วันอาทิตย์ ติดวัด(จะทิ้งพระ)


วัดจะทิ้งพระ เป็นวัดใหญ่เก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองสทิงพระมาแต่โบราณ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีลานจอดรถกว้างขวาง ร่มรื่นด้วยต้นไม้

- มีงานสมโภชพระนอนวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6

ตั้งอยู่ที่ อยู่ใกล้ที่ว่าการอำเภอสทิงพระ ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ

การ เดินทาง หากนำรถส่วนตัวไป ให้เริ่มจาก อ.สิงหนคร ใช้ทางหลวงหมายเลข 408 ไปทาง อ.ระโนด เมื่อเข้าตัว อ.สทิงพระ ให้สังเกตที่ว่าการอำเภอทางซ้ายมือ เพราะวัดจะทิ้งพระอยู่เลยไปเล็กน้อย

(ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.thailands360.com/ ไว้ ณทีนี้)

การเดินทาง หากไปโดยรถประจำทาง ให้ขึ้นรถสายสงขลา-ระโนด

ประวัติ

เดิมเรียกว่าวัดสทิงพระ ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นวัดจะทิ้งพระ ตามตำนานนางเอกขาวกล่าวว่า เจ้าพระยากรุงทองเจ้าเมืองสทิงพาราณสีเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้น ส่วนหลักฐานหนังสือกัลปนาหัวเมืองพัทลุงสมัยอยุธยา ระบุว่าวัดจะทิ้งพระแยกออกเป็นสองวัด โดยมีกำแพงกั้นกลาง วัดแรกคือวัดสทิงพระ มีพระครูวินัยธรรมเป็นเจ้าอธิการ หมื่นธรรมเจดีย์เป็นนายประเพณี อีกวัดคือวัดพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ มีพระครูอมฤตย์ ศิริวัฒนธาตุ เป็นเจ้าอธิการ ขุนธรรมพยาบาลเป็นนายประเพณี วัดทั้งสองแห่งนี้มีชื่อเรียกร่วมกันว่า วัดเจ้าพี่วัดเจ้าน้อง โดยขึ้นกับวัดเขียนบางแก้วคณะป่าแก้ว หัวเมืองพัทลุง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงรวมเป็นวัดเดียวกัน

เจดีย์ พระศรีมหาธาตุ หลังจากกรมศิลปกร อนุรักษ์ คงสภาพทาสีใหม่

เจดีย์พระมหาธาตุ เจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองสทิงพระเป็นผู้สร้างเจดีย์นี้ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.1542 ช่วงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แต่มีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยาธรรมรังคัล เจดีย์พระมหาธาตุมีความสูง 20 เมตร ฐานกว้างด้านละ 17 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางขององค์ระฆัง 6 เมตร มีลักษณะเป็นรูปโอคว่ำ หรือแบบลังกาอย่างพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช แต่ไม่มีรัตนบัลลังก์ เสามะหวดตั้งบนคอระฆัง ระหว่างเสามีรูปสาวกปูนปั้นนูนต่ำจำนวน 16 องค์ ถัดขึ้นไปเป็นปล้องไฉนและยอดเจดีย์องค์ระฆังของเจดีย์พระมหาธาตุมีลักษณะแปลก คือจะคอดเว้าตรงกลางเล็กน้อย น. ณ ปากน้ำ นักประวัติศาสตร์ศิลปะอธิบายว่าเป็นศิลปะแบบปาละ สมัยศรีวิชัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐดินเผาและอิฐปะการังสอด้วยดิน

วิหารพระนอน คนท้องถิ่นเรียกว่า วิหารพ่อเฒ่านอนเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน รูปทรงยาว มีชานชาลาด้านข้างเพียงด้านเดียวเป็นซุ้มโค้งสำหรับเดินเข้าอาคาร ภายในค่อนข้างทึบ ไม่มีหน้าต่าง มีเพียงช่องระบายอากาศ และประตูสองบาน สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา และมีการบูรณะในสมัยพระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) อดีตเจ้าอาวาสในสมัยรัชกาลที่ 5 หน้าบันด้านหน้าวิหารมีลายปูนปั้นเป็นรูปยักษ์แบกพระอินทร์ที่ทรงช้างเอราวัณอยู่บนพื้นลายไทย ส่วนหน้าบันด้านหลังเคยมีลายปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ แต่เพิ่งหลุดลอกไปเมื่อไม่นานมานี้

พระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน เป็นพระก่ออิฐถือปูนยาว 14 เมตร สูง 2 เมตร ชาวบ้านเรียกว่า พ่อเฒ่านอน ลักษณะนอนตะแคงขวา พระหัตถ์ขวาหนุนพระเศียร น. ณ ปากน้ำ สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะศวีวิชัยที่สร้างเลียนแบบศิลปะคุปตะ

(ภาพเจดีย์ ก่อนบูรณะ)

วัดจะทิ้งพระ อยูห่างจาก ทะเลอ่าวไทย ประมาณ 300 เมตร

ผ่านมาแล้ว เชิญพักผ่อนทีหาดมหาราช  ให้สบายใจ แล้วค่อยเดินทางกลับ น้ำใส่ๆๆ ลงเล่นได้อย่างปลอดภัย

และยังมี รูปเสด็จพ่อ รัชกาลที 5 เทศบาลสทิงพระสร้ัางไว้เป็นทีระลึก ครั้งหนึ่งเคยเสด็จมาเยือน

ชายหาดมหาราช ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ รอนักท่องเทียวมาเยือนเสมอ

 

หมายเลขบันทึก: 564995เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2014 06:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2014 06:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วันนี้มีพื้นที่ติดทะเล

ใกล้โรงเรียนใช่ไหมครับ

ใช่ครับเป็นวัเก่าแก่วัดหนึ่งในอำเภอสทิงพระ ทีเสด็จพ่ีอ ร5 เคยเสด็จประพาสหัวเมืองทางใต้ และทรงขึ้นฝั่งทีบริเวณหาดมหาราช จึงได้ตั้งชื่อว่า "หาดมหาราช"

ชื่อแปลกนะครับ จะทิ้งพระ..

น่าจะมีที่มาของชื่อนี้นะครับ

อาจมีเหตุการณ์ที่...ชาวบ้านจะทิ้งพระ หรือพระจะทิ้งวัด หรือวัดจะทิ้งพระ โอ้....

ขอบคุณที่แบ่งปันประวัติศาสตร์ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท