beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรียนรู้จากร้านตัดผม (ชาย) <๗> : สมุดบันทึกการตัดผมของบีแมน


มีแนวโน้มว่า ในเดือนเมษายนปี ๒๕๕๗ ร้านตัดผมชายจะเพิ่มค่าตัดผมจาก ๙๐ บาท เป้น ๑๐๐ บาท.. ดังนั้นเพื่อความประหยัด จึงตั้งงบประมาณค่าตัดผมในปี ๒๕๕๗ ไม่ให้เกิน ๖๐๐ บาท ต่อปี

    ไม่ได้เขียนบันทึกไป ๓ เดือนกว่าๆ rating คนเข้ามาเยี่ยมบล็อกตกไปเหลือ ๓ คน ต่อสัปดาห์.. เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเจอแฟนคลับท่านหนึ่งถามถึงเรื่องการเขียนบันทึก.. เลยกลับมาเขียนอีกครั้งหนึ่ง..เขียนเรื่องราวในซีรี่ส์ที่มีคนเข้ามาให้ความเห็นเอาไว้ ครั้งนี้นำเสนอ  "สมุดบันทึกการตัดผมของบีแมน" ย้อนหลังไป ๔ ปี  มีตารางข้อมูลดังต่อไปนี้

 

    ๑. รายการตัดผมปี ๒๕๕๓    
ครั้งที่ เดือนที่จะตัด (แผน) วัน-เดือน-ปี (ตัดจริง) ห่างจากครั้งก่อน (วัน)  ค่าตัด
  1.  มกราคม  ๒๑ มกราคม ๒๕๕๓  -   ๗๐ บาท
  2.  มีนาคม  ๑ มีนาคม ๒๕๕๓  ๓๙ วัน   ๗๐ บาท
  3.  เมษายน  ๙ เมษายน ๒๕๕๓  ๔๐ วัน   ๗๐ บาท
  4.  พฤษภาคม ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓   ๔๔ วัน   ๗๐ บาท
  5.  กรกฎาคม  ๑ กรกฏาคม ๒๕๕๓  ๔๑ วัน   ๗๐ บาท
  6.  สิงหาคม  ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓  ๔๓ วัน   ๗๐ บาท
  7.  ตุลาคม  ๕ ตุลาคม ๒๕๕๓  ๕๕ วัน   ๗๐ บาท
  8.  ธันวาคม  ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓  ๖๓ วัน   ๗๐ บาท
      เฉลี่ย ๔๖ วัน ตัดผมครั้งหนึ่ง T.560 B

  

 

     ๒.รายการตัดผมปี ๒๕๕๔    
ครั้งที่ เดือนที่จะตัด (แผน) วัน-เดือน-ปี (ตัดจริง) ห่างจากครั้งก่อน (วัน)  ค่าตัด
  1.  มกราคม  ๒๒ มกราคม ๒๕๕๔  ๔๘ วัน   ๗๐ บาท
  2.  มีนาคม  ๖ มีนาคม ๒๕๕๔  ๔๔ วัน   ๗๐ บาท
  3.  เมษายน  ๒๙ เมษายน ๒๕๕๔  ๕๕ วัน   ๗๐ บาท
  4.  มิถุุนายน  ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๔  ๕๖ วัน   ๗๐ บาท
  5.  สิงหาคม  ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔  ๕๘ วัน   ๗๐ บาท
  6.  ตุลาคม  ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔  ๕๐ วัน   ๗๐ บาท
  7.  ธันวาคม   ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔  ๕๖ วัน   ๗๐ บาท
      เฉลี่ย ๕๒ วัน ตัดผมครั้งหนึ่ง T.490 B

 

  

    ๓.รายการตัดผมปี ๒๕๕๕    
ครั้งที่ เดือนที่จะตัด (แผน) วัน-เดือน-ปี (ตัดจริง) ห่างจากครั้งก่อน (วัน)  ค่าตัด
  1.  มกราคม  พฤ. ๕ มกราคม ๒๕๕๕  ๓๕ วัน   ๘๐ บาท*
  2.  มีนาคม  อา ๔ มีนาคม ๒๕๕๕  ๖๐ วัน   ๘๐ บาท
  3.  เมษายน  อา ๒๒ เมษายน ๒๕๕๕  ๕๐ วัน   ๘๐ บาท
  4.  มิถุุนายน  ส.๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๕  ๕๖ วัน   ๘๐ บาท
  5.  สิงหาคม  ศ. ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕  ๕๖ วัน   ๘๐ บาท
  6.  ตุลาคม  อา ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕  ๖๒ วัน   ๘๐ บาท
  7.  ธันวาคม   พฤ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๕  ๕๘ วัน   ๘๐ บาท
      เฉลี่ย ๕๔ วัน ตัดผมครั้งหนึ่ง T.560 B

 

  

    ๔.รายการตัดผมปี ๒๕๕๖    งบประมาณที่ตั้ง ๖๐๐ บาท  
ครั้งที่ เดือนที่จะตัด (แผน) วัน-เดือน-ปี (ตัดจริง) ห่างจากครั้งก่อน (วัน)  ค่าตัด
  1.  มกราคม  ส. ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖  ๕๒ วัน   ๘๐ บาท
  2.  มีนาคม  จ. ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๖  ๔๕ วัน   ๘๐ บาท
  3.  เมษายน  จ. ๒๙ เมษายน ๒๕๕๖  ๕๐ วัน   ๙๐ บาท*
  4.  มิถุุนายน  จ.๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖  ๕๖ วัน   ๙๐ บาท
  5.  สิงหาคม  พฤ.๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖  ๖๐ วัน   ๙๐ บาท
  6.  ตุลาคม  จ. ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๖  ๖๒ วัน   ๙๐ บาท
  7.  ธันวาคม   พฤ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๖  ๕๘ วัน   ๙๐ บาท
      เฉลี่ย ๕๕ วัน ตัดผมครั้งหนึ่ง  T.610 B

 

      หากจะได้ประโยชน์จากบันทึกนี้ โปรดอ่านบันทึกในตอนที่ ๖ ก่อน (ในส่วนบันทึกที่เกี่ยวข้อง)...ซึ่งจะมีส่วนที่วิจารณ์แผนที่วางไว้กับแผนที่ปฏิบัติจริง..เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าตัดผม

      ในปี ๒๕๕๗ นี้ ได้วางแผนการตัดผมไว้ ๖ ครั้งต่อปี ซึ่งค่าตัดผมอาจขึ้นถึง ๑๐๐ บาท ต่อ ครั้งก็ได้ โดยวางแผนการตัดผมในเดือนคู่ ต่อไปนี้

  • กุมภาพันธ์ ๕๗ (ปฏิบัติ ศ. ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ห่างจากครั้งก่อน ๕๘ วัน)
  • เมษายน ๕๗
  • มิถุนายน ๕๗
  • สิงหาคม ๕๗
  • ตุลาคม ๕๗
  • ธันวาคม ๕๗

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากสมุดบันทึกของตัวเองเป็นประสบการณ์ที่สกัดออกมาได้ดังนี้

  1. การเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งต้องมีการจดบันทึก โดยเฉพาะพฤติกรรมซ้ำๆ ของตัวเอง ไม่เช่นนั้นเราจะจำไม่ได้ เช่น ถ้าไม่จดบันทึกวันที่ตัดผม พอถึงเวลาตัดผมครั้งต่อไป เราคงจำวันตัดผมครั้งก่อนไม่ได้
  2. บันทึกหลายปีเข้ากลายเป็นสถิติ ที่เราจะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประสบการณ์ได้..อย่างเช่น ตอนเด็กๆ ผมยาวเร็วมาก ๒๐ วันตัดผมครั้งหนึ่ง, พอเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ก็ตัดผมประมาณ ๓๐ กว่าวันครั้งหนึ่ง, พอทำงานไปสัก ๑๐ ปี ตัดผม ๔๐ กว่าวันครั้งหนึ่ง, ทำงาน ๒๐ ปี ตัดผม ๕๐ วันครั้งหนึ่ง...แสดงว่าผมของคนเรายาวช้า เมื่ออายุมากขึ้น...
  3. สมัยเด็กๆ พี่ชายไปเรียนเมืองนอก บอกว่าที่เมืองนอกค่าตัดผมแพง (ค่าตัวช่างตัดผมแพง) ดังนั้นต้องตัดผมกันเอง โดยผลัดกันเป็นช่างตัดผมกับเพื่อน...
  4. มีเรื่องที่ชวนให้คิดเรื่องหนึ่งคือ คนที่มีอาชีพเป็นช่างตัดผม ไม่สามารถตัดผมตัวเองได้ (ข้อนี้ถามประสิทธิ์ว่าทำอย่างไร เขาบอกว่า ก็วานเพื่อนตัด และก็ยินดีตัดให้เพื่อนโดยต่างไม่ติดค่่าตัว...หมอฟัน ไม่สามารถถอนฟันให้ตัวเองได้ หมอผ่าตัด ก็ไม่สามารถผ่าตัดให้ตัวเองได้เช่นกัน ฯลฯ
  5. การจะเรียนรู้พฤติกรรมหรือนิสัยของตัวเอง ต้องเริ่มด้วยพื้นฐานของการจดบันทึก..และการจดบันทึกควรใช้เทคโนโลยีพื้นฐานที่สุด คือ สมุดบันทึก และปากกา (ต้องมีระบบจัดเก็บที่ดีด้วย..)
  6. ระหว่างจดบันทึกรายวันกับการทำบัญชีรายวันอย่างไหนจะเกิดก่อน...สำหรับบีแมนคิดว่า เริ่มจากการจดบันทึกทั่วไปก่อน ต่อมาจึงเป็นบันทึกบัญชีรายวัน
  7. พื้นฐานข้อมูลจากการจดบันทึก นำมาสู่การวางแผนปฏิบัติ..เพื่อฝึกเรื่องการประหยัด..ดังคำกล่าวของ "ตึ๋งหนืด" บอกว่า การประหยัดเงินได้ ๑ บาท ดีกว่าหาเงินเพิ่ม ๑๐๐ บาท..
  8. จากสถิติ ที่บันทึกไว้ มีแนวโน้มว่า ในเดือนเมษายนปี ๒๕๕๗ ร้านตัดผมชายจะเพิ่มค่าตัดผมจาก ๙๐ บาท เป้น ๑๐๐ บาท.. ดังนั้นเพื่อความประหยัด จึงตั้งงบประมาณสำหรับค่าตัดผมในปี ๒๕๕๗ ไม่ให้เกิน ๖๐๐ บาท ต่อปี ซึ่งในทางปฏิบัติ บีแมนต้องเพิ่มวันตัดผมเฉลี่ย จาก ๕๕ วันต่อครั้ง เป็น ๖๐ วันต่อครั้ง จึงจะเป็นไปตามแผนการที่ตั้งไว้

 

     บันทึกนี้ขอจบเพียงเท่านี้

หมายเลขบันทึก: 564490เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2014 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2014 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท