ฝึกแยกความคิดกับความรู้สึก - อารมณ์สองขั้ว


ขอบพระคุณกรณีศึกษาวัยรุ่นอารมณ์สองขั้ว (แบบซึมเศร้า) และผู้ปกครองที่มีความมุ่งมั่นและความหวังในการฟื้นคืนสุขภาวะ 

ผมตั้งใจและจริงใจมากๆ ที่อยากให้น้องคนนี้ดีขึ้นไวๆ หลังจากได้ยาจากจิตแพทย์มากว่า 4 ปี ผลข้างเคียงจากยาทำให้นอนหลับบ้างไม่หลับบ้าง คิดหลอนว่า "รู้สึกกลัวๆโดยไม่รู้เหตุ (Sensational Panic)" มีความรู้สึกอ่อนล้าเนื่องจากใช้ความคิดมากกว่าความรู้สึก (Cognitive Fatigue) และหลายครั้งที่เรียนในระบบภาคบังคับแล้วรู้สึกอึดอัด ไม่อิสระ คิดอะไรไม่ค่อยออก ทั้งๆที่น้องมีความสามารถทางการเรียนที่สูง

เมื่อดร.ป๊อปประเมินการแสดงความรู้สึกผ่านการวาดภาพดินสอเริ่มจากบ้าน-ตัวเอง-ต้นไม้ ก็แปลผลได้ว่า น้องมีบุคลิกภาพสมบูรณ์แบบ (วาดรากต้นไม้ วาดตัวเองเป็นเส้นตรง วาดโครงสร้างบ้านเป็นเส้นตรงซ้ำๆ) มีจินตนาการสูง (วาดควันออกจากปล่องไฟที่บ้านสองชั้น) มีความอ่อนไหว (ลายเส้นต้นไม้โค้งมน) และมีความมั่นใจต่ำ (บ้านและตัวเองมีรูปขนาดเล็กเกินไป จากนั้นให้ระบายสีภาพโดยไม่ใช้ความคิด แต่ใช้ความรู้สึกผ่อนคลาย ก็วัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ 70 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อให้หลับตาเล่าเรื่องราวที่เป็นภาพที่ระบายสี ก็พบว่าหัวใจเต้นเร็วขึ้นเป็น 76 ครั้งต่อนาที (จากการวัดก่อนทำการระบายสีภาพ 80 ครั้งต่อนาที) แสดงว่า น้องใช้ความรู้สึกอย่างผ่อนคลายจากการมองเห็นมากกว่าการได้ยิน ซึ่งต้องประเมินด้วยเครื่องวัดการตอบสนองทางระบบประสาทการมองเห็น การสัมผัส และการได้ยิน ก่อนและหลังการผ่อนคลายในสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเพิ่มเติม

ดังนั้นเมื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า น้องมีความรู้สึกผ่อนคลาย (คิดน้อยๆ ใช้ความรู้สึกมากๆ) จาก 0-100% ในกิจกรรมที่ชอบอะไรบ้าง เช่น การนั่งเงียบกับคนที่ไม่รู้จัก มีเพลงฟังบ้าง 65% ขับรถเร็วยามค่ำคืนมองแสงไฟ 80% นั่งเครื่องบินฟังเพลง 95% ไม่ชอบเล่นดนตรีเพราะเคยเป่าเครื่องดนตรีแล้วหายใจอึดอัด ชอบดูหนังแบบใช้ความคิดที่ต่างจากเพื่อนๆ 

สุดท้ายฝึกการหายใจเข้าทางจมูกและออกทางเป่าลมทางปาก เปรียบเทียบกับการหายใจเข้าทางจมูกและออกทางจมูก น้องเลือกแบบหายใจแบบแรก ก็พบว่า ฝึก 5 รอบก็ทำให้หัวใจเต้นช้าผ่อนคลายคงที่ที่ 70 ครั้งต่อนาที และแนะนำถ้าคิดไม่ออกก็ให้หายใจแบบเข้าทางจมูกแล้วออกสลับรูจมูกซ้ายกับขวา (ใช้มือปิดรูจมูกสลับกัน) ก็ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นแบบผ่อนคลายที่ที่ 75 ครั้งต่อนาที 

นัดหมายครั้งต่อไป คือ การจัดการความล้าทางความคิด การวางแผนจัดงานความล้าด้วยการสงวนพลังงาน และการฝึกผ่อนคลายในสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายความรู้สึก คลิกอ่านตัวอย่างกิจกรรมบำบัดในรูปแบบปฏิบัติการได้ที่นี่ และที่นั่น

หมายเลขบันทึก: 571193เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2014 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2014 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋และพี่หมอธิรัมภา

"ผมตั้งใจและจริงใจมากๆ ที่อยากให้น้องคนนี้ดีขึ้นไวๆ "

ชื่นชมในความตั้งใจของคุณหมอค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณมากครับคุณอร พี่ขจิต และคุณ Kanchana

ทำงานแบบอาจารย์ได้ต้องมีจิตใจอ่อนโยน ไวต่อการรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นมากๆ  เรื่องแบบนี้ฝึกได้มั๊ยคะ

ยิ่งอ่านบันทึกอาจารย์มากๆ ยิ่งอยากเห็นนักกิจกรรมบำบัดในโรงพยาบาลทุกแห่งเชียวค่ะ

ขอบพระคุณมากครับพี่ nui ตอนนี้ผมกำลังเขียนหลักสูตรเพื่อฝึกจิตใจให้มีความเมตตาและอ่อนโยน หรือ Empathy Skills Training ซึ่งผมได้ฝึกจาก Neuro-Linguistic Programming (NLP) ไว้ถ้าคืบหน้าอย่างไร จะบันทึกให้พี่ได้อ่านครับผม 

ขอบพระคุณมากครับคุณยายธีและคุณบูรพากรณ์ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท