โครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สำหรับโรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี


หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่ประเทศในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN (The Association of Southeast Asian Nation) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มีเสถียรภาพทางการเมือง ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ให้เกิดศักยภาพสูงสุดในภูมิภาคและต่างได้รับประโยชน์จากความร่วมมือที่ช่วยซึ่งกันและกัน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC (ASEAN Economic Community) เป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) โดยมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน รวมทั้งการเปิดเสรีให้เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิก สินค้า บริการ แรงงานฝีมือ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น เพื่อลดอุปสรรคการค้าและการลงทุนให้น้อยที่สุด เป็นการพัฒนาไปสู่มาตรฐานค่าครองชีพ ลดปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคมในน้อยลง

ด้วยกระแสของ AEC ในวันนี้ ทุกภาคส่วนมีการตื่นตัวที่จะปรับยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อม และเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและควรจะต้องทำแบบมีแนวทาง และมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม

ภาคการศึกษาก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเตรียมพร้อมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงจำเป็นต้องมีความรู้ที่ดีในเรื่องนี้

ในการนี้สโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจึงจะร่วมกันจัดโครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สำหรับโรงเรียน

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเผยแพร่ความสำคัญของทุนมนุษย์ในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2.เพื่อพัฒนาความรู้เข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และสร้างความตระหนักในความสำคัญและผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งที่เป็นโอกาสและความเสี่ยง สามารถนำมาใช้พัฒนาตนเองและสังคม ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

คุณครูและนักเรียนของโรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี

รูปแบบกิจกรรม

เป็นการอภิปรายกลุ่มนำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นายกสโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติและคณะวิทยากรจากสโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติ

วันเวลาและสถานที่

วันพฤหัสที่ 10 กรกฏาคม 2557 เวลา 13.00-15.00 น. ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี

แผนที่โรงเรียนอยู่ในลิ้งค์นี้

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/032...

หมายเลขบันทึก: 572063เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2014 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2014 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บรรยายโครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC สำหรับ

โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

10 กรกฎาคม 2557

ระหว่างที่ฟังคิดว่าสิ่งที่ฟังเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร ต้องปรับตัวอย่างไรถ้าเข้าสู่อาเซียนแล้ว

กาญจนบุรีกับพม่ามีความสัมพันธ์กัน

ควรจะมีโอกาสได้ไปพม่า

อาจจะจับมือกับโรงเรียนในพม่าเป็น Twining โรงเรียนแฝด

เทพศิรินทร์ดอยอ่างขางเป็นของในหลวง คนบนดอยได้รับแรงกดดันจึงฉลาด

การเรียนยุคใหม่ต้องสร้างแรงบันดาลใจ

ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น อย่าลอก ต้องฟังแล้วคิดไปด้วย

ควรคิดด้วย 2R’s

Reality เรียนแล้วต้องนำไปปะทะกับความจริง

Relevance ประเด็นหลักที่เราต้องศึกษาคืออะไร เวลามากาญจนบุรีต้องพูดเรื่องพม่าให้มากและสนใจทวาย

วันนี้เป็นการขึ้นบันไดขั้นแรก

เรียนแล้วต้องเน้นความจริงและประเด็นที่สำคัญต่อเรา

เราต้องออกไปเจอกับนานาชาติ ต้องมีความรู้ศาสนา สังคมและวัฒนธรรม

ควรเป็นแนวร่วมกับโรงเรียนท่าม่วง เพราะเขาเก่งภาษาอังกฤษและทำ MOU กับเกาหลี เป็นโรงเรียน APEC ICT Model ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก

ต้องเอาใจใส่ภาษาอังกฤษ

ต้องพัฒนาภาษาอาเซียน ความคิด และรู้จักประเทศอาเซียนมากขึ้น

ทรัพยากรมนุษย์สำคัญที่สุด ต้องรู้จักพัฒนา

ต้องมองไปในระดับโลก เช่น ยุโรป อเมริกา บราซิล

โลกไม่ได้อยู่ที่อาเซียนอย่างเดียว กำลังด้านเศรษฐกิจอาเซียนเท่ากับ 3% ของ GDP โลก

อาเซียนทำให้เรามีเพื่อนมากขึ้น

เวลาศึกษาพม่าต้องเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งด้านสังคมวัฒนธรรมของเขาด้วย

AEC จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน

ประเทศไทยยังไปจับมือกับ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เรียกว่า ASEAN+6

เราควรยกมาตรฐานตัวเราเองมีเกียรติ ศักดิ์ศรีที่สามารถอยู่ในสังคมนานาชาติได้

อาเซียนทำให้เราสนใจประเทศต่างๆอย่างแท้จริง ทำให้เราอยากมีบทบาท

ควรฉกฉวยโอกาส ถ้ามีภัยคุกคาม ก็ต้องปรับตัวเราให้ดีขึ้น

เราต้องปรับทัศนคติ อยู่เป็นหมู่คณะ รู้เขารู้เรา

การเปลี่ยนแปลงจากอาเซียน เร็ว ไม่แน่นอน ทายไม่ได้

การมีทัศนคติเปลี่ยนแปลงได้ต้องมีพื้นฐานที่ดีก่อน

กาญจนบุรีเป็นแบรนด์ของโลก เป็นแหล่งประวัติศาสตร์

ทัศนคติสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต และทัศนคติที่สำคัญในอาเซียนคือรู้ว่าอาเซียนเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ต้องรู้เขา รู้เรา

ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ทำอะไรใหม่ๆ ต้องจับมือร่วมกับอาเซียน

นักประดาน้ำ ถ้าลงลึกมากก็จะประสบความสำเร็จ เรียกว่า 2D

Deep รู้ให้จริง

Dive เข้าไปหามัน

Workshop

1.วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งของพม่าในความคิดของท่านที่เกี่ยวกับการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

2. เนื่องจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้าติดชายแดนพม่า ท่านคิดว่ามีโครงการอะไรบ้างเชื่อมโยงกับพม่าที่เป็นรูปธรรม 3 โครงการ

กลุ่ม 1

1.วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งของพม่าในความคิดของท่านที่เกี่ยวกับการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

จุดแข็งของพม่า

ภาษาอังกฤษแข็งแรง สื่อสารรับรู้ภาษาไทยได้ดี

เข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ถูกต้องตามกฎหมาย

อยู่ใกล้ชิดกับคนไทยเป็นอย่างมาก

มีสิทธิเสรีภาพในประเทศไทย

พม่าไม่เกี่ยงงาน มีการพัฒนาการสื่อสารโดยการเข้ามาทำงานกับคนไทย

ในด้านวัฒนธรรม มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เด่นในพม่าที่ปิดแระเทศมานานที่เพิ่งจะเปิดออกให้เข้าไปศึกษา

จุดอ่อนของพม่า

แรงงานค่าแรงต่ำจึงทำให้คนงานอยากเข้ามาทำงานกับคนไทย

ระบบการปกครองเป็นแบบคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นระบบเผด็จการการ สภาพความเป็นอยู่ภายใต้การบังคับของทหาร

พม่าอยู่ในช่วงการพัฒนา

มีปัญหาด้านการเมืองที่ส่งผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ

โครงการเชื่อมโยงกับพม่า

โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน ไปเรียนรู้เรื่องภาษา และแลกเปลี่ยนภาษา

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมทางด้านต่างๆของพม่าและเผยแพร่วัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้

โครงการทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เช่น สินค้าเกษตร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ให้คะแนน บี

พม่าเป็นประเทศปิดแต่ส่งแรงงานมาทำงานที่ไทย

ที่ระนอง พม่ามากกว่าคนไทย

ควรช่วยกันคิดว่า ในอนาคต แรงงานต่างด้าวระหว่างไทยกับพม่าจะเป็นอย่างไร

คนพม่าทำงานเป็นแรงงานรับจ้างก่อนแล้วมาเป็นผู้ประกอบการแล้วในตอนนี้

ควรมีการแลกเปลี่ยนอาจารย์ด้วย

กลุ่ม 2

จุดอ่อนของพม่า

เศรษฐกิจที่มีผลกระทบมาจากการเมืองซึ่งการเมืองยังไม่ลงตัวตอนที่อองซานซูจีถูกจับตัวอยู่ทำให้กรเมืองตกอยู่ในขั้นวิกฤติแต่ก็กำลังดีขึ้น

จุดแข็งของพม่า

ทรัพยากรธรรมชาติที่ทางไทยต้องใช้ เช่นก๊าซธรรมชาติเพราะท่อก๊าซก็มาจากพม่า

ทรัพยากรมนุษย์มีความแข็งแรง ความตั้งใจมุ่งมั่น

โครงการเชื่อมโยงกับพม่า

โครงการแลกเปลี่ยนแนวคิด เกษตรกรรม เศรษฐกิจพอเพียง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กลุ่มนี้มองการเมืองเป็นอุปสรรค แต่ลืมพูดเรื่องชนกลุ่มน้อยหลายเผ่า บางเผ่าอยู่ใกล้ชายแดนไทย ไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง

พม่ามีทรัพยากรธรรมชาติมาก เช่น แม่น้ำสาละวินที่ใหญ่มาก ถ้าทำเขื่อน เราไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าในไทย

กลุ่ม 3

จุดแข็งของพม่า

พม่าเคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ จุดแข็งของพม่าก็จะเป็นเรื่องภาษา พม่าจะมีความสามารถทางด้านนี้เป็นเลิศ ซึ่งพม่าเคยค้าขายกับประเทศอังกฤษบ่อยๆอีกด้วย

จุดอ่อนของพม่า

ทางด้านการเมืองพึ่งเผด็จการโดยฝ่ายทหาร

เศรษฐกิจในพม่า ไม่ค่อยราบรื่นยังมีความขัดแย้งอยู่

มีค่าแรงต่ำจึงเข้ามาทำงานในไทย เมื่อนำเงินที่ได้ไปแลกเป็นเงินพม่า จะได้มากกว่า

โครงการเชื่อมโยงกับพม่า

จัดโครงการแข่งขันกีฬาไทย-พม่าเพื่อเชื่อมมิตรสัมพันธ์ เช่น ชมรมตะกร้อ

โครงการแลกเปลี่ยนประเพณีวัฒนธรรมไทย-พม่า

จัดทัศนศึกษาวิถีชีวิตไทย-พม่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการกลุ่มนี้ ผมและผู้อำนวยการโรงเรียนอาจทำร่วมกัน บางโครงการอาจทำได้ทันที

กลุ่ม 4

จุดอ่อนของพม่า

การเมืองที่ไม่แน่นอน

ค่าแรงต่ำกว่าประเทศไทยจึงทำให้แรงงานพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทย

ระบบการศึกษาอ่อนกว่า

จุดแข็งของพม่า

ภาษาอังกฤษดีกว่าประเทศไทย

มีปริมาณก๊าซธรรมชาติมากกว่า

มีความอดทนในการทำงานมากกว่าคนไทย

โครงการเชื่อมโยงกับพม่า

โครงการปรับเปลี่ยนทัศนคติมีต่อพม่า

ม.5 ทำหนังสั้นเกี่ยวกับเรื่องของพม่าทุกด้าน เป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อพม่าให้ดีขึ้น ทำให้ได้ความรู้ ICT วัฒนธรรม อาหารพม่า เป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศพม่า

ม.6 ศึกษาเกี่ยวกับอาชีพที่อาเซียนต้องการ 7 อาชีพ เพื่อเรียนให้ตรงตามความต้องการอาเซียน

โครงการส่งออกสินค้า เราทำสินค้ามาแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน

โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เข้าค่าย จัดการเรียนรู้ภาษาวัฒนธรรม ทำให้รู้เขารู้เรา และสามารถใช้ชีวิตในสังคมอาเซียนได้อย่างมีความสุข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย

กลุ่ม 5

จุดอ่อนของพม่า

ค่าครองชีพต่ำ

ระบบสาธารณสุขไม่ดี

จุดแข็งของพม่า

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทวายเป็นท่าเรือใหญ่สุดของพม่า

โครงการเชื่อมโยงกับพม่า

ไทยไปผลิตแพทย์ให้พม่า พัฒนาสาธารณสุข

ศึกษาการค้าชายแดน

โครงการศึกษาระบบเศรษฐกิจไทยพม่า นำมาบูรณาการกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรนำร้านขายยาไปช่วยพม่า

ถ้าเรียนเภสัช ควรเรียนภาษาพม่าด้วย

กลุ่มนี้ดีที่ศึกษาสาธารณสุข

ศึกษาการค้าชายแดนถือว่าดี

กลุ่ม 6

จุดแข็งของพม่า

ประเทศพม่าเคยตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำให้ประชากรพม่ามีการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดี

วัฒนธรรมการแต่งกาย รักษาประเพณีไว้ เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ

ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้พม่ามีรายได้จากการส่งออกก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งมีแรงงานในอุตสาหกรรมเพียงพอต่อความต้องการ

จุดอ่อนของพม่า

ค่าเงินต่ำ

แรงงานมากกว่าความต้องการ ทำให้เข้ามาไทยมาก

มีคอรัปชั่นสูง

ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบาย

ระบบสาธารณูปโภคยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

คนในประเทศออกไปทำงานนอกประเทศ เพราะค่าเงินในพม่าต่ำ

การปกครองยังไม่เรียบร้อย ยังอยู่ในระหว่างประชาธิปไตยและระบอบคอมมิวนิสต์

ประเทศพม่าเองยังไม่พัฒนาส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศยังไม่ดีเท่าที่ควร

โครงการเชื่อมโยงกับพม่า

โครงการจัดทัศนศึกษาสู่ประเทศพม่า เพื่อไปดูความเป็นอยู่ การใช้ชีวิตของประชากรพม่า และไปดูสภาพแวดล้อม สถานที่ที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศพม่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จะปรึกษาผู้อำนวยการโรงเรียน

กลุ่ม 7

จุดแข็งของพม่า

มีทรัพยากรมาก

สภาพภูมิประเทศและอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกษตรกรรม

ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์สามารถเชื่อมโยงการขนส่งกับต่างประเทศได้สะดวก

แรงงานมีค่าแรงต่ำเหมาะสมกับการลงทุน

จุดอ่อนของพม่า

มีการกีดกันการค้า เช่น การจำกัดการนำเข้า

ระบบคมนาคมและสาธารณูปโภคยังไม่มีประสิทธิภาพและขาดแคลน

แรงงานในประเทศยังไร้ฝีมือ

ประชากรจำนวนมากแต่ยังมีกำลังซื้อต่ำ

โครงการเชื่อมโยงกับพม่า

การสร้างสัมพันธภาพ เช่น แลกเปลี่ยนประเพณี วัฒนธรรม การแต่งกาย

การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านการสื่อสาร

จัดอบรมเข้าค่ายที่พม่า

กลุ่ม 8

จุดอ่อนของพม่า

เทคโนโลยีในการศึกษามีการพัฒนาล่าช้ากว่าไทย

การคมนาคมยังไม่เจริญ

ค่าเงินต่ำ

ไม่ยอมรับนับถือศาสนาอื่น

ไม่ยอมรับด้านเชื้อชาติ

จุดแข็งของพม่า

ภาษาอังกฤษดี

ทรัพยากรธรรมชาติเหลือใช้มาก

คนพม่ามีความขยันอดทนกว่าคนไทย

มีความแข็งแกร่งมากด้านวัฒนธรรม เช่นการแต่งกาย

โครงการเชื่อมโยงกับพม่า

โครงการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีไทย-พม่า

โครงการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเศรษฐกิจและคมนาคมไทย-พม่า

โครงการศึกษาทรัพยากรธรรมชาติในประเทศพม่า

เพิ่มเครือข่ายโรงเรียนเทพศิรินทร์แห่งต่อไปที่พม่า มีทั้งครูไทยและพม่า

กลุ่ม 9

โครงการเชื่อมโยงกับพม่า

โครงการเชิญคนพม่ามาให้ความรู้ภาษาวัฒนธรรม

กลุ่ม 10

จุดอ่อนของพม่า

การคมนาคมไม่สะดวกทำให้มีปัญหาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติและขนส่งสินค้าชายแดน

ประเทศพม่าอาจประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานเพราะแรงงานพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทย

โครงการเชื่อมโยงกับพม่า

โครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทหารไทย-พม่า

โครงการแลกเปลี่ยนภาษา

โครงการศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชยและขอขอบคุณทุกท่าน

ควรนำความรู้ไปปฏิบัติ

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

http://www.youtube.com/watch?v=HFQ4TXQsOAQ&feature=youtu.be&hd=1

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท