กาแฟ__ กับเบาหวาน+น้ำตาลในเลือด


.

ภาพ: อาทิโชค (artichoke)... มีสารคุณค่าพืชผักดีๆ คล้ายกาแฟ เป็นทางเลือกสำหรับท่านที่ไม่ชอบกาแฟ

.

.

ภาพ: มะเขือม่วง (eggplant = มะเขือยาว ส่วนใหญ่สีม่วง) มีสารคุณค่าพืชผักดีๆ คล้ายกับกาแฟเช่นกัน

                                                                                      

.

ดร.เดวิด ราเคิว สรุปการศึกษา เกี่ยวกับ "กาแฟ-กาเฟอีน (caffeine)" ใน PractiveUpdate ไว้สั้นๆ ง่ายๆ สบายๆ, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

  • [ caffeine ] > [ ขาฟ - ฟี่น ]http://www.thefreedictionary.com/caffeine > noun = กาเฟอีน
  • คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส ("กาเฟ่")

การศึกษาใหม่ รวมสถิติจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 1 ล้าน พบว่า

การดื่มกาแฟ ทั้งชนิดมีกาเฟอีน (caffeinated), และชนิดสกัดกาเฟอีนออก (decaffeinated), มีส่วนช่วยป้องกันโรคเบาหวาน

.

คนที่ดื่มกาแฟ 6 ถ้วย/วัน ลดเสี่ยงเบาหวานได้ = 33% = 1/3

สารออกฤทธิ์สำคัญ น่าจะเป็นกรดคลอโรเจนิค (chlorogenic)

สารนี้ออกฤทธิ์ต้านเอนไซม์ (glucose-6-phosphatase)

  • ทำให้ลำไส้ดูดซึมน้ำตาลกลูโคสช้าลง + ดูดซึมไขมันช้าลง
  • ทำให้ตับสร้างน้ำตาล (จากโปรตีน ไขมัน) น้อยลง
  • ทำให้การเผาผลาญไขมันเพิ่มขึ้น

.

กาแฟทั่วไป... ส่วนใหญ่เป็นกาแฟที่ผ่านการคั่วแล้ว ทำให้เหลือกรดคลอโรเจนิคน้อยลงไปกว่าครึ่ง

ข่าวดี คือ กรดคลอโรเจนิค พบในพืชอื่นได้แก่

  • ลูกพลัม
  • ลูกพรุน
  • กีวี
  • artichoke = อาทิโชค
  • eggplant = มะเขือยาว ส่วนใหญ่สีม่วง

.

ข้อควรระวังในการดื่มกาแฟ คือ "น้อยไว้ละดี"

หรือถ้ามีทุนทรัพย์พอ... กาแฟที่สกัดกาเฟอีนออก น่าจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า

เพราะสารกาเฟอีนในกาแฟ อาจเพิ่มเสี่ยงต่ออะไรอีกหลายอย่าง เช่น

  • วิตกกังวล เครียด นอนไม่หลับ
  • ความดันเลือด
  • หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ (ในบางคน โดยเฉพาะคนสูงอายุ)

.

ดร.ราเคิว แนะว่า ถ้าจะให้ปลอดภัยจริงๆ (และรวยพอ), ให้ทำอย่างนี้

  • แก้วแรก > เป็นกาแฟแท้ๆ
  • แก้วต่อไป > เป็นกาแฟแบบสกัดกาเฟอีนออก (แพง... แต่ดี)

และอย่าลืม...

  • ดื่มก่อนเที่ยงวัน > เสี่ยงนอนไม่หลับน้อยกว่าหลังเที่ยงวัน
  • ถ้าเป็นเบาหวานแล้ว > กาเฟอีน อาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้ (บางคน)

.

ทางเลือกที่น่าจะดีสำหรับกาแฟ คือ ให้หลีกเลี่ยงกาแฟซื้อ

เช่น กาแฟสด มักจะมีน้ำตาล 6-12 ช้อนชา/ถ้วยใหญ่ ฯลฯ

  • ชงเองแทนซื้อ > ใช้น้ำตาลเทียมครึ่งหนึ่ง เช่น ลินน์ ฮาล์ฟชูการ์, ไลท์ ชูการ์ ฯลฯ
  • หลีกเลี่ยงครีมเทียม > ใช้นมจืด นมไขมันต่ำ หรือนมไร้ไขมันแทน เพื่อให้ได้แคลเซียม โปรตีนเสริม

.

ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำให้ดื่มกาแฟก่อน แล้วออกกำลัง เช่น เดินเร็ว ฯลฯ

ถ้าไม่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง (เช่น โรคหัวใจ ฯลฯ)

เนื่องจากกาแฟมักจะทำให้ออกกำลังได้ "อึด" หรือมีความอดทนมากขึ้น

กาแฟก็เหมือนกับอีกหลายๆ เรื่องในชีวิตที่ว่า "น้อยไว้ละดี"

.

สรุปความรู้สำหรับกาแฟ คือ

  • ดื่มก่อนเป็นเบาหวาน + ดื่มพอประมาณ (ไม่มากเกิน) > น่าจะดี
  • ดื่มหลังเป็นเบาหวาน > เสี่ยงน้ำตาลในเลือด +/- ความดันเลือดเพิ่ม > น่าจะไม่ดี

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank Practiceupdate.com > http://www.practiceupdate.com/journalscan/8056

หมายเลขบันทึก: 566845เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2014 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2014 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วดีใจจังเพราะติดการกินกาแฟ เห็นจะต้องเปลี่ยนมาเป็นดีแคฟบ้างในแก้วที่สอง สาม และ/หรือสี่ ติดกลิ่นกาแฟค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท