เวิ่นเว้อเพ้อฝัน : บทวิเคราะห์การศึกษาของประเทศไทย


อ่านก่อนอ่าน :

ควรมีวิจารณญาณในการอ่านนะครับ เพราะเป็นบทวิเคราะห์ส่วนตัวอาจจะมีบางจุดที่บกพร่องไปบ้าง ทั้งนี้ผมมองในมุมมองที่เป็นนักเรียน/นักศึกษาคนนึงอาจจะยังเห็นอะไรมาแค่ด้านเดียว ต้องขออภัยด้วยนะครับ

ดราม่าที่เกิดขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่องเกี่ยวกับการยุบโรงเรียนที่ไม่ได้คุณภาพ/นักเรียนน้อย
โดยที่รัฐมนตรีศธ.อ้างว่าเพื่อ "ประหยัด" งบประมาณนั้น

ทำให้ผมคิดถึง "แผนพัฒนาการศึกษา" ที่เคยนั่งคิดนั่งเขียนเล่นๆ
ทั้งในมุมมองของนักเรียนและนักศึกษาและจากประสบการณ์ที่คิดว่าอะไรควรเป็นยังไง
แต่ตอนนี้ขอสับแหลกในเรื่องการศึกษา รวมทั้งกระแสยอดฮิตอย่างการยุบโรงเรียนก่อน

กระผมได้ติดตามข่าวสารเรื่องการยุบโรงเรียนมาซักระยะนึงแล้ว
อยากสอบถามกลับไปยังเจ้ากระทรวงว่า "ใช้สมองคิดซักนิดมั้ย?"
ที่บอกว่าจะประหยัดงบประมาณโดยการยุบโรงเรียน
ทั้งๆ ที่การลงทุนทางด้านการศึกษาโดยส่วนตัวกระผมคิดว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามีแต่ได้ ไม่มีเสีย
ตั้งแต่ท่านรมว.ท่านนี้เป็นรมว. มีแต่นโบาย (โง่ๆ) ด้านการศึกษา
ไม่ได้พัฒนาการศึกษานะ มัวแต่ไปคิด "ยกเลิกหัวเกรียน ไม่เอาทรงติ่ง" แทนที่จะคิดและพัฒนาการศึกษาให้ยั่งยืน
และช่วงนึงเหมือนจะมีกระแสว่าท่ารมว.ต้องการจะ "ปฏิรูปการศึกษา" ถ้าการยุบโรงเรียนของท่านคือการปฏิรูปการศึกษา
การศึกษาไทยทุกวันนี้ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว คงย่ำแย่ลงกว่าเก่า หรือท่านต้องการให้คนไทยยุคใหม่ "โง่" เพื่อที่จะได้ปลุกระดมได้ง่ายๆ ไม่เกิดความคิดอันเป็นของตัวเอง?

ในปัจจุบันนี้ นักเรียนไทยมีชั่วโมงเรียนที่มากกว่าต่างประเทศ แต่สิ่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน "นักเรียนไทยจำนวนมาก ต้องพึ่งการเรียนกวดวิชา หรือ การเรียนพิเศษเพิ่มเติม" เพราะอะไร? เพราะประเทศไทยยังมีการแข่งขันทางด้านการศึกษาสูงมาก (ไม่รู้ว่าแข่งกันไปชิงถ้วยชิงโล่ห์อะไร) กวดวิชาสอบได้แต่วิชาความรู้ แต่กวดวิชาไม่สามารถสอนคุณธรรมและจริยธรรม ไม่ได้ขัดเกลาจิตใจของนักเรียน/นักศึกษาได้ดีเท่ากับโรงเรียน ในบางสถานศึกษายังปล่อยให้มีการ "โกงข้อสอบ" นี่ถือเป็นความล้มเหลวและร้ายแรงมากกว่าโรงเรียนด้อยคุณภาพ ถ้าหากโรงเรียนเองไม่สามารถหล่อหล่อมตัวนักเรียนให้เป็นคนดีได้ ตัวโรงเรียนแบบนี้ยังสมควรจะถูกยุบมากกว่าโรงเรียนที่นักเรียนน้อย/ด้อยคุณภาพเยอะ

ในสมัยนี้ก็จะโดนทั้งผู้ปกครองหรือแม้แต่ญาติผู้ใหญ่ที่ประสงค์ดีกับตัวบุตรหลานบอกว่า

"สอบเข้ามหาลัยนู้นดีนะ มหาลัยนี้ดีนะ คณะนี้สิดีนะ สอบเข้าคณะนู้นทำไม จบมาจะมีงานทำมั้ย ฯลฯ" 

ปัญหาเหล่านี้จะเป็นการเพิ่มความกดดันให้ตัวเด็ก ทำให้เด็กไม่มีอิสระที่จะคิดที่จะเลือกเส้นทางในฝันของตัวเอง
บางคนอาจจะไปเอาดีทางด้านอาชีวะก็ได้ แต่ด้วย "ปริญญาบัตร" เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองผูกมัดกับคำนี้ และยังมีเรื่องข่าวต่างๆ
ของเด็กอาชีวะบางกลุ่มที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันอาชีวะด้วย การผลิตบุคคลากรสายอาชีพเลยยากลำบากและผลิตออกมาได้จำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน

แต่ทั้งนี้การที่ผู้ปกครองท่านพยายามให้เด็กเข้ามหาลัยนู้นหรือมหาลัยลัยนี้ พอมองไปถึงรากของปัญหาก็หนีไม่พ้น การจัดการศึกษาของประเทศไทย ที่มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จะเห็นได้ว่าเด็กต่างจังหวัดจะเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เยอะ
ทั้งที่ในความเป็นจริงถ้าการจัดการศึกษามีความเท่าเทียมกันทั้งประเทศ นักเรียน/นักศึกษาควรจะได้เรียนอยู่ในภูมิลำเนาของตนเอง รวมถึงการทำงานที่จังหวัดบ้านเกิด ไม่ใช่ว่าอะไรๆ ก็มารวมอยู่ในเมืองหลวง แต่ทั้งนี้ตัวกระผมก็ไม่ได้แสดงความกีดกันไม่ให้เด็กต่างจังหวัดเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ แต่อย่างใด ถ้าการจัดการการศึกษาเป็นระบบระเบียบมีแบบแผน และมีความเท่าเทียมกัน ปัญหาต่างๆ เรื่องคนเรียนน้อย/โรงเรียนไม่ได้คุณภาพก็จะหมดไป และจะเป็นหนทางที่จะกระจายความเจริญออกจากเมืองหลวงของประเทศ ให้ทั่วประเทศมีความเจริญก้าวหน้าไปพร้อมๆ กันด้วย

แต่ว่าการที่จะพัฒนาการศึกษาได้ ทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน ต้องทำงานต่อเนื่องกันและประสานการทำงานกันให้ได้ เพราะการปฏิรูปการศึกษา คงไม่สามารถทำภายใน ๔ ปีแล้วจะเห็นผลได้ทันที
ทำให้การศึกษาเข้าถึงทุกหย่อมหญ้า เข้าถึงทุกชุมชน
สิ่งนี้ต้องค่อยๆ ปรับค่อยๆ เปลี่ยนเพื่อให้เกิดความพร้อมของทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วทั้งประเทศไทย
เพื่อให้การศึกษาเข้าถึงทุกคน เพื่อให้คนไทยทุกคนมีความรู้ ควบคู่ทั้งคุณธรรมและจริยธรรมครับ

ด้วยความเคารพ

ชญานนท์ ทัศนียพันธุ์

วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๔๖

หมายเลขบันทึก: 567299เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2014 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2014 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในทุกแง่มุม

เป็นความจริงอันโหดร้ายที่รัฐบาลไม่สามารถวางรากฐานอันนี้ให้เข้มแข็งได้ ไม่ว่ายุคสมัยใด..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท