ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี

ในประเทศไทยมีกฏหมายรับรองการมีสุขภาพดี นั่นคือพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา5วรรค1 บัญญัติว่าบุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กําหนด โดยพระราชบัญญัตินี้[1]

คำว่าบุคคลทุกคนหรือผู้ทรงสิทธิตามมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหมายถึงใคร จะรู้ได้ต้องพิจารณาคู่กับมาตรา51แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550 บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสม และได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย[3] มาตราดังกล่าวอยู่ในหมวด3สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย นั่นหมายความว่าผู้ทรงสิทธิตามมาตรา51แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น

ทั้งที่สิทธิในการมีสุขภาพดีปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ25(1)ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ดีของตนและครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางแพทย์และบริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในความมั่นคงยามว่างงาน เจ็บป่วยพิการ เป็นหม้าย วัยชรา หรือขาดอาชีพอื่นในพฤติการที่นอกเหนืออำนาจของตน[3]

ทุกคนในข้อ25(1)แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนย่อมหมายถึงทุกคนที่เป็นมนุษย์โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นเพศใด ศาสนาใด เชื้อชาติหรือแม้แต่สัญชาติใด

จากที่กล่าวมา ในประเทศไทยจึงมีผู้ถูกละเมิดสิทธิในการมีสุขภาพดีเป็นจำนวนมาก เช่น กรณีน้องนาแฮซึ่งขาและเท้าบิด ไม่สามารถเดินได้ ต้องคลานไปตามพื้น น้องนาแฮเป็นบุคคลไร้รัฐเพราะไม่เคยมีการแจ้งเกิดแม้เกิดในประเทศไทยก็ตาม ทำให้น้องนาแฮไม่มีสิทธิในการรักษาพยาบาล ทั้งที่ความจริงแล้วน้องนาแฮควรได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลในฐานะที่เป็นเด็ก คนพิการ รวมถึงเป็นมนุษย์คนหนึ่งด้วย จากที่ได้กล่าวไป เห็นได้ชัดว่าน้องนาแฮกำลังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

[1]พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2557 แหล่งที่มา :http://www.moph.go.th/ops/minister_06/Office2/30%20baht%20law.pdf...2 พฤษภาคม 2557

[2]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550 แหล่งที่มา :http://web.krisdika.go.th/data/law/law1/%C306/%C306-10-9999-update.pdf...2 พฤษภาคม 2557

[3]ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แหล่งที่มา :http://www.unicode.org/udhr/d/udhr_tha.html...2 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 567230เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท