งานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทสาคร ตอนที่ 2


ความต่อเนื่องในการทำงานเปลี่ยนผ่านรุ่นต่อรุ่น "งานยังคง คนเปลี่ยน" วิธีการผูกความสำเร็จร่วมกัน “.WiN WiN"

การบริการให้คำปรึกษาจะสำเร็จไม่ได้ถ้าไม่ได้เข้าใจผู้ป่วยอย่างแท้จริง การแก้ปัญหายาก็เช่นเดียวกัน ถ้าจะแก้แต่ปัญหาโดยการปรับยาหรือเพิ่มลด/ยาและคำแนะนำแต่เป็นปัญหาที่ทับถมหรือซ่อนปัญหาที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆไว้ ก็มีแต่สร้างปัญหาเพิ่มให้ผู้ป่ว

การทำงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร

จะมีการดำเนินงานติดตามปัญหาใน 2 ลักษณะ

1.ให้คำปรึกษาจากการคัดกรองปัญหาส่งต่อ ให้คำปรึกษาแก้ปัญหายาเป็นรายปัญหาเป็นส่วนมากมีการติดตามต่อเนื่องเป็นส่วนน้อย

1.1 กระบวนการเสร็จในครั้งเดียว

1.2 มีทางเลือกการดำเนินการ แล้วติดตามผล

2. ให้การบริบาลเภสัชกรรมเฉพาะโรคองค์รวม ติดตามผู้ป่วยรายบุคคลอย่างต่อเนื่องทุกราย ผู้ป่วยส่วนมากจะได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

                      

ผู้รับผิดชอบดำเนินการ

1.ผู้รับผิดชอบภาพรวม หรือผู้จัดการเฉพาะโรค ความสำเร็จของงานนี้คือการได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ในเรื่องที่ได้รับมอบหมายตามกำลังมากน้อยเท่าที่ความสามารถในการปรับตัวและความต้องการขยายตัวเนื่องจากไม่ต้องแบกรับภาระเพียงลำพัง มีเพื่อนพี่น้องช่วยทำงานในจุดบริการ มีรุ่นพี่ ให้คำปรึกษา มีการสื่อสารการทำงาน ความต่อเนื่องในการทำงานเปลี่ยนผ่านรุ่นต่อรุ่น "งานยังคง คนเปลี่ยน"  

                  

2.ผู้รับผิดชอบ ณ จุดบริการ มีตารางปฏิบัติงานเป็นตารางปฏิบัติงานจัดให้ โดย ผู้จัดการตารางงานเภสัชกร( Pharmacist manager) ซึ่งผู้รับผิดชอบงานนี้มักเป็นน้องที่อยู่ในรุ่นก่อนสุดท้ายประมาณ 2-3 รุ่น เพื่อให้มีประสบการณ์ในที่ทำงานเข้าใจความเชื่อมโยงของระบบพอประมาณ งานจ่ายและแนะนำยา (Dispensing&Counseling) ดำเนินการมาเป็นเวลา 14 ปีแล้ว ความสำเร็จในความยั่งยืนตรงนี้เกิดจากพฤติกรรมที่รับฟัง อ่อนน้อม เสียสละอันเป็นที่เกรงใจของพี่ๆน้องๆ ตั้งแต่เปิดจุดให้คำแนะนำและจ่ายยาหน้าห้องยามา มีผู้จัดการเภสัชจนปัจจุบันนี้เป็นคนที่ 5 แล้ว

วิธีการดำเนินการ

1.เภสัชกรแต่ละท่านจะได้รับการจัดงาน 4-6 คาบ/วัน มีคาบที่ลักษณะงานหลากหลายในแต่ละวัน ดังนี้ จุดเช็คยา จุดจ่ายและแนะนำยา จุดให้คำปรึกษา(รับปัญหาส่งต่อ/ประสานงานกับทีมรักษา/แก้ปัญหาให้ผู้ป่วย)

2.กรณีเภสัชกรภาระงานพิเศษ ต้องประชุมจะมีการแจ้งล่วงหน้า

3.กรณีฉุกเฉินผู้จัดการจะประสานขอความช่วยเหลือ ย้ายตารางจากงานในจุดที่มีผู้ให้บริการน้อยหรืองานที่สามารถรอเวลาได้ เช่น การเตรียมข้อมูลล่วงหน้าที่มีเวลาเพียงพอจะทำให้เสร็จได้/ไม่ได้ในช่วงเวลาตามสถานการณ์ ก็จะพูดคุยกันเพื่อประโยชน์ผู้รับบริการเป็นสำคัญ

ตัวอย่างตารางงานเภสัชกร

                             

ความคาดหวังในการปฏิบัติงาน ประโยชน์สำเร็จในผู้ป่วยประโยชน์สำเร็จในผู้ปฏิบัติงาน

วิธีการผูกความสำเร็จร่วมกัน “.WiN WiN”

ประโยชน์สำเร็จในผู้ปฏิบัติงาน : มีคุณค่าในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ ใช้องค์ความรู้เภสัชกรรมด้วยความใส่ใจ สู่ค่านิยม “พึงใจในเกียรติวิชาชีพ”

คำสำคัญ (Tags): #ambulatory care
หมายเลขบันทึก: 569849เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2014 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2014 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท