กิจกรรมการยกระดับสติสัมปชัญญะแบบต่างๆ (Consciousness-raising activities) ลักษณะทางภาษา ข้อ 3-5 ตอนที่ 4


3. ไวยากรณ์ของกลุ่ม (the grammar of class)

     ครูทั้งหลายจะเคยชินในการจัดสรรคำนามอออกเป็น 2 กลุ่ม นั่นคือ นามนับได้ และ คำนามนับไม่ได้ ความแตกต่างในการแยกนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ก็เพราะว่าคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ใช้แตกต่างกัน กลุ่มของกริยา พวก give, ask, send,ฯลฯ ที่จะมีกรรมสองตัว เป็นสิ่งที่นักเรียนของเราจะต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นพวกเราเคยชินกับการจัดประเภทคำต่างๆไปตามพฤติกรรมทางไวยากรณ์ (the grammatical behavior) เช่น มีกลุ่มของคำนามที่มีความสำคัญ ที่โดยมากจะถูกขยาย (postmodified) ด้วยคำว่า that เช่น

Please don't get the idea that lain a supporter of women's liberation.

There was this theory that women always pass first time.

I got the impression that it was trying to get in.

     คำเหล่านี้ (the idea that, this theory that, the impression that)มีบทบาทอันสำคัญยิ่งใน

เน้นความคิดในวาทกรรม นอกจากนี้พวกเขายังมีบทบาทอันสำคัญยิ่งในบทสนทนาในชีวิตประจำวัน ตลอดจนวาทกรรมเชิงวิชาการที่เป็นนามธรรม ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนของเราจะได้เรียนรู้เรื่องนี้อย่างจริงจัง

    อย่างไรก็ตาม จะไม่มีวิธีการที่แจ่มชัดว่ามีวิธีอยู่กี่วิธีที่คำต่างๆจะได้รับการจัดสรร ไวยากรณ์ของกลุ่มจะมีลักษณะเป็นปลายเปิดมากกว่าไวยากรณ์ของโครงสร้างและวิธีการต่างๆ ผู้เรียนจะเจอปัญหาอยู่ 2 อย่าง นั่นคือ 1. กลุ่มของคำใดบ้างที่มีอยู่ในภาษาอังกฤษ 2. มีวิธีการอะไรบ้างในการที่คำเหล่านี้จะถูกจัดสรร ผู้เรียนจะต้องทำงานโดยคำนึงถึงทั้ง 2 คำถามนี้โดยพร้อมเพรียงกัน เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาได้เจอลักษณะทางภาษา (linguistic items) หรือกำลังจะค้นหากระสวน (pattern)ใหม่ๆ

4. วลีที่เป็นคลังคำ (lexical phrase)

     ความสำคัญของวลีที่มีอยู่คู่กัน (fixed phrase) ในภาษา กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก มีวลีที่อยู่คู่กัน เช่น as a matter of fact ทำหน้าที่เหมือนกับวลีแบบคลังคำ (lexical item) มีคำพูดบางอย่าง เช่น as คำวิเศษณ์ as possible, would you mind+กริยาเติมing? ผู้พูดที่คล่องแคล่วในภาษามีวลีที่ติดกันเป็นคู่อยู่จำนวนมาก วลีที่ติดกันบางคู่มีการเกี่ยวข้องกับกลุ่มคำที่มีลักษณะเฉพาะตัว (particular word class) คำนามที่ถูกขยายด้วยคำว่า that ที่ยกตัวอย่างข้างบน จะอยู่ในรูปของคำเหล่านี้ The problem that, The fact that, The danger that ครูสามารถให้ตัวแนะที่ยกตัวอย่างมาให้นี้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ดูดซึมวลีที่ติดกันเหล่านี้

5. กลุ่มคำที่ต้องใช้ร่วมกัน หรือ เรียกอีกอย่างว่า คำปรากฏร่วม (collocation)

    พวกเราสามารถคิดถึง collocation ในลักษณะคำปรากฏร่วม เช่น ผู้พูดชาวอังกฤษ คำว่า hard ทำให้เรานึกถึงคำว่า work และ luck เพระว่ามันมักจะปรากฏในคำเหล่านั้น ในบางครั้งอาจ เป็นคำประเภท cold เพราะว่าสองคำนี้มักปรากฏอยู่ด้วยกัน กลุ่มคำและความสัมพันธ์เชิงคลังคำ (sets of word and the lexical relation) ที่อยู่ด้วยกันก่อให้เกิดการติดแน่นของคลังคำ (lexical cohesion) (หากสนใจเรื่อง collocation โปรดดู http://www.dicthai.com/dt_problem.html)

หนังสืออ้างอิง

Dave Willis and Jane Willis. Consciousness-raising activitieswww.willis-elt.co.uk/documents/7c-r.doc

 

หมายเลขบันทึก: 563757เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2014 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2014 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท