นิเทศแบบถามถึง


เมื่อวันที่ ๒๖ - ๒๘ พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผมได้ไปนิเทศการจัดการเรียนในอำเภอคลองใหญ่ ทั้งหมด ๑๐ โรงเรียน ผมใช้คำว่า นิเทศแบบ "ถามถึง" 


    การนิเทศแบบถามภึง   คือ ถามถึงสิ่งที่โรงเรียนพัฒนา ถามถึงการจัดการเรียนการสอนของครู สอนอย่างไร ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ 


     ผมใช้คำถามแบบ AI (สุนทรียปรัศนีย์) ว่า คุณครูแต่ละท่านมีวิธีการจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์    คุณครูก็นำเสนอวิธีการจัดการเรียนการสอนในแต่ละกลุ่มสาระ เพื่อให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์


        ผมก็เสนอแนะเพิ่มเติม สองประเด็น เรื่องการใช้คำถาม เพื่อให้ผู้เรียนคิด และ ให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง 


         หลังจากนี้ ประมาณอีกเดือนกว่าๆ ผมจะเข้าไป "ถามถึง" อีกครั้งหนึ่ง ถึงสิ่งที่คุณครูได้บอกไว้     ขอนำภาพบรรยากาศการนิเทศมาฝากบางส่วน ครับ


               

    โรงเรียนบ้านคลองจาก   เอกสารที่วางอยู่ไม่เกี่ยวนะครับ   มีทั้งประถม มัธยม  คุณครูหนุ่มสาว  บรรจุใหม่   กำลังมีไฟแรงในการทำงาน  รับรู้เร็ว   เข้าใจง่าย   พร้อมที่จะจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์


      โรงเรียนบ้านตาหนึก  โรงเรียนขนาดเล็ก  ครูไม่ครบชั้น  ต้องสอนแบบคละชั้น  แต่คุณครูบรรจุใหม่ไฟแรง  ก็พร้อมที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์  ตามบริบทและความพร้อม  มี  ผอ.โรงเรียน มานั่งฟังและให้กำลังใจ




     โรงเรียนบ้านไม้รูด  มีทั้งประถมและมัธยม  คุณครูหนุ่มสาวเพิ่งบรรจุ คุณครูอารมณ์ดี   พูดคุยสนุกสนาน เป็นกันเอง  มี ผอ. มานั่งฟัง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้    คุณครูทุกท่าน  พร้อมที่จะจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์


       โรงเรียนบ้านคลองมะนาว  โรงเรียนขนาดเล็ก  ครูไม่ครบชั้น  วันนี้  คุณครูอีกท่าน  ต้องไปรับงบประมาณโรงเรียนขนาดเล็ก  เหลือ ผอ.  กับ  คุณครูอีกท่าน   ก็พร้อมที่จะจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์

    โรงเรียนบ้านหนองม่วง   โรงเรียนขนาดเล็ก  ครูไม่ครบชั้น  มีคุณครูอาวุโส  กับ คุณครูเพิ่งบรรจุ    คุณครูอาวุโส  ยังไฟแรง  พร้อมที่จะพัฒนาการเรียนการสอน  คุณครูบรรจุใหม่   ก็พร้อมที่จะพัฒนา


      สามวัน   ก็ไปมาครบ  ทั้ง ๑๐  โรงเรียนครับ ในอำเภอคลองใหญ่    ทิ้งระยะไว้สักช่วงหนึ่ง    ประมาณเดือนกว่าๆ   ก็จะไปตามดูอีกที

     

   

คำสำคัญ (Tags): #นิเทศแบบถามถึง
หมายเลขบันทึก: 569314เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 07:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 07:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดีค่ะ เป็นทั้งนิเทศ และประเมิน ถ้าติดตามอย่างเป็นระบบและมอนิเตอร์อย่างต่อเนื่อง ครูคงสบายใจกว่าการประเมินแบบสมศ. จะมีมารตการแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าทำไป ๆแล้วพบว่าสูญเปล่า

อ. G.D. ครับ  ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้   สักระยะหนึ่ง  ผมคงต้องเข้าไปอีกครับ ไปถามถึงสิ่งที่คุณครูได้บอกไว้  ว่านำไปทำแล้วได้ผลอย่างไรบ้าง   เพื่อจะได้ปรับปรุงพัฒนาต่อไปอีก

        ผมมักจะเน้นบรรยากาศการทำงานแบบสบายๆ ไม่เป็นทางการ  ไม่ต้องมีรูปแบบมากมาย  เน้นบรรยากาศแบบเปิดกว้าง  ฟังครู  ให้มากๆ  ให้คุณครูคิดเอง ทำเอง  อย่างมีอิสระ  ผมรู้สึกว่าคุณครูชอบบรรยากาศแบบนี้ ครับ  

  • สวัสดีครับ

  • ถึงโรงเรียนจะเล็ก ครูจะน้อยแต่ก็ไฟแรงทุกท่านเลยนะครับ 

ขอบคุณครับ ครูอาร์ม   คุณครูไฟแรงทุกคนเลยครับ ผมไปนั่งด้วยนี่  ร้อนวูบวาบ ไปหมด ๕๕๕

ชอบบรรยากาศแบบนี้จังค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณTuknarak ที่เข้ามาให้กำลังใจ

  • ขอชื่นชมในกลวิธีการทำงานแบบชี้ช่อง ส่องทาง ในบรรยากาศสบายๆ ครับ

ขอบคุณมากครับ คุณสามสัก เข้ามาให้กำลังใจ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท