Problem-Base Learning


Problem-Base Learning (PBL)

บันทึกนี้กล่าวถึงการทบทวนวรรณกรรมทั้ง 2 ชิ้นนี้ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเรื่อง การเรียนโดยเน้นการแก้ปัญหา ผู้เขียนเน้นพัฒนาการพูดและการออกเสียงภาษาอังกฤษ

Problem-Base Learning คือการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการแก้ปัญหาโดยแตกต่างจาการเรียนการสอนแบบเน้นครูเป็นผู้ดำเนินการสอนตรงกันข้ามกลับให้ความสำคัญกับผู้เรียนโดยผู้เรียนนั้นจำเป็นต้องเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผลดีในการเรียนการสอน ดังนี้ 1.) ผู้เรียนจะไม่รู้สึกว่าตนเองถูกยัดเยียดเนื้อหา หรือข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ในการเรียนออกเสียงนั้นส่วนใหญ่ ในห้องเรียนภาษามักใช้วิธีการที่เรียกว่า audio-lingual ดังนั้นบทบาทสำคัญจึงตกอยู่ที่ครูผู้สอนหรือสื่อวีดีทัศน์และเสียงบันทึก โดยที่ผู้เรียนไม่ได้วิเคราะห์ถึงปัญหาในการออกเสียงของตน 2.) เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการออกเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เอง ครูผู้สอนมีบทบาทเพียงแค่เป็นผู้สังเกตการณ์และแนะนำเฉพาะประเด็นที่ตระหนักแล้วว่าออกนอกขอบเขตจากหัวข้อปัญหาที่กำหนดไว้

ข้อแนะนำสำหรับครูผู้สอน

  • 1.) หาความสมดุลในการเสนอแนะในกรณีที่ผู้เรียนมีแนวคิดนอกขอบเขตจนเกินไป
  • 2.)แนะแนวทางการคิดให้ผู้เรียน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองต่อไป
  • 3.)ให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะการอภิปราย แสดงความคิดเห็นของตนเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในกลุ่ม ทั้งนี้อยู่ภายใต้การสังเกตและข้อตกลงที่มีระหว่างกันในห้องเรียน

ข้อที่ขาดไม่ได้สำหรับการเรียนรู้แบบเน้นการแก้ปัญหา คือผู้เรียนทุกคนต้องมีส่วนร่วม

นอกจากการเรียนรู้แบบ PBL แล้วนั้น ยังมีการเรียนรู้ที่แยกย่อยจาก PBL กล่าวคือการเรียนรู้แบบ Ill-Structured ที่ใช้ในการพูดถึงคำถามปลายเปิดที่มีการแก้ปัญหา หรือคำตอบที่มากกว่า 1 คำตอบ หรือกระทั่งมีวิธีการ และกระบวนการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ในขั้นตอนนี้นั้นผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา ทั้งนี้เองประโยชน์จากการใช้วิธีดังกล่าว ไม่ใช่พัฒนาเพียงทักษะภาษา แต่ยังพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์

ผู้รายงานกล่าวไว้ว่า เมื่อผู้เรียนได้เผชิญกับคำถามปลายเปิด กิจกรรมที่มีความซับซ้อน ผู้เรียนจะร่วมแก้ปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น แทนการเรียนรู้กับครูผู้สอน โดยสิ่งสำคัญของการเรียนรู้แบบเน้นการแก้ปัญหาคือระยะเวลาเรียน และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ในระยะเวลาที่จำกัดอาจบีบให้ผู้เรียนต้องกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น อาจคล้ายกันกับคิดเลขเร็ว หากผู้เรียนฝึกฝนจนชำนาญ ผู้เรียนมีแนวโน้มในทางบวกที่จะแก้ปัญหาได้แม้เมื่อเจอสถานการณ์ที่ซับซ้อนหรือยุ่งยาก

ในการแก้ปัญหาการพูดส่วนใหญ่ การจัดการเรียนรู้นิยมใช้การแสดงบทบาทสมมติ เนื่องจากเป็นการสนทนาเฉพาะหน้า และมีเวลาจำกัดในการตอบโต้ซึ่งกันและกัน ดังนั้นผู้เรียนจำเป็นต้องคิดวิเคราะห์ถึงซึ่งที่ได้ยิน ผ่านการตีความ ก่อนที่จะตอบกลับ

ยกตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบ PBL

  • 1.)ระบุจุดประสงค์ที่ชัดเจน เช่น กระบวนการใช้วิธีการเรียนรู้ การคาดหวังจากผู้เรียน ให้ทำก่อนการจัดการเรียนรู้จริง
  • 2.)มอบหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยไม่ให้ผู้ที่นั่งติดกันอยู่กลุ่มเดียวกัน อาจนับเป็นตัวอักษร ตัวเลข และให้ผู้ที่ได้เลขหมาย หรืออักษรเดียวกันนั่งด้วยกัน จากนั้นระบุเวลาในการทำกิจกรรมที่แน่นอน (ทั้งนี้ในการเรียนรู้คาบแรก ๆ นั้นอาจมีการเจรจาต่อรองเรื่องเวลา แล้วค่อย ๆ ปรับเป็นตามกำหนดอย่างชัดเจน) เพื่อให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น
  • 3.)ผู้สอนจัดที่นั่งให้เหมาะแก่การเดินสังเกตการณ์
  • 4.)จากนั้นสามารถเริ่มการแก้ปัญหาได้

ในการประเมินนั้น ให้เพื่อนในกลุ่มร่วมกันประเมินภายใต้กรอบที่กำหนดไว้ โดยที่การประเมินนั้นมีผลคะแนนจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้คุ้นชินกับการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการแก้ปัญหาในห้องเรียนการออกเสียง

ขั้นที่ 1 ก. ระบุเสียงเป้าหมาย

ขั้นที่ 1 ข เลือกเสียงที่ประสงค์จะพัฒนา ในขั้นนี้นั้น ผู้เรียนจำเป็นต้องตระหนักถึงปัญหาของตนเสียก่อนจะเลือกแก้ปัญหา อาจพิจารณาจากเสียงที่คล้ายกับภาษาแม่ของตน หรือเสียงที่มักพบว่าเป็นปัญหาบ่อย ๆ ของตน เมื่อสนทนากับเจ้าของภาษาหรือชาวต่างชาติ

ขั้นที่ 2 ถ่ายโอนเสียงเข้าสู่การสนทนา

ในการแก้ปัญหาการออกเสียงนั้น โดยปกติ ผู้เรียนจะเริ่มจากหน่วยเสียงที่เป็นปัญหา จากนั้นคือหน่วยคำ จนถึงการรวมกันเป็นวลี หรือประโยค โดยที่จุดประสงค์ของขั้นที่สองนี้ คือเพื่อให้การออกเสียงนั้นมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มีความคงที่ สม่ำเสมอ อาจแนะนำให้ผู้เรียนพูดแต่ละคำอย่างช้า ๆ ชัด ๆ โดยที่ไม่ช้าจนเกินไป

ในขั้นตอนแรก ให้ผู้เรียนมีคู่สนทนาเป็นเจ้าของภาษา จากนั้นให้ผู้เรียนพูดให้เจ้าของภาษาฟัง แล้วประเมิน โดยผู้ประเมินต้องมีความเที่ยงตรง และไม่เห็นแก่หน้าของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ไขในจุดที่บกพร่อง เติมเต็มในจุดที่ขาดไป

ในการวิเคราะห์ปัญหาในการออกเสียง (ขั้นที่ 1)

ปัญหาการออกเสียงอาจเกิดจากหลายปัจจัย กล่าวคือ ปัจจัยทางด้านภาษาศาสตร์ และไม่ใช่ภาษาศาสตร์ ปัจจัยทางภาษาศาสตร์ อาทิ อิทธิพลจากภาษาแม่ และปัจจัยที่ไม่ใช่ภาษาศาสตร์ เช่น สิ่งแวดล้อม โอกาสในการใช้ภาษา (ได้ยิน และพูด) เป็นต้น โดยแต่ละภาษาแม้กระทั่งภาษาอังกฤษเองก็ล้วนมีความหลากหลายทางการใช้ ความหลากหลายนั้นเองหลอมรวมเป็นวัฒนธรรมภาษา ดังนั้นผู้เรียนอาจเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องในเสียงทั้งสองภาษาเป็นหลัก เช่น ผู้เรียนอาจเคยได้ยินเสียง /təˈmeɪtoʊ/ จากครูผู้สอนชาวอเมริกันในคำว่า tomato แต่กลับได้ยิน การออกเสียงจากครูชาวอังกฤษออกเสียงว่า /təˈmɑtoʊ/ ผู้เรียนอาจวิเคราะห์ถึงความถูกต้อง ความบกพร่อง หรือการถูกต้องที่มีความหลากหลาย โดยในภาษาอังกฤษ อาจมีระบบเสียงที่ต่างกันออกไปในบางเสียงจากภาษาถิ่น จึงส่งผลต่อองค์ประกอบเสียงที่ต่างกันออกไป ผู้สอนอาจตั้งคำถามเหล่านี้ให้กับผู้เรียนในการแก้ปัญหา เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทสมาคม ASEAN

ในการวิเคราะห์ขั้นที่ 2 (ลงมือปฏิบัติ)

ขั้นนี้ให้ผู้เรียนลองเปรียบเทียบเสียงที่ได้ยิน อาจยกตัวอย่าง คำว่า tomato ในภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ และภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน และให้วิเคราะห์ว่ามีความเหมือนหรือความต่างในสองเสียงที่ได้ยิน หรือกระทั่ง การใช้คู่เทียบเทียง เช่น map/mat ผู้เรียนจะได้ฝึกการออกเสียง และรู้ถึงความต่าง โดยผู้บันทึกแนะนำให้ผู้เรียนฝึกกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกเสียง หรือใช้การบันทึกเสียงแล้วจากนั้นให้ผู้เรียนลองกลับมาฟังเสียงตนเองอีกครั้ง หรือให้เจ้าของภาษาประเมินเสียงที่ได้ยิน

เจ้าของภาษามีส่วนร่วมในการประเมินเสียงที่เปล่งออกมา จากนั้นให้คำติชมอย่างจริงจัง เพื่อให้นำไปปรับแก้ ทั้งนี้เองอาจเป็นปัญหากับผู้เรียนชาวไทยบ้าง ในกรณีที่ไม่เคยได้รับคำติชมอย่างตรง ๆ ผู้เรียนต้องมีแรงขับเคลื่อนเพื่อให้ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตามผู้บันทึกขอนำเสนออีกแง่หนึ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกให้เจ้าของภาษาประเมินเสียงที่ได้ยิน

  • 1.หากเจ้าของภาษาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย (ประเทศที่มาอยู่) นานพอที่จะรับรู้ถึงวัฒนธรรมภาษา การเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วนั้น เจ้าของภาษาอังกฤษจะมีการปรับตัวและยืดหยุ่นพอที่จะรับรู้ความหมายหรือเสียงที่เปล่งออกมาได้ อาจทำให้การแนะนำติชมเป็นไปอย่างไม่เต็มที่
  • 2.ความหลากหลายของเจ้าของภาษาที่จะประเมิน ผู้สอนควรกำหนดขอบเขตให้ผู้ประเมิน เนื่องจากภาษาอังกฤษมีความหลากหลาย ดังตัวอย่างข้างต้น หากผู้เรียนเปล่งเสียงใด ๆ ที่ผู้ประเมิน (แม้ทราบว่าถูกต้อง) ไม่ได้ใช้เป็นสำเนียงภาษาแม่ของตน อาจให้คำติชม และแนะนำให้แก้ไขให้เหมือนภาษาของตน ทั้งนี้เองอาจแนะนำให้ผู้เรียนว่าความหลากหลายเป็นสิ่งที่ผู้เรียนควรตระหนักอีกเรื่องหนึ่ง

สรุป การเรียนแบบเน้นการแก้ปัญหามีประโยชน์เน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นหลัก นอกจากผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแล้ว ผู้เรียนยังได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อต่อยอดในการเรียนรู้ด้วยตนเองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้สอนควรคำนึงถึงพื้นฐาน สภาพแวดล้อม และปัจจัยต่าง ๆ ที่ผู้เรียน ผู้สอน และเนื้อหารายวิชานั้น ๆ มี

หมายเลขบันทึก: 569939เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2014 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2014 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

As an EFL teacher, how would you design your pronunciation lesson according to the PBL principle? From your perspective, what seems to be the most critical problem in pronunciation for Thai learners? How can teachers help learners to identify their pronunciation problems?

For my pronunciation class design, I, as an EFL teacher, would prefer to integrate the traditional teaching with the PBL. Due to the fact that the appropriate inputs should be offered to the learners at the first time by providing the fundamental concepts of each lesson, learners tend to employ the background knowledge for critical thinking on their problems.

In Communicative English classrooms of learning words pronunciation focused chiefly on the vowel sounds (monopthong), my designs go as similar as the aforesaid steps; however, the integration of traditional teaching is added. The first step, the lecturer employs the background lesson about the “vowel sounds (only the monopthong)” such as the speech mechanism of vowel sounds. Then, the learners are grouped arbitrarily by counting A to G. The same counting needs to be in the same groups. The learners encounter the problems on the hearing isolation sounds at once, and the whole sentence at twice. The words like “red vs. read (past form) and hit vs. heat” recorded by an American native speaker are utilized. The group-work learners are expected to choose what they hear at once whether at twice they reconfirm their first decision; nevertheless, they have to criticize before choosing and giving reasons. At this design, the learners can use their background knowledge which is about the syntactic and semantic knowledge when they listen to second-time sounds. For the assessment, the lecturer hands the evaluation paper to each member. In the same groups, the peer listeners have to evaluate the proficiencies of friends. Before class dismiss, the lecturer asks the learners to come up with the problems and solutions found in the class; what’s more, the listeners can show their own opinion if they agree or disagree with the problems the presenters have and solution they figure out.  

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท