จากการจัดการเศรษฐกิจแบบการตลาดไปสู่ประชานิยม 1. ระบบเศรษฐกิจ ตอนที่ 1


ระบบเศรษฐกิจ

     ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในทางเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร จำนวนมากน้อยเท่าใด เมื่อผลิตแล้วจะจำหน่ายแจกจ่ายให้แก่ใครจึงจะเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการจัดหน่วยเศรษฐกิจแบบนี้ เป็นการจัดตามหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจนั้นๆ  (โปรดเปรียบเทียบกับความหมายของเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเศรษฐศาสตร์จะให้ความหมายอย่างกว้างๆ แต่ระบบเศรษฐกิจให้ความหมายที่แคบๆ)

     ระบบเศรษฐกิจในโลกนี้มี 3 ประเภท 1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่เน้นในเรื่องตลาด, ความต้องการที่จะซื้อ, ความต้องการที่จะขาย, ราคา, การว่างงาน, เงินเฟ้อ ฯลฯ โดยสรุปเน้นไปที่บุคคลโดยทั่วไป ที่มีความสามารถเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมาก 2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ที่เน้นรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค ต่างๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการได้เพียงอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดย่อม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างด้านฐานะระหว่างคนรวยและคนจน 3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม มีรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ แต่ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน การกำหนดราคาขึ้นกับกลไกแห่งราคาของตลาด  ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม ได้แก่ 1. เอกชนมีเสรีภาพ  2.มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง  3. รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า ประปา) 4. มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐ

     ระบบเศรษฐกิจในแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง แต่สำหรับประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม กล่าวคือ รัฐอาจแทรกแซงการตลาด หรือการผลิตได้บ้าง แต่เพื่อช่วยเกษตรกรในด้านความเหลื่อมล้ำ กระนั้นก็ดีการเน้นก็จะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ

    อย่างไรก็ตาม เหตุผลในการจัดการเรื่องเศรษฐกิจ เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อ ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้ามาเป็นนายกฯในปี 2544 ทักษิณ ได้นำแนวนโยบายที่เรียกว่าประชานิยมมาใช้ในเมืองไทย ในบันทึกนี้จะได้นำเสนอแนวคิดที่ว่าด้วยประชานิยม โดยที่ 1. ความหมายประชานิยม และประวัติศาสตร์ของแนวคิดนี้ 2. ลักษณะที่ทักษิณและยิ่งลักษณ์ใช้ในการจัดการทางเศรษฐกิจของประเทศไทย 3. จุดอ่อนและจุดดีของแนวคิดนี้ 4. วิธีการแก้ไข

 

หมายเลขบันทึก: 564072เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2014 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2014 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

...ระบบเศรษฐกิจแบบผสมในประเทศ...เป็นที่มาแห่งการคอรัปชั่น และเกิดช่องว่างทางรายได้ เกิดการเหลื่อมล้ำฐานะทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา อย่างมากนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท