับตั้งแต่ เหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายถล่มตึก The World Trade เป็นที่รู้กันว่า คนอเมริกันสนับสนุนพรรครีพับลิกัน ( Republican party ) อย่างท่วมท้น ซึ่งเป็นพรรคที่พอใจกับการสู้รบกับฝ่ายตรงข้าม ไม่เน้นการประนีประนอม ค่อนข้างจะออกมาทางขวาจัด อนุรักษ์นิยม และยึดศาสนาเป็นใหญ่ (Evangelists)


อย่างไรก็ตาม ใน 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสงครามอิรักก็ยังไม่จบสิ้น ยังคงยืดเยื้อต่อไป มีทหารอเมริกันเสียชีวิตมากขึ้นทุกวัน ทำให้คนอเมริกันส่วนมาก ไม่แน่ใจในความสามารถของประธานาธิบดี Bush และพรรคการเมืองของ Bush


สังคมอเมริกาเป็นสังคมที่ใช้ข่าวสารในการตัดสินใจ พื้นฐานประชาชนของเขามีการศึกษาในระดับที่ดี เป็นประชาธิปไตย จึงสามารถเปลี่ยนความนิยมได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้พรรคเดโมแครต ( Democrats Party ) สามารถครองเสียงในสภาล่างได้ถึง 229 ที่นั่ง จาก 435 ที่นั่ง มากกว่าพรรค Republican ซึ่งได้เพียง 196 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการแปรผัน (swing vote) คะแนนถึง 33 ที่นั่ง ยังไม่ประกาศอีก 10 ที่นั่ง ทั้งที่ได้เพิ่มเพียง 15 ที่นั่ง ก็พอที่พรรค Democrats จะมีเสียงข้างมากในสภาล่าง


ในขณะที่สภาสูง มีการแปรผัน (swing vote) คะแนนไปสู่พรรค Democrats ถึง 5-6 ที่นั่ง ทำให้โอกาสที่พรรค Democrats จะครองเสียงส่วนมากได้สำเร็จทั้งสองสภา


ระหว่างที่ผมเขียนต้นฉบับ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐ นาย Donald Rumsfeld ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ครั้งนี้


เหตุการณ์ครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ประชาธิปไตยของสหรัฐ มีเหตุมีผล ประชาชนของเขาใช้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขา ทั้งที่พรรค Republican ของ Bush เป็นพรรคของคนรวย มีเงินสนับสนุนมากมาย แต่ก็แพ้อย่างขาดลอย เพราะประชาชนเห็นว่า นโยบายต่างประเทศประสบความล้มเหลว แสดงว่าประชาชนของเขามีการศึกษาดีพอที่จะตัดสินใจ 

 

ผมคิดว่า ประชาธิปไตยของไทยก็เช่นกัน ต้องสร้างให้ประชาชนมีการศึกษา มีเหตุมีผล มีการตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ใช่ใช้เงินเป็นหลัก มองการพัฒนาที่ยั่งยืน มากกว่าการมองอะไรง่าย ๆ ที่เน้นระยะสั้น


ผมคิดว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งนี้ น่าจะดูพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้ดี และร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองของไทย ขณะเดียวกันควรพัฒนาความคิดของระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ให้เกิดจิตสำนึก ให้คนไทยรู้จักหวงแหนและรักสิทธิของตัวเอง ไม่ใช่เห็นแก่ผลประโยชน์ระยะสั้น ผมจะพยายามช่วยในการสร้างคนในชนบทให้เป็นสังคมประชาธิปไตยแบบไทยๆให้มากขึ้น โดยเน้นสังคมการเรียนรู้


สรุปคือ หลายครั้ง เราคิดว่านักกฎหมายกับนักรัฐศาสตร์ จะต้องดูแลเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ แต่นักการศึกษา นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักพัฒนาจิตวิญญาณ นักพัฒนาชุมชน น่าจะเข้ามามีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย


หากเป็นไปได้ น่าจะเน้นทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริงในสังคมไทย และพื้นฐานการศึกษาไทย
- Relevance ให้ตรงประเด็น กำหนดมาตราที่สำคัญให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น
ซึ่งหลาย ๆ แนวคิด ( Ideas ) กำลังเกิดขึ้น เช่น
- การกำหนดวาระของนักการเมือง
- การได้มาซึ่งสภาสูงแบบไม่เลือกตั้ง
- นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง
- บทบาทของข้าราชการประจำในรัฐธรรมนูญ
- บทบาทของการศึกษาในรัฐธรรมนูญ
เหล่านี้เป็นเพียงแนวคิดที่อยากจะฝากให้หลาย ๆ ท่านได้นำไปพิจารณา


สุดท้าย ขอเรียนว่า รายการ "คิดเป็นก้าวเป็น" ของผม ทาง UBC 7 จะหยุดชั่วคราว เพราะทาง UBC มีนโยบายให้ช่อง UBC 7 เป็นสถานีข่าวอย่างเดียว แต่อีกไม่นาน จะกลับมาในช่องสารคดีอีก


ส่วนรายการ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ยังมีต่อเนื่อง ท่านยังติดตามได้ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์


ผมจะพยายามไปเปิดชุมชนการเรียนรู้ตามโรงเรียนต่าง ๆ อย่างเช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สัปดาห์นี้ ได้ไปเปิดชุมชนการเรียนรู้ถึงโรงเรียนเทพศิรินทร์นนทบุรี ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในช่วง 1 ปี ก่อนจะมีการเลือกตั้ง ต้องเอาจริงกับการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิด critical mass ให้เกิดพลังที่แท้จริง หรืออาจจะเรียกว่า เกิด Tipping point จุดที่จะประสบความสำเร็จ


เพราะถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ภายใน 1 ปี ผมไม่แน่ใจว่า จะทำการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียงได้สำเร็จเท่าเวลานี้หรือไม่ เพราะการเมืองแบบเลือกตั้ง คงไม่แคล้วประชานิยม ประชาชนไทย ยังคิดไม่เป็น จึงเน้นวัตถุนิยมอย่างมาก และวันนั้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็จะไม่สำคัญต่อคนไทยต่อไป ต้องช่วยกันครับ เวลามีไม่มากแล้ว

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                     โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 
บทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระจาก Interent สัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย  ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 
ต้องยอมรับว่า ปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่คนไทยทุกคนได้ร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นปีแห่งความสุขของคนไทยอย่างแท้จริง หนังสือพิมพ์ Time ฉบับ Asia Edition เล่มล่าสุด ยังสดุดียกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักของเราว่า เป็นวีรบุรุษของเอเชีย
 
ผมดีใจที่ ศ.ดร.จีระ เอาเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับการกล่าวถึงใน หนังสือพิมพ์ Time ฉบับ Asia Edition เล่มล่าสุด ยังสดุดียกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักของเราว่า เป็นวีรบุรุษของเอเชีย มาเขียนให้ประชาชนคนไทย ทราบ  อยากให้รัฐบาลประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้มาก ๆ พร้อมอธิบายเหตุผล ให้ทราบว่าท่านทรงมีผลงานอะไร อย่างไร จนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศและได้รับการยกย่องเช่นนี้  และทำรายละเอียดไว้ใน www. ส่งเสริม ให้นักเรียน นักศึกษา ได้เข้าไปศึกษา
สำหรับท่านผู้สนใจเกี่ยวกับข่าวนี้ ท่านสามารถหาอ่านได้จาก  http://www.time.com/time/asia/2006/heroes/in_adulyadej.html ) มีข้อความโดยย่อดังนี้   
King Bhumibol Adulyadej
Over 60 years, a beloved monarch has used his moral authority to guide Thailand through many crises[1]

As a single shot shattered the stillness of Bangkok's Borompimarn Palace on a steamy June morning in 1946, the land some still called Siam changed forever. Twenty-year-old King Ananda was dead. The manner of his passing—by accident, suicide or murder—endures as Thailand's deepest mystery. The pistol smoke barely had time to clear before the mantle of kingship passed to Ananda's 18-year-old brother, Bhumibol Adulyadej. Some, including a new magazine in Asia named TIME, pondered whether the "gangling, spectacled" teenager could survive the deadly intrigues of a fabled and faraway Oriental land. The odds were against him. All across Southeast Asia, monarchies were being extinguished—kings and princes stripped of power, driven into exile or executed. Yet young Bhumibol steadily grew in stature, not least by launching over 3,000 royal projects to help the poor. Even as a communist insurgency raged, he personally delivered relief to remote villages. Bhumibol also quietly counseled and sometimes openly cajoled governments, always urging them to put public interest first. Having sat on the throne for 60 years, he is the world's longest-reigning monarch. His stewardship has been so masterful that in times of crisis Thais invariably turn to one man: King Bhumibol. Indeed, on two occasions—October 1973 and May 1992—with Thailand descending into chaos, the King, armed only with his moral authority, intervened to end bloodshed. Today, a group of generals has again seized power. They have pledged to give Thailand a fairer and lasting democratic system. Once more, Thailand's people will look to King Bhumibol, trusting him to ensure that the generals keep their promise.  
ผมคิดว่าเราในฐานะคนไทย ก็ควรสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ท่าน เจริญลอยตามฝ่าพระบาท จำลองสิ่งที่ท่านทำ มาสานประโยชน์ ให้เกิดแก่สังคม ชุมชนรอบข้าง  อย่างเช่นที่พระองค์ทรงมุ่งมั่นเป็นแบบอย่างที่ดี สมกับเป็นพ่อหลวงของเรา เราก็ควรเป็นลูกที่ดี สานต่อกิจการของพ่อ และให้ขยายกิจการนี้ต่อถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน กิจการของพ่อ กิจการแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน  กิจการเศรษฐกิจพอเพียง 

เหตุการณ์ระดับโลกเรื่องหนึ่งที่ผมติดตามการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด คือการเลือกตั้งในสหรัฐ ที่หลายคนพูดว่า ปัญหาในปัจจุบันคือ โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่มีอะไรแน่นอน เราจึงต้องทันเหตุการณ์ ทันโลกตลอดเวลา จึงจะปรับตัวให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน ดังเช่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เหตุการณ์ของโลกในสัปดาห์นี้ ที่กระทบเราไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม คือ การเลือกตั้งระหว่างปีของสหรัฐอเมริกา ถ้าพรรคเดโมแครต ( Democrats Party ) ชนะ ผมคิดว่าสันติภาพในโลก น่าจะดีขึ้น
นับตั้งแต่ เหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายถล่มตึก The World Trade เป็นที่รู้กันว่า คนอเมริกันสนับสนุนพรรครีพับลิกัน
( Republican party ) อย่างท่วมท้น ซึ่งเป็นพรรคที่พอใจกับการสู้รบกับฝ่ายตรงข้าม ไม่เน้นการประนีประนอม ค่อนข้างจะออกมาทางขวาจัด อนุรักษ์นิยม และยึดศาสนาเป็นใหญ่ (Evangelists)
อย่างไรก็ตาม ใน 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสงครามอิรักก็ยังไม่จบสิ้น ยังคงยืดเยื้อต่อไป มีทหารอเมริกันเสียชีวิตมากขึ้นทุกวัน ทำให้คนอเมริกันส่วนมาก ไม่แน่ใจในความสามารถของประธานาธิบดี Bush และพรรคการเมืองของ Bush
สังคมอเมริกาเป็นสังคมที่ใช้ข่าวสารในการตัดสินใจ พื้นฐานประชาชนของเขามีการศึกษาในระดับที่ดี เป็นประชาธิปไตย จึงสามารถเปลี่ยนความนิยมได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้พรรคเดโมแครต ( Democrats Party ) สามารถครองเสียงในสภาล่างได้ถึง 229 ที่นั่ง จาก 435 ที่นั่ง มากกว่าพรรค Republican ซึ่งได้เพียง 196 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการแปรผัน (swing vote) คะแนนถึง 33 ที่นั่ง ยังไม่ประกาศอีก 10 ที่นั่ง ทั้งที่ได้เพิ่มเพียง 15 ที่นั่ง ก็พอที่พรรค Democrats จะมีเสียงข้างมากในสภาล่าง
ในขณะที่สภาสูง มีการแปรผัน (swing vote) คะแนนไปสู่พรรค Democrats ถึง 5-6 ที่นั่ง ทำให้โอกาสที่พรรค Democrats จะครองเสียงส่วนมากได้สำเร็จทั้งสองสภา
ระหว่างที่ผมเขียนต้นฉบับ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐ นาย Donald Rumsfeld ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ครั้งนี้
เหตุการณ์ครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ประชาธิปไตยของสหรัฐ มีเหตุมีผล ประชาชนของเขาใช้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขา ทั้งที่พรรค Republican ของ Bush เป็นพรรคของคนรวย มีเงินสนับสนุนมากมาย แต่ก็แพ้อย่างขาดลอย เพราะประชาชนเห็นว่า นโยบายต่างประเทศประสบความล้มเหลว แสดงว่าประชาชนของเขามีการศึกษาดีพอที่จะตัดสินใจ  
ในเรื่อง การเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมขอร่วมแชร์ด้วยดังนี้ครับ การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ที่ผ่านมา นอกจากจะมีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ยังมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐอีก 36 ที่นั่งด้วย
ซึ่งผลปรากฏว่า พรรคเดโมแครต สามารถได้ผู้ว่าการรัฐเพิ่มขึ้นอีกถึง 6 ที่ โดยครองที่นั่งในผู้ว่าการรัฐได้ทั้งหมด 20 ที่ ทำให้ เดโมแครต กลับมาครองเสียงข้างมากในผู้ว่าการรัฐครั้งแรกในรอบ 12 ปี   ชัยชนะของพรรคเดโมแครตเหนือพรรครีพับลิกัน ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ในการเลือกตั้งกลางเทอมครั้งนี้
ส่งผลให้นางแนนซี เพโลซี ส.ส.หญิงเหล็กจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สังกัดพรรคเดโมแครต กลายเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐไปโดยปริยายตามกลไกทางการเมือง  นางแนนซี เพโลซี ยังจะกลายเป็นบุคคลที่ทรงอำนาจมากที่สุดเป็นอับดับ 3 ของประเทศ รองจากประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสหรัฐ ตามรัฐธรรมนูญปกครองประเทศอีกด้วย  
ผลการเลือกตั้งกลางเทอมครั้งนี้ ยังก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากนานาประเทศในโลกมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางคล้ายคลึงกันว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการปฏิเสธทั้งสงครามอิรักและตัวประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุช   
คนอเมริกัน ส่วนใหญ่จะแสดงความกังวลต่ออนาคตของการเมืองในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน หลายฝ่ายเรียกร้องให้ผู้นำสหรัฐอเมริการอมชอมกับรัฐสภาที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคเดโมแครต และเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ในการจัดการกับวิกฤตการณ์ของโลกเสียใหม่ และคาดหวังว่าผู้นำสหรัฐจะสามารถซึมซับบทเรียนที่คนอเมริกันร่วมกันสอนให้กับ ตัวประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุช 
   
การแพ้การเลือกตั้งแบบขาดลอยและการลาออกจากตำแหน่งของนายโดนัลด์ รัมสเฟลด์ รัฐมนตรีกลาโหม แสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งที่ปรากฏอยู่ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้ลึกซึ้งมากเพียงใด   
นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นว่า คนอเมริกันเข้าใจสิ่งที่คนทั้งโลกเข้าใจมาก่อนหน้านี้แล้ว คนอเมริกันเพิ่งตระหนัก ว่า ความคลั่งชาตินั้นไม่ใช่การเมืองเลยแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ออกมา   ผมคิดว่าสิ่งที่บุชและฝ่ายบริหารของบุชได้บทเรียนไปในวันนี้ก็คือ คุณหลอกใครต่อใครได้ก็แต่เพียงบางครั้ง แต่ไม่สามารถหลอกทุกคนได้ในทุกครั้ง นายฌ็อง-ปิแอร์ ชาปรองตราต์  กล่าวไว้ในที่สุด
  
นอกจากนี้ เมื่อ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช แนะนำ โรเบิร์ต เกตส์ วัย 63 ปีกับผู้สื่อข่าว ในฐานะว่าที่รัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่นั้น เขาบอกด้วยว่า "บ็อบ เกตส์" คือ "พลังแห่งความเปลี่ยนแปลง" นั่นสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วิถีของอเมริกันในอิรักจำต้องเปลี่ยน หลังการเลือกตั้งกลางเทอมหนนี้แน่นอนแล้ว ส่วนที่จะเปลี่ยนอย่างไร เป็นเรื่องที่ควรติดตาม


 ผมคิดว่า ประชาธิปไตยของไทยก็เช่นกัน ต้องสร้างให้ประชาชนมีการศึกษา มีเหตุมีผล มีการตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ใช่ใช้เงินเป็นหลัก มองการพัฒนาที่ยั่งยืน มากกว่าการมองอะไรง่าย ๆ ที่เน้นระยะสั้น   
ในความเห็นของผมคิดว่า การสร้างประชาธิปไตยของไทย ควรต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และต่อเนื่อง  นักการเมืองต้องมีส่วนช่วยในการสร้างและพัฒนาประชาธิปไตย ที่ถูกต้องด้วยการสนับสนุนให้คนไทย คนจนส่วนใหญ่ของประเทศ มีความรู้ มีการศึกษา และมีคุณธรรม 
  
ผมคิดว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งนี้ น่าจะดูพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้ดี และร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองของไทย ขณะเดียวกันควรพัฒนาความคิดของระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ให้เกิดจิตสำนึก ให้คนไทยรู้จักหวงแหนและรักสิทธิของตัวเอง ไม่ใช่เห็นแก่ผลประโยชน์ระยะสั้น ผมจะพยายามช่วยในการสร้างคนในชนบทให้เป็นสังคมประชาธิปไตยแบบไทยๆให้มากขึ้น โดยเน้นสังคมการเรียนรู้ 
  
ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ เราต้องยอมรับกันว่า ปัญหาชาติบ้านเมือง ของเรา พื้นฐานมาจากปัญหาการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเรา ยังไม่เข้มแข็ง เมื่อมีการปฏิรูป ปฏิวัติ ก็ควรปฏิวัติการบริหาร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างจริงจัง
เพราะว่า ทรัพยากรของชาติไทยกำลังจะแพ้เวียดนาม และต่อไปอาจจะแพ้ลาว พม่า กัมภูชา ถ้าเราไม่มียุทธ์ศาสตร์ในเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรของชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ ที่ดี วัดผลได้ แผนการสร้างทรัพยากรมนุษย์ เพื่อความมั่นคง ยั่งยืนของชาติ ควรต้องทำอย่างเป็นรูปธรรม คนโง่ คนขี้เกียจ คนไม่มีคุณธรรม จริยธรรมให้หมดไปภายในกี่ปี คนถ้าไม่โง่ ไม่ขี้เกียจ จะไม่จน คนจนจะหมดไปเอง  
 
สุดท้าย ขอเรียนว่า รายการ "คิดเป็นก้าวเป็น" ของผม ทาง UBC 7 จะหยุดชั่วคราว เพราะทาง UBC มีนโยบายให้ช่อง UBC 7 เป็นสถานีข่าวอย่างเดียว แต่อีกไม่นาน จะกลับมาในช่องสารคดีอีก
ส่วนรายการ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ยังมีต่อเนื่อง ท่านยังติดตามได้ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ผมจะพยายามไปเปิดชุมชนการเรียนรู้ตามโรงเรียนต่าง ๆ อย่างเช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สัปดาห์นี้ ได้ไปเปิดชุมชนการเรียนรู้ถึงโรงเรียนเทพศิรินทร์นนทบุรี ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในช่วง 1 ปี ก่อนจะมีการเลือกตั้ง ต้องเอาจริงกับการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิด critical mass ให้เกิดพลังที่แท้จริง หรืออาจจะเรียกว่า เกิด Tipping point จุดที่จะประสบความสำเร็จ เพราะถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ภายใน 1 ปี ผมไม่แน่ใจว่า จะทำการเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียงได้สำเร็จเท่าเวลานี้หรือไม่ เพราะการเมืองแบบเลือกตั้ง คงไม่แคล้วประชานิยม ประชาชนไทย ยังคิดไม่เป็น จึงเน้นวัตถุนิยมอย่างมาก และวันนั้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็จะไม่สำคัญต่อคนไทยต่อไป ต้องช่วยกันครับ เวลามีไม่มากแล้ว   
รายการ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ เป็นรายการที่มีประโยชน์มาก ผมคิดว่า ศ.ดร.จีระ และทีมงาน น่าจะทำการเผยแพร่ทั้งปี รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรร่วมด้วยช่วยกัน จัดทำรายการนี้ มอบให้แก่ปวงชนชาวไทย  เพื่อช่วยให้คนไทยมีความรู้เรื่องนี้มากขึ้น ๆ เพื่อรองรับการเลือกตั้ง เมื่อรัฐบาลชุดปัจจุบันถอนตัวไป รัฐบาลใหม่เข้ามาจะได้มีทรัพยากรของชาติ ที่มีความรู้เรื่องนี้ และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ด้วยแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบความคิดในการพัฒนาการดำเนินชีวิต 
รายการเช่นนี้ ก็ควรมีรูปแบบของรายการที่หลากหลาย สำหรับเด็กประถม เด็กวัยรุ่น คนทำงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ครอบครัว ชุมชน ควรมีหลาย ๆ version เลือกออกอากาศตามเวลาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย  รัฐบาลน่าเข้ามาช่วยสนับสนุน  เพื่อสนองพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง   
การจัดงานตาม HALL ใหญ่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง รัฐฯก็ทำได้ดี แต่ประโยชน์ที่จะเกิดกับระดับรากแก้ว ยังมีไม่ทั่วถึง ผมเสนอว่ารัฐควรใช้สื่อทีวี รายการทีวี เช่นที่อาจารย์ทำ จัดหลากหลายรูปแบบให้เหมาะกับประชาชนแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ให้ถึงชาวบ้านที่ยากจนให้เข้าใจ รัฐจะได้บริหารประเทศชาติได้ดีขึ้น ถ้าทรัพยากรมนุษย์ได้เข้าใจเรื่องเหล่านี้  
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  
นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  
เชิญเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ รวมทั้งคุณ Lotus คุณประจวบ ก็ดีติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  
       
สวัสดีครับ
               
ยม    
นักศึกษาปริญญาเอก   
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต   [email protected]   
081-9370144
คัดมาจาก น.ส.พ.แนวหน้า "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน"

ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน[1]

 

ท่านที่มีโอกาสดูสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ทาง โทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. คงช่วยให้คนไทยมีความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้น และมีโลก ทัศน์ที่กว้าง ทันโลก มองความยั่งยืน ผาสุกได้


สื่อเป็นจุดสำคัญในการกระจายข่าวไปสู่ประชาชน สื่อเชิงฐานความรู้ที่ทำอย่างต่อเนื่องมีน้อย มาก คนไทยจึงบริโภคสื่อเพื่อความบันเทิงมากกว่า จะเห็นได้ว่า ในโทรทัศน์ปัจจุบันมีเรื่องเกี่ยวกับ ความรู้น้อยมาก มีละครและเกมโชว์เป็นหลัก เพราะขึ้นอยู่กับ Rating ของผู้ชม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่านิยม ของคนไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร


ผมทำสื่อมากว่า 13 ปี อย่างมุ่งมั่นและต่อเนื่อง เรื่อง HR หากไม่มีสื่อช่วย คงจะลำบาก เพราะ เป็นเรื่องที่ไกลตัว ไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ


รายการ"เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์"จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะได้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ของ 3C + 1P คือ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ


จะมีการนำเอารายการนี้ ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำริที่ จะทำ DVD อีก 1 หมื่นชุด เพื่อแจกไปตามโรงเรียนต่าง ๆ เพราะการเข้าถึงเยาวชน เป็นเรื่องสำคัญ หาก ไม่ทำ เยาวชนคงจะถูกกระแสของสังคมพาไปสู่บริโภคนิยม คลั่งไคล้เงิน แฟชั่น ดารา และ Brandname ต่าง ๆ มองข้ามคุณค่าของสังคม ไปนิยมทางตะวันตกมากเกินไป


เมื่อวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน ผมในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรม ราชูปถัมภ์ ได้ไปสร้างสังคมการเรียนรู้ ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า จ. กาญจนบุรี ให้เปรียบเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบทักษิณว่าเป็นอย่างไร เศรษฐกิจพอเพียงสามารถช่วย ชุมชน ครอบครัว และโรงเรียนได้อย่างไร ทั้งครูและนักเรียนช่วยกันแสดงความเห็นอย่างหลากหลาย ว่า เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบทักษิณเชื่อมโยงกันได้ คือ นโยบายของระบบทักษิณที่เน้นประชานิยม หาก เราให้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชน ให้รู้จักนำเงินที่รัฐบาลช่วยมาใช้ประโยชน์ โดยใช้ ความสามารถ เหตุผลและความจำเป็นของเรา สร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้น เงินจำนวนมากที่ระบบทักษิณ ให้แก่ชาวบ้านก็จะเกิดประโยชน์ คุ้มค่า สามารถช่วยครอบครัว ชุมชน และโรงเรียนได้ ไม่ใช่ฟุ่มเฟือยไป กับมือถือ หรือสิ่งที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ


นอกจากนั้น ผมได้ไปสร้างชุมชนการเรียนรู้เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ที่โรงเรียน ท่าม่วงราษฎร์บำรุง จ.กาญจนบุรี มีครูและนักเรียนร่วมทำ workshop อย่างมากมาย ในโจทย์ว่าโลกาภิ วัตน์คืออะไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และเศรษฐกิจพอเพียงไปช่วยให้เราพัฒนา และรู้ทันโลกาภิวัตน์ อย่างไร


มีผลว่า โลกาภิวัตน์มีทั้งโอกาส ในเรื่องการค้า การลงทุน การศึกษา การค้นคว้าหาความรู้ ขณะเดียวกันก็มีการถูกคุกคาม โดยเฉพาะต่อวัฒนธรรมที่ดีของประเทศไทย เช่น โคโยตี้ (Coyoty) หาก ประชาชนเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้เขารู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ว่าเป็นอย่างไร จะรับมืออย่างไร จะต้องมีเหตุผล เข้าใจตนเอง และสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเขา โดยไม่หลงไปกับสิ่งต่าง ๆ จากตะวันตกที่ไม่ เหมาะกับเรา


ในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ ผมจะไปสอนปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งในช่วงบ่าย จะเข้าไปชุมชน อบต. หนองกินเพล ข้างมหาวิทยาลัย เปิด โอกาสให้ลูกศิษย์ปริญญาเอก 12 คน ช่วยกันแสดงความเห็น โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ถกเถียงกันถึง ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงต่อระดับเทศบาล , อบต. และอบจ. ของจังหวัดอุบลราชธานี การ ปลูกฝังและปรับพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่น เพื่อไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านด้วย


ทั้ง 3 เรื่องนี้ คงจะเกิดไม่ได้ ถ้าเราไม่มีเทปรายการ"เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ที่จะไป เปิดให้ประชาชนดู ซึ่งผมจะเสริมประเด็นต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และสนุกกับการเรียนรู้


ทั้งหมดนี้จะไปสู่โครงการที่ผมได้นำเสนอไปที่กระทรวงมหาดไทย ใน 12 เดือนข้างหน้า โดยจะ คัดเลือกผู้นำท้องถิ่นจากทั่วประเทศ ในระดับอบจ. , อบต.และเทศบาลทั้งหมด 5,000 คน จะสร้างสังคม การเรียนรู้แบบ 4 L's


ร่วมมือกับ PACRIM ซึ่งมีลิขสิทธิ์ 7 Habits ทำสัมมนาทางวิชาการและนำไปปฏิบัติ 3 วัน จะ เน้นถึงอุปนิสัย 7 อย่างที่ผู้บริหารท้องถิ่น ควรนำไปปรับตัวเองให้ดีขึ้น เช่น Be proactive , การตั้ง จุดหมายของเรา ( Begin with the end in mind ) , การรู้จักความสำคัญ ( put first things first ) , การ ทำงานที่เน้น win/win , การเข้าใจผู้อื่นก่อน ( Seek first to understand and then to be understood ) , การทำงานโดยร่วมมือแบบ Synergy , และการเป็นสังคมการเรียนรู้ ( Sharpen the saw )
หลังจากนั้นจะเป็น
- เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยร่วมมือกับทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อนุกรรมการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ที่มี ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง

- ประชาธิปไตยกับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย โดยมีทีมงานรัฐศาสตร์ที่มีประสบการณ์มาร่วมด้วย
- การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้ชาวบ้านคิดเป็น โดยจะนำเสนอการเรียนรู้แบบ 4 L's ประยุกต์ กับท้องถิ่น


การร่วมมือดังกล่าว จะทำโดยให้ผู้นำท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง
ผมมั่นใจว่าการทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จในมุมกว้างและ กระจายไปทุกภาคของประเทศ


การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำให้สำเร็จและได้ผลภายใน 1 ปี การเลือกตั้งแบบ ประชาธิปไตย ที่มีการหาเสียงแบบประชานิยมเป็นหลักจะกลับมาอีก รัฐบาลยุคพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เน้นเรื่องการปฏิรูป หากจะทำให้ระบบทักษิณลดความสำคัญไป โดยการสร้างให้คนไทยคิดเป็น วิเคราะห์เป็น จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก


สัปดาห์นี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) และรัฐบาลถูกโจมตีหนัก ผมขอให้กำลังใจ เพราะความดี ความซื่อสัตย์ของนายกฯสุรยุทธ์ จะคุ้มครองท่านได้อย่างแน่นอน บางครั้งคนไทยก็รีบร้อน ตัดสินใจหรือเปลี่ยนใจเร็วไป


เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีผู้ฟังรายการวิทยุ 96.5 MHz ของผม ส่ง SMS มาว่า ยุคคุณทักษิณอยู่ตั้ง 6 ปี ยังรอได้ แต่ยุคคุณสุรยุทธ์ผ่านไปเพียง 1 เดือนก็โจมตี ท่านนายกฯ คงต้องอดทนและอดกลั้น คณะรัฐมนตรีต้องเอาใจใส่กับการทำงานภายใน 1 ปีบ้าง ต้องคิดวางแผนการทำงานเชิงลำดับ ความสำคัญทุก ๆ วัน เพื่อให้งานที่จำเป็นลุล่วงไปได้ดี เรื่องระยะยาวก็รอได้ โดยเฉพาะการผ่าน กฎหมายในสภา เพราะเป็นโอกาสที่ดี


ผมโชคดีที่รัฐมนตรีบางท่านที่รู้จัก ริเริ่มงานบางอย่าง ได้กรุณาเล่าให้ผมทราบ และขอความเห็น เช่น รัฐมนตรีแรงงาน คุณอภัย จันทนจุลกะ ขอให้ผมช่วยดูกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ จะเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผมดีใจที่กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่นที่ ท่านรัฐมนตรีพูด ปัจจุบันเป็นยุคการแข่งขัน รัฐบาลและกระทรวงแรงงานต้องสร้างคุณภาพแรงงานให้ สูงขึ้น กระทรวงแรงงานไม่ใช่กระทรวงด้านสวัสดิการแรงงานเท่านั้น แต่เป็นกระทรวงในการสร้างแรงงาน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่ต้องยั่งยืน เพราะทักษะกับความรู้เปลี่ยนตลอดเวลา แต่นโยบาย ต่าง ๆ ไม่ได้ออกมาตามนี้ เพราะข้าราชการมีความเข้าใจในมุมแคบ ๆ


ส่วนคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ได้เล่าให้ผมทราบว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ บทบาทของวัฒนธรรมไทยจำเป็นมาก โดยเฉพาะค่านิยมของเยาวชน ที่เน้นวัตถุ และสิ่งที่ได้มาง่าย ๆ ท่านยังเร่งรัดที่จะมีสื่อ สารคดีดี ๆ ทางโทรทัศน์ มากระตุ้นให้เยาวชนไทย หวงแหนวัฒนธรรม และ ค่านิยมดี ๆ ของคนไทยในอดีต โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งปัน ความพอประมาณ และมองส่วนรวมมากกว่า ส่วนตัว vสัปดาห์นี้ ขอให้จับตาดูประเทศเวียดนาม ซึ่งเพิ่งเป็นสมาชิก WTO และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ APEC รัฐบาลเขามองไกล ไม่เน้นการตลาดแบบรัฐบาลไทยในอดีต แต่เน้นความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เขา เน้นทรัพยากรมนุษย์ ผมอิจฉาประเทศเวียดนามครับ

 

   ดร.จีระ หงส์ลดารมย์                    
[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                     โทรสาร 0-2273-0181  

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  ผมได้อ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระจาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงต่อเยาวชน  อาจารย์เขียนความจริงที่อาจารย์ได้สัมผัสมา เขเขียนแฝงไปด้วยสาระ ที่กระตุ้นทุนทางปัญญา ได้เป็นอย่างดี

ผมได้แสดงความคิดเห็น บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ .......

 

 

ท่านที่มีโอกาสดูสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ทาง โทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. คงช่วยให้คนไทยมีความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้น และมีโลก ทัศน์ที่กว้าง ทันโลก มองความยั่งยืน ผาสุกได้

 


สื่อเป็นจุดสำคัญในการกระจายข่าวไปสู่ประชาชน สื่อเชิงฐานความรู้ที่ทำอย่างต่อเนื่องมีน้อย มาก คนไทยจึงบริโภคสื่อเพื่อความบันเทิงมากกว่า จะเห็นได้ว่า ในโทรทัศน์ปัจจุบันมีเรื่องเกี่ยวกับ ความรู้น้อยมาก มีละครและเกมโชว์เป็นหลัก เพราะขึ้นอยู่กับ Rating ของผู้ชม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่านิยม ของคนไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร........

 
 ผมดีใจที่ ศ.ดร.จีระ และทีมงานได้ทำรายการส่งเสริมความรู้แบบนี้

เป็นรายการ ที่สามารถตอบรับกับนโยบายของชาติซึ่งจัดทำโดยคนมีอุดมการณ์ทั้งสิ้น เป็นประโยชน์ และเหมาะสมกับสถานการณ์โลกและประเทศในปัจจุบัน........

  

เป็นรายการที่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ ควรอย่างงยิ่งที่คนไทยจะได้รับการส่งเสริมให้ชมรายการเช่นนี้ให้มากขึ้น สถานีโทรทัศน์ควรจะมีบทบาทเหมือนโรงเรียนของชาติ มีรายการที่ส่งเสริมทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนมนุษย์ ทุนแห่งความยังยืนฯ ได้อย่างต่อเนื่อง ทั่วถึงประชาชนทุกกลุ่มในเวลาที่เหมาะสม และสมดุล ไม่ใช่มีแต่ทุนทางความสุข และเป็นความสุขที่ไม่ถาวร อย่างที่เป็นอยู่ในรายการบางรายการทำ........

  รัฐบาลเองก็น่าจะให้ความสำคัญ และทำเรื่องนี้มานานแล้ว พร้อมกับควบคุมให้สถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ทำตามนโยบาย ให้สอดคล้องรับกันทุกช่องสถานี......... 


ผมทำสื่อมากว่า 13 ปี อย่างมุ่งมั่นและต่อเนื่อง เรื่อง HR หากไม่มีสื่อช่วย คงจะลำบาก เพราะ เป็นเรื่องที่ไกลตัว ไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ.........

 
 

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ในประเด็นที่ว่า คนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญเรื่องทรัพยากรมนุษย์  ดูได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 เราเป็นไปตามกระแสทุนนิยม เน้นสิ่งปลูกสร้าง เน้นการพึ่งพาต่างประเทศ เน้นตลาดต่างประเทศ อะไรที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศดูดีไปหมด.........

  

จากผลการดำเนินการตามแผนฯฉบับที่ 1-7 โดยไม่มีการเน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ไม่เน้นเรื่องแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง .......

  

แน่นอนว่า แผนฯ ฉบับที่ 1-7 ย่อมมีส่วนดี มากหลายประการที่ไม่สามารถกล่าวถึงได้ในที่นี้ แต่ก็มีผลที่เกิดขึ้น ที่ไม่อาจละเลยนำมาเป็นบทเรียนในการกำหนดนโยบายสาธารณะของชาติได้ ..........

  

เมื่อครั้ง สิ้นสุดแผนฯที่ 7  เราก็พบปัญหาในชาติบ้านเมือง เราไม่สามารถใช้แผนฯฉบับที่ 8 ได้อย่างเต็มที่ เราต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของต่างชาติ เพราะเราเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เราเกิดปัญหาความไม่สมดุลทางด้านเศรษฐกิจ ................

  

นอกจากนี้ เรายังมีปัญหาทางด้านวัฒนธรรม ทางด้านสิ่งแวดล้อมและความไม่สมดุลทางทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ล้วนเป็นเพราะผลพวงของการปฏิบัติตามแผนฯ ที่ปราศจากการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปราศจากการพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ อย่างจริงจัง  ........................

 
จะมีการนำเอารายการนี้ ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำริที่ จะทำ DVD อีก 1 หมื่นชุด เพื่อแจกไปตามโรงเรียนต่าง ๆ เพราะการเข้าถึงเยาวชน เป็นเรื่องสำคัญ หาก ไม่ทำ เยาวชนคงจะถูกกระแสของสังคมพาไปสู่บริโภคนิยม คลั่งไคล้เงิน แฟชั่น ดารา และ Brandname ต่าง ๆ มองข้ามคุณค่าของสังคม ไปนิยมทางตะวันตกมากเกินไป
  นอกจากนั้น ผมได้ไปสร้างชุมชนการเรียนรู้เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ที่โรงเรียน ท่าม่วงราษฎร์บำรุง จ.กาญจนบุรี มีครูและนักเรียนร่วมทำ workshop อย่างมากมาย ในโจทย์ว่าโลกาภิ วัตน์คืออะไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และเศรษฐกิจพอเพียงไปช่วยให้เราพัฒนา และรู้ทันโลกาภิวัตน์ อย่างไร..........  สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีบทบาทในการขับเคลื่อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นอย่างมาก ผมได้มีโอกาสไปเรียนวิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา ที่สถาบันพัฒนบัณฑิตบริหารศาสตร์(นิด้า) มีผู้สอนที่มาจากสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี มาสอน มาอธิบายและยกตัวอย่างกรณีศึกษา ได้อย่างน่าสนใจ........ 

ในส่วนที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ อาจารย์ทำเรื่องการเผยแพร่ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาทุกระดับ ที่อาจารย์ไปสอนทั่วประเทศ ทั้งระดับ ป.เอก ป.โท ป.ตรี มัธยมฯ อาจารย์สร้างให้ลูกศิษย์เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี จุดประกายให้ลูกศิษย์สนใจ ใฝ่รู้ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ได้เป็นอย่างดี........

 

ผมเอง ก็ได้รับการกระตุ้น เติมพลังแห่งการเรียนรู้จากอาจารย์ และทำให้เกิดการค้นคว้าแสวงหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมกล่าวได้ว่า ศ.ดร.จีระ เป็นคนแรกที่ทำให้ผมเข้าใจในเรื่องนี้ จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า และหนังสือพิมพ์อื่น เมื่อหลายปีก่อนหน้านี้....... 

การจะขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของภาครัฐ จึงเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของคณะรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก เพราะเรากำลังจะขับเคลื่อน สิ่งที่จะไปต่อสู้กับกิเลสของมนุษย์ ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ เป็นการต่อสู้ด้วยสติ ปัญญา องค์ความรู้ ...........

 รัฐบาลจึงควรต้องให้ครู อาจารย์ และข้าราชการ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น มาเป็นพันธมิตร โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น คนในชนบท ต้องรีบส่งเสริมให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้กรอบแนวความคิด ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตใหม่ ๆ  ส่งเสริมให้เขาได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจในแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเรื่องประชาธิปไตยแบบยั่งยืน สมดุล  จัดให้มีชุมชนดีเด่น หน่วยงานดีเด่น ตำบล อำเภอ จังหวัดดีเด่น ด้านการขับเคลื่อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง .........
ในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ ผมจะไปสอนปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งในช่วงบ่าย จะเข้าไปชุมชน อบต. หนองกินเพล ข้างมหาวิทยาลัย เปิด โอกาสให้ลูกศิษย์ปริญญาเอก 12 คน ช่วยกันแสดงความเห็น โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ถกเถียงกันถึง ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงต่อระดับเทศบาล , อบต. และอบจ. ของจังหวัดอุบลราชธานี การ ปลูกฝังและปรับพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่น เพื่อไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านด้วย.............................


 

ผมดีใจและยินดีกับ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รุ่นน้องด้วย ที่ ศ.ดร.จีระ ให้ความกรุณาไปสอนและแชร์ความรู้ รูปแบบการเรียนการสอนที่ ศ.ดร.จีระ ใช้ จะทำให้นักศึกษา ป.เอก มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา มากยิ่งขึ้น และถ้านักศึกษา ป.เอก มีบุญมากพอ(สนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ ต่อ ศ.ดร.จีระ) ก็จะได้ทุนทางสังคมและทุนอื่น ๆ ตามมา และจะเป็น Global Leadership ได้ในอนาคต.........................

 
ทั้งหมดนี้จะไปสู่โครงการที่ผมได้นำเสนอไปที่กระทรวงมหาดไทย ใน 12 เดือนข้างหน้า โดยจะ คัดเลือกผู้นำท้องถิ่นจากทั่วประเทศ ในระดับอบจ. , อบต.และเทศบาลทั้งหมด 5,000 คน จะสร้างสังคม การเรียนรู้แบบ 4 L's
ร่วมมือกับ PACRIM ซึ่งมีลิขสิทธิ์ 7 Habits ทำสัมมนาทางวิชาการและนำไปปฏิบัติ 3 วัน จะ เน้นถึงอุปนิสัย 7 อย่างที่ผู้บริหารท้องถิ่น ควรนำไปปรับตัวเองให้ดีขึ้น เช่น Be proactive , การตั้ง จุดหมายของเรา ( Begin with the end in mind ) , การรู้จักความสำคัญ ( put first things first ) , การ ทำงานที่เน้น win/win , การเข้าใจผู้อื่นก่อน ( Seek first to understand and then to be understood ) , การทำงานโดยร่วมมือแบบ Synergy , และการเป็นสังคมการเรียนรู้ ( Sharpen the saw ) หลังจากนั้นจะเป็น
- เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยร่วมมือกับทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อนุกรรมการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ที่มี ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง
- ประชาธิปไตยกับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย โดยมีทีมงานรัฐศาสตร์ที่มีประสบการณ์มาร่วมด้วย
- การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้ชาวบ้านคิดเป็น โดยจะนำเสนอการเรียนรู้แบบ 4 L's ประยุกต์ กับท้องถิ่น

การร่วมมือดังกล่าว จะทำโดยให้ผู้นำท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง
ผมมั่นใจว่าการทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จในมุมกว้างและ กระจายไปทุกภาคของประเทศ.....
  เรื่องที่ ศ.ดร.จีระ จะพัฒนาคนในท้องถิ่น ในชนบทให้มีความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เรื่องประชาธิปไต เรื่องการปรับพฤติกรรมความคิดใหม่ เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะจะเป็นตัวช่วยกระตุ้น ช่วยขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ นโยบายของชาติ ได้ทุกเรื่อง เพราะเป็นการปรับทัศนคติ ความคิด เพิ่มองค์ความรู้ ให้กับผู้ที่มีอำนาจในท้องถิ้น ชุมชนใดก็ตามถ้าผู้นำมีความรู้ ควบคู่คุณธรรม คนในชุมชนนั้นย่อมมีความสุข”.     การคัดเลือกตัวแทนชุมชนมารับการเรียนรู้ น่าจะลงไปถึง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข เพราะคนพวกนี้ มากจากการยอมรับของชาวบ้านระดับล่าง และวิถีชาวบ้านในชนบทจะสัมผัสกลุ่มคนเหล่านี้มากกว่า อบจ. อบต. .........  ผมจึงเสนอว่า ในหนึ่งอำเภอ ควรต้องส่งตัวแทนชาวบ้านที่มาเป็นทีม ซึ่งจะเป็นทีมที่จะต้องช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยในท้องถิ่นต่อไป ฉะนั้นในหนึ่งอำเภอควรต้องประกอบไปด้วย อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและ อสม.(อาสาสมัครสาธารณะสุข) เข้ามาร่วมกิจกรรมนี้  .......  และถ้ามีโอกาสก็น่าจะให้โครงการบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เข้ามามีส่วนร่วม เพราะสำนักบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสิ่งที่ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ สร้างไว้ และมีบัณฑิตอาสาสมัครที่ มีจิตอาสาฯ มีความรู้ มีความใกล้ชิดกับชาวบ้าน กระจายอยู่ทั่วไปในชนบท บัณฑิตอาสาฯที่จบมาใหม่ รัฐก็ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญใด ๆ มากนัก ทั้งที่เป็นคณะนักศึกษา ในโครงการบัณฑิตอาสาสมัครฯ จะต้องเข้ารับพระราชทานพระบรมราโชวาทฯ ก่อนที่จะออกไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบทที่ยากไร้ ซึ่งก็หมายความว่า แม้สถาบันพระมหากษัตริย์ยังให้ความสำคัญ  แต่เมื่อจบมารัฐก็ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้............  


การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำให้สำเร็จและได้ผลภายใน 1 ปี การเลือกตั้งแบบ ประชาธิปไตย ที่มีการหาเสียงแบบประชานิยมเป็นหลักจะกลับมาอีก รัฐบาลยุคพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เน้นเรื่องการปฏิรูป หากจะทำให้ระบบทักษิณลดความสำคัญไป โดยการสร้างให้คนไทยคิดเป็น วิเคราะห์เป็น จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก.........................

 
การที่ ศ.ดร.จีระ พูดถึงประเด็นที่ว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำให้สำเร็จและได้ผลภายใน 1 ปีนั้นผมเห็นด้วย เป็นเรื่องท้าทายคณะรัฐบาลชุดนี้ แต่ถ้าจะให้รัฐบาลขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้สำเร็จภายใน 1 ปี อย่างทั่วถึงประชาชนทั้งประเทศ คงทำได้อยาก ผมเสนอว่า ควรต้องกำหนดประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ถูกต้อง เหมาะสม และประชาชนกลุ่มเป้าหมายนี้ จะต้องเป็นตัวช่วยรัฐบาลขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ต่อไปในอนาคต (หลังจาก 1 ปีที่รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศ)........ รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องก็ควรมุ่งหน้าพัฒนาประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อย่างต่อเนื่อง อย่างทั่วถึง ไม่ใช่แค่ทำหนเดียว แล้วคาดหวังผลเลิศเลอ การสร้างคนในบ้านเมืองเรา ต้องเข้าใจว่า ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ 1-7 เราไม่ได้มีเรื่องการสร้างคนเพื่อสร้างชาติ มากนัก ก็ต้องมาสร้างเอาตอนนี้ ก็ต้องใช้เวลา แต่ถ้าไม่ทำเลย ก็ยิ่งเสียหายหนักเข้าไป .......... 


เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีผู้ฟังรายการวิทยุ 96.5 MHz ของผม ส่ง SMS มาว่า ยุคคุณทักษิณอยู่ตั้ง 6 ปี ยังรอได้ แต่ยุคคุณสุรยุทธ์ผ่านไปเพียง 1 เดือนก็โจมตี ท่านนายกฯ คงต้องอดทนและอดกลั้น คณะรัฐมนตรีต้องเอาใจใส่กับการทำงานภายใน 1 ปีบ้าง ต้องคิดวางแผนการทำงานเชิงลำดับ ความสำคัญทุก ๆ วัน เพื่อให้งานที่จำเป็นลุล่วงไปได้ดี เรื่องระยะยาวก็รอได้ โดยเฉพาะการผ่าน กฎหมายในสภา เพราะเป็นโอกาสที่ดี ......

 ผมคิดว่าในการบริหารชาติบ้านเมือง ต้องใช้เวลาและความรู้ เราควรยุติการต่อว่ารัฐบาลในอดีต เลิกพูดสิ่งไม่ดีในอดีต แล้วหันมาสร้างสิ่งที่ดี วันที่ดีในอนาคติ จะสื่ออะไร จะคิดอะไร ขอให้คิดถึงแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงเน้นถึงเรื่อง ความเมตตา ความอดทน ความเสียสละ ความยุติธรรม คุณธรรม จริยธรรม สื่อด้วยความสัจ สื่อออกไปด้วยความเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้อื่น สื่อออกไปไม่ให้ผู้อื่น และตนเองต้องเป็นทุกข์ สื่อเพื่อประโยชน์และความผาสุกของชาติอย่างยั่งยืน สมดุล....... 
ผมโชคดีที่รัฐมนตรีบางท่านที่รู้จัก ริเริ่มงานบางอย่าง ได้กรุณาเล่าให้ผมทราบ และขอความเห็น เช่น รัฐมนตรีแรงงาน คุณอภัย จันทนจุลกะ ขอให้ผมช่วยดูกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ จะเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผมดีใจที่กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่นที่ ท่านรัฐมนตรีพูด ปัจจุบันเป็นยุคการแข่งขัน รัฐบาลและกระทรวงแรงงานต้องสร้างคุณภาพแรงงานให้ สูงขึ้น กระทรวงแรงงานไม่ใช่กระทรวงด้านสวัสดิการแรงงานเท่านั้น แต่เป็นกระทรวงในการสร้างแรงงาน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่ต้องยั่งยืน เพราะทักษะกับความรู้เปลี่ยนตลอดเวลา แต่นโยบาย ต่าง ๆ ไม่ได้ออกมาตามนี้ เพราะข้าราชการมีความเข้าใจในมุมแคบ ๆ .........
 .ในความเห็นผมคิดว่า กระทรวงแรงงานฯ ก็เหมือนกับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ  ต้องมีภาระหน้าที่ในการ วางแผนอัตรากำลังแรงงาน การฝึกอบรมและพัฒนา การบริหารแรงงานสัมพันธ์ กฎข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้แรงงาน ความเป็นอยู่ของแรงงาน สวัสดิการ ประกันสงคม เป็นต้น ........ 

แต่ที่ผ่านมา ประเทศเรามีปัญหาด้านแรงงานอย่างมาก ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน (ต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทดแทน) ปัญหาคุณภาพแรงงานด้อยปัญญา ปัญหาแรงงานขาดทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนแห่งความยังยืนฯ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงของทรัพยากรมนุษย์ ความมั่นคงของชาติ ..........

 

ปัญหาดังกล่าว มีทั้งปัญหาเรื่องระบบ การจัดการ ปัญหาเรื่องบุคลากรผู้ดำเนินการ ซึ่งก็เหมือนกับปัญหาในองค์การทั่วไป ๆ ที่มีปัญหาใหญ่อยู่สองประการคือ ปัญหาเรื่องระบบ ปัญหาเรื่องคน ทำให้วิสัยทัศน์สั้น ผิดเพี้ยน ยุทธศาสตร์การจัดการจึงบกพร่อง ก็ต้องรีบแก้ไข เพื่อความสำเร็จด้านทรัพยากรมนุษย์ของช่าติทั้งระยะสั้นและระยะยาว......

 


ส่วนคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ได้เล่าให้ผมทราบว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ บทบาทของวัฒนธรรมไทยจำเป็นมาก โดยเฉพาะค่านิยมของเยาวชน ที่เน้นวัตถุ และสิ่งที่ได้มาง่าย ๆ ท่านยังเร่งรัดที่จะมีสื่อ สารคดีดี ๆ ทางโทรทัศน์ มากระตุ้นให้เยาวชนไทย หวงแหนวัฒนธรรม และ ค่านิยมดี ๆ ของคนไทยในอดีต โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งปัน ความพอประมาณ และมองส่วนรวมมากกว่า ส่วนตัว vสัปดาห์นี้ ขอให้จับตาดูประเทศเวียดนาม ซึ่งเพิ่งเป็นสมาชิก WTO และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ APEC รัฐบาลเขามองไกล ไม่เน้นการตลาดแบบรัฐบาลไทยในอดีต แต่เน้นความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เขา เน้นทรัพยากรมนุษย์ ผมอิจฉาประเทศเวียดนามครับ..........

 

ผมคิดว่า เวียดนาม จะพัฒนาได้รวดเร็ว คนเวียดนามเคยมีความกดดันเมื่อสมัยสงครามเวียดนาม เขาได้รับบทเรียน เขามีประสบการณ์แห่งความเจ็บปวดมา เหมือนญี่ปุ่น คือฮึดสู้พัฒนาประเทศจากความพ่ายแพ้สงคราม.............

 

 

ผมสังเกตดูว่าประเทศที่เคยมีประสบการณ์ที่เจ็บปวดเหล่านี้ ไม่ว่า ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ฮ่องกง ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ฯลฯ มีการพัฒนาได้ดีกว่าไทย ยกเว้นพม่า ลาว ที่ยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควร ..........

 

ไทยเราน่าจะเรียนรู้ประสบการณ์จากเพื่อนบ้าน แล้วนำมาปรับใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ บูรณาการให้เกิดประโยชน์กับชาติ ทำตัวเป็นคนฉลาด มีบุญ เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้อื่น แล้วต่อยอด อย่าได้เป็นประเทศที่ ต้องรอให้เจ็บปวดมากกว่านี้ จึงจะเกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาประเทศชาติ จึงเป็นสิ่งดีที่ทุกส่วน ทุกระดับ ทุกคนควรต้องช่วยกัน .......... 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   

 

เชิญเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ ติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ     ..........    

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

               

ยม  

 

  

นักศึกษาปริญญาเอก   

 

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต

   

 

 [email protected]   

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญ : แนวดร.อมร กับ 2 R's" เมื่อ ส. 02 ธ.ค.
ร่างรัฐธรรมนูญ : แนวดร.อมร กับ 2 R's[1]
  

ปีนี้ฝนตกมากกว่าทุกปี อากาศยังคงร้อน สิ่งที่เกิดขึ้นในโลก ไม่มีใครทายได้ คนไทยต้องใฝ่รู้ ความรู้ที่วิเคราะห์ได้และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม
เรื่องแรกที่คาดไม่ถึงคือ การแข็งตัวของค่าเงินบาท ขณะนี้ประมาณ 36 บาท ท่านคงจำได้ว่า เงินบาทเคยอ่อนตัวมากถึง 56 บาท และมีแนวโน้มว่าจะไปถึง 100 บาท วันนี้เหตุการณ์กลับเปลี่ยนแปลงไปมาก
ผมคิดว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำมาประยุกต์ได้ 100% คือ
เมื่อช่วงที่เงินบาทอ่อนตัว ผู้ส่งออกได้กำไรเกินไปอย่างคุ้มค่า แต่ถ้าการได้กำไร ไม่รู้จักพอประมาณ เช่นเก็บเงินไว้ลงทุนในการพัฒนาคน ระบบการบริหารจัดการ หรือพัฒนาเทคโนโลยี เมื่อการส่งออกเริ่มติดขัด จะขอให้รัฐบาลช่วย เรียกว่า เลี้ยงไม่โต เพราะไม่ได้ประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยนคือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ ต้องมีภูมิคุ้มกัน หรือบริหารความเสี่ยงให้ได้
คงมีผู้ส่งออกที่มีคุณธรรมและมีปัญญา มองไปข้างหน้า พัฒนาสินค้าและการบริการอย่างต่อเนื่อง น่าจะอยู่รอด แต่ผู้ส่งออกประเภทที่ได้ดีเพราะโชค ( อัตราแลกเปลี่ยน ) ใช้จ่ายเกินตัว ลงทุนไร้สาระ คงจะไม่ยั่งยืน
อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร ซึ่งเคยอยู่กรมการค้าต่างประเทศ ได้ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก จะเป็นบุคคลที่ผู้ส่งออกควรจะรับฟัง เพราะท่านมองการค้าเสรีแบบยั่งยืน ลงทุนในการพัฒนาบุคลากรของกรมการค้าต่างประเทศมาตลอด และมาอยู่กรมส่งเสริมการส่งออก คงจะช่วยพัฒนาผู้ส่งออกให้เน้นคุณภาพสินค้า การใช้นวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ได้อย่างยั่งยืน
จึงเป็นจังหวะดีให้ผู้ส่งออก หันมาพัฒนาสินค้า พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท ซึ่งต้องอยู่ที่ mindset ของผู้ส่งออกไทย
ผมคงมีโอกาสได้ร่วมงานกับกรมส่งเสริมการส่งออกต่อไป
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้ทำคือ การสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างกลุ่ม PACRIM ซึ่งถือลิขสิทธิ์ 7 Habits กับกลุ่ม Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โดยไปสัมมนากันอย่างสนุกที่โรงแรมแก่งสะพือรีสอร์ท ริมแม่น้ำมูล และจบอย่างดี ด้วยการมองเรื่อง Innovation หรือนวัตกรรมในยุคใหม่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผมทำมาหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ได้ค้นพบปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ 4 เรื่อง
- เรื่องแรกคือ การเรียนยุคใหม่ต้อง 2 R's เน้นความจริง (Reality) และตรงประเด็น ( Relevance )
- การเรียนยุคใหม่ต้อง 4 L's และเน้น Coaching กับ Mentoring
- การเรียนยุคใหม่ต้องมีผู้นำเอาใจใส่อย่างจริงจัง เช่นครั้งนี้ อธิการบดี ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ ไปร่วมฟัง และรองอธิการบดีทุกคนให้ความสนใจ
- มีการสร้างความต่อเนื่องว่าจะทำอะไรต่อไปก็สำคัญ
- มีความสนุกและอารมณ์ร่วมในการเปิดใจและรู้จักกันเป็น Teamwork ต่อไปในการทำงาน
ผมสำรวจเรื่องภาวะผู้นำ ในช่วงแรกของผู้นำที่นี่ เขาจะไม่เน้น Team work กับวิสัยทัศน์ แต่พออยู่ด้วยกัน จะรู้ว่า การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะคือ ความสำเร็จของการสัมมนาที่สุดยอด เขาจะไว้ใจกัน ( Trust ) มากขึ้น
นอกจากนี้ผมได้ไปเยี่ยมที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม พบว่าอุทยานนี้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักเรียนมัธยมและครูควรจะหาโอกาสไปใช้อุทยาน เป็นสังคมการเรียนรู้แบบใหม่ ขอขอบคุณหัวหน้าอุทยาน คุณอุทัย พรมนารี และลูกศิษย์ปริญญาเอกของผม คุณวินัย โสมณวัตร์
ผมได้มีโอกาสเห็นนักเรียนมัธยมจากจังหวัดจันทบุรี มาสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ในอุทยานน่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจในอนาคต
สุดท้าย ทุกคนต้องช่วยกันดู เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ ผมขอเสนอว่า แม้ว่าจะมีสมัชชาแห่งชาติ รัฐบาลควรรับฟังแนวคิดของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อย่างมาก เพราะท่านมีประสบการณ์มากมาย มีประเด็นสำคัญที่จะเสนอแนะ
การร่างรัฐธรรมนูญต้องเน้น 2 R's
- ความจริง
- และตรงประเด็น
คือเอาความจริงมาพูดกัน ไม่ต้องมีมาตรามากมาย เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และพยายามสะท้อนคุณภาพของทรัพยากรและการศึกษา ความหลากหลายของวัฒนธรรม เน้นคุณธรรม จริยธรรมมาก ๆ บางครั้งเราไปใช้ตำราฝรั่งมากเกินไป เช่น บางส่วนมาจากฝรั่งเศส บางส่วนมาจากเยอรมนี เราควรจะดูพื้นฐานของสังคมไทย และความหลากหลายของภาคต่างๆ ด้วย

 

  จีระ หงส์ลดารมภ์

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

    
ผมได้อ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระจาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญ : แนวดร.อมร กับ 2 R's อาจารย์เขียนความจริงที่อาจารย์ได้สัมผัสมา นำมาเขียนแฝงไปด้วยสาระ ที่กระตุ้นทุนทางปัญญา ได้เป็นอย่างดี   
ผมได้แสดงความคิดเห็น บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ .......

ปีนี้ฝนตกมากกว่าทุกปี อากาศยังคงร้อน สิ่งที่เกิดขึ้นในโลก ไม่มีใครทายได้ คนไทยต้องใฝ่รู้ ความรู้ที่วิเคราะห์ได้และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

 เรื่องสภาพดิน ฟ้า อากาศ ของโลก นับวันจะเปลี่ยนไปในทางที่ไม่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขและป้องกันอย่างเป็นรูปธรรม มีการดำเนินการอย่างจริงจัง นับจากนี้ไป การแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว ควรบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมแห่งชาติทุก ๆ ฉบับ และกำหนดให้มีตัวชี้วัดความสำเร็จระยะสั้น ระยะยาวอย่างชัดเจน 


เรื่องแรกที่คาดไม่ถึงคือ การแข็งตัวของค่าเงินบาท ขณะนี้ประมาณ 36 บาท ท่านคงจำได้ว่า เงินบาทเคยอ่อนตัวมากถึง 56 บาท และมีแนวโน้มว่าจะไปถึง 100 บาท วันนี้เหตุการณ์กลับเปลี่ยนแปลงไปมาก
ผมคิดว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำมาประยุกต์ได้ 100% คือ
เมื่อช่วงที่เงินบาทอ่อนตัว ผู้ส่งออกได้กำไรเกินไปอย่างคุ้มค่า แต่ถ้าการได้กำไร ไม่รู้จักพอประมาณ เช่นเก็บเงินไว้ลงทุนในการพัฒนาคน ระบบการบริหารจัดการ หรือพัฒนาเทคโนโลยี เมื่อการส่งออกเริ่มติดขัด จะขอให้รัฐบาลช่วย เรียกว่า เลี้ยงไม่โต เพราะไม่ได้ประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยนคือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ ต้องมีภูมิคุ้มกัน หรือบริหารความเสี่ยงให้ได้
คงมีผู้ส่งออกที่มีคุณธรรมและมีปัญญา มองไปข้างหน้า พัฒนาสินค้าและการบริการอย่างต่อเนื่อง น่าจะอยู่รอด แต่ผู้ส่งออกประเภทที่ได้ดีเพราะโชค ( อัตราแลกเปลี่ยน ) ใช้จ่ายเกินตัว ลงทุนไร้สาระ คงจะไม่ยั่งยืน

 

เกี่ยวกับปัญหาของสถานประกอบการ ธุรกิจอุตสาหกรรมการส่งออก เท่าที่ผมทราบ คือเจอผลกระทบจากต้นทุนสูงขึ้น เช่นพลังงาน วัตถุดิบ ค่าแรงฯลฯ   สิ่งที่ประเทศไทยเคยได้เปรียบในการส่งออก เช่น อัตราค่าแรงที่ถูกกว่า คุณภาพแรงงานที่ดีกว่า ได้ลดน้อยลงจนถึงขั้นที่ทำให้ต่างชาติหันไปลงทุน หรือซื้อหาสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ที่ดีกว่า ถูกกว่า ทำให้สถานประกอบการที่ผลิตเพื่อการส่งออก แทบเอาตัวไม่รอดอยู่นานพอสมควร บางแห่งต้องลดต้นทุนจนตัวบาง หันมาลดอัตรากำลังคนเป็นระยะ ๆ

  

น่าเห็นใจเจ้าของกิจการ ที่ทำการส่งออก และเห็นใจแรงงานที่บางแห่งต้องลดงาน และถูกเลิกจ้างลงเพราะลูกค้าต่างชาติหนีไปซื้อสินค้าในประเทศอื่น ไม่มีงานทำอย่างต่อเนื่อง  ปัญหาเช่นนี้ ถ้านำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ตั้งแต่แรก ๆ ก็คงจะมีแผนสำรอง รองรับไว้แล้ว การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ จะสามารถช่วยให้เจ้าของกิจการรู้จักคิดลงทุน ดำเนินธุรกิจอย่างมีเหตุ มีผล สมดุล พอประมาณ อย่างมีความรอบรู้ มีคุณธรรม จะช่วยให้ปัญหาหนักกลายเป็นปัญหาเบา ช่วยบรรเทาอาการผิดพลาดทางการดำเนินธุรกิจได้


อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร ซึ่งเคยอยู่กรมการค้าต่างประเทศ ได้ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก จะเป็นบุคคลที่ผู้ส่งออกควรจะรับฟัง เพราะท่านมองการค้าเสรีแบบยั่งยืน ลงทุนในการพัฒนาบุคลากรของกรมการค้าต่างประเทศมาตลอด และมาอยู่กรมส่งเสริมการส่งออก คงจะช่วยพัฒนาผู้ส่งออกให้เน้นคุณภาพสินค้า การใช้นวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ได้อย่างยั่งยืน
จึงเป็นจังหวะดีให้ผู้ส่งออก หันมาพัฒนาสินค้า พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท ซึ่งต้องอยู่ที่ mindset ของผู้ส่งออกไทย
ผมคงมีโอกาสได้ร่วมงานกับกรมส่งเสริมการส่งออกต่อไป

 

ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มักจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  และมีความเชื่อวา ทรัพยากรมนุษย์นั้นมีค่ายิ่งกว่าทรัพยากรใด ๆ ในองค์การ พัฒนาอะไรก็ติด ถ้าไม่คิดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์การที่เจริญกว้าหน้าและยั่งยืน จึงมักสนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ๆ เช่น ปูนซิเมนต์ไทย  ปตท. TOYOTA ฯลฯ  ผมดีใจที่ทราบว่าแม้ใน วงการราชการ อย่างเช่น กรมการค้าต่างประเทศก็มีคนอย่างอธิบดีราเชนทร์ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้ทำคือ การสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างกลุ่ม PACRIM ซึ่งถือลิขสิทธิ์ 7 Habits กับกลุ่ม Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โดยไปสัมมนากันอย่างสนุกที่โรงแรมแก่งสะพือรีสอร์ท ริมแม่น้ำมูล และจบอย่างดี ด้วยการมองเรื่อง Innovation หรือนวัตกรรมในยุคใหม่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

 การสัมมนาเช่นนี้ในภาคธุรกิจเอกชนบางแห่งถือเป็นหลักสูตรบังคับสำหรับผู้บริหารทุกระดับต้องเข้าเรียน เพื่อนำความรุ้มาช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จในองค์การ   ผมดีใจที่เห็นทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให่ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ให้ความสำคัญกับการลับเลื่อยให้คม ให้ความสำคัญกับการจัดสัมมนาให้กับผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย  ถ้าจะให้ได้ผลดี ก็ควรให้มีการขับเคลื่อนองค์ความรู้ไปสุ่การปฏิบัติ ให้เกิดผลทั้งแก่ตนเอง แก่สถาบัน องค์การ และแก่สังคม อย่างเป็นรูปธรรม อย่างเช่นที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคุณชำนาญ กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ 


ผมทำมาหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ได้ค้นพบปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ 4 เรื่อง
- เรื่องแรกคือ การเรียนยุคใหม่ต้อง 2 R's เน้นความจริง (Reality) และตรงประเด็น ( Relevance )
- การเรียนยุคใหม่ต้อง 4 L's และเน้น Coaching กับ Mentoring
- การเรียนยุคใหม่ต้องมีผู้นำเอาใจใส่อย่างจริงจัง เช่นครั้งนี้ อธิการบดี ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ ไปร่วมฟัง และรองอธิการบดีทุกคนให้ความสนใจ
- มีการสร้างความต่อเนื่องว่าจะทำอะไรต่อไปก็สำคัญ
- มีความสนุกและอารมณ์ร่วมในการเปิดใจและรู้จักกันเป็น Teamwork ต่อไปในการทำงาน
ผมสำรวจเรื่องภาวะผู้นำ ในช่วงแรกของผู้นำที่นี่ เขาจะไม่เน้น Team work กับวิสัยทัศน์ แต่พออยู่ด้วยกัน จะรู้ว่า การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะคือ ความสำเร็จของการสัมมนาที่สุดยอด เขาจะไว้ใจกัน ( Trust ) มากขึ้น

 

การสำรวจก่อนจบการอบรม สัมมนา เป็นการหาข้อมูลที่เป็นธรรมชาติตามที่เป็นอยู่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่แปลก หรือผิดแต่อย่างใด เหมือนหมอที่ตรวจสุขภาพ ก่อนให้คำแนะนำหรือให้วิตามินบำรุงร่างกายซึ่งอาจพบว่า การดำเนินชีวิตปกติขาดการออกกำลังกาย เครียดกับงานมากเกินไป ก็เป็นผู้บริหาร โดยทั่วไปมักจะมีอาการเช่นนี้ แต่เมื่อหมอตรวจวินิจฉัยให้ความรู้ไปแล้วก็มีการปรับทัศนคติ การดำเนินชีวิตใหม่ ให้ความสำคัญที่ถูกจุด

  

การทำงานในอดีตอาจจะเน้นระบบ ระเบียบ ทำงานตามได้รับมอบหมายเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด แต่ในปัจจุบัน เน้นทำงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ ซึ้งต้องอาศัยองค์ความรู้ที่สด อาศัยทีมงาน อาศัยการเป็นผู้นำที่มีสัมพันธ์ที่ดีมีเครือข่าย ทุนทางสังคม  ซึ่งผลการสำรวจทั้งก่อนสัมมนาและหลังสัมมนา ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาทัศนคติ ความคิดใหม่ ของผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ้งถือว่า Win-Win กันทุกฝ่าย

 

 

ผมเองไปร่วมสังเกตการณ์ก็ มีความสุข และได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ไปบ้าง นี่เป็นการสัมมนาที่ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  

นอกจากนี้ผมได้ไปเยี่ยมที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม พบว่าอุทยานนี้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักเรียนมัธยมและครูควรจะหาโอกาสไปใช้อุทยาน เป็นสังคมการเรียนรู้แบบใหม่ ขอขอบคุณหัวหน้าอุทยาน คุณอุทัย พรมนารี และลูกศิษย์ปริญญาเอกของผม คุณวินัย โสมณวัตร์
 
ผมได้มีโอกาสเห็นนักเรียนมัธยมจากจังหวัดจันทบุรี มาสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ในอุทยานน่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจในอนาคต

 

ผมได้มีโอกาสติดตามอาจารย์ไปที่อุทยานฯแห่งนี้ด้วย  ขอขอบคุณ หัวหน้าอุทยานฯ คุณอุทัย พรมนารี ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และที่สำคัญคือหัวหน้าอุทัย เปิดโอกาสให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งที่นักเรียนได้เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม นักเรียนเหล่านั้นก็ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ พนักงานในอุทยานฯ เป็นอย่างดี  ขอส่งกำลังใจมาให้ พนักงานในอุทยานผาแต้ม ทุกคน ท่านมีส่วนช่วยพัฒนาเยาวชนไทย ให้เข้าใจ รักหวงแหนในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นอย่างดี  ขอชื่นชมคณะครูที่พานักเรียนมา ท่านมีวิสัยทัศน์ ฉลาดในการสอนและสร้างจิตสำนึกในการรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่เด็กนักเรียนได้เป็นอย่างดี   


สุดท้าย ทุกคนต้องช่วยกันดู เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ ผมขอเสนอว่า แม้ว่าจะมีสมัชชาแห่งชาติ รัฐบาลควรรับฟังแนวคิดของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อย่างมาก เพราะท่านมีประสบการณ์มากมาย มีประเด็นสำคัญที่จะเสนอแนะ
การร่างรัฐธรรมนูญต้องเน้น 2 R's
- ความจริง
- และตรงประเด็น
คือเอาความจริงมาพูดกัน ไม่ต้องมีมาตรามากมาย เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และพยายามสะท้อนคุณภาพของทรัพยากรและการศึกษา ความหลากหลายของวัฒนธรรม เน้นคุณธรรม จริยธรรมมาก ๆ บางครั้งเราไปใช้ตำราฝรั่งมากเกินไป เช่น บางส่วนมาจากฝรั่งเศส บางส่วนมาจากเยอรมนี เราควรจะดูพื้นฐานของสังคมไทย และความหลากหลายของภาคต่างๆ ด้วย

 

 การร่างรัฐธรรมนูญ ผมขอเสนอความคิดเห็นว่า  ควรนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบแนวความคิดในการร่างรัฐธรรมนูญ นอกจาก พอประมาณ มีเหตุมีผล เน้นยั่งยืน ร่างแบบค่อยเป็น ค่อยไป ค่อยแก้ไข ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้องอาศัยความรู้หลากหลายสาขาวิชาผสานกับ จริยธรรม คุณธรรม ของไทย  

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   

 

  

เชิญเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ ติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ..........    

 

  

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

                 
ยม     
นักศึกษาปริญญาเอก     
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต    
"บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น"
ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น[1]

 

 สัปดาห์นี้ ผมมีหลายเรื่องที่จะเล่าสู่กันฟัง
เรื่องแรก ผมได้เข้าไปถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในนามนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา พวกเราชาวนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์รู้สึกปลาบปลื้มที่มีโอกาสได้เข้าไปถวายพระพร ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับฟังพระราชดำรัสซึ่งมีแนวคิดของพระองค์ท่านหลายเรื่อง

เรื่องที่สำคัญมาก คือ อายุและประสบการณ์ ดูเหมือนว่า สื่อมวลชนของไทย มักจะมองคนที่สูงอายุในทางลบมากกว่าทางบวก ในขณะที่พระองค์ท่านทรงเห็นว่า บุคลากรที่เข้าไปรับใช้ชาติ โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีชุดพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ถึงจะมีอายุมาก แต่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ และรอบคอบ สุขุม ควรจะให้กำลังใจ ผมค่อนข้างจะคล้อยตามแนวคิดดังกล่าว เพราะปัจจุบันอายุเป็นเพียงตัวเลข

จริงอยู่ที่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ใครที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปถือว่าหมดสภาพ แต่ในปัจจุบัน การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การบริโภคโภชนาการที่ถูกต้อง การสะสมประสบการณ์ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปยังทำคุณประโยชน์ต่อชาติได้ดี
ผมได้ข้อมูลที่น่าสนใจ อยากจะเปรียบเทียบให้เห็นว่า คณะทำงานศึกษาปัญหาอิรักที่ Bush ตั้งขึ้นมา ปรากฏว่า อายุของแต่ละคน มีเลข 7 ขึ้นหน้าแล้วแทบทั้งนั้น ผมจึงนำข้อมูลมาให้ดู ดังนี้
- James Baker ทนายความ อายุ 76 ปี
- Lee Hamilton ทนายความ อายุ 75 ปี
- Sandra Day O'Connor ทนายความ อายุ 76 ปี
- Lawrence Eagleburger นักการทูต อายุ 76 ปี
- Edwin Meese III ทนายความ อายุ 74 ปี
- Alan Simpson ทนายความ อายุ 75 ปี
- Vernon Jordan ทนายความ อายุ 71 ปี
- Leon Panetta ทนายความ อายุ 68 ปี
- William Perry วิศวกร อายุ 79 ปี
- Charies Robb ทนายความ อายุ 67 ปี

ดังนั้น สังคมไทยและสื่อไทย น่าจะปรับทัศนคติ (Mindset) ให้เห็นความสำคัญและคุณค่าของคนสูงอายุที่มากด้วยประสบการณ์ มากกว่าที่ควรจะเป็นปัจจุบัน

สัปดาห์นี้สำหรับผมเป็นสัปดาห์ของ Local/Global ผมบินไปประชุม APEC HRD ซึ่งกระทรวงแรงงาน จัดเป็นประจำทุกปีที่ญี่ปุ่น ในวันที่ 5-6 ธันวาคมที่ผ่านมา ปีนี้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของภาคเอกชน ที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศต่าง ๆ ใน APEC ผมในนามของประธาน (Lead Shepherd) ได้กล่าวเปิดการประชุม โดยเน้นว่า ภาคเอกชนในประเทศไทยหรือใน APEC มีส่วนในการช่วยอย่างยิ่ง
 ให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต่าง ๆ ดีขึ้น ด้วยเหตุผล 3 ประการ
- เอกชนจะรู้ความต้องการของทักษะและความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ ภาครัฐจะนำทาง Supply แต่ภาคเอกชนจะเก่งเรื่อง Demand
- ภาคเอกชนจะกระตุ้นให้พนักงาน มีความคิดสร้างสรรค์ สร้าง Ideas ใหม่ๆ ในการทำงานตลอดเวลา
- ภาคเอกชนจะเน้นเรื่องนวัตกรรมในการพัฒนาบุคลากรมาก เรื่องนี้จึงอยากจะฝากกระทรวงแรงงานของไทยให้ความสำคัญด้วย

การสร้าง Private/Public Co-operation คือการให้รัฐและเอกชนร่วมมือกันมากขึ้นในการพัฒนาฝีมือและความรู้ของแรงงานไทย ผมได้แนวคิดที่น่าสนใจคือ ในยุคโลกาภิวัตน์ บริษัทข้ามชาติที่มาทำธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนา น่าจะช่วยประเทศเหล่านั้น โดยการนำประสบการณ์มาช่วยพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะพัฒนาการศึกษา หรือพัฒนา SME's ด้วย

มีตัวอย่างบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นในประเทศอินโดนีเซีย ทำงานร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น จัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและโรงเรียน ช่วย SME's ได้ด้วย ตัวอย่างเหล่านี้น่าจะนำมาใช้ในประเทศไทยบ้าง เช่นให้ TESCO LOTUS หรือร้าน 7 eleven พัฒนาธุรกิจเล็กๆ หรือโชห่วยร้านค้าปลีกของเรา โดยให้ อบต. หรือเทศบาลมีส่วนร่วมด้วย

กลับจากญี่ปุ่น วันรุ่งขึ้นผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ Lingnan University จากฮ่องกง ซึ่งจัดการประชุมประจำปีของ Academy of International Business (AIB) ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี กรุงเทพฯ ให้ผมเป็นองค์ปาฐก พูดถึงเรื่อง Global vision กับ Local competence

ผมเน้นว่า โลกาภิวัตน์คงจะอยู่กับไทยอีกนาน ทำอย่างไร เราจะฉกฉวยโอกาสและหลีกเลี่ยงการคุกคาม เช่น เรามี Internet ก็ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น อย่าใช้เพื่อเล่นเกมส์หรือดูแต่เรื่องที่ไม่ดี หรือเยาวชนหลงใหลวัตถุนิยม โดยไม่เห็นคุณค่าของสังคมและวัฒนธรรมไทย
ผมยังได้ยกตัวอย่างว่า ไทยน่าจะเน้นสาขาการผลิตที่มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก มากกว่าที่จะผลิตหรือแข่งขันในสิ่งที่เราไม่เก่ง เช่น
- การท่องเที่ยว
- อาหาร
- การแพทย์
- Spa
- ธุรกิจ เช่น รถยนต์ หรือ เซรามิก (Ceramics)
แทนที่จะแข่งกับเขาทุกๆ เรื่อง
 
สุดท้าย ผมได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีแรงงาน คุณอภัย จันทนจุลกะ ร่วมกับปลัดและอธิบดีหลายคน ปรึกษาหารือกันที่จะสร้างให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
หลายเรื่องที่ผมรับฟังและจะช่วยขับเคลื่อนให้กระทรวงแรงงานไปสู่การสร้างศักยภาพการแข่งขันอย่างยั่งยืนในอนาคต
ผมคิดว่าความเอาใจใส่ของท่านรัฐมนตรีคือ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ จากผู้รู้ข้างนอก ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกระทรวง ผมเรียกระบบนี้ว่า Outside - In ครับ 
 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  

ผมขอกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ และท่านคุณหญิง ที่ให้เกียรติเชิญผมไปร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งสำหรับผมและครอบครัว

 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการได้มีโอกาสร่วมรับเสด็จ ติดตามเสด็จ  ได้เห็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างใกล้ชิด ได้มีโอกาเห็นพระองค์ท่านสนใจศึกษากิจกรรมต่าง ๆ ในสวนหลวง ร.9  

 

ทำให้ผมได้มีโอกาสได้เห็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยและทรงสนทนากับผู้มารับเสด็จด้วยพระอิริยาบทที่เป็นกันเอง เมตตาต่อทุกคน ได้มีโอกาสเห็นพระองค์เสวยพระกระยาหารค่ำ การได้ร่วมรับประทานอาหารค่ำกับแขกผู้มีเกีตรติ ทิ่ติดตามรับเสด็จ ในเวลาเดียวกัน 

  

ผมได้เห็นวีธีการบริหารทุนทางสังคมของ ศ.ดร.จีระ และของคุณหญิง น่าสนใจเป็นอย่างมาก คุณหญิงท่านเป็นผู้หญิงที่ SMART คล่อง เก่งและดี เป็นตัวอย่างให้นักศึกษารุ่นน้องอย่าง คุณโลตัส ได้เรียนรู้ ศึกษาการทำงานที่มีคุณค่าของหญิงไทย

 

ในงานนี้ผมยังได้มีโอกาสร่วมรับประทานอาหารและได้รู้จักกับท่านหม่อมหลวงฯท่านหนึ่ง ท่านเป็นคุณหญิงที่มีอายุ 87 ปี แต่ยังดูเหมือนแค่ 67 ปี ทราบภายหลังว่า ท่านเป็นผู้ที่ถวายการดูแล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ท่านยังทรงพระเยาว์ คอยดูแลเรื่องพระเกศา พระทรงเครื่อง และเรื่องอื่น ๆ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างใกล้ชิด  ดูท่านเป็นผู้ใหญ่ใจดี อายุมากแบบมีคุณภาพ นับว่าผมโชคดีมาก ที่ได้มีโอกาสรู้จัก พบกับท่าน

ผมยังได้มีโอกาสรู้จักกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ดูแลด้านการเกษตร ในวังสวนจิตลดา เป็นชายสูงอายุ แต่ดูแข็งแรงและมีจิตใจดี เป็นผู้ที่รู้เรื่องต้นไม้ สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี จากการที่ท่านได้อยู่ใกล้ชิดต้นไม้ ทำให้ท่านดูมีเมตตา สภาพ จิตใจดีเป็นอย่างยิ่ง และได้พูดคุยกันถึงเรื่องต้นไม้ เรื่องปัญหา โลกร้อน และต้นไม้ในการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   

 

นอกจากนี้ ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำให้ผมได้มีโอกาสรู้จักอดีตผู้อำนวยการสำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ ผู้บริหารระดับสูงและแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่าน  ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ได้จากการมาในงานนี้ ที่ผมได้เรียนรู้และเกิดปัญญา 

 

 ศ.ดร.จีระ และคุณหญิงของท่าน ไม่ได้ให้แค่การ์ดเชิญในงานนี้เท่านั้น ท่านได้ให้ประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งในชีวิตของผม และนับเป็นเกียรติแก่ครอบครัวของผมเป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณอาจารย์และคุณหญิงฯ อีกครั้ง  มา ณ โอกาสนี้  

 

วกกลับมาเรื่อง  บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระจาก Internet น.ส.พ.แนวหน้าวันเสาร์ที่ 10 ธ.ค.นี้ซึ่งใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น   ผมได้แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ ....... 



  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงเห็นว่า บุคลากรที่เข้าไปรับใช้ชาติ โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีชุดพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ถึงจะมีอายุมาก แต่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ และรอบคอบ สุขุม ควรจะให้กำลังใจ ผมค่อนข้างจะคล้อยตามแนวคิดดังกล่าว ........

ในส่วนตัวของผม คนที่มีอายุตัวมาก และมีมากด้วยความรู้ที่สดและมีประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณค่าด้วย ย่อมเป็นบุคคลที่มีคุณค่าเสมอกับสังคม และคนรุ่นหลัง ผมชื่นชม ท่านนายกรัฐมนาตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก และมีประสบการณ์ที่มีคุณค่าและควรเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง ดูเหมือนว่า ยิ่งท่านมีอายุมาก ยิ่งฟิต และมีคุณภาพ มีคุณค่าต่อชาติบ้านเมืองยิ่งขึ้น ควรอย่างยิ่งที่คนรุ่นผมจะศึกษาและเอาอย่าง และท่านเหมาะอย่างยิ่งที่จะมาเป็นผู้นำประเทศในช่วงระยะเวลานี้......................

ผมคิดว่า พวกเรา และสื่อต่าง ๆ ควรให้กำลังใจท่าน ศึกษาส่วนดีและภารกิจของท่าน เป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศอีกมิติหนึ่ง  และคอยถามตัวเองว่าหากเรามีอายุขนาดเท่าท่านนายกฯ ขณะนี้ เราจะทำคุณประโยชน์ให้แผ่นดินได้เท่าท่านหรือไม่    

 

 เพราะปัจจุบันอายุเป็นเพียงตัวเลข จริงอยู่ที่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ใครที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปถือว่าหมดสภาพ แต่ในปัจจุบัน การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การบริโภคโภชนาการที่ถูกต้อง การสะสมประสบการณ์ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปยังทำคุณประโยชน์ต่อชาติได้ดี .........

ผมเห็นด้วย กับ ศ.ดร.จีระ คนในยุคนี้สนใจเรื่องสุขภาพ มากขึ้น การบริการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทันสมัย ทั่วถึงมากขึ้น  ใครไม่สนใจเรื่องสุขภาพก็ถือว่าเชย ครับ  ธุรกิจเกี่ยวกับการบริการดูแล รักษาสุขภาพ จึงเป็นธุรกิจที่มาแรงทั่วโลก.............   

ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่จึงมีสุขภาพดี อายุยืนยาวขึ้น  คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จึงแตกต่างจากคนอายุ 60 ปี สมัยก่อน อายุ 60 ปีข้นไปในปัจจุบัน ผสานกับมีความรู้ที่สด และมีประสบการณ์ที่มีคุณค่า ยังสามารถทำงานได้ดี โดยเฉพาะ งานในอาชีพนักวิชาการ ครู อาจารย์ ผู้นำ ผู้บริหาร เช่น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ศ.ดร.บุญทัน ดอกไทสง พลเรือโท ดร. โอภาส หรือแม้กระทั่งท่านพลเรือโทโรช ซึ่งเรียน ปริญญาเอกอยู่กับพวกผมขณะนี้ ท่านอายุ 72 แล้ว สมองของท่านยังสด อยู่เสมอ และมีอุดมการณ์รักชาติบ้านเมืองอย่างยิ่ง....  

 

อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุเฉลี่ยของมนุษย์ยืนยาวขึ้น การเรียนรู้ก็ควรต่อเนื่องและจริยธรรม คุณธรรมก็ควรมีมากขึ้นด้วย มิฉะนั้นก็จะเป็นคนที่มีอายุตัวที่ไม่สมดุลกับ อายุความรู้และประสบการณ์(อายุสมอง อายุปัญญา) กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ด้อยคุณค่าไป ในบ้านเมืองเรา เป็นส่วนหนึ่งของปัญหามากกว่าเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ครับ.......

 

 

   ดังนั้น สังคมไทยและสื่อไทย น่าจะปรับทัศนคติ (Mindset) ให้เห็นความสำคัญและคุณค่าของคนสูงอายุที่มากด้วยประสบการณ์ มากกว่าที่ควรจะเป็นปัจจุบัน ......... 

สื่อในปัจจุบันมีบทบาทอย่างยิ่งต่อสังคม ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า สื่อน่าจะมีส่วนช่วยพัฒนาสังคมประเทศชาติได้เป็นอย่างดี........   

ผมประทับใจสื่อที่ทำเรื่องเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้คนไทยและคนทั้งโลก ได้รับรู้ ได้มีความรักและความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา  ประทับใจสื่อทีมีส่วนช่วยให้การประชาสัมพันธ์ สานใจ ให้ผู้คนหลั่งไหลช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ทางภาคใต้ได้เป็นอย่างดี เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก  

ผมเชื่อว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสื่อมีความตั้งใจจริงต่อพระองค์ท่าน อีกส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมีการควบคุม มาตรการณ์ มาตรฐาน มีกฎที่เคร่งครัดในการเสนอข่าวเกี่ยวกับพระองค์ท่าน..........  

สื่อช่วยให้ความรู้ การศึกษา ให้ทันโลก ทันเหตุการณ์ต่าง ๆ รัฐควรมีการจัดการเกี่ยวกับสื่ออย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้มีมาตรฐานและสร้างสรรค์สังคม ประเพณีวัฒนธรรม และให้มีส่วนช่วยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติให้มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องโปร่งใส เป็นกลาง ไม่ใช่สื่อในทางที่หาประโยชน์ส่วนตนหรือปิดหู ปิดตาประชาชน  ความสำเร็จของสื่อในเรื่องนี้ น่าจะนำไปประยุกต์ต่อยอดในการนำเสนอข่าว เสนอสาระอื่น ๆ  ให้แก่คนในชาติบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี........

 


สัปดาห์นี้สำหรับผมเป็นสัปดาห์ของ Local/Global ผมบินไปประชุม APEC HRD ซึ่งกระทรวงแรงงาน จัดเป็นประจำทุกปีที่ญี่ปุ่น ในวันที่ 5-6 ธันวาคมที่ผ่านมา ปีนี้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของภาคเอกชน ที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศต่าง ๆ ใน APEC ........
 

ผมในนามของประธาน (Lead Shepherd) ได้กล่าวเปิดการประชุม โดยเน้นว่า ภาคเอกชนในประเทศไทยหรือใน APEC มีส่วนในการช่วยอย่างยิ่ง ให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต่าง ๆ ดีขึ้น ด้วยเหตุผล 3 ประการ
- เอกชนจะรู้ความต้องการของทักษะและความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ ภาครัฐจะนำทาง Supply แต่ภาคเอกชนจะเก่งเรื่อง Demand
- ภาคเอกชนจะกระตุ้นให้พนักงาน มีความคิดสร้างสรรค์ สร้าง Ideas ใหม่ๆ ในการทำงานตลอดเวลา
- ภาคเอกชนจะเน้นเรื่องนวัตกรรมในการพัฒนาบุคลากรมาก เรื่องนี้จึงอยากจะฝากกระทรวงแรงงานของไทยให้ความสำคัญด้วย ...........
 

งานในภาคเอกชน โดยเฉพาะในบริษัทใหญ่ ๆ มักจะมีหน่วยงานเกี่ยวกับการอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีนโยบาย เป้าหมายแผนการอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประจำปี และหน่วยงานอบรมทรัพยากรมนุษย์ มักจะถูกควบคุมดูแลให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ให้ได้ตามแผนในงบประมาณที่กำหนดไว้

ภาคเอกชนมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องเป็นส่วนใหญ่ ทั้งหลักสูตรที่ใช้ในการอบรมก็ออกแบบได้ดังใจให้สอดคล้องกับงาน กับนโยบายคุณภาพขององค์การ กับความต้องการของลูกค้าภายในและภายนอก......... 

ถ้าภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนทุกภาค หันมาร่วมกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ในครรภ์มารดา ต่อเนื่อง ต่อเนื่องมาสู่วัยเด็ก วัยรุ่นและวัยทำงานร่วมกัน ให้มีทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาของสังคมโลก ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อประเทศ และสังคมโลก.......... 

กระทรวงแรงงานฯ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตร และกระทรวงอื่น ๆ ควรจะต้องมีทิศทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติร่วมกัน  การเรียนการสอนระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา ก้ควรต้องสอดคล้องต้องกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ชาติ ไม่ใช่ให้แค่จบไปวัน ๆ เท่านั้น เรียกว่าทำงานกันเป็นทีม ทำการพัฒนาคนไทยให้ยั่งยืน มีสุข มีความรู้มีปัญญา และอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

  
กลับจากญี่ปุ่น วันรุ่งขึ้นผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ Lingnan University จากฮ่องกง ซึ่งจัดการประชุมประจำปีของ Academy of International Business (AIB) ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี กรุงเทพฯ ให้ผมเป็นองค์ปาฐก พูดถึงเรื่อง Global vision กับ Local competence
ผมเน้นว่า โลกาภิวัตน์คงจะอยู่กับไทยอีกนาน ทำอย่างไร เราจะฉกฉวยโอกาสและหลีกเลี่ยงการคุกคาม เช่น เรามี Internet ก็ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น อย่าใช้เพื่อเล่นเกมส์หรือดูแต่เรื่องที่ไม่ดี หรือเยาวชนหลงใหลวัตถุนิยม โดยไม่เห็นคุณค่าของสังคมและวัฒนธรรมไทย

ผมยังได้ยกตัวอย่างว่า ไทยน่าจะเน้นสาขาการผลิตที่มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก มากกว่าที่จะผลิตหรือแข่งขันในสิ่งที่เราไม่เก่ง เช่น
- การท่องเที่ยว
- อาหาร
- การแพทย์
- Spa
- ธุรกิจ เช่น รถยนต์ หรือ เซรามิก (Ceramics)
แทนที่จะแข่งกับเขาทุกๆ เรื่อง .........
 

ผมต้องขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ ที่เปิดโอกาสให้ผมได้เข้าไปร่วมประชุมประจำปีของ Academy of International business(AIB) ภาคพื่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในครั้งนี้ด้วย  ระหว่างที่ ศ.ดร.จีระ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอยู่บนเวที ผมสังเกตเห็นว่ามีชาวต่างชาติสนใจในสิ่งที่อาจารย์ได้เสนอ โดยเฉพาะชาวอินเดีย และจีนฮ่องกง.......   สิ่งที่อาจารย์กล่าวว่า โลกาภิวัตน์คงจะอยู่กับไทยอีกนาน นอกจากนี้ผมคิดว่า โลกาภิวัตน์จะมีอิทธิพลกว้าง คม ชัด ลึก มากยิ่งขึ้น ต่อวิถีชีวิตของคนในแถบเอเชียมากยิ่งขึ้นด้วย และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ตัวอย่างเช่น  ฤดูหนาวในกรุงเทพฯ จะไม่มีอีกต่อไป และจะไม่มีอีกในหลาย ๆ จงหวัด หลายประเทศ  เมื่อไม่มีฤดูหนาว ดอกไม้ที่ออกดอกในฤดูหนาวจะไม่มีการออกดอกอีก และบางสายพันธ์อาจจะตายไป แมลงจะมีอาหารจากเกสรดอกไม้น้อยลง มีผลให้แมลงที่หาอาหารจากเกสรดอกไม้ในฤดูหนาวบางสายพันธุ์สูญพันธุ์ อาจมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นต้น ..... 

รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อกระแสโลกาภิวัตน์ที่จะมีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และนำผลที่ได้จากการวิจัยมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์บริหารประเทศชาติอย่างจริงจัง และขอความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มเอเชีย และกลุ่มประเทศอาหรับ ร่วมมือกันกู้วิกฤตโลกที่จะมีผลจากกระแสโลกาภิวัตน์ ครับ.........

 
สุดท้าย ผมได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีแรงงาน คุณอภัย จันทนจุลกะ ร่วมกับปลัดและอธิบดีหลายคน ปรึกษาหารือกันที่จะสร้างให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจอย่างแท้จริง หลายเรื่องที่ผมรับฟังและจะช่วยขับเคลื่อนให้กระทรวงแรงงานไปสู่การสร้างศักยภาพการแข่งขันอย่างยั่งยืนในอนาคต
 

ผมคิดว่าความเอาใจใส่ของท่านรัฐมนตรีคือ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ จากผู้รู้ข้างนอก ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกระทรวง ผมเรียกระบบนี้ว่า Outside - In ครับ ............

 ผมประทับใจ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก ที่เปิดโอกาสให้ผมติดตามไปร่วมประชุมหารือและพบท่านรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานฯ คุณอภัย จันทนจุลกะ นับเป็นเกียรติอย่างสูง และขอขอบพระคุณอาจารย์มา ณ ที่นี้ ......... การได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ทราบว่า ท่านรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ท่านเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยไมตรีดี อ่อนน้อมถ่อมตน และทราบว่าท่านเป็นศิษย์เก่า ม.ธรรมศาสตร์ ทำให้ทราบว่ากระทรวงแรงงานฯ โดยการนำของท่าน ให้เกียรติ ศ.ดร.จีระ และต้องการหารือเรื่องสำคัญกับอาจารย์ ผมเชื่อว่า การใช้ระบบOutside – In โดยการดึงจุดแข็งของผู้อื่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานในองค์การ เป็นสิ่งที่ดี จะได้มุมมองที่หลากหลาย และเกิดการปะทะปัญญา เกิดการคิดนอกกรอบ คิดข้ามศาสตร์ นำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในมิติใหม่ได้เป็นอย่างดี ............ 

อย่างไรก็ตาม งานนี้ จะสำเร็จได้ดี ส่วนหนึ่งอยู่ที่การประสานงาน ระหว่างทีมงานของกระทรวงฯ กับทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ซึ่งควรกำหนดเจ้าภาพหรือตัวแทนในการประสานงาน  กำหนดแผน และตัวชี้วัดความสำเร็จของงานนี้ ไม่ใช้คนมาก แต่ให้ชัดเจน รวดเร็ว............  

 

สุดท้ายเกี่ยวกับ เรื่อง ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น  ในความเห็นผมคิดว่า การดำเนินชีวิตทุกช่วงอายุ ควรเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตที่มีค่ามีประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติ และแสวงหาความรู้ที่สดอยู่เสมอ โดยเฉพาะบรรดานักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้ง ป.ตรี ป.โท ป.เอก และผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน.........

 

การหาประสบการณ์ที่ไม่ค่อยมีสาระ ที่เกิดมูลค่าแก่สังคมประเทศชาติ เช่น การรับน้องใหม่ การฉลองปริญญา  การจัดงานวันเกิดที่มีแต่กิจกรรมกิน เล่น เที่ยว โดยปราศจากวัตถุประสงค์เชิงสร้างสรรค์ ปราศจากการแสวงหาความรู้ เพิ่มพูน ศีล สมาธิ สติปัญญา จะเป็นการปล่อยเวลา ปล่อยตัวเลขอายุให้ผ่านไปโดยไร้ค่า น่าเสียดายอย่างยิ่ง.......

 

ประสบการณ์กับความหนุ่มแน่น จึงเป็นประเด็นท้าทาย ภูมิปัญญาของคนรุ่นหนุ่ม ว่าจะสามารถเอาชนะกระแสโลกาภิวัตน์ กระแสแห่งความโลภ โกรธ หลงได้หรือไม่ และเป็นประเด็นท้าทาย ศักยภาพของครู อาจารย์ ผู้ปกครอง และหลักสูตรการเรียนการสอน ว่าจะทำให้เยาวชนของชาติ มีสติปัญญาคิดสิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่............  

ผมขอเชิญชวนท่านติดตามสาระน่ารู้จากศ.ดร.จีระ  ซึ่งท่านมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  ........

และเชิญชวนเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ ติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog http://gotoknow.org/blog/chirakm/56352ครับ..........       

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ยม    

 

นักศึกษาปริญญาเอก 

    

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

 

[email protected]  

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ให้กำลังใจพนักางาน ITV"

ให้กำลังใจพนักงาน ITV[1]

 

 

 ในรายการวิทยุของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา คุณนาตยา แวววีระคุปต์ ถามเกี่ยวกับพนักงานกว่าพันคนของ ITV กำลังขาดกำลังใจ เพราะคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ยังคงยืนยันคำตัดสินเดิมคือ ITV จะต้องเสียค่าปรับจำนวนมหาศาล และต้องเสียค่าสัมปทานปีละพันล้าน
แน่นอนว่าสิ่งที่กระทบต่อบุคลากรเหล่านั้นคือ ความไม่มั่นคงในการทำงาน บุคลากรเหล่านั้นมีคุณค่าต่อสังคมไทย แต่ขาดความมั่นใจในอนาคต ว่าจะไปรอดไหม จึงทำให้เกิดความวิตกว่า จะตกงานหรือไม่ และจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างไร
ITV คงจะอยู่ต่อไป แต่จะต้องปรับตัวให้เป็นสื่อของประชาชนมากขึ้น ไม่ใช่สื่อเพื่อการค้าและหวังผลกำไรอย่างเช่นในอดีต
ผมหวังว่าบุคลากรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน คงจะได้รับการดูแลจากผู้บริหารของกลุ่มใหม่ และหวังว่าคงจะมีวิธีการเก็บรักษาบุคลากรเหล่านี้ไว้ ไม่ใช่เลิกจ้างอย่างที่หลายคนวิตกอยู่
รัฐบาล คงจะต้องมีนโยบายชัดเจนในการดูแลพนักงาน จะทำอย่างไรต่อไป ลักษณะที่ win/win ทั้งสองฝ่าย
ผมขอให้กำลังใจมา ณ ที่นี้ เพราะ ITV มีบุคลากรด้านสื่อที่มีความสามารถและประสบการณ์มากมาย
ผมดีใจที่จะมีรายการโทรทัศน์ที่จะเน้นสาระมากขึ้น เพราะคนไทยต้องมีทางเลือกในการบริโภคสื่อ ซึ่งสื่อในปัจจุบันต้องขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของธุรกิจ ผมเป็นตัวอย่างที่ มุ่งมั่นทำสื่อเพื่อความรู้มากว่า 13 ปี เห็นปัญหามากมายที่เกิดขึ้น เพราะไม่มีธุรกิจมาสนับสนุนอย่างแท้จริง และต่อเนื่อง
รัฐบาลยุคพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะปฏิรูปสื่อให้เน้นประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น แทนที่จะเป็นเรื่องธุรกิจอย่างเดียว จึงเป็นสิ่งที่คนไทยรอคอยและสนับสนุน
ส่วนรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ยังมีจนกระทั่งปลายเดือนธันวาคมนี้ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. และย้ำว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขัดแย้งกับการเจริญเติบโต (ขยายตัว) ทางเศรษฐกิจหรือการแข่งขันในระดับโลกแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับทำให้การขยายตัวและการแข่งขันมีความยั่งยืน เพราะจะกระตุ้นให้คนไทยบริหารความเสี่ยง มีวินัยทางการเงิน มีภูมิคุ้มกัน ผมไม่อยากให้คนในสังคมคิดว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่สนใจการสร้างความเจริญ แต่เป็นการสร้างความเจริญบนพื้นฐานที่มั่นคง โดยเฉพาะเรื่องวินัยทางการเงิน
ขอขอบคุณผู้อ่านจำนวนมากที่กรุณาติดตามข้อเขียนของผม โดยเฉพาะกลุ่มคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาหลายท่าน ก็เป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ หลายท่านเข้าไปดู Blog ของผมเป็นประจำ ซึ่งมีคนดูเพิ่มขึ้นเกือบจะ 10,000 คนต่อเดือน แต่อยากจะขอว่า เมื่อดูแล้วให้ช่วยแสดงความเห็นต่อด้วย
ผมในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์พร้อมด้วยสมาคมนักเรียนเก่า/ศิษย์เก่าอีก 11 แห่ง อาทิ สมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม สตรีวิทยาสมาคม สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ ราชบพิธสมาคม สมาคมศิษย์เก่าชิโนรส สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ สมาคมนักเรียนเก่านวลนรดิศ สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักเรียนเก่าศึกษานารี สมาคมศิษย์เก่าสันติราษฎร์ และสมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเษกโดยการนำของพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ และคุณชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจน้ำมัน ร่วมกับบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) โดยคุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ จะจัดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ "เราจะเป็นคนดี" ในวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2550 ที่อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก
ผมได้ร่วมงานแถลงข่าว เมื่อวันอังคารที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา สังคมไทยต้องเน้นความดีเป็นสิ่งสำคัญที่สุดก่อน แล้วจึงเน้นความเก่ง สังคมจึงจะไปรอดและยั่งยืน เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผมชื่นชมพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ที่เป็นตำรวจที่มีความกล้าหาญ มีภาพลักษณ์เป็นคนดีของสังคม งานครั้งนี้จะนำรายได้สนับสนุนโรงเรียน 12 แห่ง ทำโครงการต่อเนื่อง การเริ่มต้นมีคอนเสิร์ตเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และ RS จะมีอัลบั้มเพลง "ลูกของพ่อ" แสดงการทำดีเพื่อพ่อหลวง แต่ต้องทำให้เกิดความต่อเนื่องและวัดผลได้
โครงการแบบนี้คือ การนำ
- ศิลปิน ดารา
- โรงเรียน 12 แห่ง
- ธุรกิจน้ำมัน
มาร่วมกัน ผมคิดว่าจะสามารถขยายผลได้มาก ในอนาคตจะขยายไปยังต่างจังหวัดด้วย เพราะสังคมไทยสนใจดารา นักร้อง ศิลปิน ทำให้บันเทิงมีสาระด้วย
อีกเรื่องหนึ่ง คือ ผมได้รับเชิญจากบริษัท Indorama ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนโดยชาวอินเดีย ทำธุรกิจหลายอย่างเช่น ปิโตรเคมี กรดเคมี เป็นต้น ไปทำ workshop กับผู้บริหารประมาณ 30 คน
การทำงานในอนาคตของคนไทยต้องเป็นการทำงานร่วมกับชาติอื่นๆ มากขึ้น คนไทยจะต้องปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานที่เกิดขึ้นแบบไร้พรมแดน ในโลกยุคใหม่ ดังนั้นความไม่เข้าใจกันระหว่างความหลากหลาย ความแตกต่างทางวัฒนธรรม จึงเป็นจุดที่สำคัญที่ทำให้ไม่เกิดความสำเร็จในการทำงาน ในวันนั้นผมได้ทำ workshop เน้นเรื่องภาวะผู้นำ (Leadership) โลกาภิวัตน์ (Globalization) และการเปลี่ยนความคิด (Change of mind set) ของบริษัท Thai-India แสดงให้เห็นว่าความหลากหลายของวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่เกิดพลังได้ ถ้ามี
- การสื่อสารที่ดีในองค์กร
- การอภิปรายอย่างเปิดใจ open discussion
- การพบกันครึ่งทาง รู้เขารู้เรา win/win
- การสร้างภาวะผู้นำของคนไทย เพื่อจะได้ต่อรองกับผู้ลงทุนต่างชาติ
ผมคิดว่า หลักสูตรที่สำคัญในอนาคตระดับปวส.และมหาวิทยาลัย ไม่ใช่สาระแบบเดิมเท่านั้น แต่ต้องทำความเข้าใจเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะแรงงานไทยจะต้องทำงานร่วมกันกับชาติต่าง ๆ มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น
- ไทย/จีน
- ไทย/ญี่ปุ่น
- ไทย/อินเดีย
- ไทย/ตะวันออกกลาง
- ไทย/เมียนมาร์
- ไทย/ลาว
- ไทย/สหรัฐอเมริกา
- ไทย/เกาหลี
และชาติอื่นๆ อีกมากมาย จุดที่สำคัญคือ การเรียนระดับปวส. และปริญญาตรี ควรมีหลักสูตรเกี่ยวกับการเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ผมจะให้เวลากับการแลกเปลี่ยนเรื่อง HR กับอินเดียมากขึ้น เพราะสังคมอินเดียเป็นสังคมที่เน้นความคิด
- ความคิดเชิงวิเคราะห์
- ความคิดเชิงยุทธศาสตร์
- ความคิดเชิงระบบ
ขณะที่คนไทยเก่งในเรื่องบริการลูกค้า ความอ่อนหวาน ความสุภาพ ชอบสบายและอะไรๆก็ไม่เป็นไร" บางครั้งคิดไม่เป็นไม่กระตือรือร้น ไม่เขย่งไปสู่ความเป็นเลิศ ยิ่งไปกว่านั้น ผมเชื่อว่า Asia ใน 20 ปีข้างหน้า จะนำโลกในเรื่อง HR หลายด้าน โลกตะวันตกคงต้องหันมาศึกษาความเป็นเลิศของตะวันออกในด้านทรัพยากรมนุษย์ด้วย 
  
จีระ หงส์ลดารมภ์

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

  

ขอแสดงความยินดี กับ คุณโลตัส น.ศ.ปริญญาเอก รุ่นน้องของผม ที่ให้ความสนใจ เขียนบทความต่อยอดบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระขอให้ทำอย่างต่อเนื่อง ผมเชื่อว่าหากทำอย่างต่อเนื่อง คุณโลตัส จะได้เพิ่มประสบการณ์ชีวิต ที่มีคุณค่าจากการอ่านประสบการณ์ของ ศ.ดร.จีระ   และนำไปบูรณาการต่อยอดถ่ายทอดสร้างคนเพื่อสร้างชาติ ต่อไป และหากมีอะไรจะให้ผมช่วยได้ก็ยินดี  คนดี ของแท้ ต้อง 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ๆ ๆ และ 3 จ. คือ จริงใจ ๆ ๆ ครับ

 

  

ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ สัปดาห์นี้ อาจารย์เขียนเรื่อง ให้กำลังใจพนักงาน ITV  อาจารย์เขียนความจริงที่อาจารย์ได้สัมผัสมา นำมาเขียนแฝงไปด้วยสาระ ที่กระตุ้นทุนทางปัญญา ได้เป็นอย่างดี   ผมได้แสดงความคิดเห็น บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ตัวอักษรสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ ....... 

 

 

  ในรายการวิทยุของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา คุณนาตยา แวววีระคุปต์ ถามเกี่ยวกับพนักงานกว่าพันคนของ ITV กำลังขาดกำลังใจ เพราะคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ยังคงยืนยันคำตัดสินเดิมคือ ITV จะต้องเสียค่าปรับจำนวนมหาศาล และต้องเสียค่าสัมปทานปีละพันล้าน
แน่นอนว่าสิ่งที่กระทบต่อบุคลากรเหล่านั้นคือ ความไม่มั่นคงในการทำงาน บุคลากรเหล่านั้นมีคุณค่าต่อสังคมไทย แต่ขาดความมั่นใจในอนาคต ว่าจะไปรอดไหม จึงทำให้เกิดความวิตกว่า จะตกงานหรือไม่ และจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างไร
ผมหวังว่าบุคลากรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน คงจะได้รับการดูแลจากผู้บริหารของกลุ่มใหม่ และหวังว่าคงจะมีวิธีการเก็บรักษาบุคลากรเหล่านี้ไว้ ไม่ใช่เลิกจ้างอย่างที่หลายคนวิตกอยู่............... 

ในส่วนตัวผมเห็นใจ และขอส่งกำลังใจมาให้พนักงานใน ITV ทุกท่าน  ผมเชื่อว่า ยังมีประชาชน และคนทำงานอีกหลายคนที่เห็นใจ และปราถนาที่จะส่งกำลังใจมาให้พนักงาน ITV เช่นเดียวกัน............ 

กรณีปัญหาของ ITV ขณะนี้เป็นที่ประจักษ์ว่า เป็นปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร เชิงนโยบาย เป็นปัญหาการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารเดิม อันมีผลต่ออนาคตขององค์การและลูกค้าทั้งภายในและภายนอก  ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากพนักงานระดับปฏิบัติการใน  ITV..............   

กรณีดังกล่าว เป็นข้อเตือนใจให้ผู้บริหารทั้งหลาย ตระหนักให้ดีว่า การตัดสินใจ ใด ๆ ต้องมองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ ไม่สร้างปัญหาอื่น ๆ ตามมา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว   ควรนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นแนวทางในการบริหาร การกำหนดนโยบาย การดำเนินการ ควบคุมกิจการ อย่างพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันฯ ................. 

ในระดับพนักงาน คนใช้แรงงานทุกองค์การนั้น ITV ได้ให้บทเรียนที่ดี ถ้าหากพนักงานท่านใด ดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกจิพอเพียงไว้ล่วงหน้าแล้วหากเกิดปัญหาเช่นนี้ จะมีผลกระทบน้อยที่สุด เพราะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จะสอนให้มีภูมิคุ้มกันในตน เน้นความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ................. 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบ สามประการได้แก่ หนึ่ง การพอประมาณ สองการมีเหตุมีผล  สามการมีภูมิคุ้มกัน โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการมีความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และ เงื่อนไขแห่งการมีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ขยัน และอดทน ..............


ITV คงจะอยู่ต่อไป แต่จะต้องปรับตัวให้เป็นสื่อของประชาชนมากขึ้น ไม่ใช่สื่อเพื่อการค้าและหวังผลกำไรอย่างเช่นในอดีต ผมหวังว่าบุคลากรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน คงจะได้รับการดูแลจากผู้บริหารของกลุ่มใหม่ และหวังว่าคงจะมีวิธีการเก็บรักษาบุคลากรเหล่านี้ไว้ ไม่ใช่เลิกจ้างอย่างที่หลายคนวิตกอยู่รัฐบาล คงจะต้องมีนโยบายชัดเจนในการดูแลพนักงาน จะทำอย่างไรต่อไป ลักษณะที่ win/win ทั้งสองฝ่าย
ผมขอให้กำลังใจมา ณ ที่นี้ เพราะ ITV มีบุคลากรด้านสื่อที่มีความสามารถและประสบการณ์มากมาย

 ในความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า จากการที่ ITV ต้องจ่ายค่าสัมปทานปีละ 1,000 ล้านบาท ทำให้ ITV มีผลขาดทุนจำนวน 326 ล้านบาท สำหรับปี 2549 และ 268 ล้านบาทสำหรับปี 2550 ซึ่งการประมาณการผลขาดทุนดังกล่าว ยังไม่รวมถึงผลกระทบจากการปรับผังรายการ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อรายได้ค่าโฆษณา ...................

จากการต้องจ่ายค่าสัมปทาน 1,000 ล้านบาท ที่จะต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี ITV จึงอาจจะไม่สามารถทำกำไรได้ดี ด้วยเหตุข้างต้น ITV อาจจะต้องคืนสัมปทานให้แก่รัฐบาล ผู้ถือหุ้นภาคเอกชนจะหลีกเลี่ยงการลงทุนกับ ITV หากยังไม่มีอะไรชัดเจน.................

 แนวทางแก้ไข เมื่อองค์การใดก็ตามที่เผชิญปัญหาทางการบริหารเช่นนี้ มักจะมีการปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารจัดการใหม่ ได้แก่

 

  1. Strategy กลยุทธ์ สัดส่วนผู้ถือหุ้น การเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย เช่น การปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน นโยบายการบริหารจัดการ  วัตถุประสงค์  ตัวชี้วัดความสำเร็จ และแผนกลยุทธ์ในการบริหาร ............
  2. Structure โครงสร้างองค์การ สัดส่วนผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร คณะที่ปรึกษากรรมการบริหาร
  3. System ระบบ ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และโครงสร้างใหม่
  4. Style รูปแบบการบริหารงาน กฎ ระเบียบต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจขององค์การ
  5. Staff บุคลากร การปรับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบ ปรับเปลี่ยนตำแหน่งในบางตำแหน่ง การปรับปรุงระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้สอดคล้องกับโครงสร้างองค์การ การปรับปรุงคณะกรรมการการตรวจสอบภายใน
  6. Skill ทักษะ การพัฒนาและการเพิ่มทักษะของหน่วยงานบางหน่วย ให้สอดคล้องกับพันธกิจขององค์การ โดยเฉพาะหน่วยงานที่ผลิตรายการข่าวและสาระน่ารู้ เป็นต้น
  7. Shared Value การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงค่านิยมร่วมบางประการ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และนโยบายใหม่ เป็นต้น

 ที่ผมแสดงความเห็นมา จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วประเด็นที่ ITV อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ น่าจะเป็นเรื่องนโยบาย กับการบริหารจัดการ มากกว่า การเปลี่ยนแปลงพนักงานระดับปฏิบัติการ ยกเว้นว่ามีหน่วยงานที่ผลิตรายการบันเทิง มากกว่าหน่วยงานผลิตสาระข่าวสารความรู้  ผมจึงขอส่งกำลังใจ มาให้กับพนักงานของ ITV ทุกท่านอย่าได้ตกใจไป ขอให้ยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตการงานและครอบครัว ผมเชื่อว่าจะไปได้ดี........ 

 

ผมเองก็หวังว่า รัฐบาล จะเข้ามาดูแลให้ความเป็นธรรมแก่สถานการจ้างและการทำงานของพนักงานใน ITV

 

  
ผมดีใจที่จะมีรายการโทรทัศน์ที่จะเน้นสาระมากขึ้น เพราะคนไทยต้องมีทางเลือกในการบริโภคสื่อ ซึ่งสื่อในปัจจุบันต้องขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของธุรกิจ ผมเป็นตัวอย่างที่ มุ่งมั่นทำสื่อเพื่อความรู้มากว่า 13 ปี เห็นปัญหามากมายที่เกิดขึ้น เพราะไม่มีธุรกิจมาสนับสนุนอย่างแท้จริง และต่อเนื่อง
รัฐบาลยุคพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะปฏิรูปสื่อให้เน้นประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น แทนที่จะเป็นเรื่องธุรกิจอย่างเดียว จึงเป็นสิ่งที่คนไทยรอคอยและสนับสนุน   

 

ผมยินดีเช่นเดียว กับ ศ.ดร.จีระ ที่จะได้เห็นสถานีโทรทัศน์ที่มีรายการที่มีสาระ มากกว่าบันเทิง  แต่อย่างไรก็ตาม รายการสาระต่าง ๆ ในทีวี ก็ควรนำเอาวิสัยทัศน์ของโลก ของชาติบ้านเมือง มาบริหารจัดการสาระที่นำมาจัดรายการโทรทัศน์ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนได้มากที่สุด.......

 

รัฐบาล น่าจะให้มีการสำรวจดูว่าขณะนี้ สถานีโทรทัศน์ช่องอะไร ที่ออกอากาศเผยแพร่ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงได้ในช่วงเวลาดีที่สุดและมากที่สุด ถึงกลุ่มผู้ชมทุกระดับ  

รายการใด สถานีโทรทัศน์อะไร มีสาระในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อชาติได้ดีที่สุด  มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากที่สุด ถ้าพบว่ามี ถามต่ออีกว่าเขาทำได้อย่างไร ทำอย่างไร รัฐบาลจะสนับสนุนส่งเสริมให้มีมากขึ้น   

ถามต่อไปว่า ถ้าคำตอบที่ได้พบว่า ไม่มีสถานีฯใด ผู้จัดรายการใดที่ทำรายการที่ดีที่สุด สำหรับ ทรัพยากรมนุษย์ แล้วทำอย่างไรจึงจะมี ถ้าไม่มีได้หรือไม่ มีกับไม่มีอย่างไหนได้ประโยชน์ต่อชาติ มากกว่ากัน  


ส่วนรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ยังมีจนกระทั่งปลายเดือนธันวาคมนี้ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. และย้ำว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขัดแย้งกับการเจริญเติบโต (ขยายตัว) ทางเศรษฐกิจหรือการแข่งขันในระดับโลกแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับทำให้การขยายตัวและการแข่งขันมีความยั่งยืน เพราะจะกระตุ้นให้คนไทยบริหารความเสี่ยง มีวินัยทางการเงิน มีภูมิคุ้มกัน ผมไม่อยากให้คนในสังคมคิดว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่สนใจการสร้างความเจริญ แต่เป็นการสร้างความเจริญบนพื้นฐานที่มั่นคง โดยเฉพาะเรื่องวินัยทางการเงิน ............
 

ในความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า รายการดี ๆ อย่าง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ น่าจะมาออกอากาศที่ ช่อง ไอทีวี น่าจะมีการจัดรูปแบบการนำเสนอใหม่ ใช้คนรุ่นใหม่ วัยรุ่น มาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีการประกวดเยาวชนดีเด่น ด้านการศึกษา การปฏิบัติ การเผยแพร่แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง........... 

อีกเรื่องหนึ่ง คือ ผมได้รับเชิญจากบริษัท Indorama ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนโดยชาวอินเดีย ทำธุรกิจหลายอย่างเช่น ปิโตรเคมี กรดเคมี เป็นต้น ไปทำ workshop กับผู้บริหารประมาณ 30 คน
การทำงานในอนาคตของคนไทยต้องเป็นการทำงานร่วมกับชาติอื่นๆ มากขึ้น คนไทยจะต้องปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานที่เกิดขึ้นแบบไร้พรมแดน ในโลกยุคใหม่ ดังนั้นความไม่เข้าใจกันระหว่างความหลากหลาย ความแตกต่างทางวัฒนธรรม จึงเป็นจุดที่สำคัญที่ทำให้ไม่เกิดความสำเร็จในการทำงาน
ในวันนั้นผมได้ทำ workshop เน้นเรื่องภาวะผู้นำ (Leadership) โลกาภิวัตน์ (Globalization) และการเปลี่ยนความคิด (Change of mind set) ของบริษัท Thai-India แสดงให้เห็นว่าความหลากหลายของวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่เกิดพลังได้ ถ้ามี
- การสื่อสารที่ดีในองค์กร
- การอภิปรายอย่างเปิดใจ open discussion
- การพบกันครึ่งทาง รู้เขารู้เรา win/win
- การสร้างภาวะผู้นำของคนไทย เพื่อจะได้ต่อรองกับผู้ลงทุนต่างชาติ.........
 

สำหรับกิจกรรมที่ ศ.ดร.จีระ ทำให้ที่ Indorama ผมต้องขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่เปิดโอกาสให้ผมติดตามไปด้วย  ผมได้เห็นการนำเสนอปัญหาในองค์การของสมาชิกผู้เข้าร่วมสัมมนาของ Indorama และได้นำเสนอยุทธศาสตร์แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาไว้ ได้แก่ .

  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหาร ผู้นำทุกระดับ
  • ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงกลยุทธ์ ปรับปรุงวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนกลยุทธ์ KPI
  • ยุทธศาสตร์การจัดทำระบบมาตรฐานการทำงาน
  • ยุทธศาสตร์จัดทำและเผยแพร่วัฒนธรรมองค์การที่เป็นเลิศ
  • ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบการสื่อสาร
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาทัศนคติพนักงาน ให้มีการสำรวจทัศนคติพนักงาน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดการ
  • ยุทธศาสตร์พัฒนาการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ยุทธศาสตร์ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์
  • ยุทธศาสตร์ปรับปรุงโครงสร้างค่าจ้าง สวัสดิการ
  • ยุทธศาสตร์การปรับปรุง ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • ยุทธศาสตร์ด้านแรงงานสัมพันธ์ลด ปัญหาความขัดแย้ง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม...................

 

 สำหรับรายละเอียด ในการจัดกิจกรรมและมีแต่ละกลุ่มสรุปไว้อย่างไร ท่านผู้อ่านสามารถติดตามศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://gotoknow.org/blog/chirakm/66061   
ผมคิดว่า หลักสูตรที่สำคัญในอนาคตระดับปวส.และมหาวิทยาลัย ไม่ใช่สาระแบบเดิมเท่านั้น แต่ต้องทำความเข้าใจเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะแรงงานไทยจะต้องทำงานร่วมกันกับชาติต่าง ๆ มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น
- ไทย/จีน
- ไทย/ญี่ปุ่น
- ไทย/อินเดีย
- ไทย/ตะวันออกกลาง
- ไทย/เมียนมาร์
- ไทย/ลาว
- ไทย/สหรัฐอเมริกา
- ไทย/เกาหลี
และชาติอื่นๆ อีกมากมาย จุดที่สำคัญคือ การเรียนระดับปวส. และปริญญาตรี ควรมีหลักสูตรเกี่ยวกับการเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ...................

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ หลักสูตรการเรียนการสอน และควรเริ่มให้มีตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ปวช. ได้ก็จะยิ่งดี

เพราะแรงงานที่เข้าสู่สถานประกอบการในระดับปฏิบัติการจริง ๆ แล้ว จะเริ่มตั้งแต่วุฒิการศึกษา ม.6 เป็นส่วนใหญ่ หรือถ้าเข้าในหลักสูตรไม่ได้ อย่างน้อย ก็ควรกำหนดเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตด้วยการจัดให้มีการบรรยายพิเศษ สำหรับผู้ที่กำลังจะจบการศึกษา ม. 6 ปวช. ปวส. และปริญญาตรี ........

 


ผมจะให้เวลากับการแลกเปลี่ยนเรื่อง HR กับอินเดียมากขึ้น เพราะสังคมอินเดียเป็นสังคมที่เน้นความคิด
- ความคิดเชิงวิเคราะห์
- ความคิดเชิงยุทธศาสตร์
- ความคิดเชิงระบบ
ขณะที่คนไทยเก่งในเรื่องบริการลูกค้า ความอ่อนหวาน ความสุภาพ ชอบสบายและอะไรๆก็ไม่เป็นไร" บางครั้งคิดไม่เป็นไม่กระตือรือร้น ไม่เขย่งไปสู่ความเป็นเลิศ
  

ยิ่งไปกว่านั้น ผมเชื่อว่า Asia ใน 20 ปีข้างหน้า จะนำโลกในเรื่อง HR หลายด้าน โลกตะวันตกคงต้องหันมาศึกษาความเป็นเลิศของตะวันออกในด้านทรัพยากรมนุษย์ด้วย .......

 

ผมคิดเช่นเดียวกับ ศ.ดร.จีระ เพราะขณะนี้ โลกตะวันตก หันมาศึกษายารักษาโรคจากพืชสมุนไพร ศิลปะการรักษาสุขภาพ อาหารการกินจากตะวันออก กันมากขึ้น การติดตาม ศ.ดร.จีระ ไปหลวงพระบาง ประเทศลาว เห็นได้ชัดว่า มีนักวิชาการ คนมีความรู้ นักศึกษาจากทางตะวันตกมาทัศนศึกษาที่หลวงพระบางเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมเชื่อมั่นว่า ความเจริญ ความยิ้งใหญ่ของซีกโลกตะวันออก จะกลับมาเจริญยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งเหมือนสมัยพระพุทธเจ้า เหมือนสมัยที่ราชวงศ์กษัตริย์ในจีนเรืองอำนาจยิ่งใหญ่ โลกเอเซียกับอาหรับอาจจะเป็นอีกซีกโลกหนึ่งที่น่าจับตามอง

 

 

นักวิชาการทั้งหลายที่เรียนมาทางตะวันตก หากไม่รู้จักบูรณาการและเพิ่มองค์ความรู้ จุดแข็งทางโลกตะวันออก ผสมผสานต่อยอดไว้ อาจจะเป็นนักวิชาการที่ตกรุ่นไป...........

 

  

ผมขอเชิญชวนท่านติดตามสาระน่ารู้จากศ.ดร.จีระ  ซึ่งท่านมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.  นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  ........    และเชิญชวนเพื่อน น.ศ. และน้อง ๆ ป.เอก ท่านผู้สนใจ ติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ..........  

 

   

  

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน 

"บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง Innovation หรือ Integrity " เมื่อ ส. 23 ธ.ค. 2549 @ 08:15 (122459)

Innovation หรือ Integrity
นวัตกรรมหรือความถูกต้อง[1]

 

วันเสาร์ที่ผ่านมา ผมไปร่วมงาน "อนาคตประเทศไทยครั้งที่ 2" ซึ่งจัดโดยสถานีคลื่นความคิด FM 96.5 MHz. โดยมีประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ อนาคตประเทศไทย - อนาคต คมช. มี รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร, ศ.จรัญ ภักดีธนากุล, ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช, คุณดำรง พุฒตาล และคุณไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ร่วมกันแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สื่อวิทยุที่ดี ทำหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องอนาคตภายหลังจากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จและมีการเลือกตั้ง จะเป็นอย่างไรต่อไป และจะทำอย่างไรต่อไป
ก่อนจะถึงจุดนั้น การร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร คนไทยจะต้องมองประเด็นอะไรเป็นพิเศษ ผมจับประเด็นได้อย่างน้อย 3 เรื่องใหญ่คือ
ไม่ว่าจะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ต้องมีความรู้และมีความรู้สึกหวงแหนประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่ความรู้ที่เรียนรัฐศาสตร์มา แต่เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่คนไทยจะต้องสนใจ คุณดำรง พุฒตาล, อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช, อาจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร มีความคิดเห็นทำนองเดียวกัน แต่ที่ไม่ได้พูดถึงคือ วิธีการสร้างสังคมการเรียนรู้ เรื่องประชาธิปไตย ต้องให้มีทฤษฎี R กับ D, P ต่อชาวบ้านให้ได้
R ตัวแรกคือ ผู้รู้ต้อง Respect นับถือชาวบ้านก่อน ไม่ใช่ไปยัดเยียดความรู้ให้ชาวบ้านข้างเดียว
D คือ Dignity ต้องให้ชาวบ้านมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี แม้ว่าจะจบเพียงประถม 6 ก็ตาม
อันที่ 3 P คือ Participate การให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วย
ผมทำเรื่องสังคมการเรียนรู้ในระดับชาวบ้านอยู่บ่อยๆ โดยพยายามหาชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา จึงน่าจะสร้างแนวร่วม โดยใช้ทฤษฎี 4 L's ของผม ได้มากขึ้น
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เห็นว่า ทหารต้องปรับตัวตลอดเวลา ไม่ใช่เมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ไม่กล้ามีปฏิกิริยาอะไร สื่อของทหารจึงถูกนักการเมืองนำไปใช้ในการหาเสียง ผมคิดว่า ทหารน่าจะตั้งสถาบันการเมืองที่ monitor ตรวจสอบการเมืองไม่ให้ไปสู่อำนาจผูกขาดทำให้เกิดความไม่มั่นคงและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์
หากทหารมองการเมืองเป็นเรื่องความอยู่รอด ประชาธิปไตยและความยั่งยืน ปรับวิธีการทำงาน ในอนาคตการปฏิวัติคงจะไม่เกิดขึ้นอีก การมีความรู้ข้ามศาสตร์ ไม่ใช่รู้เฉพาะยุทธศาสตร์การรบ เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ( กอ.รมน.) ที่พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้อำนวยการ น่าจะดูแลเรื่องการเมือง เพื่อรักษาประชาธิปไตยไว้ให้ยั่งยืนต่อไปได้
เรื่องกฎหมายที่ตรวจสอบคอร์รัปชั่น (Corruption) ปลัดจรัญ ภักดีธนากุล กล่าวว่า บางประเทศ เช่น เกาหลี ระบบยุติธรรมเขาเข้มแข็งและเด็ดขาด สามารถจัดการนักการเมืองที่ไม่ดีได้ ทำให้ประชาชนพึ่งได้ ในเมืองไทยจะมีนักการเมืองถูกพิพากษาจำคุกหรือไม่
สัปดาห์นี้หากไม่เขียนถึงเรื่องตลาดหุ้น การเก็งกำไรค่าเงินบาท คงจะเชย ผมจะขอเขียนถึงในมุมเดียวคือ ยุคโลกาภิวัตน์ อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอน บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีทั้ง IQ และ Q อื่นๆ ด้วย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมองหลายมิติและระมัดระวังเรื่องการตัดสินใจต่างๆ ( Decision making ) ว่าจะกระทบความเชื่อมั่นของต่างประเทศหรือไม่
ผมหวังว่า ความเป็นอิสระจากรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย และคงจะต้องบวกกับความสามารถด้วย หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Independence with Competency ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย คงต้องไม่ใช้ทฤษฎีตามตำราที่เรียนมาสมัยปริญญาเอก ควรจะต้องมี
- Skill ความชำนาญ
- Knowledge ความรู้หลายๆ ด้าน
- Attitude ทัศนคติที่ถูกต้อง
วิกฤติเศรษฐกิจในอดีตส่วนหนึ่งเกิดจากการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นในยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปิดเสรีทางการเงิน ซึ่งมีประโยชน์มาก แต่มีโทษมากเช่นกันหากดำเนินนโยบายผิดพลาด เราต้องป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคตให้ได้
สุดท้าย เมื่อวันอังคารที่ 19 ธันวาคม ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปร่วมแบ่งปันความรู้ให้นักศึกษาปริญญาโท สาขาด้านจิตวิทยา โดยผู้จัดต้องการให้ผมเน้นเรื่อง HR โดยใช้จิตวิทยาเป็นหลัก นักศึกษายุคใหม่ต้องมองเป้าหมาย 4 เรื่อง คือ
- Psychology จิตวิทยา
- Strategy ยุทธศาสตร์
- HR ทรัพยากรมนุษย์
- Performance ผลที่เกิดต่อองค์กรต่างประเทศ
การเรียนจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ แต่จิตวิทยาอย่างเดียวก็ไม่พอ เพราะยุคต่อไปต้องเสริมเรื่องอื่น ๆ ที่ช่วยทำให้จิตวิทยาเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะไม่ละเลยเรื่องจิตวิทยา แต่ก็จะสนใจเรื่องอื่นๆ ด้วย จึงให้เขาเปรียบเทียบแนวคิด 4 เรื่องคือ
- Head/Heart สมอง/จิตใจ
- Fact/Feeling ข้อมูล/ความรู้สึก
- Strategy/Respect ยุทธศาสตร์/ความเคารพ
- Excellence/Integrity ความเป็นเลิศ/ความถูกต้อง
วิธีการมองปัญหาดังกล่าว ทำให้นักจิตวิทยาได้ภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น เช่น เข้าใจเรื่องวิสัยทัศน์ (Vision) และ Mission ขององค์กร เข้าใจโครงสร้างธุรกิจ (Business structure) ขององค์กร เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เข้าใจเรื่องการแข่งขัน เข้าใจเรื่อง Balanced Scorecard ซึ่งจะต้องมองลูกค้า การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารจัดการ เข้าใจเรื่อง Process management
จะขอฝากไว้ว่า วิศวกร หมอ นักบัญชี สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เขาเหล่านั้นเข้าใจเรื่องจิตวิทยาเพียงพอหรือไม่ มองมนุษย์ด้วยความเข้าใจในจิตใจลึกๆ หรือไม่ ปัจจุบัน ศาสตร์ต่างๆ แยกจากกันมากเกินไป ควรจะข้ามศาสตร์และนำเอาความรู้ที่ผสมมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะพูดได้ว่า ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อย่ารู้เฉพาะการเงิน หรือมาตรการทางการเงิน ควรต้องเข้าใจถึงความเจ็บปวดของนักลงทุนรายย่อยด้วย

 

 

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  และท่านผู้อ่านทุกท่าน   

 

   วันนี้ ผมหาความรู้ ทาง Internet เช่นเคย และอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง Innovation หรือ Integrity นวัตกรรมหรือความถูกต้อง ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความของ ศ.ดร.จีระ ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

วันเสาร์ที่ผ่านมา ผมไปร่วมงาน "อนาคตประเทศไทยครั้งที่ 2" ซึ่งจัดโดยสถานีคลื่นความคิด FM 96.5 MHz. โดยมีประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ อนาคตประเทศไทย - อนาคต คมช. มี รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร, ศ.จรัญ ภักดีธนากุล, ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช, คุณดำรง พุฒตาล และคุณไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ร่วมกันแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สื่อวิทยุที่ดี ทำหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก
ผมจับประเด็นได้อย่างน้อย 3 เรื่องใหญ่คือ
ไม่ว่าจะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ต้องมีความรู้และมีความรู้สึกหวงแหนประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่ความรู้ที่เรียนรัฐศาสตร์มา แต่เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่คนไทยจะต้องสนใจ คุณดำรง พุฒตาล, อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช, อาจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร มีความคิดเห็นทำนองเดียวกัน แต่ที่ไม่ได้พูดถึงคือ วิธีการสร้างสังคมการเรียนรู้ เรื่องประชาธิปไตย ต้องให้มีทฤษฎี R กับ D, P ต่อชาวบ้านให้ได้
R ตัวแรกคือ ผู้รู้ต้อง Respect นับถือชาวบ้านก่อน ไม่ใช่ไปยัดเยียดความรู้ให้ชาวบ้านข้างเดียว
D คือ Dignity ต้องให้ชาวบ้านมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี แม้ว่าจะจบเพียงประถม 6 ก็ตาม
อันที่ 3 P คือ Participate การให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วย
ผมทำเรื่องสังคมการเรียนรู้ในระดับชาวบ้านอยู่บ่อยๆ โดยพยายามหาชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา จึงน่าจะสร้างแนวร่วม โดยใช้ทฤษฎี 4 L's ของผม ได้มากขึ้น .................

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ว่าน่าจะสร้างแนวร่วม โดยใช้ทฤษฎี 4 L’s  การจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดผล ไม่ใช่แต่ซักแต่ทำอย่างเดียว ต้องมีศิลป  เช่น การทำงาน ไม่ใช่ทำงานอย่างเดียว แต่ถ้ามีความคิดว่า ทำงานไป เรียนรู้พัฒนาไป สร้างความสัมพันธ์ไปด้วย จะดีกว่าคิด ทำงานอย่างเดียว................ 
ประโยคที่ว่า ไม่ว่าจะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ต้องมีความรู้และมีความรู้สึกหวงแหนประชาธิปไตย ผมเห็นว่า การร่างรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ รัฐควรตั้งคำถามที่ดี ว่า รัฐธรรมนูญควรออกมาอย่างไร แล้วให้คนไทย หนึ่ง ใฝ่รู้ รอบด้าน มีความรู้เรื่องการเมือง และกฎหมายมากขึ้น สอง สนใจและมีส่วนร่วม มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และไม่ยึดติด หรือมีอัตตาสูง  สามมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างประชาธิปไตย สี่มีความรัก จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ห้า มีศีลธรรม สติ ปัญญามากขึ้น หก รู้จักพึ่งพาตนเอง ไม่เบียดเบียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เจ็ด มีวิสัยทัศน์ กว้างไกลมากขึ้น...........  

 


ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เห็นว่า ทหารต้องปรับตัวตลอดเวลา ไม่ใช่เมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ไม่กล้ามีปฏิกิริยาอะไร สื่อของทหารจึงถูกนักการเมืองนำไปใช้ในการหาเสียง ผมคิดว่า ทหารน่าจะตั้งสถาบันการเมืองที่ monitor ตรวจสอบการเมืองไม่ให้ไปสู่อำนาจผูกขาดทำให้เกิดความไม่มั่นคงและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์  

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ  ผมคิดว่าโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ทุกส่วน ทุกสิ่งต้องเรียนรู้และมีการปรับตัว ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก .......... 
ขณะนี้โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง แม้กระทั่งเปลือกโลก อากาศของโลก สภาพดิน ฟ้า อากาศ ข้อมูล ข่าวสาร ประเพณีวัฒนธรรมและอีกหลายสิ่ง กำลังมีการเปลี่ยนแปลง  สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวเร็วและเปลี่ยนแปลงให้กับสภาพแวดล้อมได้ จะสามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ ............  

 


เรื่องกฎหมายที่ตรวจสอบคอร์รัปชั่น (Corruption) ปลัดจรัญ ภักดีธนากุล กล่าวว่า บางประเทศ เช่น เกาหลี ระบบยุติธรรมเขาเข้มแข็งและเด็ดขาด สามารถจัดการนักการเมืองที่ไม่ดีได้ ทำให้ประชาชนพึ่งได้ ในเมืองไทยจะมีนักการเมืองถูกพิพากษาจำคุกหรือไม่ ............
เรื่องการตรวจสอบ การแก้ไขและการป้องกันปัญหาคอร์รับชั่น ผมเห็นว่านนอกจากที่เกาหลีแล้ว บ้านเราควรมีการปฏิวัติ กันใหม่ ควรเอาอย่างประเทศญี่ปุ่น เขามีมาตรการแก้ไขและป้องกันที่ตัวคนตั้งแต่กระบวนการสรรหาคัดเลือก กระบวนการทำงาน และมีระบบการควบคุม ตรวจสอบที่เข้มแข็ง มีวัฒนธรรม จริยธรรมที่เน้นความซื่อสัตย์ สุจริต รวมทั้งมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่เข็มแข็งในการที่จะป้องกันไม่ให้คนชั่วสร้างปัญหาทางการเมืองได้

สุรปก็คือปัญหาคอร์รับชั่น ต้องป้องกันที่ตัวผู้ดำรงตำแหน่ง ระบบการทำงาน กฎหมายที่เข็มงวด และมีวัฒนธรรมที่เข็มแข็ง ส่งเสริมซึ่งกันและกัน รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนรักษ์ ในความโปร่งใส สุจริต รังเกียจคนไม่ดี เป็นต้น 


สัปดาห์นี้หากไม่เขียนถึงเรื่องตลาดหุ้น การเก็งกำไรค่าเงินบาท คงจะเชย ผมจะขอเขียนถึงในมุมเดียวคือ ยุคโลกาภิวัตน์ อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอน บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีทั้ง IQ และ Q อื่นๆ ด้วย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมองหลายมิติและระมัดระวังเรื่องการตัดสินใจต่างๆ ( Decision making ) ว่าจะกระทบความเชื่อมั่นของต่างประเทศหรือไม่
ผมหวังว่า ความเป็นอิสระจากรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย และคงจะต้องบวกกับความสามารถด้วย หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Independence with Competency ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย คงต้องไม่ใช้ทฤษฎีตามตำราที่เรียนมาสมัยปริญญาเอก ควรจะต้องมี
- Skill ความชำนาญ
- Knowledge ความรู้หลายๆ ด้าน
- Attitude ทัศนคติที่ถูกต้อง
วิกฤติเศรษฐกิจในอดีตส่วนหนึ่งเกิดจากการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นในยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปิดเสรีทางการเงิน ซึ่งมีประโยชน์มาก แต่มีโทษมากเช่นกันหากดำเนินนโยบายผิดพลาด เราต้องป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคตให้ได้

 

  

ปัญหาการปกป้องค่าเงินบาท จนทำให้เกิดผลกระทบกับตลาดหุ้น นักลงทุน และตลาดหลักทรัพย์นั้น เป็นบทเรียนจากความเป็นจริง ที่น่าสนใจ  เมื่อวันก่อน ผมไปเรียนวิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา อาจารย์ผู้สอน สอนเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงกับบริษัทธรรมมาภิบาล และพูดกันถึง บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และการบริหารจัดการ  ท้ายชั่วโมงเปิดโอกาสให้ซักถาม

 

ผมได้ถาม ผู้สอนว่า  มาตรการปกป้องค่าเงินบาท ที่ทำให้เกิดผลกระทบกับนักลงทุน ตลาดทุนอย่างมาก ที่ไม่เคยเกิดขึ้นนั้น ถามว่ารัฐบาลได้ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ ผมดูทีท่าอาจารย์ผู้สอน อาจจะไม่คาดคิดว่าจะได้พบคำถามเช่นนี้

 

อาจารย์ ผู้สอนก็ได้อธิบายชี้แจงด้วยความกรุณา ท่านบอกว่า ที่จริงแล้วแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ค่าเงินบาท ยังมีอีกหลายวิธี แต่วิธีที่รัฐฯตัดสินใจอาจจะไม่คาดคิดถึงผลกระทบที่จะตามมาได้แม่นยำ อาจจะหมายถึงการที่ไม่ใช้ความรอบรู้หลากหลายในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา

 

 

ผมได้เสริมว่า รวมถึงการไม่มีภูมิคุ้มกัน หรือแผนรองรับที่ดีพอหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ อาจารย์ผู้สอน ตอบให้เรารู้จักคิดต่อว่า ถ้ามีมาตรการรองรับที่ทีพอ ปัญหาจะไม่กระทบตลาดทุนรุนแรงมากนัก อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า การตัดสินใจอาจจะเน้นคุณธรรมมาก นึกถึงประเทศชาติมาก จึงอาจจะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความรอบคอบอาจจะมีไม่เพียงพอ    ผมมีความเห็นว่าการจะคิดจะทำอะไรของรัฐบาลในช่วงนี้ จะเป็นการสอน แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากความเป็นจริงได้เป็นอย่างดี 
รัฐจึงควรศึกษานโยบาย โครงการต่าง ๆ ของรัฐว่า มีนโยบายใด โครงการใด สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากน้อยหรือไม่เพียงใด  และสิ่งที่รัฐบาลจะทำ หรือกำลังทำ ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ได้ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ครอบคลุมครบถ้วนหรือว่าใช้เพียงบางส่วน  ขอให้ตระหนักให้ดี เพราะรัฐจะต้องเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินกิจกรรมทั้งหลาย ด้วยแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เห็นผล และขยายผล ครับ  


สุดท้าย เมื่อวันอังคารที่ 19 ธันวาคม ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปร่วมแบ่งปันความรู้ให้นักศึกษาปริญญาโท สาขาด้านจิตวิทยา โดยผู้จัดต้องการให้ผมเน้นเรื่อง HR โดยใช้จิตวิทยาเป็นหลัก นักศึกษายุคใหม่ต้องมองเป้าหมาย 4 เรื่อง คือ
- Psychology จิตวิทยา
- Strategy ยุทธศาสตร์
- HR ทรัพยากรมนุษย์
- Performance ผลที่เกิดต่อองค์กรต่างประเทศ
การเรียนจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ แต่จิตวิทยาอย่างเดียวก็ไม่พอ เพราะยุคต่อไปต้องเสริมเรื่องอื่น ๆ ที่ช่วยทำให้จิตวิทยาเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะไม่ละเลยเรื่องจิตวิทยา แต่ก็จะสนใจเรื่องอื่นๆ ด้วย จึงให้เขาเปรียบเทียบแนวคิด 4 เรื่องคือ
- Head/Heart สมอง/จิตใจ
- Fact/Feeling ข้อมูล/ความรู้สึก
- Strategy/Respect ยุทธศาสตร์/ความเคารพ
- Excellence/Integrity ความเป็นเลิศ/ความถูกต้อง
วิธีการมองปัญหาดังกล่าว ทำให้นักจิตวิทยาได้ภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น เช่น เข้าใจเรื่องวิสัยทัศน์ (Vision) และ Mission ขององค์กร เข้าใจโครงสร้างธุรกิจ (Business structure) ขององค์กร เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เข้าใจเรื่องการแข่งขัน เข้าใจเรื่อง Balanced Scorecard ซึ่งจะต้องมองลูกค้า การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารจัดการ เข้าใจเรื่อง Process management ..........

  

ผมได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมกับ ศ.ดร.จีระ ในการเรียนการสอน ป.โท จิตวิทยาชุมชน ที่มหาวิทยาลัยเกษตรด้วย  ขอขอบคุณอาจารย์ที่เปิดโอกาสให้ศิษย์ ได้ติดตามไปเห็นและเรียนรู้จากความจริงในห้องเรียน

  นักศึกษาที่นั้นใฝ่เรียนรู้ อาจารย์ได้สอนในรูปแบบการสอนสมัยใหม่ ไม่เน้นจด ท่องจำ แต่เน้นให้เกิดปัญญา โดยการให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ผมว่าเป็นสิ่งที่ดีมากกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ......... 

 

การเรียนการสอนในระดับ ป.โท ในเมืองไทย ควรเลิกแบบท่องจำ เลิกรูปแบบการเรียนแบบเก่า หันมาเน้นให้ น.ศ. เกิดปัญญา มีโอกาสปะทะทางปัญญาต่อกัน ปะทะทางปัญญากับอาจารย์ และส่งเสริมให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ๆ ๆ และใช้ IT ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนให้มากที่สุด และสอนจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมประเทศชาติให้มากขึ้น ..................  
  

เมื่อสองวันก่อนนี้ ผมได้มีโอกาสไปซ้อมรับพระราชทานปริญญาที่ นิด้า ได้มีโอกาสพบปะและไป Dinner กับเพื่อน ๆ ที่เคยเรียน ป.โท ด้วยกัน  เพื่อนส่วนใหญ่ดื่ม กินและคุยเล่นกันสนุกสนาน และมีการส่งไมค์ให้พูดกัน  ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะพูดว่าดีใจที่ได้เรียนร่วมกัน และขอให้นัดพบเป็นระยะ ๆ มีกิจกรรมกิน เที่ยวด้วยกัน  เมื่อถึงคิวที่ผมต้องพูด ผมได้ฝากเพื่อน ๆ ไว้ว่า เราเรียนจบที่ นิด้า เป็นสถาบันการศึกษาที่เกิดขึ้นโดยพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปรียบเสมือน ภูมิพลฯ ยูนิเวอร์ซิตี้ เราควรมีกิจกรรมร่วมกันอย่างน้อย 4 เรื่อง คือ

  • Activity for our Country,
  • Activity for our King,
  • Activity for our University,
  • Activity for our team and our family, not for ourselves only.

การนัดพบแต่ละครั้งจึงควรมีวัตถุประสงค์เป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจน ว่าได้บรรลุความสำเร็จหรือไม่ มิฉะนั้นแล้ว หลายคนจะรู้สึกเสียเวลาและไม่มีสาระให้ชวนคิด ท้าทายให้ติดตามและในที่สุดจะหายกันไป การพบปะสังสรรค์เป็นสิ่งที่ดี การพบปะสังสรรค์ของสมาชิกสโมสรไลออนส์ เป็นตัวอย่างที่น่าศึกษาและนำมาเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ ทั้งรูปแบบการประชุม ประเพณีวัฒนธรรมและสาระในการพบปะต่อกัน 

 

ที่ผ่านมาผมเห็น น.ศ.ทั้งที่เรียนอยู่และจบการศึกษาแล้ว ติดระบบทุนนิยมมาก มากกว่าที่จะคิดถึงแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

 

สังเกตได้จากกิจกรรมการรับน้อง การเลี้ยงรุ่น Home Coming Day ส่วนใหญ่จะเป็นการกิน การดื่มมากกว่ากิจกรรม เพื่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มทางศีล สมาธิ สติปัญญา มากเท่าใดนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะต้องการเน้นสร้างความสัมพันธ์มากกว่า ซึ่งผมก็พิจารณาดูแล้ว น่าให้สมดุลกันระหว่างการสร้างสัมพันธ์ การสร้างความรู้ และการสร้างประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ และร่วมกันเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาชาติ บ้านเมือง ที่เป็นอยู่

  

ประเด็นตรงนี้จึงขอฝากสำหรับ ไว้ สำหรับสถาบันการศึกษาว่านอกจากหลักสูตรการเรียนการสอนต้องรื้อปรับแล้ว กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัด หรือนักศึกษาจัด ควรรื้อปรับส่งเสริมให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับสังคม ประชาชนผู้ด้อยโอกาส ฯ

 

  

สำหรับนักศึกษา ป.โท จิตวิทยาชุมชน  ที่เรียนเกี่ยวกับ HR กับ ศ.ดร.จีระ ผมถือว่า น.ศ.โชคดี ที่ได้เรียนกับอาจารย์ ผู้เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้รอบรู้เรื่อง HR ระดับชาติ นักศึกษาต้องจับประเด็นและติดตามอาจารย์ให้ทัน ให้ทันโดยการกล้า กล้าที่จะคิด ติดตามถามไถ่

 

 

นักศึกษาจะสามารถเรียนรู้และสัมผัสกับอาจารย์ได้ดี นอกจากการปะทะความรู้ในห้องเรียนแล้ว นักศึกษาควรติดตามแลกเปลี่ยนความรู้ แชร์ไอเดียกับอาจารย์ ทาง Blog เป็นประจำ ฝึกให้เป็นนิสัย ตั้ง KPI ให้ตัวเอง ว่า อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้งจะแชร์ไอเดียกับสังคมการเรียนรู้ของอาจารย์ทาง Blog เป็นต้น ให้ทำอย่างต่อเนื่อง เมื่อสงสัย ก็โทรหาอาจารย์ได้ นักศึกษาบางคนกลัวอาจารย์ ไม่กล้าโทรหา คิดว่าอาจารย์จะไม่สนใจศิษย์ 

ศ.ดร.จีระ ไม่ใช่แบบนั้น อาจารย์เป็นผู้ที่รักและเมตตาศิษย์และให้โอกาสทุกคน แต่เมื่อได้รับโอกาส ขอให้รู้จักบริหารจัดการตัวเองให้ดี ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของการใฝ่รู้ คุณธรรม ซื่อสัตย์ จริงใจ ไม่หวังผลประโยชน์ใด ๆ ด้วยความมีสติ รอบคอบ มีมารยาท เป็นการฝึกและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องไปด้วย   
 
จะขอฝากไว้ว่า วิศวกร หมอ นักบัญชี สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เขาเหล่านั้นเข้าใจเรื่องจิตวิทยาเพียงพอหรือไม่ มองมนุษย์ด้วยความเข้าใจในจิตใจลึกๆ หรือไม่ ปัจจุบัน ศาสตร์ต่างๆ แยกจากกันมากเกินไป ควรจะข้ามศาสตร์และนำเอาความรู้ที่ผสมมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะพูดได้ว่า ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อย่ารู้เฉพาะการเงิน หรือมาตรการทางการเงิน ควรต้องเข้าใจถึงความเจ็บปวดของนักลงทุนรายย่อยด้วย  

เห็นด้วย กับ ศ.ดร.จีระ ที่ศาสตร์ต่าง ๆ แยกจากกัน มาก  ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะอาจารย์ผู้สอนแยกกันมากกันเกินไปหรือไม่ คือต่างคนต่างสอน ต่างวิชา ไม่ค่อยได้มาร่วมกันปะทะทางปัญญากับศิษย์เท่าใดนัก เช่น วิชาบัญชี กับ การตลาด ที่จริงแล้วเป็นหนึ่งในกระบวนการบริหารจัดการองค์การ แต่ก็น้อยแห่งที่จะเอาอาจารย์บัญชีกับตลาดมาร่วมเสวนา ให้นักศึกษาได้เห็นว่าทั้งสองอย่างนั้นสอดคล้องสัมพันธ์กัน  ไม่มีการตลาดก็ไม่มีบัญชี ไม่มีบัญชีการตลาดก็ทำตลาดแบบไร้ทิศทาง 

 

 

ใน นิด้า ป.โท การจัดการภาครัฐและเอกชน แต่ละวิชา มีอาจารย์สามท่าน เช่น วิชาการตลาดก็มีอาจารย์สามท่าน วิชาบัญชี ก็มีอาจารย์สายบัญชีสามท่าน ไม่ได้มาพบปะกันเสวนาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม นิด้า พยายามเน้นคำว่า บูรณาการ ผสมผสานหลายวิชาเข้าด้วยกัน ในการตอบโจทย์ขององค์การและของสังคมประเทศชาติ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ครับ 

  

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/ 

 

 

เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ   

 

    

สวัสดีครับ

              
"บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง 2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน"

2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน[1]

 

 

Michael Hammer พูดไว้กว่า 10 ปี แล้วว่า โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่มีใครคาดคะเนได้ถูกต้อง เหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน เปลี่ยนเร็วมาก (Speed) และไม่มีใครทราบว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร จะรับมือและจะปรับตัว อย่างไร
บทความของผมทั้งปี 2006 ต้องทันเหตุการณ์ พร้อม ที่รองรับข่าวดีและข่าวร้ายที่เข้ามาตลอดเวลา วิเคราะห์ให้ถูกต้อง และสร้างสรรค์
ผมขอสรุปงานของผม 3 เรื่องที่ทำไป
เรื่องแรกคือ การจัด workshop ให้สมาคมสตรีไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีคุณธาริณี กฤดากร เป็นนายกสมาคม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสมาชิกกว่า 30 คน มาร่วมรับฟังเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโรงเรียนและครอบครัว สมาชิกสมาคมต่างสนใจที่จะนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดผล ถ้ากลุ่มสตรี โดยเฉพาะคุณแม่สามารถปลูกฝังให้ลูกๆ สนใจ เรื่องปรัชญาการใช้ชีวิตอย่างพอประมาณตั้งแต่เด็กๆ จะช่วยได้มาก
สมาชิกของสมาคมท่านหนึ่งบอกว่า พ่อแม่ที่มีฐานะดี ปัจจุบันสร้างปัญหามาก เพราะอยากให้ลูกสบาย จึงปลูกฝังลูกแบบผิด มีวัตถุนิยมและฟุ้งเฟ้อ คนไทยต้องหันมาใช้ชีวิตแบบพอประมาณ แบ่งปันให้คนอื่นๆ ด้วย และอยู่เพื่อส่วนรวมมากขึ้น
นอกจากนี้ ผมไปร่วมจัด Knowledge Camping ของโรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนายกเทศมนตรีหญิง คุณสมฤดี จันทร์สุวรรณ เทศบาลตำบลหน้าพระลาน การเมืองท้องถิ่น ต้องช่วยโรงเรียน พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร เป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ที่มีคุณค่า อายุ 94 ปีแล้ว ยังทำงานเพื่อชาติอย่าง ต่อเนื่องไปร่วมงานด้วย ผมเน้นเรื่อง ภาวะผู้นำ ได้บอกนักเรียน ไปว่า การเป็นเยาวชน ควรจะเน้นการปลูกฝังภาวะผู้นำ จะช่วยประเทศได้มาก โดยแนะนำคุณลักษณะของภาวะผู้นำ 6 เรื่อง มี
- มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่เป็นคนรกโลก
- ใฝ่รู้
- มีวินัย
- ทำงานเป็นทีม
- มองอนาคต
- มีมารยาทในสังคม และรักษาวัฒนธรรมไทย
ในขณะเดียวกันมีโอกาสได้ไปพูดเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับโลกาภิวัตน์ ให้โรงเรียนราชดำริ มีผู้อำนวยการโรงเรียน คุณศิริพันธุ์ สุพรรณพ เป็นผู้นำการศึกษายุคใหม่ มองการทำงานนอกกรอบ โรงเรียนแห่งนี้เกิดขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว แต่ภายใน 30 ปี สามารถพัฒนาได้ดี ที่ผมชอบเป็นพิเศษ เพราะอยู่ใกล้กับสวนหลวง ร.9 ซึ่งสามารถร่วมงานกันเป็นอุทยานทางความรู้ได้อย่างดี อาจารย์กว่า 100 คน และเด็กนักเรียนกว่า 200 คน ร่วมกันฟัง และทำ workshop เรียนรู้แบบ 4 L's และจะมีโครงการต่อเนื่องอีกหลายเรื่องที่นำเอาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ปัจจุบันที่โรงเรียนแห่งนี้มี
- การประหยัดพลังงาน
- การประหยัดสาธารณูปโภค
- โครงการการออม
- เรื่องรักษาสิ่งแวดล้อม
สุดท้ายผมกลับไปสอนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกครั้ง ต้องยอมรับว่า นักศึกษารุ่นนี้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ทำการบ้านส่งมาทาง blog ได้ดีมาก ผมได้ให้เขาเรียนเรื่อง Re-engineering การปรับองค์กรให้ทำงานไปสู่คุณภาพ ซึ่ง บางส่วนเป็นกลยุทธ์ (strategy) บางส่วนเป็นจิตวิทยา (Psychology) จะผสมกันอย่างไร
นักศึกษาสามารถนำทฤษฎี 4 L's, ทฤษฎี 8 H's โดยเฉพาะ Heritage ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ไปประยุกต์ (apply) กับชุมชนตามเมืองและชนบทได้อย่างดี
การสอนหนังสือและการเขียนบทความของผมจะเน้นบทเรียนจากความจริง คือ ผมจะแบ่งปัน (Share) เพื่อให้นำไปปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ ตลอดปี 2006 ผมได้พูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ และงาน ที่ทำไป นักศึกษาปริญญาเอกกำลังรวบรวมเป็นเล่ม 52 เรื่องในปี 2006 แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น สื่อหนังสือพิมพ์จะช่วยได้มาก
ในปี 2007 ต้องตั้งสติให้ดี เพราะไม่ว่าการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โลกาภิวัตน์คงจะเปลี่ยนแปลงเร็วและคาดคะเนลำบาก
สิ่งแรกที่จะต้องติดตามคือ
- การเมืองจะไปทางไหน จะมีการเลือกตั้งแบบไหน และ จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบไหน
- เศรษฐกิจ จะนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการแข่งขันในโลกาภิวัตน์ให้ไปด้วยกันอย่างไร
- จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างประเทศอย่างไร
- ปี 2007 จะวางแนวทางเรื่องปฏิรูปการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถอยู่ในโลกการแข่งขัน โดยเฉพาะทุนทางปัญญา, ทุนทาง Network, ทุนทาง Talented (Skill, Knowledge, Mindset ) และจะสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับนวัตกรรม (Innovation) ได้อย่างไร
- จะทำอย่างไร จึงเกิดความสมานฉันท์ (Harmony) ในสังคมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะปัญหาภาคใต้
- สุดท้ายที่สำคัญมากคือ จะสร้างวาระแห่งชาติ สังคม
ที่มีคุณธรรม จริยธรรมอย่างไรทั้งในด้านธุรกิจและการเมือง ธรรมาภิบาล ไม่ใช่แค่ถูกกฎหมาย แต่ต้องมีความละอายที่จะใช้อำนาจที่ผิดๆ ต้องดูประโยชน์ระยะยาวและส่วนรวมด้วย
สวัสดีปีใหม่ 2007 ครับ สำหรับท่านผู้อ่านที่ติดตามบทความของผม และขอให้กระจายความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมในมุมกว้าง

 

 

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร.0-2273-0180,0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

วันนี้ ผมหาความรู้ ทาง Internet เช่นเคย และอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง 2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความของ ศ.ดร.จีระ ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ   

2007 ปีแห่งความไม่แน่นอน[1]  

Michael Hammer พูดไว้กว่า 10 ปี แล้วว่า โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่มีใครคาดคะเนได้ถูกต้อง เหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน เปลี่ยนเร็วมาก (Speed) และไม่มีใครทราบว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร จะรับมือและจะปรับตัว อย่างไร  ในปี 2007 ต้องตั้งสติให้ดี เพราะไม่ว่าการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โลกาภิวัตน์คงจะเปลี่ยนแปลงเร็วและคาดคะเนลำบาก
สิ่งแรกที่จะต้องติดตามคือ
- การเมืองจะไปทางไหน จะมีการเลือกตั้งแบบไหน และ จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบไหน
- เศรษฐกิจ จะนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการแข่งขันในโลกาภิวัตน์ให้ไปด้วยกันอย่างไร
- จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างประเทศอย่างไร
- ปี 2007 จะวางแนวทางเรื่องปฏิรูปการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถอยู่ในโลกการแข่งขัน โดยเฉพาะทุนทางปัญญา, ทุนทาง Network, ทุนทาง Talented (Skill, Knowledge, Mindset ) และจะสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับนวัตกรรม (Innovation) ได้อย่างไร
- จะทำอย่างไร จึงเกิดความสมานฉันท์ (Harmony) ในสังคมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะปัญหาภาคใต้

 

ผมเห็นด้วยประโยคข้างต้น ของ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างยิ่ง ว่ายุคนี้ยุคโลกาภิวัตน์ ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่นับวันจะยิ่งเร็ว แรง ทั้งทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีฯ รวมทั้งความพึงพอใจของลูกค้า ประชาชน  ทรัพยากรมนุษย์

  

ปีหน้า 2007 จึงเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงยังมีและมาแรง และเอาแน่นอนไม่ได้ 

  

องค์การใดก็ตามทำงานเหมือนเดิม 

  • ไม่ใยดีต่อนวตกรรม
  • ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 
  • สำคัญตนเอง/องค์การผิด ปิดบังปัญหา รายงานไม่ตรงกับความจริง

ยึดติดว่า ความสำเร็จในอดีตสามารถการันตีความสำเร็จในอนาคตได้ เหมือนเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา องค์การนั้นย่อมจะพบกับความเสื่อม จะพบกับปัญหาด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของลูกค้าถดถอย ความมั่นคง ความน่าเชื่อถือขององค์การลดลง  ในปีที่ผ่านมามีให้เห็นตัวอย่างหลายองค์การโดยเฉพาะภาคเอกชน หลายแห่งยังคงมีการปิดตัวและลดต้นทุนด้วยการปลดคนงานอย่างต่อเนื่อง

  

การทำงานที่เน้นยุทธศาสตร์จึงมีบทบาทมากขึ้น  การทำงานที่เน้นนวัตกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นวตกรรมทางการบริหารงาน นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการ เป็นสิ่งจำเป็น การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องตรงประเด็น และมีประสิทธิภาพ วัดผลได้มากยิ่งขึ้น

  

โดยเฉพาะการพัฒนาผู้นำ ให้มีความสามารถบริหารงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างเอาแน่ไม่ได้  ผู้นำในปีหน้าเป็นต้นไป จึงควรเป็นผู้ที่มีความสามารถหลากหลาย  เล่นได้หลายบทบาท หลายรูปแบบ พร้อมกับต้องมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ตั้ง ลุยงานได้ทั้งติดดิน บนฟ้า ทำได้ทั้งนั้น จะเป็นผู้นำที่มีความสามารถนำองค์การไปสู่เป้าประสงค์ ฝ่าวิกฤตไปได้   

  

การจัดการองค์การในปี 2007 จึงต้องเร่งทบทวนและปรับกระบวนการบริหารจัดการเสียใหม่ เช่น

  • ต้องสร้างบรรยากาศองค์การแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศทางวิชาการ ให้นักทำงานเป็นเสมือนนักวิชาการที่มีคุณภาพ
  •  ให้ทรัพยากรมนุษย์เหล่านั้น สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมา Built Body o f knowledge, Knowledge Management.
  •  เรื่องของ Management กับ Research Funding ควรต้องให้สอดคล้องกัน
  • เน้นจริยธรรม ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานที่ดี ขจัดการเมืองในองค์การให้ลดน้อยลง
  • องค์การต้อง Go International มีผลงานอะไร ต้องเปิดสู่กระแสโลก สร้างพลังทางปัญญา
  

ในปี 2007 ธุรกิจบริการ ยิ่งควรต้องชัดเจน ด้านยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดความสำเร็จ

  • ต้องบริการได้เร็วกว่า ถูกกว่า ดีกว่า
  • ให้ลูกค้ารู้สึกสะดวก สบายกว่า
  • ให้ลูกค้าเชื่อถือได้ดีกว่า
  • มีความเสมอต้น เสมอปลาย
  • สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก
  • ดูแลเอาใจใส่ลูกค้าภายในและภายนอกมากขึ้น
  • สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าภายในและภายนอกมากขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

 

 

สุดท้ายผมกลับไปสอนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกครั้ง ต้องยอมรับว่า นักศึกษารุ่นนี้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ทำการบ้านส่งมาทาง blog ได้ดีมาก ผมได้ให้เขาเรียนเรื่อง Re-engineering การปรับองค์กรให้ทำงานไปสู่คุณภาพ ซึ่ง บางส่วนเป็นกลยุทธ์ (strategy) บางส่วนเป็นจิตวิทยา (Psychology) จะผสมกันอย่างไร
นักศึกษาสามารถนำทฤษฎี 4 L's, ทฤษฎี 8 H's โดยเฉพาะ Heritage ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ไปประยุกต์ (apply) กับชุมชนตามเมืองและชนบทได้อย่างดี

 

 ผมได้มีโอกาสติดตามอาจารย์และขอขอบคุณอาจารย์ที่เปิดโอกาสให้ช่วยสอนด้วย  นิสิต ป.โท จิตวิทยาชุมชน คณะสังคมศาสตร์ มีความกระตือรือร้น สนใจเรียนรู้ จริง  ผมชื่นชมคณาจารย์ที่นั่น ว่ามีระบบการสรรหาคัดเลือกนิสิตได้ดี นิสิตมีบุคลิกภาพที่ดี และมีความตื่นตัวในการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เสียดายที่ให้เวลา กับ ศ.ดร.จีระ น้อยไป อาจจะทำให้นิสิตได้ความรู้จากอาจารย์ได้ไม่เต็มที่นัก (ในความเห็นของผม) ทางมหาวิทยาลัยเกษตรน่าจะให้เวลามากกว่านี้ จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับนิสิต

 

การสอนหนังสือและการเขียนบทความของผมจะเน้นบทเรียนจากความจริง คือ ผมจะแบ่งปัน (Share) เพื่อให้นำไปปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ ตลอดปี 2006 ผมได้พูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ และงาน ที่ทำไป นักศึกษาปริญญาเอกกำลังรวบรวมเป็นเล่ม 52 เรื่องในปี 2006 แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น สื่อหนังสือพิมพ์จะช่วยได้มาก

  

เรื่องการเรียนรู้กับ ศ.ดร.จีระ เป็นเสมือน Magic หากหมั่นติดตามจะได้ความรู้ และปัญญาโดยไม่รู้ตัว  หากผสมผสานกับการได้ติดตาม ศ.ดร.จีระ ไปงานต่าง ๆ ด้วยจะยิ่งเกิดปัญญา และทุนมนุษย์มากยิ่งขึ้น 

  

การติดตามหรือ ติดต่อกับ ศ.ดร.จีระ ก็ไม่ยากเหมือนที่ น.ศ. หลายคนคิด ไม่มีใครกั๊กหรือกันได้เพราะ ศ.ดร.จีระ มี Blog ให้เขียนแสดงความคิดเห็นหลากหลาย มีเว็บ มี Email address และมีโทรศัพท์ให้ไว้

  

นอกจากนี้ อาจารย์ยังมีสำนักงานสองแห่ง มีทีมงานคอยต้อนรับ และประสานงานให้ได้ เบอร์โทรสำนักงานก็หาได้ในเว็บของอาจารย์  น.ศ.จึงสามารถติดต่อกับอาจารย์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ลูกศิษย์ทุกคนจึงสามารถศึกษา หาความรู้ ติดตามอาจารย์ได้ นี่เป็นการเรียนนอกกรอบ และข้ามศาสตร์ที่แท้จริง หลายเรื่องหาได้ยากหรือไม่มีในตำรา เพราะกลั่นออกมาจากประสบการณ์ผสานกับความรู้สด ๆ ที่อาจารย์มีอยู่ อยู่ที่ว่าลูกศิษย์คนใดจะมีบุญ(สนใจ ใส่ใจและเอาใจใส่) พอที่จะได้รับไปอย่างต่อเนื่อง 

 

สวัสดีปีใหม่ 2007 ครับ สำหรับท่านผู้อ่านที่ติดตามบทความของผม และขอให้กระจายความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมในมุมกว้าง
 

ขอกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ตลอดปี 2006 อาจารย์ได้ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัยศิษย์มาตลอดไม่ใช่แค่เฉพาะผมคนเดียว ณ จุดสตาร์ทอาจารย์ได้ให้โอกาสกับศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน นับเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง  จากนั้นอาจารย์ก็ให้กับลูกศิษย์ตลอดมา

 

 

ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลาย จงอำนวยพรให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครอบครัวและทีมงานของอาจารย์ รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน จงมีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีความสุข ความสำเร็จ เจริญด้วยศีล สมาธิ สติ ปัญญา ลาภ ยศ เงิน ทอง และมีคนนิยมชื่นชมยิ่ง ๆ ขึ้นไป 

สวัสดีปีใหม่ ทุกท่านครับ

  

ยม  

 

นักศึกษาปริญญาเอก 

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

 

081-9370144  

 

[email protected] 

 http://gotoknow.org/portal/yom-nark  [1] http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97
"บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ของขวัญปีใหม่ : ปรัชญาและวิธีคิดการบริหาร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

ของขวัญปีใหม่ : ปรัชญาและวิธีคิด การบริหาร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
[1]

 

 

ถึงแม้จะมีข่าวร้ายในช่วงปีใหม่ แต่ก็มีข่าวดีเช่นกันคือ ผมได้ไปอวยพรเนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่แด่ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งเป็นบุคคลที่ผมเคารพรักอยู่เสมอ เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษา ความรัก และกำลังใจผมอยู่ตลอดเวลา


ในวันนั้นนอกจากจะคุยกันเรื่อง HR ทั่วไปแล้ว คุณพารณยังมอบข้อความสั้น ๆ เรื่องปรัชญาการบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการรวบรวมพระบรมราโชวาทในหลายวาระ โดยท่านองคมนตรีเกษม วัฒนชัย เป็นผู้รวบรวม สรุป มอบให้คุณพารณ ผมได้อ่านแล้ว อยากจะแบ่งปัน (Share) ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า นอกจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เราเข้าใจแล้ว ยังมีเรื่องปรัชญาการบริหารของพระองค์ท่าน ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้


วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
 

  1. ทำอะไร
  2. ทำอย่างไร
  3. ทำเพื่อใคร
  4. ทำแล้วได้อะไร
  5. หลักการในการทำงาน
    1) คิด Macro ทำ Micro
    2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
    3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
    4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
    5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
    6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ
    รู้ - รัก - สามัคคี
    รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
    รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถเรื่องการบริหารและวิธีคิดมากมาย ผมเคยกล่าวไว้ว่า ในปรัชญาการบริหารตะวันตก แต่ในที่สุดต้องใช้ปรัชญาตะวันออกมาช่วยด้วย เป็นของขวัญปีใหม่ ที่ลดความเศร้าไปได้บ้าง


ผมมีเวลาได้หารือกับคุณพารณ อยู่กว่าหนึ่งชั่วโมง นับว่าโชคดีโดยมีทีมงานผม 3 คนนั่งฟังอยู่ด้วย ได้เห็นความมุ่งมั่นของท่านซึ่งปีนี้มีอายุ 79 ปีแล้ว ในเรื่องการศึกษาว่า ไม่ว่าท่านจะทำให้โรงเรียนอะไร ท่านจะทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และวัดผลได้ โดยเฉพาะท่านเน้นการเรียนยุคใหม่ที่ไม่ใช้ทฤษฎีเพียงอย่างเดียว จะต้องนำไปปฏิบัติด้วย หรือที่เรียกกันว่า ทฤษฎี Constructionism ซึ่งรายการโทรทัศน์ของผมกับท่านในครั้งที่ 2 ได้ไปถ่ายทำรายการกันที่โรงเรียนบ้านสันกำแพง ท่านยังบอกว่า ดร.จีระ เชยแล้ว เพราะท่านไปทำให้โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ก้าวหน้าไปมาก


อย่างไรก็ตาม ท่านเริ่มเข้าใจวิธีการใช้สื่อมากขึ้นว่า จะต้องกระจายข้อมูลให้สังคมรับทราบในมุมกว้างด้วย ท่านสัญญาว่าจะมาออกรายการโทรทัศน์ทาง UBC 8 กับผมทุกเดือน โดยจะเน้นไปที่ตัวอย่างโรงเรียนต่างๆ ที่ท่านสร้างขึ้นมา


ท่านยังให้ผมดู Laptop ที่ยุคคุณทักษิณได้ริเริ่มไว้ ราคาไม่เกิน 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ท่านบอกว่า ข้อดีของคุณทักษิณคือ ทันโลก และรู้ว่าความรู้และ Technology ไปถึงไหนแล้ว ข้อเสียคือ ถูกมองว่าไม่โปร่งใสในทุกเรื่อง เมื่อถามว่า ทำไมท่านไม่ทำต่อ เมื่อไม่มีคุณทักษิณแล้ว คุณพารณบอกว่า ต้องซื้อจาก MIT ครั้งละ 5 แสนเครื่อง MIT จึงจะผลิตให้ ผมจึงเข้าใจว่า คนที่มีวิสัยทัศน์ (Vision) บางครั้งช่วยได้ การเป็นรัฐบาลขิงแก่อย่างเดียว เน้นคุณธรรมคงไม่พอ ต้องเน้นความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) นวัตกรรม (Innovation) และการคิดนอกกรอบบ้าง แม้จะเป็นรัฐบาลชั่วคราวก็ตาม


อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ปีใหม่นี้ยังมีความไม่แน่นอนมาก โดยเฉพาะเรื่องระเบิดที่เกิดขึ้น ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ต้องศึกษาต่อไปว่า คนไทย คนกรุงเทพฯ จะปรับตัวอย่างไร เพราะผู้ที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จะถูกกระทบไปด้วย การต่อสู้ทางการเมืองคงจะรุนแรงมากขึ้น หวังว่าสิ่งที่หลายคนคาดไว้ว่าจะร้ายมากกว่านี้ คงจะไม่เป็นไปตามที่คาดไว้


การเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีโอกาสได้ทำอะไรให้เป็นประโยชน์ อย่างน้อยในช่วงปีไหม่ ผมนำคณะสมาคมไปรับพรปีใหม่จากอดีตนายกสมาคมฯ พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร
เทพศิรินทร์สร้างผู้นำไว้มากมาย พลตำรวจเอกประมาณเป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่อายุ 94 ปีแล้ว ยังทำคุณประโยชน์ให้แก่ชาติ และโรงเรียนเก่ามากมาย


ผมยังได้ไปเยี่ยมพระวีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งได้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดบวรนิเวศ ท่านเป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ท่านบอกว่าคุณพ่อของท่านจบสวนกุหลาบ แต่ท่านชอบเทพศิรินทร์ จึงเข้าไปเรียน และยังรักโรงเรียนเหมือนเดิม ผมฟังแล้วภูมิใจมาก


สุดท้ายต้องชมเชยผู้อำนวยการโรงเรียนราชดำริ เพราะหลังจากผมไปที่โรงเรียนนี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 ท่านได้เชิญผมไปร่วมทำบุญในวันที่ 29 ธันวาคม 2549 อีกครั้ง และผมได้กล่าวให้นักเรียนกว่าสองพันคนฟัง 3 เรื่องคือ
- การเป็นคนดี
- สร้างภาวะผู้นำ
- และเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ผมภูมิใจที่ได้ทำงานเช่นนี้ และอยากให้ทำต่อเนื่อง อยากมีไฟมากๆ (Energy) จะได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนต่างๆ ที่สนใจติดต่อมาได้ครับ

 

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

สวัสดีปีใหม่ อีกครั้ง กับ ศ.ดร.จีระ นักศึกษาและท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

 

 

ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ติดงานพระราชทานปริญญาบัตร ที่นิด้า งานเรียน ป.เอกและ งานอื่น ๆ อีก ทำให้การเขียนวิเคราะห์บทความ ของอาจารย์ ช้าไป ต้องขออภัยทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ สำหรับ blogนี้ เช่นเคยครับ ผมหาความรู้ ทาง Internet และอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่อง ของขวัญปีใหม่ : ปรัชญาและวิธีคิด การบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[1]ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความของ ศ.ดร.จีระ ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ

  
"ในวันนั้นนอกจากจะคุยกันเรื่อง HR ทั่วไปแล้ว คุณพารณยังมอบข้อความสั้น ๆ เรื่องปรัชญาการบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการรวบรวมพระบรมราโชวาทในหลายวาระ โดยท่านองคมนตรีเกษม วัฒนชัย เป็นผู้รวบรวม สรุป มอบให้คุณพารณ ผมได้อ่านแล้ว อยากจะแบ่งปัน (Share) ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า นอกจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เราเข้าใจแล้ว ยังมีเรื่องปรัชญาการบริหารของพระองค์ท่าน ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้
วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
1) ทำอะไร
2) ทำอย่างไร
3) ทำเพื่อใคร
4) ทำแล้วได้อะไร

6 หลักการในการทำงาน
1) คิด Macro ทำ Micro
2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ
รู้ - รัก - สามัคคี
รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถเรื่องการบริหารและวิธีคิดมากมาย ผมเคยกล่าวไว้ว่า ในปรัชญาการบริหารตะวันตก แต่ในที่สุดต้องใช้ปรัชญาตะวันออกมาช่วยด้วย เป็นของขวัญปีใหม่ ที่ลดความเศร้าไปได้บ้าง".........

 
 

บทความของ ศ.ดร.จีระ ใน น.ส.พ.แนวหน้า วันเสาร์ที่ 6 ม.ค. 2550 หน้า 5 อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า  ปรัชญาและวิธีคิด การบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจแก่ปวงชนชาวไทย 

 

เกี่ยวกับปรัชญาและวิธีคิด ของพระองค์ท่าน ท่านผู้อ่านสามารถติดตาม ศึกษาแนวคิดจากพระองค์ท่านได้จากภาพ ส.ค.ส. ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2540-2549 ได้ที่http://www.nectec.or.th/users/htk/gr01/index.htmlแนวคิดของพระองค์ท่านจากเพลงพระราชนิพนธ์ ของในหลวง http://kanchanapisek.or.th/royal-music/index.th.htmlแนวคิดของพระองค์ท่านจากโครงการในพระราชดำริ http://www.kanchanapisek.or.th/projects/index.th.html 

 

 

นื่องจากหัวเรื่อง เกี่ยวกับปรัชญาและวิธีคิด การบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ผมได้คัดบางส่วนของพระบรมราโชวาทและกระแสพระราชดำรัส ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ซึ่งรัฐบาล ประชาชน และกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ควรทบทวน และนำไปปฏิบัติ ในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง และการทำงาน ซึ่งผมคัดมาบางส่วนจากเว็ปที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ

 

   พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส เกี่ยวกับการทำงาน[2]  

 

การทำงานยากลำบากกว่าการเรียน การเรียนนั้นเรียนตามหลักสูตร หรือเรียนวิชาต่าง ๆ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยจัดลำดับให้ แต่การทำงานไม่มีหลักสูตรวางไว้ จำจะต้องใช้ความริเริ่มและความคิดพิจารณาด้วยตนเอง ในอันที่จะทำสิ่งใด อย่างไร เมื่อใด หากไม่รู้จักพิจารณาใช้ให้ถูกช่อง ถูกโอกาส ถึงมีวิชาอยู่ ก็ไม่เป็นผลแก่งานและแก่ตัวนัก . . .

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๒
   

  

การทำงานใหญ่ ๆ ทุกอย่าง ต้องการเวลามาก กว่าจะทำสำเร็จ ผู้ที่เริ่มโครงการอาจไม่ทันทำให้สำเร็จโดยตลอดด้วยตนเองก็ได้ ต้องมีผู้อื่นรับทำต่อไป ดังนั้น ไม่ควรยกเอาเรื่องใครเป็นผู้เริ่มงาน ใครเป็นผู้รับช่วงงาน ขึ้นเป็นข้อสำคัญนัก จะต้องถือผลสำเร็จที่จะเกิดจากงาน เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๔
    

 

. . คนเราเมื่อมีความรู้ความสามารถที่ดีเป็นทุนรอนอยู่จะไม่มีวันอับจน ย่อมหาทางสร้างตัวสร้างฐานะให้ก้าวหน้าได้เสมอ. ข้อสำคัญ ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ. เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ. ผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน . .

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๐
   

 

 . . . การงานทุกอย่างทุกอาชีพ  ย่อมจะมีจรรยาบรรณของตนเอง. จรรยาบรรณนั้นจะบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่าเป็นความดีงาม ที่คนในอาชีพนั้นพึงประพฤติปฏิบัติ. หากผู้ใดล่วงละเมิดก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งแก่บุคคล หมู่คณะ และส่วนรวมได้. เหตุนี้ ผู้ปฏิบัติงานในทุกสาขาอาชีพ นอกจากจะต้องมีความรู้ในสาขาของตนอย่างลึกซึ้ง จัดเจนและศึกษาให้ก้าวหน้าอยู่เสมอแล้ว ยังจะต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน ทั้งข้อที่ควรปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย จึงจะสามารถประพฤติตนปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ ได้รับความเชื่อถือยกย่องในเกียรติ ในศักดิ์ศรี และในความสามารถด้วยประการทั้งปวง . 

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐
.    

 

 

. . ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ คือ ความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๓ ประการคือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของมวลชนทั่วไป . . .

  พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๗
     

 

 

. . . ความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจหรือสังคมก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับฐานะความเจริญมั่นคงของบุคคลในชาติเป็นสำคัญ. และความเจริญของคนทั้งหลายนั้น จะเกิดมีได้ก็ด้วยการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบ. ผู้ที่จะสามารถประพฤติปฏิบัติได้ดังนี้ จำเป็นจะต้องมีทั้งวิชาความรู้ ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสำหรับใช้กระทำการงาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยสำหรับส่งเสริมความประพฤติและการปฏิบัติการงานให้ชอบ ให้ถูกต้องและเป็นธรรม. วิชาการกับหลักธรรมนี้มีประกอบกันพร้อมในผู้ใด ผู้นั้นย่อมจะประสบความสุขและความสำเร็จทั้งในชีวิตและกิจการงาน ซึ่งย่อมจะส่งผลสะท้อนถึงส่วนรวมต่อไป คือทำให้บ้านเมืองมีความเจริญมั่นคง ทำให้สังคมเป็นสังคมที่ผาสุขสงบ น่าอยู่น่าอาศัย . . .

 พระราชดำรัส
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในการสัมมนาของ
มูลนิธิช่วยเหลือเด็กกำพร้าของสตรีไทยมุสลิมแห่งประเทศไทยฯ
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
     

 

. . . จะพูดถึงวิธีปฏิบัติงานโดยแยบคายต่อไป ข้อแรก จะต้องสร้างศรัทธาให้มีขึ้นก่อน เพราะศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในประโยชน์ของงานนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ คือทำให้มีการปฏิบัติด้วยใจในทันที แม้ก่อนที่จะลงมือกระทำ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำการใด ๆ จึงต้องสร้างศรัทธาขึ้นก่อน และการสร้างศรัทธานั้น จำเป็นต้องทำให้ถูกต้องด้วยศรัทธาที่พึงประสงค์จะต้องไม่เกิดจากความเชื่อง่าย ใจอ่อน ปราศจากเหตุผล หากจะต้องเกิดขึ้นจากความเพ่งพินิจ พิจารณา ใคร่ครวญแล้วด้วยความคิดจิตใจที่หนักแน่นสมบูรณ์ด้วยเหตุผล จนเห็นถ่องแท้ถึงคุณค่าและประโยชน์อันแท้จริงในผลของการปฏิบัติที่จะบังเกิดตามมา ศรัทธาลักษณะนี้ เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมน้อมนำฉันทะ ความพอใจ ความกระตือรือร้น ความพากเพียร ขวนขวาย ตลอดจนความฉลาดริเริ่มให้เกิดขึ้นเกื้อกูลกันอย่างพร้อมเพรียง แล้วสนับสนุนส่งเสริมให้การปฏิบัติงานดำเนินก้าวหน้าไปโดยราบรื่นจนสัมฤทธิ์ผล . . .  

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๔
   

 

 

 . . . การมีความรู้ความถนัดทางทฤษฎีประการเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่ ผู้ที่ฉลาดสามารถแต่ในหลักวิชา โดยปรกติวิสัยจะได้แต่เพียงชี้นิ้วให้ผู้อื่นทำ ซึ่งเป็นการไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจทำให้ผู้ใดเชื่อถือหรือเชื่อฟังอย่างสนิทใจได้ เหตุด้วยไม่แน่ใจว่าผู้ชี้นิ้วเองจะรู้จริง ทำได้จริงหรือหาไม่ ความสำเร็จทั้งสิ้นเกิดขึ้นได้เพราะการลงมือกระทำ ดังนั้น ผู้ที่ชำนิชำนาญทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ จึงจัดว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน และมีขีดความสามารถสูง เป็นที่เชื่อใจและวางใจได้ว่าจะดำเนินงานทั้งปวงอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถทำงาน สั่งงาน และสั่งคนได้อย่างถูกต้องแท้จริง . . .

 พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๗
  

 

  

. . . ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ให้ได้จริง ๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้น ๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ . . .

 พระราชดำรัส
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน
ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ
ครั้งที่ ๑๒ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๓
    

 

 

คนทำงานดีคือคนมีระเบียบ ได้แก่ระเบียบในการคิดและในการทำ. ผู้ไม่ฝึกระเบียบไว้ ถึงจะมีวิชา มีเรี่ยวแรง มีความกระตือรือร้นอยู่เพียงไร ก็มักทำงานให้สำเร็จดีไม่ได้ เพราะความคิดอ่านสับสนว้าวุ่น ทำอะไรก็ไม่ถูกลำดับขั้นตอน มีแต่ความลังเลและขัดแย้ง ทั้งในความคิด ทั้งในการปฏิบัติงาน . . .

 พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน
วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๗
   

 

 

. . . ร่างกายของเรานั้น ธรรมชาติสร้างมาสำหรับให้ออกแรงใช้งาน มิใช่ให้อยู่เฉย ๆ. ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดีโดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรง คล่องแคล่วและคงทนยั่งยืน. ถ้าไม่ใช้แรงเลย หรือใช้ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรงอยู่ไม่ได้แต่จะค่อย ๆ เสื่อมไปเป็นลำดับ และหมดสมรรถภาพไปก่อนเวลาอันสมควร. ดังนั้น ผู้ที่ปรกติทำการงานโดยไม่ได้ใช้กำลัง หรือใช้กำลังแต่น้อย จึงจำเป็นต้องหาเวลาออกกำลังกายให้พอเพียงกับความต้องการตามธรรมชาติเสมอทุกวัน .

 พระราชดำรัส
เพื่อเชิญไปอ่านในการประชุมสัมมนาเรื่องการออกกำลังเพื่อสุขภาพ
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๓
  

 

  

. . การทำให้บ้านเมืองคงอยู่นี้เป็นงานที่ยากที่ลำบาก เพราะว่าคนที่อยู่ในประเทศย่อมต้องมีการขัดแย้งกันบ้าง เหมือนในครอบครัว อยู่ใกล้ชิดกันก็อาจขัดแย้งกันได้ แต่ว่าเมื่ออยู่ในครอบครัวเดียวกันคือประเทศชาติ ก็เป็นครอบครัวใหญ่ ต้องรู้จักอภัยกันรู้จักปรองดองกันให้ดี . . .

 พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ผู้นำเยาวชนจากจังหวัดต่าง ๆ ๓๖ จังหวัด
ที่ปรึกษาผู้นำเยาวชน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการฝึกอบรม
วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๑๔
 

 

นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านยังสามารถติดตาม เว็ปที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ที่  http://webindex.sanook.com/search.php?q=%BE%C3%D0%BA%D2%B7%CA%C1%E0%B4%E7%A8%BE%C3%D0%E0%A8%E9%D2%CD%C2%D9%E8%CB%D1%C7&start=0&num=10&qID=&it=d&all=185&ob=s&asc=&sf=

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

      

สวัสดีครับ              

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท