ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย : กรณีศึกษาสิทธิในการศึกษาของ น้องนิก นิวัฒน์ จันทร์คำ

จากความหมายในสารานุกรม 'ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์'หรือ Human dignity หมายถึงคุณค่าเฉพาะบางอย่างที่มนุษย์ทุกคนต่างเป็นเจ้าของ ซึ่งในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ปี 1984 ก็พูดถึงคำคำนี้ โดยให้ความสำคัญต่อศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่มนุษย์ทุกคนในโลกนี้ที่จะต้องมีเหมือนเหมือนกัน เท่าเท่ากัน ไม่ใช่ใครมีมากกว่าใคร นั่นคือ หากเกิดมาร่วมเผ่าพันธุ์มนุษย์แล้ว ย่อมต้องมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์โดยปริยาย เพราะเป็นคุณสมบัติพิเศษหรือสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดดังนั้น มนุษย์ทุกทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่แห่งหนตำบลใด ร่ำรวยหรือยากจน เป็นหญิงหรือชาย เด็กหรือคนแก่ สมประกอบหรือพิการ ผิวจะสีขาว สีเหลือง น้ำตาล ดำ สวยหรือขี้เหร่ ฯลฯ ก็ต้องมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทั้งนั้น ในความหมายนี้ จึงเป็นความหมายในมิติของสิทธิและความเท่าเทียมที่มนุษย์ทุกคน ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี และให้ความสำคัญต่อหลักการด้านสิทธิมนุษยชน ที่ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนเหมือนกัน ดังนั้น เมื่อมนุษย์ทุกคนต่างมีศักดิ์ศรี ก็ควรได้รับเกียรติ ได้รับการเคารพนับถือ ไม่ควรมีมนุษย์คนใดถูกกระทำอย่างต่ำต้อยด้อยคุณค่า หรือโดนดูถูกเหยียดหยาม หรือปฏิบัติเสมือนไม่ใช่มนุษย์ (เช่น ล่ามโซ่) เพราะเราต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน[1]

ประเทศไทยได้มีการรับรอง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ดังปรากฏในมาตรา 4 วางหลักว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับการคุ้มครอง [2]

น้องนิก หรือ น้องนิวัฒน์ จันทร์คำ เกิดวันที่ 13 เมษายน 2538 ณ ประเทศเมียนม่าร์ จากมารดาและบิดาเป็นคนเชื้อชาติไทยลื้อ ไร้รัฐและไร้สัญชาติเพราะ ไม่มีประเทศไทยลื้อปรากฏอยู่ในโลก ในปัจจุบันน้องนิกมีอายุประมาณ 19 ปี ซึ่งมารดาของน้องนิก ได้อาศัยอยู่ในประเทศเมียนม่าร์และได้รับเอกสารประจำตัวที่ออกโดยประเทศเมียนม่าร์ แต่เนื่องจากน้องนิกได้ศึกษาเล่าเรียนในประเทศไทยมาโดยตลอด จึงต้องการที่จะศึกษาต่อจนจบการศึกษา จนกระทั่งปัจจุบันน้องนิกก็ยังไม่เป็นคนไร้รัฐและไร้สัญชาติ เพราะยังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยบนโลก [3]

แต่อย่างไรก็ตามแม้เป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติก็ตามแต่เนื่องด้วยน้องนิกเป็นมนุษย์ย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นคน ไม่ควรได้รับการดูถูกและควรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันจากบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งสิทธิทางด้านการศึกษาเป็นสิทธิหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้น้องนิกไม่ถูกดูถูกเหยียดหยาม และได้รับการปฏิบัติต่อตนอย่างการเป็นมนุษย์คนหนึ่ง นอกจากนี้ สิทธิในการได้รับการศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง จึงทำให้น้องนิกมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาเล่าเรียนในประเทศไทย

ดังปรากฏในข้อ 26 (1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ( Universal Declaration on Human Rights 1984 : UDHR ) วางหลักว่า บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะเป็นสิ่งที่ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อยที่สุดในชั้นประถมศึกษา และชั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ชั้นเทคนิคและชั้นประกอบอาชีพเป็นการศึกษาที่จะจัดให้มีขึ้นโดยทั่วไป และขั้นสูงที่จะเปิดให้ทุกคนเท่าเทียมกันตามความสามารถ และ

ข้อ 26 (1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ( Universal Declaration on Human Rights 1984 : UDHR ) วางหลักว่า การศึกษาจะมุ่งไปในทางพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่และเพื่อเสริมพลังการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นมูลฐานให้แข็งแกร่งทั้งจะมุ่งเสริมความเข้าใจ ขันติและมิตรภาพในระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติหรือกลุ่มศาสนา และจะมุ่งขยายกิจกรรมของสหประชาชาติเพื่อธำรงสันติภาพ[4]

จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้างต้นแล้วย่อมแสดงให้เห็นชัดเจนว่าน้องนิกมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา ในประเทศไทยแม้ว่าน้องนิกจะเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติหรือแม้แต่เป็นคนที่ถูกกล้าวว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายก็ตามเพราะสิทธิทางการศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชน และนอกจากนี้สิทธิในกาศึกษาย่อมเป็นสิทธิที่จะช่วยพัฒนาบุคคลในมีความรู้ความสามารถที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อประเทศชาติและต่อโลกอีกด้วย เมื่อพิจารณาแล้วสิทธิทางด้านกาศึกษาย่อมเป็ฯสิทธิที่มีคุณภาพและเป็นสิทธิที่ควรจะได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่งจากรัฐที่มนุษย์คนนั้นๆอาศัยอยู่

เมื่อสิทธิทางการศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งที่ได้รับการรับรอง ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 1984 แล้ว ซึ่งสิทธิที่เป็นสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิที่เกิดมาจาการมีพื้นฐานสิทธิจากการเป็นมนุษย์ ดังนั้นแล้วแม้น้องนิกจะถือเป็นคนที่เข้ามาเมืองผิดกฎหมายก็ตามแต่น้องนิกก็ยังมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาอยู่เช่นเดิม

นอกจากนี้แล้ว การที่ป้าของน้องนิกนั้นได้เลือกการศึกษาแก่น้องนิกด้วยการให้น้องนิกเข้าศึกษาที่โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ก็เป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งซึ่งผู้เป็นผู้ปกครองจะเป็นคนเลือกชนิดของการศึกษาแก่บุตรหลานของตนได้ดังปรากฎใน ข้อ 26 (3) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ( Universal Declaration on Human Rights 1984 : UDHR ) วางหลักว่า ผู้ปกครองมีสิทธิก่อนผู้อื่นที่จะเลือกชนิดของการศึกษา สำหรับบุตรหลานของตน

(เขียนบทความวันที่ 15 พฤษภาคม 2557)


[1] ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แหล่งข้อมูล : http://www.oknation.net ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

[2] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 แหล่งข้อมูล : http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Constitution2550.pdf ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

[3] ข้อเท็จจริงของน้องนิก แหล่งข้อมูล : กรณีศึกษาเด็กชายนิวัฒน์ จัทร์คำ เอกสารประกอบการสอน กฎหมายสิทธิมนุษยชน 2557 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

[4] ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แหล่งที่มา : http://www.khamkoo.com ค้นข้อมูล 15 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568156เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท