นักศึกษาฝึกงาน


ระบบการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเกือบทุกสถาบันได้ออกแบบให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการฝึกงานภาคสนาม
หรือการปฏิบัติงานจริง โดยการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ในสาขาวิชาพัฒนาสังคม ก็มักจะสนับสนุนให้
นักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงานภาคสนามกับองค์กรที่ทำงานพัฒนา หรือหน่วยงานพัฒนาชุมชน ในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์
ก็มักจะส่งเสริมให้ไปฝึกงานกับองค์กรที่มีเนื้องานเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี และงานสวัสดิการสังคม
เป็นต้น

มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) เป็นองค์กรพัฒนาภาคเอกชน ที่ดำเนินงานสร้างเสริมความเข้มแข็งให้แก่
องค์กรชาวบ้านในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชนชาติพันธุ์ (ชาวเขา/ชนเผ่า) และทุกปีมีนักศึกษาได้มาฝึกงานกับ
มูลนิธิ ฯ ต่อเนื่อง สาเหตุจากเครือข่ายที่ได้รู้จักกันมาก่อน การบอกต่อ รุ่นพี่บอกต่อรุ่นน้อง ชื่อหน่วยงานอยู่ในลิสต์
ของการฝึกงานของสถาบัน เป็นต้น 

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่การก่อตั้งมูลนิธิ ฯ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน มูลนิธิ ฯ ได้รับนักศึกษา
ฝึกงานมาแล้วเกือนสองร้อยคน จากสถาบันการศึกษาทั้งในจังหวัดเชียงราย และในจังหวัดอื่น ๆ  การฝึกงานของ
นักศึกษานั้น มูลนิธิ ฯ ได้พยายามสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้นักศึกษาเรียนรู้ทั้งงานภาคสนาม และงานสำนักงาน 
เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นกระบวนการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนเล็ก ๆ ที่ทำงานกับชุมชน และเครือข่าย
ในพ.ศ. 2557 มูลนิธิ ฯ ได้จัดกระบวนการอบรม/หลักสูตรนักศึกษาฝึกงานกับมูลนิธิ ฯ ภายใต้โครงการชาติพันธุ์
อาสาเพื่อการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยมูลนิธิ ฯ ได้ประสานงานกับโปรแกรมพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3  เข้าไปฝึกงานในพื้นที่ โดยมีการจัดกระบวนการ
อบรมอย่างเข้มข้น  มีการวางแผนการทำงานในระดับชุมชน และการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างนักศึกษาฝึกงาน 
และอาสาสมัครชาติพันธุ์ในชุมชน เพื่อการวางแผนการพัฒนาชุมชน ในระยะเวลา 3  เดือน ระหว่างมีนาคม - 
พฤษภาคม 2557 

 

แผนงานอบรมนักศึกษา

ลำดับ

กิจกรรม

วัตถุประสงค์

วิธีดำเนินงาน

1

อบรมปฐมนิเทศน์นักศึกษาครั้งที่ 3วัน2คืน

-นักศึกษามีความพร้อม ความเข้าใจและมีทักษะเครื่องมือการลงพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน

-จัดอบรมตามหลักสูตร

การอบรมภาคทฤษฎีเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ชุมชน 3วัน2คืน

-การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

-การกระจายอำนาจ

-การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน

 

2

อบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่

 

-นักศึกษามีความพร้อม ความเข้าใจและมีทักษะเครื่องมือการลงพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน

การอบรมเชิงปฏิบัติงานในชุมชน โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่ประเด็นการกระจายอำนาจ ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม

 

   -พื้นที่ป่าตึง  ระหว่าง 15-20 มีค

    -พื้นที่เทอดไทย ระหว่าง 21-25  มีค

    -พื้นที่เชียงดาว ระหว่าง 26-30 มีค

3

การอบรมการจัดทำแผนงานชุมชน

-นักศึกษาสามารถจัดทำแผนวิเคราะห์ชุมชนและการจัดทำรายงาน

การอบรมเรื่องการจัดทำแผนงานชุมชน และเทคนิคในการจัดทำแผนชุมชน

ระยะเวลา2 คืน 3 วัน 

4

นักศึกษาลงพื้นที่เป้าหมาย

-นักศึกษาลงพื้นที่ปฏิบัติตามแผนกิจกรรม

เดือนแรกศึกษาเรียนรู้บริบทชุมชน

เดือนที่สอง สิ่งแวดล้อมในชุมชน

เดือนที่สาม จัดทำแผน สรุปวิเคราะห์ ทำรายงาน

5

ติดตามการดำเนินงานอาสาสมัคร(เดือนละครั้ง)

-เพื่อติดตามการทำงานของนักศึกษาและเพิ่มเติมการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาอุปสรรคระหว่างการทำงานและประเมินการดำเนินการในแต่ละเดือน

นัดหมายเดือนละครั้งต่อพื้นที่ตำบล ครั้งละ 1 วันพื้นที่ตำบลละ1ครั้งต่อเดือน(3พื้นที่*เดือน=9ครั้ง)

นักศึกษานำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้

-สิ่งที่ได้เรียนรู้    -ปัญหาอุปสรรคการแก้ไข

-กิจกรรมแผนดำเนินครั้งต่อไป  -เครื่องมือทักษะที่ต้องการเพิ่มเติม

6

เวทีคืนข้อมูลชุมชน

เพื่อนำเสนอข้อมูลที่นักศึกษาได้รวบรวมตลอดการฝึกงานให้ชุมชน  รวมรวมข้อเสนอแนะจากชุมชน

การประชุมชาวบ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต.

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน

แยกรายหมู่บ้าน

7

ประชุมถอดบทเรียนหลังสิ้นสุดการลงชุมชน

-เพื่อสรุปบทเรียนการทำกิจกรรมอาสาสมัครและประเมินสถานการณ์ชุมชนและวางแนวทางการดำเนินการนักศึกษาในรุ่นต่อไป

จัดประชุมถอดบทเรียน ระยะเวลา 2 วัน 1คืน

-นักศึกษานำเสนอผลการดำเนินกิจกรรม/ปัญหาอุปสรรคการแก้ไข/ข้อเสนอแนะต่อโครงการ

-ตัวแทนภาคสนามนำเสนอการทำงานของนักศึกษาในพื้นที่

 

 

บทบาทภารกิจนักศึกษา

การดำเนินงาน

               1.ลงพื้นที่ประสานงานชุมชน จัดการกระบวนการทำความเข้าใจเนื้อหาเรื่องการมีส่วนร่วม และสิทธิชุมชน ระดมความคิดเห็นชุมชน ทำแผนการพัฒนาชุมชน ร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่  และผู้ประสานงานภาคสนาม

               2. นักศึกษา เลือกชุมชน 1 ชุมชนต่อหนึ่งคน  ทำงานเป็นทีม 8 คน 8 ชุมชน ในหนึ่งตำบล

               3.ประเด็นการศึกษา

   - ศึกษาข้อมูลชุมชน /ศึกษาสถานการณ์ฐานทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า 

   - จัดทำแผน ระดมปัญหาและแนวทางการแก้ไข/จัดทำโครงการ

   - วิเคราะห์จัดทำรายงานตามแบบฟอร์มในมุมมองนักศึกษาภายใต้แนวคิด การกระจายอำนาจ สิทธิชุมชน การมีส่วนร่วม

   - เลือกประเด็น หัวข้อ หรือสิ่งที่สนใจศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการทำสารนิพนธ์

   -เวทีคืนข้อมูล

                  -แลกเปลี่ยนประสบการณ์  ชาติพันธุ์แต่ละชุม

 

หมายเลขบันทึก: 566302เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2014 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2014 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท