กิจกรรมการยกระดับสติสัมปชัญญะแบบต่างๆ (Consciousness-raising activities) ลักษณะทางภาษา ข้อ 1-2 ตอนที่ 3


1. ไวยากรณ์ของโครงสร้าง (The grammar of structure)

     มันมีความเป็นไปได้ที่จะนำเสนอกฎเกณฑ์ต่างๆในการบรรยายโครงสร้างของอนุประโยคภาษาอังกฤษ (the English clause) อนุประโยคภาษาอังกฤษจะมีแค่ประธานและกริยา และโดยมากจะมีอยู่แค่นั้น กริยาจะตามมาด้วยส่วนเติมเต็มที่จำเป็น (necessary completion) เช่น กรรม, ส่วนเติมเต็ม หรือวลีที่เป็นคำบุรพบทต่างๆ อย่างไรก็ตาม ในแง่การจัดระเบียบแล้ว คำวิเศษณ์ (adverb) ในภาษาอังกฤษจะมีปัญหาในการวางอยู่พอสมควร เช่น คำวิเศษณ์บอกเวลาอาจอยู่ที่ใดก็ได้อนุประโยค คำวิเศษณ์บางตัว เช่น คำวิเศษณ์บอกความเข้ม (degree) จะมีที่ที่จำกัดเมื่ออยู่ในอนุประโยค เช่น I enjoyed the party very much. ฉันมีความสุขกับงานปาร์ตี้เป็นอย่างมาก คำว่าเป็นอย่างมากมีที่ที่จำกัดในอนุประโยค ไม่ใช่ I enjoyed very much the party.

     อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว นอกจากจะให้การแนะนำให้แก่นักเรียนแล้ว เราอาจให้คำแนะนำอย่างนี้กับกลุ่มของคำนาม (the noun group) ด้วย เช่น That big black cat over there แมวดำตัวใหญ่ตรงโน้น (จะสังเกตเห็นว่าการเรียงคำคุณศัพท์ (adjective) ไปตาม ขนาด สี คำนาม) ไม่ใช่ Black big cat that over there

     ลำดับที่ขององค์ประกอบย่อยๆ (elements) ในอนุประโยคภาษาอังกฤษมีการเป็นลำดับที่ สิ่งนี้จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าง่ายๆในการที่จะติดตาม อย่างไรก็ตามผู้เรียนอาจรู้สึกว่ายากขึ้น เมื่อมาเรียนอนุประโยคภาษาอังกฤษที่มีการจัดเป็นลำดับที่ ในขณะเดียวกันก็ในอนุประโยคบางครั้งก็มีความลื่นไหลในตามแต่ข้อมูลที่จะถูกนำเสนอในแต่ละครั้ง  ความลื่นไหลก็มีการใช้ it นำหน้าประโยค เป็นต้น

    การจัดวางที่ไม่เป็นระบบระเบียบเช่นนี้นำไปสู่ปัญหาในการเรียนรู้ การจัดวางเหล่านั้นจำเป็นที่ผู้เรียนจะได้รับการเน้น และจัดการกับพวกมันอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้สามารถจัดการได้ โดยการดูอนุประโยคหลายประโยคในตัวบทต่างๆ เพราะว่าโครงสร้างของอนุประโยคถูกกำหนดในวาทกรรม หรือบริบท (discourse) ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องอนุประโยคและประโยคในตัวบท ไม่ใช่นึกเอาเอง  

2. วิธีการทางไวยากรณ์ (The grammar of orientation)

     สื่อการเรียนรู้ทางภาษาแบบต่างๆโดยมากแล้วจะใช้เวลากับระบบกาลเวลา (tense), ในเรื่อง article (a, an, the), คำประกอบหน้าคำนาม (determiner) เช่น some และ any. ระบบเหล่านี้นับว่าเป็นศูนย์กลางของภาษา เพราะว่าระบบเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาที่ต้องใช้ในการพูดและการเขียน นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่นๆ (elements)ในตัวบท (text)สมมติว่าเราให้องค์ประกอบอันหนึ่งในอนุประโยค ได้แก่ wife-work-garden-weekend โดยความหมายแล้วเราจะรู้ว่าอนุประโยคนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร แต่เราไม่สามารถที่จะหา วิธีการต่างๆ เช่น เราไม่สามารถจะบ่งชี้ว่าใครเป็นพูดสารอันนี้ หรือเราไม่รู้เลยว่าสารนี้เป็นอดีตหรือปัจจุบัน เป็นภรรยาของใคร หรือเป็นเหล่าภรรยา เป็นสวนของใคร ฯลฯ แต่ถ้าเราให้อนุประโยคนี้ว่า My wife works in the garden most weekends. (ภรรยาของฉันทำงานอยู่ในสวนในวันหยุดสัปดาห์เป็นส่วนใหญ่) คุณสามารถที่จะบ่งชี้ได้ว่าภรรยาเป็นภรรยาของผู้พูด และสวนเป็นสวนของพวกเขา กาลเวลาปรากฏอยู่ในกริยาบอกให้คุณรู้ว่าเป็นการกระทำที่เกิดในปัจจุบัน การกระทำในปัจจุบันปรากฏด้วยคำว่า most ที่แปลว่าส่วนใหญ่ หน้าที่ของระบบกาลเวลา และการใช้คำนำหน้านาม เป็นการบอกให้เราทราบว่าจะปรับเนื้อปรับตัว ของเราอย่างไรในการที่จะเข้าใจสารที่สื่ออะไรมาในประโยค เครื่องมือทางไวยากรณ์เหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนกับ ผู้บ่งบอก (pointer) ที่แสดงให้เรารู้ว่า องค์ประกอบนั้นจะเกี่ยวพันกับอะไร ในแง่กาลเวลา, สถานที่ และอัตลักษณ์ เช่นเดียวกับ ไวยากรณ์ของโครงสร้าง (the grammar of structure) องค์ประกอบเหล่านี้มีความเป็นระบบสูง (กล่าวคือค่อนข้างจะเป็นระบบ มีตำแหน่งแห่งที่แน่นอน) และเราสามารถจะสร้างข้อสรุป (generalization) ในเรื่องวิธีการทางไวยากรณ์ได้ แต่เราจะต้องนำสิ่งเหล่านี้มาจากบริบทเท่านั้น

 

หนังสืออ้างอิง

Dave Willis and Jane Willis. Consciousness-raising activitieswww.willis-elt.co.uk/documents/7c-r.doc

หมายเลขบันทึก: 563739เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2014 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2014 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท