สรุปการกล่าวเปิดงาน  โครงการ “วันสงกรานต์ วันครอบครัว และวันผู้สูงอายุ ประจำปี 2557” ของนายพยนต์ ฉุยฉาย  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสระบุรี


  สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนไม่ใช่คุกหรือเรือนจำ แต่เป็นสถานที่เพื่อการอบรมให้เดินถูกทาง  เพราะชีวิตไมได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เปรียบเทียบการมาอยู่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เสมือนการเจ็บป่วย หากเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บ เราต้องไปหาหมอหรือพบแพทย์ ถ้าอาการไม่หนักมาก ก็จะได้รับยาแล้วกลับไปบ้านได้ แต่หากป่วยหนัก จำเป็นต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อรักษาให้หาย อาจจะใช้เวลา 10-20 วันแล้วแต่อาการของโรค 

          เมื่อเรายังต้องอยู่ในสังคม หากกระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดโทษไว้  หรือประเพณี ศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของสังคม ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่มีโอกาสกระทำความผิดได้เสมอ แต่ถ้าเป็นเด็กหรือเยาวชน กฎหมายมองว่าอาจทำผิดเพราะ “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” หรือ“ยังมีภูมิต้านทานน้อย”  หรือ “อ่อนประสบการณ์” เมื่อคิดผิดหรือกระทำผิด หากเป็นความผิดทางประเพณีที่ไม่ร้ายแรง ครอบครัวก็อาจจะอบรมสั่งสอน แก้ไขพฤติกรรมเด็กด้วยตนเองได้ แต่ถ้าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เช่น ลักทรัพย์ ข่มขืนกระทำชำเรา พรากผู้เยาว์ เป็นต้น หากถูกตำรวจจับดำเนินคดี จะถูกส่งฟ้องศาล กฎหมายบัญญัติแยกออกเป็นสำหรับเด็ก จำเป็นต้องให้ศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้พิจารณาโทษที่กระทำผิด แยกการปฏิบัติเป็นการบำบัด ฟื้นฟู หาสาเหตุหรือเหตุจูงใจในการกระทำความผิด โดยขอสรุปสาเหตุการกระทำความผิดเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ

  1. พ่อแม่ ผู้ปกครองรักลูกไม่ถูกวิธี หรือ”พ่อแม่รังแกลูก” ตัวอย่าง เช่น ครอบครัวหนึ่งมีบุตรชายสองคน คนโตช่างพูดประจบประแจง อยากได้อะไรก็ขอได้ดังใจ พ่อแม่รักมาก ส่วนคนเล็กเป็นคนเงียบขรึม ไม่พูด อยากได้อะไรก็ไม่ขอ พ่อแม่ก็ไม่รู้ว่าอยากได้หรือไม่อยากได้อะไร เกิดเป็นความน้อยใจและเก็บกดว่า  พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันหรือพ่อแม่ไม่รัก ทำให้คบเพื่อนไม่ดีหรือเพื่อนที่เกเร เพื่อเรียกร้องความสนใจ ทำให้เกิดปัญหากับพ่อแม่มากยิ่งขึ้น ว่าเป็นเด็กดื้อ ไม่น่ารัก แล้วก็ไม่แก้ไขพฤติกรรมของเด็ก กลับไม่สนใจหรือ “ตัดหางปล่อยวัด” ทำให้ลูกคนเล็กกระทำผิดกฎหมาย เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถูกจับขึ้นศาล นี่เป็นตัวอย่างของพ่อแม่รักลูกแต่ไม่มีความรู้ในการเลี้ยงดูลูก
  2. ครอบครัวไม่อบอุ่น มีหลายสาเหตุ เช่นพ่อแม่หย่าร้าง หรือเสียชีวิตแล้ว จำเป็นต้องอยู่กับญาติ และญาติไม่มีเวลาดูแล อบรมสั่งสอน เอาใจใส่ เพราะต้องทำมาหากิน จึงทำให้เริ่มคบเพื่อนที่ไม่ดีหรือเกเร เพราะไม่มีที่ปรึกษา แล้วก็เริ่มออกจากบ้านไปเนื่องจากกลับมาบ้านก็ไม่เจอใคร จนกระทั่งต้องเลิกเรียนไปในที่สุด

ข้อเสนอแนะหรือแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว

           ปัญหาที่เกิดขึ้นถือเป็นภูมิคุ้มกันบกพร่องทางสังคมเพราะเด็กมีประสบการณ์น้อยและครอบครัวมีส่วนสำคัญ

พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ให้ความรักโดยการแสดงออกทางคำพูดหรือวาจา มากกว่าจะให้วัตถุหรือสิ่งของ  การใช้”น้ำลาย”ให้เป็น”น้ำมนต์”โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยจำนวนเงิน” จะทำให้เด็กรู้สึกว่า พ่อแม่ห่วงใย ต้องไถ่ถามสารทุกข์ สุกดิบ ของลูกตนเองสม่ำเสมอ  สิ่งที่น่าสะเทือนใจที่สุดสำหรับเด็กคือ  ความหว้าเหว่ ไม่มีใครสนใจ จะยิ่งเตลิดไปใหญ่

พ่อแม่ต้องทำให้เด็กรู้สึกว่าไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวในสังคม ยังมีคนรักและต้องการเขาอยู่เสมอ ทำให้เด็กเกิดเกิดความยับยั้งชั่งใจในการจะกระทำความผิดได้

            ขอเป็นกำลังใจให้น้องทุกคน ขอให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและรับการอบรม ปรับเปลี่ยนความคิดจากผิดเป็นถูก เสริมสร้างศักยภาพ เหมือนรักษาโรคจากโรงพยาบาลจนหายเป็นปกติ เพราะการมาอยู่ที่สถานพินิจฯเป็นการมาเพื่อ อบรม แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู  ผ่านการอบรม รักษาทางด้านจิตใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อส่งกลับคืนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวต่อไป เพราะเด็กเหล่านี้คือ “อนาคตของชาติ”

            

หมายเลขบันทึก: 566367เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2014 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2014 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

- รู้เท่าไม่ถึงการณ์

- ภูมิคุ้มกัน(ทางสังคม) ต่ำ

- ขาดประสบการณ์ชีวิต

ชอบมากคือ ใช้น้ำลาย ==> เป็นน้ำมนต์


ขอบคุณมากค่ะ

...คนเป็นพ่อแม่...ต้องตระหนักว่าการเลี้ยงลูก ถือเป็นหน้าที่สำคัญมากเพราะลูกคืออนาคตของชาตินะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท