กิจกรรมการยกระดับสติสัมปชัญญะแบบต่างๆ (Consciousness-raising activities) ลักษณะทางภาษา ข้อ 6 ตอนที่ 5


6. คุณลักษณะของภาษาอื่นใดที่เราควรเน้น (what other aspects of language should be highlighted?)

6.1 คำที่เจอกันบ่อย (Frequent words)

            มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเสนอชิ้นงานที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำที่เจอบ่อยๆในภาษา เช่น บุรพบท และกริยาช่วย คำเหล่านี้จะต้องได้รับการเน้นให้ผู้เรียนเป็นระยะๆและเป็นระบบ เพราะว่าคำเหล่านี้เป็นสิ่งที่พบเห็นได้โดยทั่วไป อย่างไรก็ตามคำเหล่านี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวลีที่เป็นคลังคำ (lexical phrase) อย่างน้อยก็ต้องพบเห็นบ่อยๆ ในฐานะครู เราจึงจำเป็นที่จะต้องนำเรื่องเหล่านี้มาให้นักเรียนได้พบบ่อยๆ  

6.2 โครงสร้างตัวบท (text structure)

            งานที่ว่าด้วยการอยู่ติดกัน (cohesion and coherence) และการวิเคราะห์ประเภท (genre analysis) จะช่วยพวกเราให้บ่งชี้โครงสร้างขนาดใหญ่ (macro-structure) ในตัวบท

6.3 อุปลักษณ์ (metaphor)

            อุปลักษณ์ คือ ความเปรียบเทียบ เช่น Time is money เวลาเป็นเงิน ถ้านำเรื่องอุปลักษณ์มาให้นักเรียนของเราบ่อยครั้งมากขึ้นเท่าใด ก็จะช่วยให้นักเรียนของเราผลิตความหมายอันใหม่ โดยใช้คำที่คุ้นเคยทั้งสิ้น           

6.4 ทักษะ (Skills)

            มีลักษณะการสอนอยู่ 2 วิธีในการสอนทักษะ 1. นักเรียนจะต้องฝึกปฏิบัติสิ่งที่พวกเขาจะได้ใช้เมื่ออยู่ภายนอกห้องเรียน 2. พวกเขาต้องการที่ฝึกปฏิบัติโดยการใช้หนังสืออย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ความท้าทายจึงอยู่ที่วิธีการสอน ในฐานะครู เรามีการออกแบบกิจกรรม ซึ่งคล้ายคลึงความต้องการของผู้เรียนที่พวกเขาจะต้องเจอนอกห้องเรียน ในห้องเรียนได้อย่างไร แต่ทักษะทางภาษามีฐานอยู่ในภาษา กล่าวอย่างหยาบๆก็คือ วิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะทางภาษาก็คือการเรียนรู้ (learn) ภาษาให้มากขึ้น เช่น เมื่อผู้เรียนตั้งใจที่หาข้อมูลเฉพาะ (scan) พวกเขาจะดูแต่คำที่เป็นคำหลักเท่านั้น (key words) ความรู้ของพวกเขาในเรื่องภาษาที่อยู่ติดกัน (word association) และกลุ่มคลังคำ (lexical set) จะมีความสำคัญขึ้นมา มีวิธีการอยู่ 2 อย่างที่ กิจกรรมการยกระดับสติสัมปชัญญะแบบต่างๆ(Consciousness-raising activities) สามารถจะช่วยได้ 1. โดยการทำให้พวกเขามีสติสัมปชัญญะในเรื่องความรู้ในภาระงานที่มอบหมาย 2. ทำให้พวกเขาจัดระเบียบภาษาของพวกเขาในการใช้ความรู้เหล่านี้ได้

6.5 ข้อมูลทางภาษามาจากที่ไหน (where does language data come from?)

            เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่เราจะคิดถึงภาษา ที่ผู้เรียนของเราเผชิญว่า การรวบรวมศิลปะการสอน (pedagogical corpus) พวกเราพยายามที่จะให้ผู้เรียนของเราในการพบกับภาษา (exposure) โดยผ่านตัวบท ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหรือการพูดก็ตาม ซึ่งตัวบทนั้นๆจะเป็นตัวอย่างที่ให้ผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษา เช่น วางโครงสร้างอย่างไร คำที่เป็นคำเฉพาะมีพฤติกรรมอย่างไร คำใดที่เป็นคำทั่วไปและเป็นวลี ฯลฯ เมื่อเราได้รวบรวมกลุ่มของตัวบท ที่มีลักษณะอย่างที่กล่าวมา เราจำเป็นต้องออกแบบภาระงานในเชิงสื่อสาร ซึ่งภาระดังกล่าวนั้นต้องทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการในการหาความหมายของตัวบท ดังนั้นตัวบทจึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ทางภาษา นอกจากนี้เรายังต้องวิเคราะห์ตัวบทต่างๆเพื่อจะหาลักษณะทางภาษาที่เป็นตัวอย่างให้กับเรา ว่าอะไรคือสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ และลักษณะเหล่านี้ก็เป็นจุดเน้นให้กับเราในการคิดกิจกรรม C-R

            ในอุดมคติแล้ว ตัวบทเพียงอันเดียว (single text) สามารถใช้ได้เหมือนกับบทเรียนที่มีความสมบูรณ์ในตนเอง (a self-contained lesson) อันดับแรก ตัวบทเพียงอันเดียวสามารถที่จะใช้สื่อหรือแรงจูงใจที่มีต่อการเรียนรู้ อันดับสอง ลักษณะทางภาษาเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างอันเพียงพอในตัวบทนั้นๆ และไม่ต้องมีการเสริมแต่งอะไรอีก (supplementation) โดยปกติแล้วตัวบทโดยส่วนใหญ่จะมีแต่อันดับแรก การตัดสินที่ยากอย่างยิ่งในฐานะผู้สอนก็คือเราควรจะเอาอะไรไว้และควรจะทิ้งอะไรไป อย่างไรก็ตามมีตัวบทจำนวนน้อยมาก (เน้นว่าน้อยมากจริงๆ) จะอยู่ในอันดับที่สอง ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการหาตัวเสริม (supplementation) ให้กับตัวบทที่เราเลือกมา เช่น การหาตัวอย่างเสริมที่เหมาะสมกับตัวบทนั้น คำถามคือ สิ่งเสริมเหล่านี้มาจากที่ไหน     

            1. แหล่งเสริมเหล่านี้ควรมาจากสิ่งที่ผู้เรียนของเราคุ้นเคย

            2. แหล่งเสริมเหล่านี้ควรจะมาจากสิ่งที่ผู้เรียนกำลังจะมีประสบการณ์ กล่าวอย่างง่ายๆก็คือตัวบทที่เด็กกำลังจะเรียนต่อไปในอนาคต

            3. แหล่งเสริมเหล่านี้ควรจะมาจากการใช้ภาษาที่เป็นจริง (real language)

 

หนังสืออ้างอิง

Dave Willis and Jane Willis. Consciousness-raising activitieswww.willis-elt.co.uk/documents/7c-r.doc

 

หมายเลขบันทึก: 563829เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2014 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2014 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท