nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

ชวนอ่านหนังสือ_เขาปล่อยให้ผู้ป่วยบริหารงานระดับชาติ



          ประมาณต้นปี ๒๕๕๓ ช่วงที่บ้านเมืองวุ่นวายก่อนเกิดเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองได้อ่านบทความของจิตแพทย์ท่านหนึ่งเขียนวิเคราะห์พฤติกรรมบริหารงานรวมทั้งคำพูดคำจาของผู้นำประเทศคนหนึ่ง เทียบเคียงกับตำราแต่มิได้วินิจฉัยแบบฟันธง ให้เราผู้อ่านไปคิดต่อเอง

         ด้วยความสนใจจึงไปสืบค้นต่อได้หนังสือเก่ามาหนึ่งเล่ม และโชคดีที่หาซื้อมาได้ชื่อ เขาปล่อยให้ผู้ป่วยบริหารงานระดับชาติ” เขียนโดย นายแพทย์บุตร ประดิษฐวณิช หนังสือเล่มนี้ได้รางวัลที่หนึ่ง ในการประกวดวรรณกรรมประเภทร้อยแก้ว ของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ประจำปี ๒๕๒๒

         ได้มาก็เปิดอ่านรวดเดียวจบ เอามาอ่านอีกหนหลังกลับจากเที่ยวเยอรมันแบบเจาะเฉพาะเรื่องของฮิตเลอร์


         คุณหมอบุตรเขียนเล่าไว้ในบทนำสรุปความว่า การศึกษาเรื่องอาการป่วยไม่ว่าจะเป็นป่วยทางกายหรือป่วยทางจิตของผู้นำประเทศต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นธรรมดาที่จรรยาแพทย์ไม่อาจเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยได้ เว้นแต่เหตุการณ์ผ่านไปเป็นประวัติศาสตร์แล้วจึงค้นพบหลักฐานเอกสารต่างๆ ที่บันทึกไว้ เอามาปะติดปะต่อให้เห็นภาพความเจ็บป่วย เช่น ป่วยทางกายแต่ส่งผลต่อจิตใจ ต่อการตัดสินใจสำคัญๆ ป่วยจากการใช้ยามากเกินไป การใช้ยาผิดๆ ยิ่งถ้าป่วยทางจิตแล้วยิ่งอันตรายต่อประเทศและต่อโลกโดยรวม ทั้งหมดท่านได้เขียนไว้ละเอียดละออในหนังสือ ทั้งอ้างอิงที่มาชัดเจนครบถ้วน

          เมื่อคิดว่า ท่านเขียนหนังสือเล่มนี้ในยุคที่การสืบค้นไม่ง่ายเพราะไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเตอร์เนท ไม่มีกูเกิ้ล เป็นตัวช่วย ผู้เขียนเล่าว่าท่านต้องสั่งซื้อหนังสือจากต่างประเทศมาอ่านหลายๆ เล่ม และฉันคิดว่าท่านคงไปค้นคว้าในห้องสมุดต่างๆ นับไม่ถ้วน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นผลงานของความเพียรของท่านผู้เขียน และยังไม่พบหนังสือในแนวนี้จากผู้เขียนอื่นอีก


สิบโท อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (คนกลาง)

          ผู้นำเด่นๆ ที่ท่านเขียนถึง เช่น ธีโอดอ รูสเวลท์ , วินสตัน เชอร์ชิล , มุสโสลินี , ฮิตเลอร์ ฯลฯ และอีกมากมาย

          คงต้องมีพื้นฐานความเข้าใจประวัติศาสตร์อยู่บ้างจึงจะอ่านสนุก  ฉันต้องอ่านหนังสืออีกหลายเล่มจึงเข้าใจเป็นภาพใหญ่ แต่ยอมรับว่าสนุกและน่าสนใจ

         คุณหมอบุตรเล่าถึงแรงบันดาลใจให้ค้นคว้าเรื่องนี้ไว้ว่า

          “โรคภัยไข้เจ็บอาจทำให้ผู้ปกครองบ้านเมืองกระทำการผิดพลาดได้หรือไม่ นอกเหนือจากความสามารถหรือขาดความรอบรู้ในการบริหารบ้านเมือง ผู้นำที่พาบ้านเมืองเข้าสู่สงคราม หรือการกระทำโหดร้ายทารุณต่างๆ จะเกิดจากอาการวิกลจริตของผู้นำได้หรือไม่??” (หน้า ข)

          ทั้งยังปรารภไว้น่าสนใจว่า

          “...ในการรับสมัครคนเข้าทำงาน ไม่ว่าสาขาใด ยังต้องมีใบรับรองแพทย์เป็นใบเบิกทาง แต่ในการสมัครเป็นประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี กลับไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ทั้งที่บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิดชอบงานหนักระดับชาติ” (หน้า ค)

          ซัวเรส นักฟุตบอลอุรุกวัยกัดไหล่เพื่อนนักฟุตบอลอิตาลีในสนามแข่งบอลโลก  เคยมีประวัติกัดเพื่อนในสนามมาแล้ว ๒ ครั้ง อาจป่วยทางจิตเพราะคนปกติทั่วไปเขาไม่ทำกัน ป่วยแบบนี้ไม่อันตรายนัก แค่ถูกฟีฟ่าลงโทษ แต่นักการเมืองระดับผู้นำประเทศป่วยทางจิตนี่อันตรายที่สุด เพราะอาจตัดสินใจอะไรที่โหดเหี้ยมขาดความยับยั้งชั่งใจเกินคาดได้  อันตรายกว่านักบอลมากเพราะมีอำนาจในมือ  และหากมีเงินมหาศาลอันเป็นฐานอำนาจอันสำคัญในบรรดาฐานอำนาจทั้งหลาย ยิ่งอันตรายเป็นทวีคูณ.

ศุกร์ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗

อ้างอิง : นพ.บุตร ประดิษฐวณิช. เขาปล่อยให้ผู้ป่วยบริหารงานระดับชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ ๒) กรุงเทพ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ๒๕๒๕

หมายเลขบันทึก: 571153เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2014 01:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2014 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

...การเจ็บป่วยทางจิตน่ากลัวนะคะ...เพราะไม่มีบาดแผลให้คนภายนอกเห็น ...

ขอบคุณค่ะอาจารย์ Pojana Yeamnaiyana Ed.D.

ผู้เจ็บป่วยทางจิตที่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ มากๆ นี่น่ากลัวจริงเพราะอันตรายค่ะ

ขอเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจ จากในหนังสือเล่มนี้ค่ะ

โชคดีมากค่ะที่ทุกวันนี้โรคทางจิตเวชแพทย์รู้สาเหตุมากขึ้น และมียารักษาได้หลายๆ โรค 

คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์เขียนหนังสือชื่อ "โรคจิตที่รัก" ช่วยให้คนทั่วไปเข้าใจผู้ป่วยโรคจิตดียิ่งขึ้นว่าพวกเขาเหมือนผู้ป่วยอื่นๆ และต้องการความเข้าใจจากทั้งคนใกล้ตัวและคนภายนอก

ปัญหาคือคนที่ไม่รู้และไม่ได้รักษาค่ะ 

“...ในการรับสมัครคนเข้าทำงาน ไม่ว่าสาขาใด ยังต้องมีใบรับรองแพทย์เป็นใบเบิกทาง แต่ในการสมัครเป็นประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี กลับไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ทั้งที่บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิดชอบงานหนักระดับชาติ” (หน้า ค)
ประโยคนี้น่าคิดนะคะ

ขำค่ะ    นายก  รมต.  ไม่มีใบรับรองแพทย์   โดยเฉพาะการทดสอบทางจิตนะคะ   ถ้ามีคงสนุกน่าดูเชียวค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่ kanchana muangyai

คนป่วยทั่วไปไม่น่ากลัวค่ะ (จริงๆ นะคะ น่าเห็นใจมากกว่า เพราะสังคมคิดว่าเขาน่ากลัว)  แต่ถ้าได้มาเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจน่ากลัวค่ะ

เป็นคำปรารภของคุณหมอบุตร ผู้เขียนหนังสือค่ะ ครูนก noktalay

น่าสนใจ น่าคิดจริงๆ ค่ะ    ผู้มีอำนาจระดับนั้น หมอก็ลำบากใจอีกแหละค่ะ

แพทย์ประจำตัวฮิตเลอร์ยังไม่กล้าขัดใจเลยค่ะ  สุดท้ายแพทย์คนนั้นก็ถูกฮิตเลอร์สั่งประหาร

โห  หมอคนไหนจะกล้าประเมินสภาพทางจิตนักการเมืองนะน้องหมอ ธิรัมภา

ให้ทำฟันให้ยังพอไหวนะคะ  อิ..อิ..

ขอบคุณคุณพิชัย  พ.แจ่มจำรัส ค่ะ ที่แวะมาอ่าน

"น่าสนใจ..มากค่ะ"..ประเด็นนี้..สมัยที่เคย..ยุ่งๆอยู่ในวงการ..(ศิลปะ)..ในระดับหนึ่ง..เคยคิดว่า..ตัวเอง.."บ้า"...เคยไปหาหมอ..โรคจิต..ทั้งสองประเทศ..ไทย..เยอรมัน..หมอไทย..บอกว่า..บ้า..ให้รักษาด่วน..ก่อนนั้น..หมอฝรั่ง..ว่า..ปรกติ...(ไปถาม..ศจ.ที่ทำงาน..อยู่ด้วย..กัน..)..ท่านก็ให้..ความคิด..นึงมาว่า..."มีใคร..ไม่..บ้า..บ้าง..ในโลกนี้"...ตั้งแต่นั้นมา..เยย..ได้..คิด..มาจน..บัดนี่...อิอิ...

คนที่มีความป่วยทางจิต

น่ากลัวมากๆครับ

ขอบคุณคุณยาย ยายธี ค่ะที่มาเพิ่มเติม

"มีใคร..ไม่..บ้า..บ้าง..ในโลกนี้". จริงแท้ทีเดียวค่ะ  บ้า เพื่อให้ชีวิตมีสีสัน 

อ่านมาจากที่ไหนสักที่ว่าความเป็น "ศิลปิน" นั้นอยู่ใกล้กับเส้นบ้านิดเดียว แต่ไม่บ้าหรอก เพียงแต่คิดออกไปนอกกรอบที่ขังคนทั่วไปเอาไว้น่ะค่ะ

คนป่วยทั่ไปไม่น่ากลัวหรอกค่ะ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง

 แต่คนป่วยที่เป็นนักการเมืองมีอำนาจในมือน่ากลัวจริงๆ ค่ะ ประวัติศาสตร์บอกเราอย่างนั้น

ขอบคุณค่ะ Dr. Pop ทีแวะมาอ่าน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท