กาพย์พระไชยสุริยา


                                                                            เรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

ประวัติ ท่านสุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๘๓ - ๒๓๘๕ ขณะที่บวชเป็นพระอยู่ทีวัดเทพธิดาราม ท่านแต่งเป็นกาพย์ซึ่งแทรกความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย ในเรื่องของมาตราตัวสะกดแม่ต่าง ๆ เช่น แม่กก กง กน กด กบ และเกย เป็นต้น นอกจากนั้นยังสอดแทรกคติธรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วยต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งตำราภาษาไทยขึ้น ท่านได้นำกาพย์พระไชยสุริยามาแทรกไว้ในหนังสือมูลบท บรรพกิจ ซึ่งเป็นแบบเรียนเล่มแรกในทั้งหมด ๖ เล่ม

ทำนองเเต่งเเต่งด้วยกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง เเละ กาพย์สุรางคนางค์

เรื่องย่อ พระไชยสุริยาเป็นเรื่องราวของพระไชยสุริยากษัตริย์ครองเมืองด้วยความสงบเรียบร้อยมาตลอด จนกระทั่งวันหนึ่งมีน้ำท่วมจนบ้านเมืองล่มสลายไป พระไชยสุริยาพร้อมกับนางสุมาลีพระมเหสีและนางกำนัลหนีลงเรือ แต่ก็ถูกพายุพัดจนเรือแตก คลื่นซัดพระไชยสุริยากับพระนางสุมาลีเข้าฝั่ง ทั้งสองต้องเดินทางอยู่กลางป่าจนพบกับฤาษีตนหนึ่ง ฤาษีได้บอกถึงสาเหตุที่ทำให้บ้านเมืองพังพินาศว่า ด้วยข้าราชสำนักทั้งหลายประพฤติชั่ว รับสินบนไม่รักษาความยุติธรรม ฟ้าดินจึงลงโทษให้ได้รับความเดือดร้อน ฤาษีได้แนะนำให้พระไชยสุริยา และพระนางสุมาลีรักษาศีลปฏิบัติธรรม ต่อมาทั้งสองพระองค์ได้ออกบวชและบำเพ็ญธรรมจนสิ้นพระชนม์ชีพ ดังจะคัดมาเป็นตอนมาให้อ่าน

ความเป็นมา กาพย์พระไชยสุริยาเป็นแบบเรียนที่สุนทรภู่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านสุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๘๓ - ๒๓๘๕ ขณะที่บวชเป็นพระอยู่ทีวัดเทพธิดาราม ท่านแต่งเป็นกาพย์ซึ่งแทรกความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย ในเรื่องของมาตราตัวสะกดแม่ต่าง ๆ เช่น แม่กก กง กน กด กบ และเกย เป็นต้น นอกจากนั้นยังสอดแทรกคติธรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย จุดประสงค์ของการแต่งก็เพื่อถวายพระอักษรแด่พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระอัครชายา คือเจ้าฟ้าชายกลางแล้วเจ้าฟ้าปิ๋วครั้นต่อมาในรัชกาลที่ 5 เมื่อพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งหนังสือมูลบทบรรพกิจ สำหรับใช้เป็นแบบเรียนหนังสือไทยในโรงเรียนหลวง คงเห็นว่ากาพย์เรื่องพระไชยสุริยานี้ เป็นบทกวีนิพนธ์ที่ไพเราะทั้งอ่านเข้าใจง่ายและเป็นคติ จึงนำมาบรรจุไว้ในมูลบทบรรพกิจเป็นตอนๆ ตั้งแต่แม่ ก กา ไปจนจบ เกยในการศึกษากาพย์พระไชยสุริยา ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ได้แก่ กาพย์ยานี11 กาพย์ฉบัง16 และ กาพย์สุรางคนางค์ 28

ตัวอย่างคำประพันธ์
กาพย์ยานี11
........ชื่อพระไชยสุริยา.....................มีสุดามเหสี
...ชื่อว่าสุมาลี.....................................อยู่บูรีไม่มีภัย
กาพย์ฉบัง16
.........พระไชยสุริยา........................พาพระมเหสี
.มาที่ในลำสำเภา
กาพย์สุรางคนางค์28
...............วันนั้นจันทร.................มีดารากร................เป็นบริวาร...
.เห็นสิ้นดินฟ้า........ในป่าท่าธาร..........มาลีคลี่บาน............ใบก้านอรชร

จุดประสงค์การแต่ง -เรื่องกาพย์พระไชยสุริยานี้แต่งขึ้นเพื่อเป็นแบบเรียนใช้สอนเรื่องการสะกดคำและการใช้ถ้อยคำแก่พระโอรสในพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเรียงตามลำดับมาตราตัวสะกด คือ แม่ ก กา แม่กน แม่กง แม่กก แม่กด
แม่กบ แม่กม แม่เกย
-ลักษณะเนื้อหาเริ่มสอนจากง่ายไปหายาก มีการทบทวนความรู้เดิมทุกครั้ง ทำให้ น่าสนใจ น่าติดตาม แต่ยังไม่จบเรื่อง คือ ขาดมาตราตัวสะกดแม่เกอวไปอีกหนึ่งมาตรา

อธิบายศัพท์กาพย์พระไชยสุริยา

กะลาง= นกชนิดหนึ่ง ขนาดนกเอี้ยง

กะลิง=นกชนิดหนึ่งปากงุ้มเป็นขอ หัวสีเทาตัวสีเขียว ปากแดงหางยาว

กามา = ความใคร่

กาลกิณี= เสนียดจัญไร

กูณฑ์= ไฟ

ขอสมา= ขออภัย

เกา =ครูดไป

ขันธ= ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น ๕ กอง คือ เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ รวมเรียก ขันธ์ ๕

ขื่อคา = เครื่องจองจำนักโทษทำด้วยไม้เจาะประกบคอและมือ

เขนย =หมอน เป็นคำราชาศัพท์ที่มาจากภาษาเขมร

เข้าปลาแลสาลี =ข้าวปลาและข้าวสาลี

คดี = เรื่อง

ครุฑา = ครุฑพาหนะของพระนารายณ์

คอโค = คอโคอศุภราชพาหนะของพระอิศวร ซึ่งอยุ่บนวิมานบนเขาไกรลาส

ค้อนทอง= ชื่อนกชนิดหนึ่ง ร้องดังกุ๊ก ๆ

ค่าง = ลิงชนิดหนึ่ง

คันทรง = ไม้พุ่มดอกเหลือง

คีรี= ภูเขา

จอมอารย์ =อารย แปลว่า เจริญ ในที่นี้ จอมอารย์ หมายถึง พระฤาษี ผู้ทรงศีล
จำเรียง =ขับกล่อม ร้องเพลง
เจ้าสุภา = ตุลาการ

ฉ้อ = ขี้โกง

เฉโก= ฉลาดแกมโกง ไม่ตรง

ช้องนาง=ไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ดอกใหญ่สีม่วงออกน้ำเงินเข้ม หลอดดอกสีเหลืองเข้ม

ช่อใบ= ชักรอกไป
ชี นักบวช =(ทั้งชายและหญิง)
ใช้ใบ =กางใบแล่นเรือ
ตรีชา= ตำหนิ ติเตียน

ตะลิงปลิง = ชื่อต้นไม้ มีรสเปรี้ยว

ถือน้ำ =คำเต็มคือ ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หมายถึง ดื่มน้ำสาบานว่า จะจงรักภักดีต่อ
พระมหากษัตริย์

เถื่อน = ป่า

เถ้าแก่= ตำแหน่งข้าราชการสตรีที่สังกัดอยู่ในพระราชฐานชั้นใน
ในพระราชสำนักในสมัยก่อน
ท่อเสียง =ประสานเสียง

เทวาสมบัติ= สมบัติในสวรรค์

ธรณี= เมือง แผ่นดิน

นัยนา = ดวงตา
นกหก =นกต่าง ๆ
บ่น= ท่องมักใช้คู่กันเป็นคำซ้อนว่า " ท่องบ่น " เช่น ท่องบ่นถาถาอาคม
บรรจ์ฐรณ์ =ปัจจุบันเขียน บรรจถรณ์ หมายถึง ที่นอน
บา=ครู อาจารย์ (ดังในคำ ครูบาอาจารย์)
บาฬี =ปัจจุบันเขียนบาลี หมายถึง พุทธพจน์ คือถ้อยคำของ

เกา = ครูดไป
ขันธ = ส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ รวมเรียก ขันธ์ 5

เข้าปลาแลสาลี = ข้าวปลาและข้าวสาลี

จอมอารย์ = อารย แปลว่า เจริญ ในที่นี้ จอมอารย์ แปลว่า พระฤาษีผู้ทรงศีล
จำเรียง = ขับกล่อม ร้องเพลง
เจ้าสุภา = ตุลาการ
ช่อใบ = ชักกรอกใบ
ชี = นักบวช
ใช้ใบ = กางใบแล่นเรือ
ตรีชา = ตำหนิ ติเตียน
ถือน้ำ = ดื่มน้ำสาบานว่าจะจงรักพักดีต่อพระมหากษัตริย์
เถ้าแก่ = ตำแหน่งข้าราชการสตรีที่สังกัดอยู่ในพระราชฐานชั้นในพระราชสำนักในสมัยก่อน
ท่อเสียง = ประสานเสียง
นกหก = นกต่าง ๆ
บ่น = ท่อ
บรรจ์ฐรณ์ = ที่นอน
บา = ครู อาจารย์
บาฬี = ปัจจุบันเขียน บาลี หมายถึง พุทธพจน์
พระเจ้า = พระพุทธเจ้า
พระศรีไตรสรณ = พระรัตนตรัย
พระสะธำม์ = ปัจจุบันเขียน สัทธรรม หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า
ไพชยนต์ = ชื่อรถและวานของพระอินทร์
ภาษาไสย = ความรู้ทางเวทมนตร์คาถา
มณฑล = บริเวณ

ม้าฬอ = ปัจจุบันเขียน ม้าล่อ หมายถึง แผ่นโลหะเจือ
เมธา = ปัญญา ความรู้
ราหู = ปลาฉลามหัวค้อน
ศฤงฆาร = ปัจจุบันเขียน ศฤฆงคาร หมายถึง ทรัพย์สมบัติ
สันดาน = สืบต่อ
เหรา = สัตว์ทะเลชนิดหนึ่งตัวคล้ายแมงดา
ไหลมาแต่ในคอโค = น้ำจากสระอโนดาตในป่าหิมพานต์ที่ไหลออกมาจากคอโคที่ประจำทิศหนึ่งในสี่ทิศของสระนี้
ฬอกามา = ยั่วยวนใจให้หมกมุ่นในกามคุณ
เอ็นดู = สงสาร

หมายเลขบันทึก: 570714เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2014 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2014 08:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท