ปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทย


ปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษในผู้เรียนชาวไทย

ผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนนั้นมักประสบปัญหาการออกเสียงโดยปัญหาการออกเสียงนั้นอาจได้รับความสำคัญหรืออาจถูกมองข้ามไปขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลในบันทึกนี้ดิฉันขออนุญาตแบ่งปันมุมมองของการให้ความสำคัญในการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้องค่ะ

ขอหยิบยกประเด็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนภาษาอังกฤษรวมถึงการออกเสียงดังที่ได้กล่าวไว้ในบันทึกที่ 1 และ 2 กล่าวคือทั้งปัจจัยภายในและภายนอกล้วนมีอิทธิพลต่อการออกเสียงภาษาอังกฤษทั้งสิ้นดังนั้นดิฉันเองจึงสนใจศึกษาการเปรียบเทียบการสอนแบบมีครูผู้สอนและการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อช่วยสอนโดยมีงานวิจัยก่อนหน้าที่ศึกษาเปรียบเทียบการสอนทั้งสองแบบนี้อยู่มาก เช่นการวิจัยการลงเสียงหนักเบาในระดับคำ (word stress) และระดับประโยค (intonation) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการออกเสียงสระ (vowel sounds)ในระดับคำ ผู้วิจัยส่วนใหญ่มีความคิดที่ว่าแกนพยางค์ หรือโครงสร้างพยางค์นั้นปัจจัยสำคัญอยู่ที่เสียงสระเช่น I หรือ air ล้วนแล้วแต่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด แต่อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยอยู่ไม่มากที่ศึกษาการออกเสียงพยัญชนะ และพยัญชนะควบกล้ำ (consonant and consonant clusters sounds) ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการออกเสียงสระที่ถูกต้อง เนื่องจากคำที่ประกอบไปด้วยสระอย่างเดียวนั้นมีอยู่ไม่มากนัก แต่ถ้าหากผู้พูดออกเสียงพยัญชนะสะกดเดี่ยวหรือควบผิดเพี้ยนไปแล้วนั้นอาจส่งผลต่อความหมายได้

พยัญชนะต้นเดี่ยว (initial consonants) ผู้เรียนชาวไทยมักพบปัญหาเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวดังนี้พยัญชนะ th แทนด้วยเสียง /ð/ หรือ /θ/

คำในภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีอยู่มากมายที่ขึ้นต้นด้วย th เช่น the, they, them, then, thin, think หรือกระทั่ง thanks อย่างไรก็ตามคนไทยไม่มีเสียงพยัญชนะใดที่ออกเสียงแล้วฐานกรณ์ (place of articulation) อยู่ที่ระหว่างฟันบนและฟันล่าง (interdental) วิธีการแก้ปัญหาของผู้เรียนชาวไทยคือใช้เสียงที่มีฐานกรณ์ใกล้เคียงมากที่สุดมากผลิตเสียงทั้งคู่นี้โดยใช้เสียง /d/ แทนด้วยฐานกรณ์อยู่ที่ปุ่มเหงือก (alveolar)เช่น the ออกเสียง /də/ /deɪ/ /dɛm/ /dɛn/หรือออกเสียง /t/ (unaspirated stop) ซึ่งอยู่ในฐานกรณ์เดียวกันออกเสียงคล้าย “ต” ในคำว่า “thin /tɪn/” “think /tɪŋk/” และ “thanks /tæŋks/”

นอกจากนี้ผู้เรียนภาษาอังกฤษชาวไทยส่วนใหญ่พบปัญหาการออกเสียงดังนี้

  1. /v/ --> /w/ เช่น van --> wan
  2. /ɹ/ --> /l/ or /ɹ/ --> เสียงลิ้นรัว ในเสียง “ร” แทน เช่น rice --> lice  
  3. /s/ --> /∅/ ไม่ออกเสียง /s/ ในตำแหน่ง inflectional suffix ที่แสดงถึง plurality แต่ใส่ในตำแหน่งที่ไม่ควรใส่ เช่น goods morning  

พยัญชนะต้นควบกล้ำ (initial consonant clusters) พยัญชนะควบกล้ำในภาษาอังกฤษมีถึง 3 ตัวในตำแหน่งพยัญชนะต้นโดยปัญหาที่พบคือผู้เรียนชาวไทยเพิ่มแกนพยางค์เข้าไปในการออกเสียงควบ กล่าวคือ สระ “อะ /ʌ/” เป็นหลัก เช่น spa, star, scar ผู้เรียนชาวไทยจะออกเสียงว่า /sʌpɑ(ɹ)/, /sʌtɑ(ɹ)/ และ /sʌkɑ(ɹ)/ ตามลำดับ อาจเพราะการออกเสียงในภาษาไทยในระดับคำที่มีตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไปนั้นทุกพยางค์มีน้ำหนักเสียงที่เท่ากัน หรือเรียกว่าระดับเสียงเดียว (monotone) และไม่พบดเสียงควบกล้ำแท้ “ส /s/” ในภาษาไทย (อ้างจาก รศ. ดร. นิตยากาญจนะวรรณ) ดังนั้นผู้เรียนภาษาอังกฤษชาวไทยจะผลิตคำใดก็ตามในภาษาอังกฤษที่ควบกล้ำด้วย “ส /s/” ผ่านแนวคิดที่แทรกพยางค์เพื่อให้ใกล้เคียงกับภาษาเป้าหมาย

อย่างไรก็ตามปัญหาการออกเสียงในภาษาอังกฤษอาจส่งผลกระทบหรืออาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อความหมายในการสื่อสารกับชาวต่างชาติทั้งที่เป็นเจ้าของภาษาและไม่ใช่เจ้าของภาษาดิฉันเองจึงทำการสัมภาษณ์เจ้าของภาษา 1 ท่านและผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง จำนวน 1 ท่าน ถึงปัญาที่พบในการสื่อสารกับผู้เรียนภาษาอังกฤษชาวไทย

ผู้ถูกสัมภาษณ์ที่ 1 (ชาวอเมริกัน) ทำการสอนภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัย เจ้าของภาษาได้ให้คำตอบโดยสรุปคร่าว ๆ ว่าการสื่อสารกับผู้เรียนชาวไทยอาจพบปัญหาอยู่บ้างในการใช้คำศัพท์และการออกเสียงคำบางคำแต่เมื่อได้ใช้ชีวิตในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับภาษาและวัฒนธรรมไทยจึงเริ่มเรียนภาษา (เฉพาะภาษาพูด เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน)จึงพอเข้าใจการออกเสียงของคนไทยอยู่บ้างในภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์จึงอาจสามารถออกเสียงสระภาษาอังกฤษได้ไม่ยากนักแต่อย่างไรก็ตามเสียงพยัญชนะต่าง ๆ ที่มีในภาษาไทยไม่พบในภาษาอังกฤษจึงอาจทำให้ส่งผลถึงความหมายในบางคำ

ผู้ถูกสัมภาษณ์ที่ 2 (ชาวฟิลิปินส์) ทำการสอนภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัยโดยให้คำตอบว่าไม่พบปัญหาทางการสื่อสารกับผู้เรียนชาวไทย เนื่องจากเธอปรับตัวให้เข้ากับผู้เรียนและเปิดใจในการเข้าใจการสื่อสารของผู้เรียน นอกจากนี้เธอยังกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ภาษาอังกฤษทั้งในห้องและนอกห้องเรียน (ทุกครั้งที่พบเธอผู้เรียนต้องใช้ภาษาอังกฤษกับเธอ)เธอกล่าวเสริมว่าในการสื่อสารจริงอาจต้องใช้บริบทในการทำความเข้าใจอาจมีบ้างที่ผู้เรียนสื่อสารเป็นคำ ๆ อาจใช้เวลาในการทำความเข้าใจอยู่บ้าง

อาจสรุปได้ว่าการสื่อสารกับผู้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งที่เป็นเจ้าของภาษาและผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศอาจต้องการบริบทในการเข้าใจความหมายหรืออาจเนื่องจากผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ทั้งสอง เป็นผู้ใช้ภาษาอังกฤษในฐานะผู้สอนภาษาจึงมี concept และสามารถปรับตัวเข้ากับการเรียนรู้ของผู้เรียนชาวไทยได้ดังนั้นเองการสื่อสารจึงมีแนวโน้มประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ในทางกลับกันหากผู้เรียนจำเป็นต้องสื่อสารกับผู้อื่นนอกห้องเรียนในชีวิตจริงแล้วผู้เรียนไม่สามารถเลือกได้ว่าจะมีโอกาสจะสื่อสารกับใครคู่สนทนานั้นอาจมีหลากหลายรูปแบบหรือผู้เรียนสามารถพบปัญหาในการฟังจากคู่สนทนาเหล่านั้นก็เป็นได้ ดังนั้นเองการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในการออกเสียงขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในห้องเรียนผู้สอนควรมีความแม่นยำชำนาญและควรคิดค้นกลวิธีการสอนที่เหมาะสมเพื่อเป็นพื้นฐานในการต่อยอดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเอาตัวรอดได้ในสังคมเท่าทันผู้ใช้ภาษาอังกฤษไม่ว่าจะในฐานะใดก็ตาม

หมายเลขบันทึก: 569016เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2014 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2014 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

...การออกเสียงภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทย... รวมทั้งชาวเอเซียอื่นๆด้วยที่มีปัญหาในเรื่องนี้...เพราะ Factors that affect pronunciation ...โดยเฉพาะชาวเอเซียมีธรรมชาติในการเปล่งเสียงพูด mother tongue ที่แตกต่างจากชาวยุโรป

สำเนียงการพูดจึงเป็นแบบเอเซีย...รวมทั้งการเขียนด้วย ...ฝรั่งเองก็มีปัญหาเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ชาวยุโรปจะฝึกภาษาอังกฤษได้ง่ายกว่าชาวเอเซียนะคะ ...

From the interview, it seems that foreigners who have been working with Thais don't think that Thai- way pronunciation is a major problem in the communication. This might be due to their needs to adjust themselves in Thai working context. Anyway, how about Thais working overseas, do they have problems in communication with other English speakers, or they are obliged to correct their pronunciation to achieve the communication goals. What would you suggest for Thais to improve the pronunciation in English? Do we need to sound like native speakers?

According to Rhetorical Sensitivity, I think that two interviewees are willing and able to adapt messages from their students even if some messages are probably difficult to understand. Of course, their job is a teacher, so they unavoidably have to learn the language and culture in order to understand their target-groups’ intention. They might take the errors in grammar or pronunciation for granted but the whole understandable contexts in order to encourage the learners to speak English.

For your first question, I think when Thai labours communicate with the foreigners in overseas they might have some problems in communication depending upon their listeners. Mostly, the negotiation of meaning is highly offered by the foreigners. For example, as I have been known from my teacher’s problem of her life in abroad, she told me that she saw a picture of a “camel” which at that time she did not know how to pronounce correctly. Hence, her primary stress fell on the first syllable /kɑˈmeɪl/. Her friend who is native speaker tried to correct the pronunciation by repeatedly asking “what”. Actually, the listener knew what the teacher tried to say. Yet, the listener just wanted to correct the pronunciation of her saying “/ˈkæməl/”. Another example form my another teacher, he tried to find something to fix the pipe in the sink, so he went to the grocery, but unfortunately he forgot how to call that thing in English. He said like “I wanted to buy a … (explaining the characteristics of it).” In this case, the pronunciation problem did not occur but the vocabulary problem. As we can see, the communication in English, I think in any languages, needs the negotiation of meaning when the native languages between the speaker and the listener are different.

For the second one, I would suggest the learners of English to learn the basic sound of English first. Pointing out the similar and different sounds between Thai and English is needed. Because most of Thai leaners link Thai language systems with English’s, they could make the mistake on some pronunciation. For example in the initial position of English word, the learners always say “swim” /ˈsɑwɪm/. For the vowel sound mistake, the word “red /ɹɛd/” is always pronounced a little longer in the word “read /ɹeɪd/”. In the final position, the omission is always occurred. For example, the plurality “-s” is deleted. All the mistakes can change the meaning. Surely, we will not communicate in the word level but the sentence level. Consequently, the listener can guess by the context. However, if the basic learners learn from the correction of pronunciation, the more successful and effective pronunciation will surely be happened. The negotiation of meaning will not require, and the communication will not spend time that much.

For the last question, trying to be a native-like speaker is not needed for the non-native speakers. We speak English for conveying our needs. We have our own language systems which might be unconsciously mixed with English when we speak English. What we, non-native English, are requiring is the correct pronunciation. We have to distinguish a native accent from the correct pronunciation. Accents vary in many areas in any English spoken countries such as RP accent, New York accent, or Australia accent. Native speakers of English can understand what they say because of the correct pronunciation pronounced by the different accents.

Very interesting remarks you've made here. I strongly recommend putting the above ideas into an article or a presentation at an international conference. You might want to add more interview data from participants who have been working overseas and those who have been working in organisations/companies using English as a working language. 
Please check out the following link http://ipbmm.edu.my/isllce/

International Seminar on Language, Literature, Culture and Education (ISLLCE)

Seminar

16th to 19th September 2014
Chiang Mai, Thailand

Website: http://ipbmm.edu.my/isllce
Contact person: Secretariat ISLLCE

This event welcome academicians and students to participate and contribute ideas, research, and micro teaching based on the theme of the seminar and colloquium is “Strengthening Local and Regional Wisdom for Global Challenges”.

Organized by: International Journal of Language and Literature
Deadline for abstracts/proposals: 20th June 2014

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท