กิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม


สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน ก่อนหน้านี้ดิฉันได้เขียนบันทึก  กิจกรรมบำบัดกับผู้รับบริการฝ่ายกาย มาถึงบันทึกนี้ดิฉันขอเปลี่ยนผู้รับบริการ ลองมาดูความคิดเห็นและประสบการณ์ต่างๆของอ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ที่มาแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ในกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตสังคมและในการแลกเปลี่ยนความเห็นครั้งนี้มีอ.ดร อนุชาติ เขื่อนนิล มาเป็นพิธีกร ซึ่งเนื้อหามีดังต่อไปนี้ค่ะ

 

1. เป้าหมายของนักกิจกรรมบำบัดในฝ่ายจิตสังคมคืออะไร?

เป้าหมายคือการให้ทุกๆคนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขและมีการฟื้นฟูเกี่ยวกับจิตสังคม สำหรับในประเทศไทยเราได้มีการเริ่มเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทัศนคติทั้งในตัวนักกิจกรรมบำบัดเอง พยาบาล ผู้ดูแล ฯลฯ มาได้ 5 ปีแล้ว ทุกๆคนต้องช่วยกันเปลี่ยนทัศนคติลบๆ ไม่ใช่เพียงแค่ทีมสุขภาพเท่านั้นแต่รวมถึงชุมชน ว่าพวกเขาไม่เป็นอันตรายแต่เพียงเขากำลังเผชิญกับความเจ็บป่วยของเขาอยู่ แต่เสียดายที่รัฐบาลไทยยังไม่ได้ให้ความสนใจในส่วนนี้มากนัก ถึงแม้ว่าจะมีการประชุมวิชาการเกี่ยวกับ recovery model แต่ในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถทำได้เพราะไม่มีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนั้นเลย ทำให้ทุกๆคนยังแบ่งแยกผู้รับบริการทางจิตสังคม

 

2. อะไรคือจุดแข็ง จุดอ่อน การคุกคาม และโอกาสของนักกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมในไทย

จุดแข็งคือมีการพูดคุยเกี่ยวกับ recovery model อย่างน้อยปีละครั้ง

จุดอ่อนคือเรามีบทบาทอย่างมากในฝ่ายจิตสังคมแต่ยังมีอีกหลายฝ่ายที่ยังไม่รู้จักกิจกรรมบำบัด ถึงแม้ว่าเราจะพยายามเผยแพร่เกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดแล้วแต่ก็ยังน้อยไป

ส่วนการคุกคามมีพยาบาลที่พยายามจัดการฟื้นฟูที่คล้ายกลุ่มกิจกรรมขึ้นมาแต่ไม่มีนักกิจกรรมบำบัดและยังไม่เชื่อว่าผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมได้เพียงคนเดียว

สำหรับโอกาสคือการศึกษาให้มากยิ่งขึ้น สนใจเกี่ยวกับแบบประเมินหรือการรักษาให้มากยิ่งขึ้น

 

3. อะไรคือแผนหรือกลยุทธ์ในการเป็นนักกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม แล้วจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร

 การเป็นผู้ดูแลที่ดี การเรียนรู้ว่าจะช่วยเหลือพวกเขาอย่างไร ทำอย่างไรให้เกิดคุณภาพชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น ก่อนอื่นเราควรปรับปรุงตัวเองก่อนคือการเป็นผู้ฟังที่ดี ครูที่ดีในการทำกิจกรรมร่วมกับพวกเขา

 

4. อะไรคือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วมาก่อตั้งกิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลเปรียบเสมือนทฤษฎีและเต็มไปด้วยพลังแล้ว มหาวิทยาลัยมหิดลมีโอกาสที่ดีที่ส่าสถานที่ของมหาวิทยาลัยอยู่ใกล้กรุงเทพ เมื่องหลวงของไทยทำให้สามารถไปทำงานกับนักกิจกรรมบำบัดคนอื่นๆได้มากขึ้น พวกเราได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันในทุกๆปี แต่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความเห็นในการปรับเปลี่ยนหลักสูตรและความรู้ในทางปฏิบัติทุกๆปีเช่นกัน การได้ผู้รับบริการ(คนไข้) จริงๆซึ่งเปรียบเสมือนอาจารย์อีกคนหนึ่ง ในอนาคตจะมีการเพิ่มเติมหลักสูตรเฉพาะทางมากขึ้น เรียนปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาโทภายใน 2 ปี การเปิดหลักสูตรให้ทุกคนที่อยู่ในทีมสหวิชาชีพทางจิตเวชสามารถเรียนกิจกรรมบำบัดได้ เช่นพยาบาลก็สามารถเป็นนักกิจกรรมบำบัดได้ พวกเขาสามารถรักษาตัวเขาเองได้โดยใช้ความรู้ทางกิจกรรมบำบัดแต่ในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดอยู่ทำให้ยากที่จะทำในประเทศไทย

 

5.  อะไรคือสิ่งที่คุณอยากเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมในอนาคตแล้วมีวิธีการอย่างไรจะทำให้สำเร็จ

ในความเป็นจริงเรามีผู้ป่วยทางจิตอยู่ประมาณ 10 ล้านคน แต่มีเพียง 1 ล้านคนเท่านั้นที่ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลและอีก 9 ล้านคนที่อยู่กับพวกเราและทุกๆคนก็ไม่เข้าใจผู้ป่วย อีก 5 ปี ข้างหน้าผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ซึ่งนั้นหมายถึงว่ามีอีก 27 ล้านคนที่ไม่ได้เข้ารับการรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้เพิ่มมากขึ้นเพราะทุกคนจะมีความเครียดตลอดเวลาและสะสมไปเรื่อยๆ เมื่อคุณมีความเครียดหรือปัญหาทางจิตเช่นความกังวลหรืออะไรก็ตาม คุณควรอยู่ในทางสายกลาง แต่ในทัศนคติของคนไทยยังมองว่าผู้ป่วยทางจิตเวชในทางลบ ทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าทำ

 

6. ในบริบทของประเทศไทย คุณคิดว่าคุณจะใช้กิจกรรมบำบัดอย่างไรให้เป็นที่น่าสนใจ

โดยปกติแล้วพวกเขาจะสามารถฟื้นฟูหรือดีขึ้นได้ด้วยตัวของพวกเขาเองโดยการคุยกับผู้อื่นหรือการไปวัด เช่นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกจะมีการไปวัดในทุกวันอาทิตย์และสวดภาวนาและร้องเพลงร่วมกันและนักกิจกรรมบำบัดจะตามและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของเขาเปรียบเสมือนเพื่อนอีกคนหนึ่งของเขา ถ้าคุณอกหักก็ยังมีคนอื่นคอยช่วยและให้กำลังใจคุณ ซึ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญถ้าเขาเข้าใจนั่นหมายความว่าการฟื้นฟูของเขาจะง่ายยิ่งขั้น ถึงแม้จะช่วยได้เพียงครึ่งหนึ่ง เมื่อใครสักคนอกหักชวนเขาหรือเธอให้ออกจากบ้านหรือหอ นั่งใกล้ๆแต่ไม่ต้องพูดคุยมากเพราะเพียงเท่านี้เขาหรือเธอก็รู้แล้วว่าคุณกำลังให้กำลังใจเขาอยู่

 

7. คุณอยากเห็นอะไรในกิจกรรมบำบัดไทยใน 5 -10 ปีข้างหน้า

ผมอยากเห็นนักศึกษาสนใจที่จะทำงานในฝ่ายจิตมากขึ้นหรือบางคนก็สามารถมาทำงานกับกิจกรรมบำบัดได้พวกเราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน

 

8. ความคาดหวังกับนักกิจกรรมบำบัดไทย

มีการประสานงานกันมากขึ้น ดังเช่นโรงพยาบาลกรุงเทพที่ได้พยาบาลมาทำงานร่วมกับนักกิจกรรมบำบัด เชื่อว่าทุกคนอยากเป็นมืออาชีพ การเรียนรู้ร่วมกันให้มากขึ้นในทุกๆ 6-12 เดือน มีการพูดคุยเกี่ยวกรณีศึกษา การปรับประยุกต์ recovery model การแก้ไขข้อจำกัด เรียนรู้ร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์และความคิดไม่เพียงแค่ในนักกิจกรรมบำบัดเท่านั้นแต่นั้นรวมถึงพยาบาล จิตแพทย์ นักกิจกรรมบำบัดก็สามารถเป็นนักจิตสังคม โดยทั่วไปเรามี psycho therapy เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับทางจิตซึ่งจะเชื่อมโยงไปยังวัฒนธรรม บริบทต่างๆ การใช้หลัก client-centered (ยึดคนไข้หรือผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง)  แต่จิตแพทย์อีกหลายคนยังไม่ทราบหรือการฟื้นฟูทางจิตสังคมซึ่งเป็นการยากถ้าจะให้จิตแพทย์รู้จักและรู้จักนักกิจกรรมบำบัด และการเกิดช่องว่างนั้นเป็นปัญหา

 

9. ในปี 2015 ประเทศไทย 1 ในสมาชิกของประชาสังคมอาเซียน คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบเกี่ยวกับนักกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมในไทย

เนื่องจากเรายังขาดผู้เชี่ยวชาญและความรู้เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต นักกิจกรรมบำบัดไทยยิ่งยากเพราะพวกเรายังมีการพัฒนาในเรื่องของ recovery model ช้า ยังมองผู้รับบริการเป็นลูกค้า และด้วยนโยบายของรัฐบาล จำนวนสถานที่เปิดเพื่อผลิตนักกิจกรรมบำบัดมีเพียง 2 แห่งในประเทศไทยคือที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะที่มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนกายภาพบำบัดถึง 14 แห่ง

 

ทั้งนี้ ขอขอบคุณ 

- อ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง

- อ.ดร.อนุชาติ เขื่อนนิล

อีกครั้งที่เสียสละเวลามาแบ่งปันประสบการณ์และมุมมองจากนักกิจกรรมบำบัด 

ขอขอบคุณมากๆค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 563913เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2014 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2014 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท