HR-LLB-TU-2556-TPC-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

[1] ศักดิ์ศรี คือ การยอมรับของบุคคลในสังคมในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ที่ได้รับการยอมรับของสังคมมนุษย์และเรื่องดังกล่าวต้องเป็นเรื่องดีงามเท่านั้นเรื่องไม่ดี ไม่ให้รวมเรื่องศักดิ์ศรี แม้ว่าพฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้น หรือต้องการกระทำนั้นๆ อาจจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ได้ถือว่าเป็นเรื่องดีงาม สมควรยกย่องและต้องถือปฏิบัติเพื่อเป็นมติขององค์การ การยอมรับขององค์กรต่างๆนั้นด้วยก็ได้สิทธิเสรีภาพหรืออำนาจและหน้าที่ก็ถือเป็นศักดิ์ศรีด้วยเช่นกัน

มนุษย์ คือ บุคคลทั่วไปไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติใด เผ่า ศาสนา ผิวสี ภาษา และอื่นๆ ที่มีสภาพเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนของสังคมตลอดจนองค์กร ที่อาศัยมติเป็นข้อปฏิบัติไปตามประสงค์ขององค์การ

องค์การก็ให้ถือเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นคำว่าสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในรัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550

มาตรา 4 บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง

มาตรา 26 บัญญัติว่า การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ

เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา 28 บัญญัติว่า บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ

เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย คือ คนต่างชาติหรือคนต่างด้าวที่ไม่ได้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกำหนดในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 โดยคนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานต่างชาติหรือต่างด้าว รวมถึงกรณีคู่สมรสต่างด้าวด้วย

เมื่อดูถึงกรณีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ก็ได้มีกรณีตัวอย่างของน้องนิก นิวัฒน์ จันทร์คำ ซึ่งเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ไม่เคยได้รับการสำรวจทะเบียนราษฎรของไทยจึงไม่มีเอกสารรับรองตัวบุคคลใดที่ออกโดยรัฐไทย ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน มีเพียงเลขประจำตัวนักเรียนเท่านั้น เพราะน้องนิกไม่ได้รับสัญชาติเป็นคนไทยจึงถูกถือว่าเป็นคนต่างด้าวตามมาตรา 57 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และถือเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายตามมาตรา 58 พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ด้วย แต่แม้ว่าน้องนิกจะไม่ได้รับสัญชาติไทย เป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาตินั้น น้องนิกก็ยังได้รับสิทธิในการศึกษา ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ อีกทั้งตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 26(1) ได้ระบุไว้ว่า “ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน” จะเห็นได้ว่าแม้น้องนิกจะเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ แต่สิทธิในการศึกษาและด้านอื่นๆก็ยังคงมีอยู่ตามหลักสิทธิมนุษยชน

อ้างอิง

[1] ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ http://www.ongkarn-leio.org/knonwlege.php

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

หมายเลขบันทึก: 568794เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 00:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท