บทเรียน "การเขียนความรู้ใหม่".... จากของจริง


คำว่า "การเขียนความรู้ใหม่ (Dissertation)" สำหรับคนทั่ว ๆ ไป ก็อาจไม่เข้าใจว่าทำอะไรกัน ทำกันยังไง แต่คนมหา'ลัย คงไม่ใช่เรื่องใหม่ และ ยิ่งคนที่ศึกษาอยู่ในระดับดุษฎีบัณฑิต ต้องรู้จักและ คิด ๆ ๆๆๆ อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งจบการศึกษาได้ดีกรีไป

การสอนรายวิชาในระดับปริญญาเอก นอกจากวัตถุประสงค์หลักคือ ให้ความรู้และทฤษฎีใหม่เพื่อให้ นศ.ป.เอก มี ฐานความรู้ที่แน่นและกว้างขึ้นเพื่อนำไป คิด"โจทย์วิจัย" หรือ "เป็นทฤษฎีสนับสนุนการทำวิจัย" ขณะเดียวกันก็ "แนะนำแนวทางการทำวิจัยในเนื่้อหาของรายวิชา" ดังกล่าว

แม้เราจะเตรียมการและวางแนวทาง กระตุ้น หลอกล่อ ให้ นศ.ป.เอก เกิดข้อสงสัย เกิดคำถามที่อยากหาคำตอบ และให้ "ติดคิดอยู่กับเรื่องที่จะทำวิจัย" ก็ยังมีหลาย ๆ ปัจจัยไม่ทำให้ไปสู่จุดหมายร่วมกันได้รวดเร็วนัก คือ ทำวิจัยเสร็จ

-ไม่มีเวลา ต้องทำมาหากิน

-เรื่องยากเกินไป ขอเปลี่ยนไปทำวิจัยเชิงคุณภาพได้ไหมง่ายกว่า เพราะไม่เก่งสถิติ

-อยากทำ นะ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร

-เอาเรื่องที่จบเร็วมีไหมครับ ????

ฯลฯ................

ผู้เขียนพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง การเป็นที่ปรึกษา กับ นศ.ป.เอก มีส่วนสำคัญมากพอสมควรทีเดียวเพื่อทำให้ นศ. กล้าที่จะถาม กล้าปรึกษา และ รักษาระยะการทำงานให้คืบหน้า

ขณะเดียวกัน ทำอย่างไรให้ นศ. มีประสบการณ์ตรงในการทำวิจัยมากขึ้น นอกจากการให้ อิสระที่จะคิด ทำ และเมื่อมีความก้าว ก็มาพบหารือกัน เหมือนเป็น "การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation)" ...ลักษณะดังกล่าว นศ. ต้องมี "ความรับผิดชอบ" และ "วินัยในตนเองที่สูง" และ "แน่นในกระบวนการวิจัย" อย่างดีพอ

ดังนั้น การสร้างบทเรียน ให้ นศ. ได้เกิดความก้าวหน้า อาจจะไม่เหมือนกับการเรียน ป.เอก ในอดีต และสภาพการเรียนและ นศ. ปัจจุบันก็ยังแตกต่างไปจากเดิมมากเลยทีเดียว

1) การให้ นศ. มาทำงานวิจัยในลักษณะเหมือน TA (Teaching Assistant) เป็นลักษณะหนึ่งที่ผู้เขียนนึกถึง เพราะมีประสบการณ์ตรงในการเป็น TA มาก่อน

เลยถือโอกาสปรับวิธีการนี้ มาใช้ในการควบคุมการทำดุษฎีนิพนธ์ (ในต่างประเทศ หรือ บางแห่งอาจให้ค่าตอบแทน หรือ มีทุนการศึกษาให้ เมื่อมีการทำงานพิเศษ) น่าจะมีผลในทางก้าวหน้าในงานวิจัยของ นศ.

-ทำให้ นศ. สามารถทำงาน " วิจัย " กับที่ปรึกษาได้ดีขึ้น

-ได้เรียนรู้วิธีคิด การทำงาน และ พัฒนาการเรียนรู้ได้เร็วมากขึ้น

-ที่ปรึกษาได้เห็นข้อจำกัด การติดขัดทางวิชาการ จะได้ "นำทางความรู้ให้"

-การให้กำลังใจ การต่อสู้ต่อความย่อท้อ และอีกหลาย ๆ อย่างที่ กวนจิตใจ การเคว้งคว้าง ฯลฯ

2) การให้มีโอกาสสัมผัส และ เกิดประสบการณ์ตรง จากการได้เข้าฟัง การสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ และ การสอบปกป้องดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ในสถานการณ์จริง เห็นสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนอาจ "มองทะลุแจ้งแทงตลอด" ในการทำวิจัยของ นศ.

3) "Direct To Dean" มีลักษณะ ขึ้นตรงกับคณบดี แต่เปลี่ยนมาเป็นที่ปรึกษาในการทำวิจัยร่วมกันกับที่ปรึกษาในบางโครงการโดยนำไปสู่การเป็น "Dissertation" หรือ เป็นโครงการย่อยในโครงการวิจัยหลักของที่ปรึกษา

ทั้ง 3 แนวทางดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่า น่าจะเป็น "กลยุทธสู่ถนนความสำเร็จในการทำวิจัย หรือ เขียนความรู้ใหม่ (Dissertation)" ที่ควรหยิบมาใช้ในยุคนี้ได้ดีและสร้างมิติการเรียนรู้ในการวิจัยให้ นศ.ป.เอก (หากสนใจและต้องการพัฒนาตนเองตามแนวนี้) ได้มากกว่ากระบวนการแบบเดิม แม้ว่าวิธีการดังกล่าวอาจไม่ใช่่วิธีการใหม่ แต่ไม่ค่อยมีนิยมทำกัน เพราะเป็นการเพิ่มภาระงานของที่ปรึกษา

การเรียนรู้ย่อมทำให้เกิดการพัฒนาความรู้ และความรู้นั้นหากผ่านการตรวจสอบ ทำซ้ำ จนสามารถใช้ได้ทุกบริบทก็จะเป็นความรู้สากลได้เช่นกัน

ดร.ดนัย เทียนพุฒ

หมายเลขบันทึก: 566026เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2014 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2016 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...เรียนจบศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต...เสียดายที่ไม่มีโอกาสนำความรู้ไปใช้เพราะ Early retirement ก่อนที่จะเรียนจบ ...ได้มอบวิทยานิพนธ์ให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้นโยบาย SMART SCHOOL...ท่านบอกว่าไม่มีเวลาเปิดอ่าน...

ชื่อวิทยานิพนธ์

การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกรุงเทพมหานครไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร

The Analysis of Factors Affecting the SMART SCHOOL Policy Implementation in the Basic Education School under the Bangkok Metropolitan Administration

อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.ประชุม รอดประเสริฐ

การอ่านสร้างปัญญา ไม่อ่านปัญญาไม่เกิด .....ผู้บริหารการศึกษาไทย ?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท