เก็บตกวันเข้าพรรษา (11/07/2557)


วัสดีครับวันนี้กระผมมีเรื่องดีๆมาเล่า มาแชร์ให้ฟังครับ เนื่องจากวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โรงเรียนบ้านริมใต้ก็ได้จัดกิจกรรมวันเข้าพรรษาให้กับนักเรียน และให้นักเรียน ได้ร่วมกันทำบุญกันในวันสำคัญ ทางพุทธศาสนาครับ ก่อนจากเล่ากิจกรรมก็ขอกล่าว ประวัติวันเข้าพรรษาย่อก่อนครับ

    “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แต่พอเข้าฤดูฝนถนนหนทางเป็นโคลนเลนทั่วไปหมด และทางเดินบ้างสายต้องผ่านไร่นา ซึ่งเจ้าของเขาไถ่หว่านปลูกพืชทั่วบริเวณทั่วบริเวณเสียแล้ว การเดินทางไม่สู้สะดวก จึงไม่มีใครไปไหนมาไหนโดยไม่จำเป็น เพราะเกรงจะเหยียบย่ำเข้าไปในนาทำทำให้เกิดความเสียหาน พระพุทธองค์ทรงทราบดี จึงตั้งระเบียบการจำพรรษาขึ้น ให้พระภิกษุสงฆ์หยุดพักการเดินทางระหว่างฤดูฝน กำหนดตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 รวมเวลา 3 เดือนเต็ม เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ประวัติ

ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า “วิหาร” แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย เหตุประการสุดท้ายนี้ฐานพระพุทธรูปไป บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า“อาราม” ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังนี้เช่นปัจจุบันนี้

โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด รับว่าเป็นประโยชน์

(ขอบคุณhttp://www.tlcthai.com/education/history-of-thaila...)

           และกิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษาก็มีดังนี้ ครับ

  1. วัน เข้าพรรษา ทำเทียนจำนำพรรษา
  2. วัน เข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัย แด่ภิกษุ สามเณร
  3. วัน เข้าพรรษา ทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศนา รักษาศีล
  4. วัน เข้าพรรษา อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

 โรงเรียนแบ่งตามสายครับและผมได้ไปคุม ประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งได้พานักเรียนข้ามถนนด้วยครับ ตื่นเต้นดีครับพอไปถึงก็ให้นักเรียนนั่งพักสักครู่ เสร็จก็ ถวายเทียน ผมได้เก็บภาพบรรยายกาศ มาฝากด้วยครับ

                                      ตั้งแถวก่อนออกเดินครับ

 ถึงวัดแล้ว วัดธารราม

ถวายเทียนพรรษา 

                                        ฟังเทศน์ จากพระผู้มีความรู้

หมายเลขบันทึก: 572356เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2014 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2014 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาตรวจสอบการบันทึกอนุทินประจำวันมีปัญหาอะไรถามอาจารย์นิเทศได้นะครับ ตั้งใจสอน ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ นะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท