โค้ชวิธีคิด ปลดล็อคชีวิต พิชิตผลงาน โดย ศิริรัตน์ ศิริวรรณ


ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโค้ชเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โค้ชแต่ละท่านใช้กระบวนการและทักษะการโค้ชแตกต่างกัน องค์กรจำนวนไม่น้อยต่างเริ่มให้ความสำคัญกับการโค้ช และนำการโค้ชมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน โดบเฉพาะการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง รวมทั้งTalentขององค์กร

สำหรับผู้เขียน หลักการสำคัญที่ผู้เขียนใช้ในการโค้ชคือ การโค้ชที่มุ่งไปที่การพัฒนา‘วิธีคิด’ของโค้ชชี่ ช่วยให้สมองของโค้ชชี่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการสื่อสารที่ทำให้โค้ชชี่เกิดความไว้วางใจ ผู้เขียนจะนำเสนอตนเองในฐานะกัลยาณมิตร เพื่อนร่วมทาง ผู้ให้กำลังใจ ผู้สนับสนุน มีความเข้าอกเข้าใจให้เสมอ และรับฟังโค้ชชี่โดยไม่ตัดสินตัวตนของโค้ชชี่ ทำใหโค้ชชี่รู้สึกสบายใจ ไว้วางใจที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเปิดกว้าง กล้าคิด กล้าริเริ่ม กล้าที่จะปลดปล่อยศักยภาพของตนเองออกมาอย่างมั่นใจ ปราศจากความวิตกกังวล ท่ามกลางบรรยากาศของความร่วมแรงร่วมใจ ไว้วางใจ โค้ชชี่จะเกิดการตื่นรู้ เข้าใจความจริงในแง่มุมต่างๆ ค้นพบบางอย่างเกี่ยวกับตนเอง มองโลกในแง่มุมที่แตกต่างไปจากเดิม ค้นพบเป้าหมาย และวิธีการจัดการกับสถานการณ์หรือวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นด้วยตนเอง

สรุปแล้ว ในการโค้ช ผู้เขียนจะดำเนินการตามเส้นทางต่อไปนี้

สอบถามใเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ ระบุ‘ประเด็นปัญหา’ให้ได้ อย่าปล่อยให้โค้ชชี่จมอยู่ในทะเลของ‘รายละเอียด’นานเกินไป

จากประเด็นปัญหา ให้หันมาโค้ชวิธีคิด โดยตั้งคำถามเกี่ยวกับมุมมอง ความคิดเห็น อารมณ์ ความรู้สึกของโค้ชชี่ และบุคคลอื่นหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ช่วงที่โค้ชชี่คิด ตอบคำถาม สมองจะเกิดการเชื่อมโยงข้อมูลเกิดความเข้าใจรู้แจ้งความจริง รวมถึงตระหนักในเป้าหมาย และค้นพบทางออกของปัญหาในที่สุด

นำทางออกหรือวิธีดำเนินการ (Action)ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง พฤติกรรมและผลการปฏิบัติงานจะค่อยๆพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ดังนั้น การโค้ชจึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่โค้ชชี่‘ประสบการณ์ใหม่’คือที่มาของ‘วิธีคิดใหม่’และ‘พฤติกรรมใหม่’อันนำไปสู่‘การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน’

หมายเลขบันทึก: 567642เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2014 07:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2014 07:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอเป็นกำลังใจให้กับการทำงานเพื่อช่วยผู้อื่นอย่างมีคุณค่าด้วยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท