วิธีป้องกันโรค__ข้อเข่าเสื่อม


.

.

อ.ดร.อีริค แฮนเซน ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ บรรยายเรื่อง "ความรู้ใหม่... เรื่องข้อเข่าเสื่อม", เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557, วิดีโอนี้ นำขึ้นยูทูบ, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

โรคข้อเข่าเสื่อม (osteoarthritis) หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า เจ้า "โอ.เอ. / OA" เป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ในสหรัฐฯ

  • อันดับ 1 = ความดันเลือดสูง
  • อันดับ 2 = ข้อเข่าเสื่อม หรือน้อง "OA"

.

คนอเมริกันมีปัญหาน้ำหนักเกิน+โรคอ้วนมากขึ้น, อายุเฉลี่ยมากขึ้น ทำให้โรคนี้พบบ่อยขึ้น

โรคนี้พบเพิ่มขึ้นตามอายุ > อายุมากขึ้น-พบมากขึ้น, แต่คนอเมริกันวัยกลางคนเป็นโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

สถิติการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าพบมากที่สุดในช่วง mid-50s = ช่วงอายุ 50 กลางๆ (ไม่ใช่ตอนสูงวัยอีกต่อไป)

โรคข้อเสื่อม (OA) เป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุมากขึ้น, ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย ฯลฯ [ umm.edu ]

.

ถ้าจะป้องกันโรค หรือลดเสี่ยงให้ได้ผลดี, จะต้องลดปัจจัยหลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน

(1). ลดน้ำหนัก (ถ้าน้ำหนักเกิน หรืออ้วน)

ถ้าลดได้ 1 กิโลกรัม (กก.) จะลดแรงกดต่อเข่าได้ 4 เท่า = 4 กก.

(2). ระวังโรคอ้วน

  • โรคอ้วน > ข้อเข่าเสื่อม 4-5 เท่า
  • โรคอ้วน > ข้อนิ้วมือเสื่อม 2 เท่า

.

โรคอ้วน น่าจะทำให้สารก่อการร้าย หรือสารก่อการอักเสบในเลือดสูงขึ้น

แล้วสารนี้ไปทำให้ข้อเสื่อมอีกต่อหนึ่ง ไม่ได้เป็นผลจากน้ำหนักอย่างเดียว

ถ้าเป็นผลจากน้ำหนักอย่างเดียว, โรคอ้วน ไม่น่าจะทำให้ข้อนิ้วมือที่ไม่ได้รับน้ำหนักเสื่อมมากขึ้น

กลไกอื่นที่อาจเป็นไปได้ คือ คนอ้วน อาจจะใช้นิ้วมือมาก

.

เช่น เล่นเกมส์-กดรีโมต คอนโทรล (ดู TV) ทั้งวัน ฯลฯ

เรื่องนี้สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า กลุ่มอาการเมทาโบลิค (metabolic syndrome / อ้วนลงพุง) น่าจะเกิดจากเนื้อเยื่อไขมัน ปล่อยสารก่อการอักเสบเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น ร่วมกับกลไกอื่นๆ หลายอย่างด้วยกัน

เบาหวานเพิ่มเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม [ mayoclinic ]

ถ้าป้องกันเบาหวาน เช่น ลด "ข้าวขาว-ขนมปังขาว-น้ำตาล-อาหารทอด", ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ, ระวังน้ำหนักเกิน, จะลดเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมไปด้วย

.

กลุ่มอาการนี้อาจมาด้วย...

  • เส้นรอบเอวสูงขึ้น (ผู้ชายมากเกิน 90 ซม., ผู้หญิงเกิน 80 ซม.)
  • ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น
  • โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลง
  • ความดันเลือดสูงขึ้น
  • น้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเพิ่มขึ้น

.

(3). การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การอยู่นิ่งนานๆ เพิ่มเสี่ยงข้อเสื่อม [ webMD ][ CDC ]

  • เช่น ยืนติดต่อกันเกิน 3 ชั่วโมง/วัน ฯลฯ
  • นั่งนาน เช่น นั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง
  • นั่งพื้น หรือทำงานที่ต้องคุกเข่านานๆ (เช่น ซ่อมรถ ฯลฯ)
  • ยกของหนัก 25 กก.ขึ้นไป ซ้ำซาก เช่น อาชีพแบกข้าวสาร ยกของ-จัดของ ฯลฯ

นั่งเก้าอี้ปลอดภัยกว่า

การออกกำลัง เช่น วิ่ง ไม่เพิ่มเสี่ยงข้อเสื่อม แต่ต้องเป็นพื้นเรียบ ไม่มีหลุมบ่อ

.

ถ้าเล่นฟุตบอล, ห้ามเล่นในสนามที่มีหลุมบ่อ

อุบัติเหตุข้อเข่า เพิ่มเสี่ยงข้อเสื่อม

แต่ถ้าข้อเข่าเสื่อมไปแล้ว, การวิ่ง คงจะไม่เหมาะ (อีกต่อไป)

การออกกำลังที่น่าจะดี คือ ออกกำลังแบบเบาๆ ต่อเนื่อง (low impact aerobic) เช่น

  • ปั่นจักรยานแนวราบ-จักรยานออกกำลัง
  • ไทชิ-ชี่กง มวยจีน
  • เดินแนวราย
  • ที่ดีแต่แพง คือ เดินในสระว่ายน้ำ 

.

(4). การรักษาทางเลือกได้ผลไม่แน่นอน เช่น

  • ฝังเข็ม
  • กินสารทดแทนน้ำไขข้อ (chondroitin / glucosamine)
  • ฉีดสารทดแทนน้ำไขข้อ (hyaloronic acid)

การรักษาที่ได้ผลดี แต่แพง และมีอายุการใช้งานจำกัด คือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

เรื่องนี้บอกเราว่า ป้องกันไว้ก่อน เป็นดีที่สุด

.

ภาพ: ตัวอย่างการฝึกป้องกันเอ็นไขว้เข่าด้านหน้า (ACL) บาดเจ็บ

  • ยืนขาข้างเดียว
  • ค่อยๆ ก้มลงช้าๆ + ยื่นแขนข้างตรงข้ามไปทางด้านหน้า
  • ใช้ปลายนิ้วมือ แตะปลายเท้า

.

ภาพ: ตัวอย่างการฝึกป้องกันเอ็นไขว้เข่าด้านหน้า (ACL) บาดเจ็บ

  • นอนตะแคง > ยกตัวขึ้นด้านข้าง
  • ถือของหนักๆ ชิดลำตัว > ย่อตัวลงให้ขาข้างหนึ่งอยู่หน้า (ซ้าย-ขวา)
  • กระโดด > ไปทางด้านข้าง (ซ้าย-ขวา)
  • กระโดด > แล้วยืนด้วยขาข้างเดียว + ย่อตัวลงเล็กน้อย (ซ้าย-ขวา)
  • ใช้ขายัน > ยกเอว-สะโพกขึ้น + จัดแนวลำตัว-สะโพก-ขาท่อนบน ให้อยู่ในแนวตรง

.

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คนที่ชอบเล่นกีฬาแรงๆ เร็วๆ เช่น ฟุตบอล ฯลฯ

ฝึกโปรแกรมป้องกันเอ็นไขว่เข่าบาดเจ็บ (ACL injury prevention)

ซึ่งจะทำให้การทรงตัวดี หกล้มน้อยลง

ถ้าหกล้มน้อยลง... จะลดเสี่ยงเอ็น-ข้อเข่าบาดเจ็บ, ลดเสี่ยงข้อเสื่อม

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank U California Dr. Erik Hansen, an orthopedic surgeon at UCSF, specializes in reconstructive, replacement and revision surgery of the hip and knee. He discusses the latest in joint replacement and arthritis care. Recorded on 02/25/2014. 

Thank UCTV > http://youtu.be/DgyB05XrkMk 

หมายเลขบันทึก: 566506เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2014 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2014 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ข้อมูลน่าสนใจและละเอียดมาก ขอบพระคุณครับ

ชอบคะ  เดินในสระว่ายน้ำ  ทำบ่อย 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท